เทรนด์ประเด็นสิทธิแห่งปี 2019

12 กุมภาพันธ์ 2561

บทความโดย Milly Stilinovic

ช่วงต้นปีอย่างนี้ มักจะเป็นช่วงเวลาของความสุขและความหวังว่าจะเกิดสันติสุขขึ้นบนโลก เราจึงขอแนะนำ 3 เทรนด์ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ถูกพูดถึงมากในปีนี้ และมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องในประเด็นเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆ

 

ความหลากหลายทางเพศ

เอกลักษณ์ดั้งเดิมของเพศถูกระบุไว้ว่า เพศหญิงต้องสำรวม ไร้เดียงสา ใสซื่อทางเพศแต่ยังมีเสน่ห์ ท่วงท่างดงาม และมีความเป็นแม่ ในขณะที่เพศชายต้องก้าวร้าว ประสบการณ์โชกโชน เชี่ยวชาญทางเพศ ด้านชา น่าเกรงขาม ทะเยอทะยาน จารีตทางเพศดังกล่าวเป็นตัวกำหนดว่าใครในสังคมที่ต้องการการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมถึงวิธีการคุ้มครองคนกลุ่มดังกล่าว ทว่า คำว่าเพศในทุกวันนี้มีความหมายที่ลื่นไหลและครอบคลุมไปถึงผู้มีความหลากหลายทางเพศ และคนกลุ่มอื่นๆ ที่ไม่มีตัวตนที่ตรงกับบทบาททางเพศที่สังคมคาดหวัง อย่างไรก็ตาม มุมมองที่เราใช้เพื่อทำงานด้านเพศสภาพกับสิทธิมนุษยชนยังคงถือว่าแคบมากแต่ในอีกแง่ หลายๆ ฝ่ายก็เริ่มมีแผนการเพื่อปกป้องผู้อยู่ในความเสี่ยงในสถานการณ์คับขัน โดยในปี 2008 สหประชาชาติให้การรับรองว่าการข่มขืนผู้หญิงในสถานการณ์รุนแรงถือเป็นอาชญากรรมสงคราม นอกจากนี้หลายๆ องค์กรก็เริ่มให้ความสนใจกับผู้หญิงและความเสี่ยงต่อการอดอาหารที่มากกว่าเมื่อพวกเธอสูญเสียการเข้าถึงการจ้างงานและอสังหาริมทรัพย์และในขณะที่เรามีตัวอย่างที่ดีเกิดขึ้น เราก็ยังคงเผชิญกับเหตุการณ์อีกมากที่สอนให้รู้ถึงผลกระทบที่ร้ายแรงจากการบังคับใช้บทบาททางเพศแบบดังเดิม ได้ส่งผลกระทั่งถึงชีวิตกับผู้ที่ไม่อยู่ในบทบาทดังกล่าวสงครามบอสเนียในปี 1995 ได้มีการสังหารชายชาวมุสลิมถึง 8000 คน รวทไปถึงเด็กชายอายุแค่ 14 ในเมืองเซเบรนีกา โดยการสังหารระดับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะทางกองทัพถือว่าเพศชายทุกคน “ก้าวร้าวและน่าเกรงขาม” และสามารถต่อสู้ได้ทุกคนการแบ่งแยกประชากรกลุ่มเสี่ยงที่สุดของโลกยังคงดำเนินต่อไปด้วยการบังคับใช้บทบาททางเพศแบบดั้งเดิมในสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการไม่พูดถึงความขาดแคลนของผู้มีความหลากหลายทางเพศรอบโลกการทำร้าย ทรมาน และกีดกันชุมชนผู้หลากหลายทางเพศ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในพื้นที่ความรุนแรงทั่วโลก รวมถึงมีรายงานการฆาตกรรมคนข้ามเพศที่เพิ่มขึ้นรอบโลก มันถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องท้าทายจารีตทางเพศ เพื่อที่เราจะได้คุ้มครองมนุษย์ได้ทั้งหมด ไม่ใช่แค่กลุ่มเดียว

 

