นักกิจกรรม

 

นักกิจกรรมของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นพลังหลักในงานรณรงค์ที่ประสบความสำเร็จของเราตลอด 50 กว่าปีที่ผ่านมา

 

คนธรรมดามากมายได้รวมตัวกันสิ่งเล็กๆบางอย่างที่ไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรงของพวกเขา ทั้งการให้ลายเซนต์ เขียนจดหมาย ทวีต แชร์ข้อความในสื่อออนไลน์ จัดฉายหนังหรือนิทรรศการศิลปะ ระดมทุนในโรงเรียนหรือที่ทำงาน จัดกิจกรรมสิทธิมนุษยชนศึกษา รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนต่อสถานทูตและเจ้าหน้าที่ทางการ

 

นักกิจกรรมของเรากล้าลุกขึ้นยืนเพื่อมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องคนอื่นๆไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ใดก็ตามที่ความไม่เป็นธรรม ความยุติธรรม เสรีภาพและความจริงถูกปฎิเสธ

 

ปัจจุบัน ฝ่ายนักกิจกรรมของแอมเนสตี้แบ่งการทำงานหลักๆออกเป็น  3 ภูมิภาค คือภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้นั้นมีแอมเนสตี้เจ้าหน้าที่นักกิจกรรมภาคสนาม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่มากขึ้น 

 

อ่าน: ยุทธศาสตร์เด็กและเยาวชนโลก 2565 - 2568 ฉบับย่อ 

อ่าน: ข้อคิดเห็นจากเยาวชนไทยต่อยุทธศาสตร์เด็กและเยาวชนโลก 2565 - 2568

Read: Global Children and Youth Strategy 2022 - 2025 (Brief)

Read: Comments from Thai youth on the Global Child and Youth Strategy 2022 - 2025  

 

25542555_1971827709510978_8594709560453607429_o.jpg

 

 

 

 

แอมเนสตี้คลับ ภาคใต้

IMG_3039.JPG

 

แอมเนสตี้คลับปัตตานี (Amnesty PSU Pattani Club) แรกเริ่มเกิดขึ้นจากความสนใจของกลุ่มนักศึกษาเล็กๆคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่มีความสนใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนร่วมกัน จากนักศึกษากลุ่มเล็กๆนี้เองทำให้มีการเกิดแอมเนสตี้คลับขึ้น พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายนักกิจกรรมภาคสนามประจำภาคใต้ เพื่อคอยประสานงานกับส่วนกลางและช่วยผลักดันให้เกิดการรณรงค์ด้านสิทธิในพื้นที่มากขึ้น ปัจจุบันแอมเนสตี้คลับปัตตานีมีกิจกรรมเกิดขึ้นตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกีี่ยวข้องกับแอมเนสตี้ส่วนกลาง หรือกิจกรรมที่คลับริเริ่มเอง

 

 

Ying2.png

 

คลิกที่นี่ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของแอมเนสตี้คลับปัตตานี และกิจกรรมอื่นๆในภาคใต้

 

แอมเนสตี้คลับ ภาคอิสาน

MSU club.jpg

 

 

 

 

 

 

คลิกที่นี่ เพื่ออ่านรายงานสรุปฝ่ายนักกิจกรรม ประจำปี 2560

คู่มือนักกิจกรรมของแอมเนสตี้

กลยุทธ์เยาวชนแห่งชาติปี 2018 - 2021

แอมเนสตี้ดำเนินตาม ปฏิบัติการพลังเยาวชน! กลยุทธ์เยาวชนสากล 2017-2020 โดยนิยามของ “เยาวชน”คือบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ในฐานะองค์กร เอไอ ประเทศไทยถือเป็นองค์กรที่มีเสียงของเยาวชนที่แข็งแกร่ง เกือบ 90% ของนักกิจกรรมเป็นเยาวชน นอกจากนี้ อาสาสมัครส่วนมากก็เป็นเยาวชน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานประเทศไทยจำนวนมากก็เป็นคนหนุ่มสาว มีเยาวชนหลายกลุ่มและตัวแทนเยาวชนในคณะกรรมการและการเชื่อมสัมพันธ์กับโรงเรียนและมหาลัยต่างๆ อย่างไรก็ตาม เอไอ ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและพัฒนางานกิจกรรมเยาวชนต่อไป ทั้งนี้ เพราะคนหนุ่มสาว ส่วนมากเป็น “ผู้รู้ดิจิตัลตามธรรมชาติ” ทักษะการใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์ บวกกับความกระตือรือร้นและความคิดสร้างสรรค์จะเป็นเครื่องมือสำาคัญในการบรรลุเป้าหมายของเอไอ ประเทศไทย นอกจากนี้ การเพิ่มพลังให้เยาวชนยังเป็นส่วนสำาคัญสำาหรับอนาคตขององค์กร

 

25394940_1123918037744820_2578054579399140931_o.jpg

อ่านกลยุทธ์เยาวชน ฉบับเต็ม

กลุ่มนักกิจกรรม

นักกิจกรรมของแอมเนสตี้มีส่วนส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานรณรงค์และเผยแพร่งานด้านสิทธิมนุษยชนต่อสาธารณชน ปัจจุบันมีแอมเนสตี้คลับ (Amnesty Club) ซึ่งกระจายตัวอยู่ตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเริ่มต้นจากการสร้างขบวนการสิทธิมนุษยชนในชุมชนและสถานศึกษาของคุณ ด้วยการก่อตั้งทีมทำงานที่มุ่งมั่น เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสิทธิมนุษยชน และพัฒนาทักษะการเป็นนักกิจกรรมและผู้จัดกิจกรรม คุณก็สามารถขับเคลื่อนชุมชนของคุณเพื่อให้เป็นพลังในการต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีและความยุติธรรมได้

 

31891032_1680528528697097_3782517834333028352_n.jpg

คู่มือการจัดตั้งคลับแอมเนสตี้