สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 21-27 ตุลาคม 2566

30 ตุลาคม 2566

Amnesty International Thailand

2.png

 

อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : แอมเนสตี้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดยิงโดยทันที เพื่อคุ้มครองชีวิตของพลเรือน

26 ตุลาคม 2566 

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยแพร่ข้อเรียกร้องด่วน ให้มีการหยุดยิงทันทีของทุกฝ่ายในฉนวนกาซาที่ถูกยึดครองและในอิสราเอล เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตของพลเรือนมากไปกว่านี้ และเพื่อประกันให้มีการเข้าถึงความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่ชีวิตสำหรับประชาชนในกาซา ท่ามกลางหายนะด้านมนุษยธรรมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า ในช่วงกว่าสองสัปดาห์ครึ่งที่ผ่านมา เราได้เห็นความโหดร้ายที่ลุกลามใหญ่โตจนเกินจินตนาการ ทั้งในอิสราเอลและเขตยึดครองปาเลสไตน์ ประชาชนกว่า 2 ล้านคนในฉนวนกาซาต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด ท่ามกลางวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ร้ายแรง และจำนวนพลเรือนที่บาดเจ็บล้มตายมากมายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยประชาชนกว่า 6,546 คนถูกสังหารในกาซา และอย่างน้อย 1,400 คนถูกสังหารในอิสราเอล และอีกหลายพันคนได้รับบาดเจ็บ กลุ่มฮามาสได้จับตัวประกันไปกว่า 200 คน การละเมิดอย่างร้ายแรงต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ รวมทั้งอาชญากรรมสงครามของทุกฝ่ายในความขัดแย้งครั้งนี้ยังเกิดขึ้นต่อไป ท่ามกลางหายนะและความทุกข์ยากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เราต้องให้ความสำคัญกับหลักมนุษยธรรม

ราจำเป็นต้องมีข้อเรียกร้องเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองชีวิตของพลเรือน และป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์ยากของมนุษย์มากมายไปกว่านี้ เราขอกระตุ้นให้สมาชิกทุกฝ่ายของประชาคมโลก รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรมทันที”  

 

อ่านต่อ: https://www.amnesty.or.th/latest/news/1182/

 

----- 

 

3.png

 

อิหร่าน: การโจมตีอย่างโหดเหี้ยมระลอกใหม่ต่อผู้ชุมนุมและผู้ที่กำลังทำพิธีทางศาสนาชาวบาลูชี

26 ตุลาคม 2566 


แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 ว่ามีการโจมตีอย่างไม่หยุดยั้งของทางการอิหร่านต่อการชุมนุมโดยสงบประจำสัปดาห์ของผู้ชุมนุมและผู้ที่กำลังทำพิธีทางศาสนาหลายพันคนจากชนกลุ่มน้อยชาวบาลูชีที่ถูกกดขี่ในซาฮิดาน จังหวัดซิสถานและบาลูจิสถานของอิหร่าน เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคมมีความรุนแรงมากขึ้น โดยกองกำลังความมั่นคงหันไปใช้การทุบตีอย่างรุนแรง การใช้แก๊สน้ำตาและเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย และดำเนินการจับกุมจำนวนมากโดยพลการ มีการบังคับบุคคลให้สูญหาย การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ โดยแอมเนสตี้เรียกร้องให้ทางการยุติการใช้กำลังอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายในระหว่างการชุมนุมในวันศุกร์หน้า และคุ้มครองสนุนสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ

หลักฐานที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลรวบรวม รวมถึงการสัมภาษณ์ประจักษ์พยานและภาพวิดีโอแสดงให้เห็นความโหดเหี้ยมต่อผู้ที่กำลังทำพิธีทางศาสนาและผู้ชุมนุมโดยสงบหลายพันคน ที่รวมถึงเด็กที่มีอายุเพียง 10 ปี คนหลายร้อยคน รวมทั้งเด็กหลายสิบคนถูกจับกุมอย่างรุนแรง และหลายคนยังคงถูกบังคับให้สูญหาย ผู้ถูกควบคุมตัวที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่ถูกทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ รวมถึงการทุบตีอย่างรุนแรง และบาดเจ็บจากการถูกยิงด้วยปืนเพนท์บอลในระยะใกล้