ความเท่าเทียม

สังคมโลกยังคงเผชิญกับธรรมเนียมและพฤติกรรมที่กีดกันผู้คนทั้งชุมชนออกจากสังคมเพราะความแตกต่างทางเชื้อชาติการเหยียดเชื้อชาติกลายเป็นจุดสนใจของสังคมหลังจากเมื่อปี 2012 วัยรุ่นชายในสหรัฐอเมริกา ชื่อเทรวอน มาร์ติน ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างเดินกลับบ้านในฟลอริดา โดยผู้ลงมือสังหารเขา จอร์จ ซิมเมอร์แมน ได้ถูกยกฟ้องคดีในปี 2013คดีดังกล่าวส่งผลให้มีการเดินขบวนและประท้วงนับครั้งไม่ถ้วน จนนำไปสู่การเคลื่อนไหว Black Lives Matter หรือชีวิตคนผิวสีก็มีค่า เพื่อที่จะแทรกแซงเมื่อมีการกระทำความรุนแรงต่อคนผิวสีโดยรัฐหรือพวกหัวรุนแรงการประท้วงดังกล่าวได้แพร่กระจายออกมาสู่สังคมโลก เมื่อกลุ่มผู้ถูกกีดกันจากสังคมในประเทศอื่นๆ ได้ใช้โอกาสนี้เพื่อแสดงความเกรี้ยวกราดต่อระบบการกดขี่สองมาตรฐานที่เอื้อให้แก่คนกลุ่มหนึ่งและกลั่นแกล้งอีกฝ่ายเมื่อนาง ดูห์ สตรีชาวออสเตรเรียฝั่งตะวันตกเสียชีวิตในระหว่างถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อปี 2014 การเหยียดเชื้อชาติ ก็ยิ่งตอกย้ำความสำคัญมากขึ้นในระดับสากล การเหยียดเชื้อชาติยังคงแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในมาตรการทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศกำลังพัฒนา หลายสิบปีที่ผ่านมาธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศในระดับดังกล่าว โดยที่มีข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่เคร่งครัด ส่งผลให้ประเทศลูกหนี้ต้องนำเงินมาใช้หนี้ ด้วยการตัดงบทางสาธารณสุข การศึกษา และการจ้างงานมันถึงเวลาแล้วที่เราต้องเผชิญหน้ากับความไม่เท่าเทียมเพื่อให้มนุษย์ทุกคนในสังคมโลกสามารถเข้าถึงสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมในสังคมได้

 

การปลดแอกทางความคิด

แวดวงวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังพูดถึงวิธีการแบบใหม่เพื่อการค้นหาสาเหตุการก่อการร้าย โดยวิธีดังกล่าวคือการปลดแอกทางความคิดวิธีดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากกระบวนการสันติภาพไอร์แลนด์เหนือ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 1998 โดยความขัดแย้งทางอาณาเขตระหว่างรัฐบาลสหราชอาณาจักรและกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์หรือ IRA ได้ยุติลงจากการเจรจาทางการฑูตและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การปลดแอกทางความคิด คือการดำเนินงานโดยมองไปให้ไกลกว่าการโจมตีหรือความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่รวมไปถึงสิ่งที่ทำให้เกิดการกีดกันและเกลียดชังกลุ่มบุคคลที่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงโดยกลุ่มดังกล่าว โดยการปลดแอกทางความคิดจะเปิดประตูให้ทุกฝ่ายได้เข้ามาพูดคุยหารือกันแทนที่จะปิดปากอีกฝ่ายให้เงียบทว่า ผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านความมั่นคงทั่วโลกยังคงยึดถือความคิดเดิมๆ นั่นคือความรุนแรงต้องระงับด้วยความรุนแรงการตั้งประเด็นต่างๆ ให้กลายเป็นปัญหาความมั่นคง เพียงเพื่อที่ผู้มีอำนาจพยายามจะหาเหตุผลมารองรับการก่อความรุนแรงโดยฝ่ายตนเองทำให้สถานการณ์ความรุนแรงยังคงดำเนินต่อไปไม่จบไม่สิ้นถ้าเราต้องการที่จะสร้างความมั่นคง แก้ไขปัญหา และลดความรุนแรงในโลก มันถึงเวลาแล้วที่เราต้องการปลดแอกทางความคิดเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาทั้งโครงสร้าง