สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 14 มกราคม - 20 มกราคม 2566

24 มกราคม 2566

Amnesty International Thailand

สรุปสั้น ๆ
  • ฟิลิปปินส์ : มาเรีย เรสซา เจ้าของรางวัลโนเบล พ้นผิดจากข้อหาเลี่องภาษีที่มีจูงใจทางการเมือง โดยในฟิลิปปินส์ Cyber Libel ของกฎหมายป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ (Cybercrime Prevention Act) ยังคงถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดและเป็นการปฏิบัติมิชอบโดยทางการเพื่อข่มขู่นักข่าวและคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่พูดความจริงกับผู้มีอำนาจ
  • เลบานอน : ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเกือบ 200 คนซึ่งได้รับการช่วยชีวิตจากเรือที่กำลังล่มนอกชายฝั่งเลบานอนในวันส่งท้ายปีเก่าได้ถูกส่งตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมายกลับไปอยู่ในมือของทางการซีเรีย
  • การประชุมสภาเศรษฐกิจโลกที่ดาวอส : การเดิมพันสูงเกินไปสำหรับการพูดแล้วไม่ทำอีก โดยได้เรียกร้องให้เวทีนี้มีการพูดคุยเรื่องภาษีใหม่สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล เพื่อสร้างแรงจูงใจในการจัดหาพลังงานสีเขียวที่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน
  • แอลจีเรีย : นักข่าวที่ถูกคุมขังจะต้องได้รับการปล่อยตัวและสื่อต่างๆของเขาควรได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่อีกครั้ง
  • กรีซ : การทดสอบด้านมนุษยธรรมจะต้องสิ้นสุดลง หลังการพิจารณาคดีต่อผู้ช่วยชีวิตด้านมนุษยธรรมอย่างซาร่า มาร์ดินีและฌอน ไบน์เดอร์ ได้กลับไปที่ขั้นตอนส่งคำฟ้องกลับไปยังอัยการเนื่องจากความบกพร่องของขั้นตอนต่าง ๆ แม้เวลาจะผ่านไปกว่าสี่ปีแล้ว คดีนี้เป็นตัวอย่างว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสามารถนำมาใช้ในทางที่ผิดโดยทางการได้อย่างไรในการลงโทษและขัดขวางการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
  • รัสเซีย : ทางการพร้อมที่จะใช้กฎหมายใหม่เพื่อแบนภาพยนตร์ที่มีตัวละครผู้มีความหลากหลายทางเพศ การเซ็นเซอร์อย่างไม่สะทกสะท้านนี้แสดงให้เห็นว่าทางการรัสเซียได้ก้าวข้ามสิทธิมนุษยชนไปอย่างสิ้นเชิง เต็มใจที่จะละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง ในการแกล้งทำเป็นพยายามที่จะ “ปกป้องคุณค่าดั้งเดิม”
--------
 
 
 
ฟิลิปปินส์ : มาเรีย เรสซา เจ้าของรางวัลโนเบล พ้นผิดจากข้อหาเลี่องภาษีที่มีจูงใจทางการเมือง
18 มกราคม 2566
 
สืบเนื่องจากคำตัดสินของศาลอุทธรณ์คดีภาษีให้มาเรีย เรสซาพ้นผิดจากข้อหาเลี่ยงภาษีสี่กระทง
บุชต์ โอลาโน ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิลิปปินส์ เผยว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยินดีกับการตัดสินยกเลิกข้อหาเลี่ยงภาษีของมาเรีย เรสซา นักข่าวชื่อดังและเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เราขอเรียกร้องให้ทางการยกเลิกข้อกลั่นแกล้งทางไซเบอร์และข้อหาอื่นๆ ของเรสซาทันทีเพื่อให้เธอสามารถทำงานต่อไปได้
“บทบัญญัติเกี่ยวกับการฟ้องหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาทางไซเบอร์ (Cyber Libel) ของกฎหมายป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ (Cybercrime Prevention Act) ยังคงถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดและเป็นการปฏิบัติมิชอบโดยทางการเพื่อข่มขู่นักข่าวและคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่พูดความจริงกับผู้มีอำนาจ การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการคุกคามสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อมวลชน และยังทำให้เกิดการลอยนวลพ้นผิดของรัฐบาลมากขึ้น
“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอย้ำถึงการเรียกร้องให้ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ประกันว่าจะมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในการสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่นักข่าวเขียนถึง โดยมีเป้าหมายในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อเปิดเผยความจริง
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3QQFvVw
 
--------
 
 
เลบานอน : ชาวซีเรียที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์เรือล่มถูกส่งตัวออกนอกประเทศแล้ว
18 มกราคม 2566
 
