สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 8 กรกฎาคม - 14 กรกฎาคม 2566

17 กรกฎาคม 2566

Amnesty International Thailand

 

ชัยชนะด้านสิทธิมนุษยชนครึ่งปีแรก 2566

13 กรกฎาคม 2566

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลและผู้สนับสนุนต่างมุ่งมั่นคว้าความสำเร็จในการช่วยชีวิต การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และการปกป้องสิทธิมนุษยชนในปีนี้...

  • ความสำเร็จด้านการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
  • ความสำเร็จด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พัฒนาการเชิงบวกด้านโทษประหารชีวิต
  • ความสำเร็จด้านสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ
  • ความสำเร็จด้านเทคโนโลยี
  • ความสำเร็จด้านการแสวงหาอิสรภาพ
  • ความสำเร็จด้านการตรวจสอบความรับผิดรับชอบของผู้มีอำนาจ
  • ความสำเร็จด้านสิทธิของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ
  • ความสำเร็จด้านสิทธิสตรี

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/44tYfQC

 

----- 

 

 

เวียดนาม: เรียกร้องยกเลิกข้อกล่าวหาและปล่อยตัวนักกิจกรรม ถูกตัดสินจำคุก 6 ปีทันที

12 กรกฎาคม 2566

 

ก่อนการพิจารณาอุทธรณ์ในวันพฤหัสบดี (13 กรกฎาคม 2566) ของ เจือง วัน สุง นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหา “สร้างโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านรัฐบาล” และถูกตัดสินจำคุกหกปีในเดือนมีนาคม 2566 เพียงเพราะแค่แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ

มิงยู ฮาห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

“ทางการเวียดนามยังคงนำกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไปใช้ในทางที่ผิดอีกครั้งเพื่อปราบปรามผู้เห็นต่าง การถูกจับเพียงเพราะแค่ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศ เจือง วัน สุง ไม่ควรติดคุกตั้งแต่แรก ทางการเวียดนามต้องยกเลิกข้อกล่าวหาที่กุขึ้นเหล่านี้และปล่อยตัวสุงทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข

“การพิจารณาอุทธรณ์ของสุง เกิดขึ้นท่ามกลางการปราบปรามอย่างต่อเนื่องต่อผู้ที่มีความคิดเห็นที่หลากหลายหรือผู้ที่มีความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาล และต่อต้านองค์กรภาคประชาสังคมอิสระในเวียดนาม หลายคนถูกคุมขังในคุกในสภาพแวดล้อมที่น่าตกใจ โดยไม่มีอาหารและยาที่เพียงพอ เพียงแค่เพราะใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก”

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/44vygbC

 

-----

 

 

ยุโรป/อเมริกา : ประชุมสุดยอด EU-CELAC ย้ำทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนลำดับแรก

13 กรกฎาคม 2566

 

ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) และประชาคมละตินอเมริกาและแคริบเบียน (Community of Latin America and Caribbean States หรือ CELAC) จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนร้ายแรงที่ทวีปของตนกำลังเผชิญอยู่อย่างเร่งด่วน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมาในเหตุจดหมายเปิดผนึกถึงผู้นำที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดระหว่างหน่วยงานระดับภูมิภาคทั้งสองในกรุงบรัสเซลส์ในวันที่ 17 และ 18 กรกฎาคม

ผู้นำที่เข้าร่วมจะต้องแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนสำคัญที่ทั้งสองทวีปกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันอย่างเร่งด่วน รวมถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและพื้นที่ภาคประชาสังคม สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมประท้วงโดยสงบและสันติ สิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ ความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง และการปกป้องพัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนและระบบสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/44JYKWD

 

-----

 

สเปน : 'การขาดความร่วมมือ' จากอิสราเอลประเด็นบริษัทสปายแวร์เพกาซัสสอดเเนม เน้นย้ำการปล่อยให้ลอยนวลพ้นผิด 

11 กรกฎาคม 2566

 