ไดอานา เอลทาฮาวี รองผู้อำนวยการภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า เจ้าหน้าที่กำลังเพิ่มความโหดเหี้ยมเพื่อหยุดยั้งผู้ชุมนุมชาวบาลูชีไม่ให้รวมตัวในแต่ละสัปดาห์ในซาฮิดาน รัฐบาลประเทศต่างๆ ต้องเรียกร้องอย่างเร่งด่วนต่อทางการอิหร่านให้ยุติการใช้กำลังและอาวุธปืนอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อผู้ชุมนุมโดยสงบ หยุดทรมานผู้ถูกควบคุมตัว และปล่อยตัวเด็กและคนอื่นๆ ทั้งหมดที่ถูกควบคุมตัวเพียงเพราะใช้สิทธิของตนอย่างสงบ

การลอยนวลพ้นผิดอย่างเป็นระบบของอิหร่านทำให้เกิดการทรมานระลอกใหม่นี้ต่อผู้ชุมนุมรวมถึงเด็ก เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต้องเริ่มการสอบสวนทางอาญาเกี่ยวกับอาชญากรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศของทางการอิหร่านภายใต้หลักการของเขตอำนาจศาลสากล”

อ่านต่อ: https://www.amnesty.org/en/latest/news/2023/10/iran-new-wave-of-brutal-attacks-against-baluchi-protesters-and-worshippers/

 

----- 

 

4.png

 

เกาหลีใต้: คำตัดสินเกี่ยวกับทหารที่มีความหลกลายทางเพศถือเป็นการถดถอยที่น่าเศร้าของสิทธิมนุษยชน

26  ตุลาคม 2566 

 

สืบเนื่องจากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญของเกาหลีที่จะคงมาตรา 92-6 ในกฎหมายอาญาการทหารอายุ 61 ปีไว้เป็นครั้งที่ 4 ซึ่งกำหนดให้เพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันด้วยความยินยอมถือเป็นความผิดทางอาญาในรัฐธรรมนูญทหาร 

โบรัม จาง นักวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า การรับรองให้เพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันด้วยความยินยอมถือเป็นความผิดทางอาญาภายในกองทัพเกาหลีมาอย่างต่อเนื่องถือเป็นการถดถอยที่น่าเศร้าในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมในประเทศที่ยาวนานหลายทศวรรษ คำตัดสินนี้เน้นย้ำถึงอคติต่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่แพร่หลายในเกาหลีใต้ และการที่รัฐบาลขาดการดำเนินการเพื่อป้องกันอันตรายและประกันความเท่าเทียมซึ่งเป็นความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน

มาตรา 92-6 ทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ซ้ำเติมความเสียเปรียบอย่างเป็นระบบที่กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศต้องเผชิญ และเสี่ยงต่อการยุยงหรือเป็นเหตุผลในการใช้ความรุนแรงต่อพวกเขา ทั้งในกองทัพและในชีวิตประจำวัน ไม่มีพื้นที่สำหรับมาตรานี้ในสังคมเกาหลีและควรยกเลิกทันที

ราขอเรียกร้องให้ผู้ออกกฎหมายของเกาหลีใต้ยกเลิกมาตรา 92-6 ของกฎหมายทหารโดยทันทีเพื่อเป็นก้าวต่อไปในการยุติการตีตราอย่างกว้างขวางที่กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศต้องเผชิญ

 

อ่านต่อ: https://www.amnesty.org/en/latest/news/2023/10/south-korea-military-same-sex-law/


-----

ซาอุดีอาระเบีย: ชายหนุ่มสองคนเสี่ยงถูกประหารชีวิตหลังการพิจารณาคดีเป็นการลับของศาลฎีกา

25 ตุลาคม 2566 

 

สืบเนื่องจากข้อมูลที่เชื่อถือได้ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับมาว่าศาลฎีกาของซาอุดีอาระเบียพิพากษายืนโทษประหารชีวิตชายหนุ่มสองคนซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีในขณะที่ก่ออาชญากรรมโดยไม่แจ้งให้ครอบครัวหรือทนายความทราบ