สืบเนื่องจากข่าวน่าตกใจที่ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเกือบ 200 คนซึ่งได้รับการช่วยชีวิตจากเรือที่กำลังล่มนอกชายฝั่งเลบานอนในวันส่งท้ายปีเก่าได้ถูกส่งตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมายกลับไปอยู่ในมือของทางการซีเรีย
อายา เมซซูป รองผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกล่าวว่า
​“การเนรเทศผู้ลี้ภัยเหล่านี้ของกองทัพเลบานอนแสดงได้ให้เห็นอีกครั้งถึงการเมินเฉยที่เหล่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อบุคคลเปราะบาง
“พวกเขาหนีภัยในสงครามซีเรีย ต้องอดทนต่อสภาพอันโหดร้ายในฐานะผู้ลี้ภัยในเลบานอน และเอารอดชีวิตจากเหตุเรือล่ม แต่ดูเหมือนเพียงเพื่อที่จะถูกส่งตัวกลับอย่างผิดกฎหมายไปอยู่ในมือของผู้มีอำนาจที่พวกเขาหลบหนีมา เห็นได้ชัดว่าพวกเขาตกเป็นเหยื่อของเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตและผู้ลักลอบขนคนเข้าเมือง”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3wg37JL
 
------
 
 
การประชุมสภาเศรษฐกิจโลกที่ดาวอส : การเดิมพันสูงเกินไปสำหรับการพูดแล้วไม่ทำอีก
13 มกราคม 2566
 
ก่อนหน้าการประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจที่ดาวอส ซึ่งได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 มกราคมนี้
แอกเนส คาลลามาร์ด เลขาธิการของแอมเนสตี้ อินเตอร์แนชั่นแนล กล่าวว่า
“ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหมือนกับว่ากล่องอาถรรพ์แพนโดร่าได้ถูกเปิดออกมาเพื่อปลดปล่อยวิกฤตที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลก เราต่างพบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับความท้าทายที่มักจะทับซ้อนและเกี่ยวพันกัน อย่างเช่น วิกฤตสภาพภูมิอากาศ การระบาดใหญ่ทั่วโลก การขัดแย้งกันด้วยอาวุธ การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งล่าสุดในด้านเทคโนโลยีที่สุกงอมสำหรับการแสวงประโยชน์ ความไม่มั่นคงทางอาหารที่กระจายเป็นวงกว้าง เศรษฐกิจโลกที่มอบความมั่งคั่งอย่างไม่อาจจินตนาการได้ให้กับคนเพียงไม่กี่คนในขณะที่ค่าจ้างที่ต่ำหรือการว่างงานทิ้งให้คนนับล้านต่างตกที่นั่งลำบาก”
“เพื่อให้มั่นใจว่าการประชุมที่เมืองดาวอสในปีนี้จะไม่ตกอยู่ภายใต้ชะตากรรมเดียวกัน เหล่าชนชั้นนำที่ทรงอิทธิพลสูงที่เข้าร่วมงานจะต้องไตร่ตรองว่าทำไมพวกเขาถึงอยู่ที่นั่น จุดสนใจของพวกเขาควรที่จะเพื่อผลักดันวิธีแก้ปัญหาที่จับต้องได้ที่เรารู้ว่ามันได้ผล แทนที่จะเลือกที่จะปกป้องระบบเศรษฐกิจโลกที่มีอยู่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม กิจกรรมเสริมและการสัมมนาควรเต็มไปด้วยการสนทนาเกี่ยวกับภาษีใหม่สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลในการสร้างแรงจูงใจในการจัดหาพลังงานสีเขียวที่สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3XqozYp
 
-------
 
แอลจีเรีย : นักข่าวที่ถูกคุมขังจะต้องได้รับการปล่อยตัวและสื่อต่างๆของเขาควรได้รับการอนุญาตให้เผยแพร่อีกครั้ง
17 มกราคม 2566
 
ทางการแอลจีเรียได้ต่ออายุความการควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดีโดยพลการของนักข่าวที่มีชื่อเสียงอย่าง อิห์ซาเน่ เอล คาดี เมื่อวันที่ 15 มกราคม โดยไม่มีทีมป้องกันของเขาอยู่ด้วย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา เอล คาดี ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐจะต้องได้รับการปล่อยตัวในทันทีและสื่อทั้งสองของเขาที่ถูกปิดในวันที่ 24 ธันวาคม ควรได้รับการอนุญาตให้เปิดอีกครั้ง
เมื่อวันที่ 15 มกราคม ผู้พิพากษาในศาลของ Sidi M'hamed ในแอลเจียร์ ต่ออายุความการตัดสินใจที่จะควบคุมตัวเขาไว้ก่อนการพิจารณาคดี ในเวลานั้นไม่มีทนายความจากทีมป้องกันของเขาเข้าร่วมเพื่อท้าทายความชอบด้วยกฎหมายของการจำคุกเอล คาดี เนื่องจากศาลไม่ได้แจ้งให้พวกเขาทราบว่าการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 18 มกราคม ถูกเลื่อนไปยังวันที่ก่อนหน้านี้
“การกักขังอย่างไม่ยุติธรรมของเอล คาดี โดยทางการแอลจีเรียถือเป็นความอยุติธรรมอย่างร้ายแรงที่ประกอบขึ้นจากการละเมิดสิทธิการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมของเขา และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการรณรงค์ที่ไร้ความปราณีของพวกเขาเพื่อปิดปากเสียงคัดค้านผ่านการกักขังโดยพลการและการปิดสื่อ” แอมนา กูเอลลาลี รองผู้อำนวยการฝ่ายตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3Wno2oH
 