สืบเนื่องจากข่าวรายงานว่าการสืบสวนของสเปนเกี่ยวกับสปายแวร์เพกาซัสของบริษัทบริการซอฟต์แวร์สอดแนมสัญชาติอิสราเอล (NSO Group) ที่ถูกกล่าวหาว่ามีการมุ่งเป้าไปที่โทรศัพท์ของนายกรัฐมนตรีสเปนและรัฐมนตรีคนอื่นๆ ได้ล้มเหลวลงเนื่องจาก 'ขาดความร่วมมือ' จากอิสราเอล

ดอนชา โอ เซียร์เบล หัวหน้าแผนก Security Lab ของ แอมเนสตี้ เทค กล่าวว่า

“การขาดความร่วมมือจากทางการอิสราเอลในการสืบสวนคดีอาชญากรรมของสเปนตามรายงานนี้ แสดงให้เห็นถึงการลอยนวลพ้นผิดจากการใช้สปายแวร์และเทคโนโลยีการเฝ้าระวังทางไซเบอร์ในทางที่ผิด การที่ทางการอิสราเอลไม่แม้แต่จะมีส่วนร่วมกับศาลอาญาทีสูงสุดของสเปน แสดงให้เห็นถึงความไม่เพียงพอของช่องทางสำหรับการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดโดยอุตสาหกรรมสปายแวร์”

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/3DcPb6V

 

----- 

 

ไต้หวัน : เลขาฯ แอมเนสตี้ ชี้ ไต้หวัน เป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้านสิทธิมนุษยชนได้ แต่ต้องมุ่งมั่น ทำงานอย่างต่อเนื่อง

13 กรกฎาคม 2566

 

แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เดินทางเยือนเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ไต้หวันตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน ถึง 1 กรกฎาคม การเยือนครั้งนี้เป็นโอกาสในการให้การสนับสนุนและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันแก่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไต้หวัน และกลุ่มภาคประชาสังคมของไต้หวันท่ามกลางความตึงเครียดทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และการพัฒนาด้านอื่นๆ ในภูมิภาค เช่นการใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกง

ในแถลงการณ์สิ้นสุดการเยือนของเธอ คุณคาลามาร์ดได้แบ่งปันความคิดเห็นของเธอเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไต้หวันและให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ในการปรับปรุงต่อไป

“การอ้างสิทธิ์เหนือไต้หวันของจีนและการแสดงอำนาจอันยิ่งใหญ่ระหว่างสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีนมีอิทธิพลที่ปฏิเสธไม่ได้ต่อลักษณะและขอบเขตของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของไต้หวัน

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/474HZrh

 

----- 

 

รัสเซีย: การออกกฎหมายที่เกลียดชังคนข้ามเพศ เป็นการทำลายสิทธิมนุษยชนอย่างน่ากลัว

13 กรกฎาคม 2566

 

สืบเนื่องจากข่าวที่สภาดูมาในรัสเซียผ่านกฎหมายที่ห้ามกระบวนการ "แปลงเพศ" ทั้งหมด

นาตาเลีย ซเวียจิน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

“การออกกฎหมายข้ามเพศที่น่ารังเกียจนี้แสดงให้เห็นถึงการไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของคนข้ามเพศในสังคมรัสเซียอย่างสิ้นเชิง

“การแก้ไขกฎหมายที่เสนอนี้ไม่เพียงแต่จะไม่ให้ผู้คนเปลี่ยนคำระบุเพศสถานะในเอกสารทางการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบทบัญญัติที่ห้ามพวกเขารับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และทำให้การสมรสเป็นโมฆะเมื่อคู่หนึ่งเปลี่ยนคำระบุเพศสถานะ

“การห้ามการรักษาเพื่อแปลงเพศ รวมถึงการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน จะก่อความทุกข์ยากอย่างมากแก่พลเมืองรัสเซียหลายพันคน โดยกีดกันพวกเขาจากการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่จำเป็น และทำให้สุขภาพจิตของพวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างร้ายแรง”

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/3XU50Zw