ดาน่า อาเหม็ด นักวิจัยภูมิภาคตะวันออกกลางของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า อับดุลลาห์ อัล-เดราซีและจาลาล ลับบัด ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายจากการเข้าร่วมในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล โดยมีการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรงซึ่งอาศัยคำรับสารภาพจากการทรมาน ทางการซาอุดีอาระเบียได้ตัดสินประหารชีวิตพวกเขา ซึ่งผิดสัญญาที่จะยุติการใช้โทษประหารชีวิตในกรณีของบุคคลที่ยังเป็นเด็กในขณะที่ก่ออาชญากรรม ตอนนี้ทั้งสองคนอาจถูกประหารชีวิตได้ทุกเมื่อหลังจากกษัตริย์รับรองคำพิพากษาประหารชีวิต เนื่องจากพวกเขาดำเนินการด้วยวิธีการอื่นทางกฎหมายในประเทศจนหมดแล้ว

“เราขอเรียกร้องให้กษัตริย์ยกเลิกการรับรองคำพิพากษาประหารชีวิตของทั้งสองคนนี้ และขอให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจเพิกถอนคำพิพากษาประหารชีวิตเพื่อยุติความบิดเบี้ยวของกระบวนการยุติธรรมนี้ ทางการยังต้องดำเนินการสอบสวนข้อร้องเรียนของจำเลยเรื่องการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ ตามที่บันทึกไว้ในเอกสารของศาลที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลตรวจสอบ ซึ่งรวมถึงการทุบตีอย่างรุนแรง ความรุนแรงทางเพศ และการใช้ไฟฟ้าช็อต ซึ่งศาลไม่ได้สอบสวนเลย”

 

อ่านต่อ: https://www.amnesty.org/en/latest/news/2023/10/saudi-arabia-two-young-men-at-imminent-risk-of-execution-after-supreme-court-decision-issued-in-secret/

 


----

จีน: ทนายความสิทธิมนุษยชนได้รับคำตัดสินหลังจากถูกลิดรอนเสรีภาพ 6 ปี

25 ตุลาคม 2566 

 

สืบเนื่องจากรายงานเกี่ยวกับคำพิพากษาโทษจำคุก 6 ปีครึ่งของหลี่ อวี้ฮั่น ทนายความสิทธิมนุษยชนชาวจีนในข้อหา “หาเรื่องทะเลาะและสร้างความวุ่นวาย” และฉ้อโกงเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 

ซาราห์ บรูคส์ รองผู้อำนวยการระดับภูมิภาค ฝ่ายกิจการเกี่ยวกับประเทศจีน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า หลี่ อวี้ฮั่นเป็นหนึ่งในนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจำนวนมากในจีนที่ต้องเสียสละอย่างมหาศาลสำหรับงานของพวกเขาในการปกป้องบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอย่างไม่ยุติธรรม เธอควรได้รับการปล่อยตัวในทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข และต้องมีการสอบสวนอย่างอิสระสำหรับข้อกล่าวหาต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อเธอระหว่างถูกคุมขัง

“ทนายความหลี่ถูกควบคุมตัวโดยพลการเป็นเวลา 6 ปีแล้ว โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปราบปรามอย่างต่อเนื่องต่อนักกิจกรรม ผู้สนับสนุนทางกฎหมาย หรือใครก็ตามที่ยืนหยัดต่อสู้โดยสงบเพื่อสิทธิมนุษยชนในจีน เธอควรจะได้อยู่บ้านกับครอบครัว ไม่ใช่อยู่ในคุกเพียงเพราะทำงานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของประชาชน

ทนายความมีบทบาทสำคัญในการรักษาหลักนิติธรรมและปกป้องสิทธิของเหยื่อจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในจีน พวกเขาถูกโจมตีและเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อ เราขอเรียกร้องให้ทางการจีนยุติการปราบปรามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และเราจะเรียกร้องความยุติธรรมและการชดเชยเพื่อเยียวยาพวกเขาสำหรับการละเมิดที่เกิดขึ้น”

 

อ่านต่อ: https://www.amnesty.org/en/latest/news/2023/10/china-after-six-years-deprived-of-liberty-human-rights-lawyer-finally-sentenced/