-------
 
กรีซ : การทดสอบด้านมนุษยธรรมจะต้องสิ้นสุดลง
13 มกราคม 2566
 
สืบเนื่องจากข่าวการพิจารณาคดีต่อผู้ช่วยชีวิตด้านมนุษยธรรมอย่างซาร่า มาร์ดินีและฌอน ไบน์เดอร์ ที่ศาลอุทธรณ์ของมิทิลีนส่งคำฟ้องกลับไปยังอัยการเนื่องจากความบกพร่องทางขั้นตอน ที่รวมถึงความล้มเหลวในการแปลคำสั่งฟ้อง
นีลส์ มุยซ์เนียกส์ ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำสำนักงานภูมิภาคยุโรป กล่าวว่า
“การตัดสินใจในวันนี้ได้มอบโอกาสใหม่ให้กับทางการในการยุติการทดสอบนี้และแก้ไขความผิดของตนเองโดยการทิ้งข้อกล่าวหาทั้งหมดที่รวมถึงความผิดทางอาญาที่ร้ายแรงมากกว่าที่ยังคงรอพวกเขาอยู่ ความผิดพลาดตามขั้นตอนตามที่ศาลยกขึ้นรวมถึงความล้มเหลวในการแปลเพื่อประกอบกับความไร้เหตุผลของทางการกรีกที่มุ่งเป้าไปที่ผู้ปกป้องสิทธิของผู้อพยพและผู้ลี้ภัย”
“เวลาผ่านไปกว่าสี่ปีนับตั้งแต่มีการเปิดการสอบสวนที่ตลกขบขันนี้ ที่ได้ทิ้งชีวิตของซาร่าและฌอนไว้ในสถานะที่ไม่แน่นอน การดำเนินคดีอย่างต่อเนื่องของพวกเขาโดยข้อกล่าวหาทางอาญาที่ไม่มีมูลความเป็นจริงยังคงอยู่ระหว่างการสืบสวนที่ทำให้เกิดความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความตั้งใจที่แท้จริงของเจ้าหน้าที่ คดีนี้เป็นตัวอย่างว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสามารถนำมาใช้ในทางที่ผิดโดยทางการได้อย่างไรในการลงโทษและขัดขวางการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3D2UkP7
 
-------
 
รัสเซีย : ทางการพร้อมที่จะใช้กฎหมายใหม่เพื่อแบนภาพยนตร์ที่มีตัวละครผู้มีความหลากหลายทางเพศ
20 มกราคม 2566
 
สืบเนื่องจากข่าวที่ผู้ควบคุมสื่อของรัสเซียพร้อมที่จะเซ็นเซอร์เนื้อหาออนไลน์ที่มีการอ้างอิงถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศหรือสิทธิ รวมถึงการห้ามฉายภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ที่มีตัวละครผู้มีความหลากหลายทางเพศ
นาตาเลีย ซเวียจิน่า ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำรัสเซียกล่าวว่า
“ทางการรัสเซียเตรียมที่จะจับแพะรับบาปและตีตรากลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศต่อไป ผ่านทางกฎหมายใหม่ที่ต่อต้านการรักร่วมเพศ รวมถึงการห้ามฉายภาพยนตร์ที่โด่งดังไปทั่วโลกอย่างผิดปกติ อย่าง หุบเขาเร้นรัก (​​Brokeback Mountain) และ เอ่ยชื่อคือคำรัก (Call Me by Your Name)”
“การเซ็นเซอร์อย่างไม่สะทกสะท้านนี้แสดงให้เห็นว่าทางการรัสเซียได้ก้าวข้ามสิทธิมนุษยชนไปอย่างสิ้นเชิง เต็มใจที่จะละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างโจ่งแจ้ง ในการแกล้งทำเป็นพยายามที่จะ “ปกป้องคุณค่าดั้งเดิม” การเคลื่อนไหวที่เหลือทนนี้ไม่เพียงแต่จะประทับตราบาปเพิ่มเติมให้กับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศหลายล้านคนเท่านั้น แต่กลับทำให้พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติและตีตรามากขึ้น และยังเพิ่มการต่อต้านและการกระทำรุนแรงต่อพวกเขาอีกด้วย”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3D4NFnL