สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 24 กันยายน - 30 กันยายน 2565

2 ตุลาคม 2565

Amnesty International Thailand

 
เมียนมา: แอมเนสตี้เรียกร้องบริษัทเมตาต้องเยียวยาชาวโรฮิงญา หลังงานวิจัยพบกลไกของเฟซบุ๊กสนับสนุนความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญา
29 กันยายน 2565
 
อัลกอริทึมที่อันตรายและการมุ่งแสวงหากำไรของบริษัทเมตา เจ้าของเฟซบุ๊ก มีส่วนสนับสนุนต่อความโหดร้ายที่กองทัพเมียนมากระทำต่อชาวโรฮิงญาในปี 2560 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวในรายงานใหม่ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 กันยายน ที่ผ่านมา โดยความโหดร้ายของสื่อโซเชียล: บริษัทเมตาและสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาของชาวโรฮิงญา (The Social Atrocity: Meta and the right to remedy for the Rohingya) ให้ข้อมูลว่า บริษัทเมตาทราบหรือควรทราบว่า ระบบอัลกอริทึมของเฟซบุ๊ก มีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อความแพร่หลายของคอนเทนต์ ที่เป็นอันตรายและต่อต้านชาวโรฮิงญาในเมียนมา แต่บริษัทกลับไม่ดำเนินการแก้ไข
นอกจากนั้นในวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเขียนจดหมายถึงบริษัทเมตา เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทในการทำธุรกิจในเมียนมา ในช่วงก่อนและระหว่างความโหดร้ายซึ่งเกิดขึ้นในปี 2560 บริษัทเมตาตอบกลับโดยระบุว่า ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนปี 2560 ได้ เนื่องจากทางบริษัท “อยู่ระหว่างเป็นคู่ความในคดีที่มีการฟ้องและเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3dTXHi1
 
---------
 
 
อิหร่าน: การสังหารผู้ชุมนุมประท้วงต้องได้รับการสอบสวนอย่างเร่งด่วนโดยกลไกการรับผิดชอบระหว่างประเทศ
28 กันยายน 2565
 
การสอบสวนอย่างต่อเนื่องของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลในการปราบปรามการชุมนุมประท้วงที่โด่งดังในอิหร่านได้เปิดเผยถึงรูปแบบการใช้กำลังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและความรุนแรงอย่างโหดเหี้ยมอย่างกว้างขวางโดยกองกำลังรักษาความมั่นคง ซึ่งรวมถึงการใช้กระสุนจริง ปืนลูกซองและกระสุนโลหะอื่นๆ การทุบตีผู้ชุมนุมประท้วงอย่างหนักและความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ที่รวมทั้งความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง สืบเนื่องจากการปราบปรามที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถูกปิดบังภายใต้การตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือโดยเจตนาอย่างต่อเนื่อง
แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า
“เราเห็นภาพชาวอิหร่านจากทั่วประเทศที่ยืนหยัดต่อสู้กับเหล่ากองกำลังรักษาความมั่นคงอย่างกล้าหาญ ผู้หญิงที่ตัดผมตัวเองและเผาผ้าโพกศีรษะ คนหลายสิบคน รวมทั้งเด็ก ต่างถูกสังหารจนถึงตอนนี้และอีกหลายร้อยคนก็ได้รับบาดเจ็บ เสียงของเหล่าผู้กล้าหาญจากอิหร่านต่างเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติจะต้องไม่ถูกละเลย”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3rjTzec
 
---------
 
 
เลโซโท: ทางการต้องจัดการกับการใช้ความรุนแรง การทรมานและการสังหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของตำรวจก่อนและหลังการเลือกตั้ง
28 กันยายน 2565
 
ทางการเลโซโทและรัฐบาลที่กำลังจะเข้ามาจะต้องจัดการกับคดีการใช้ความรุนแรงที่ยังไม่คลี่คลาย การทรมานและการสังหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของตำรวจ และรับประกันว่าจะหาตัวผู้รับผิดชอบต่ออาชญากรรมด้านสิทธิมนุษยชนหลังจากระยะเวลาการเลือกตั้งสำหรับการลงคะแนนเสียงในวันที่ 7 ตุลาคมนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว
ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เลโซโทเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ซึ่งรวมไปถึงการใช้การใช้กำลังเกินกว่าเหตุและไม่ได้สัดส่วนโดยกองกำลังรักษาความมั่นคง นอกจากนี้ยังมีรายงานการสังหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายต่อผู้ต้องสงสัยว่าทำความผิดโดยเหล่าสมาชิกของกองกำลังรักษาความมั่นคง ซึ่งรวมไปถึงกรมตำรวจม้าเลโซโทและกองกำลังป้องกันเลโซโท
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3BUQvKn
 
---------
 
ดีอาร์คองโก: หยุดการใช้กฎอัยการศึกเป็นข้ออ้างในการปราบปรามการชุมนุมประท้วง
27 กันยายน 2565
 
ทางการสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกจะต้องรับประกันสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโ การรวมกลุ่มและการแสดงออกโดยสงบ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวเมื่อวันที่ 27 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าเป็นวันที่สองจากกระแสการประท้วงครั้งใหม่ในภาคตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเพื่อต่อต้านกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ การใช้กฎอัยการศึกอย่างต่อเนื่องและการกลับมาของกลุ่มกบฏ เอ็ม23
โดยทางการได้ขู่ว่าจะปราบปรามการชุมนุมประท้วงล่าสุดในจังหวัดนอร์ทกีวู ซึ่งมีการเริ่มเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565 เพื่อประณามการยึดครอง Bunagana ที่อยู่ทางภาคตะวันออกของดีอาร์คองโกโดยกลุ่มกบฏ เอ็ม23 นอกจากนั้นผู้ชุมนุมประท้วงยังมีการเรียกร้องให้ทางการยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกที่กำลังดำเนินอยู่ และยืนหยัดให้มีการยกเลิกภารกิจของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติออกจากประเทศ
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3Co5UEJ
 
---------
 
ซาอุดีอาระเบีย: ผู้คนเกือบ 100,000 คนร่วมลงชื่อรณรงค์กับแอมเนสตี้เพื่อหยุดการห้ามนักกิจกรรมเดินทาง
26 กันยายน 2565
 
สืบเนื่องจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ปิดการลงชื่อในการรณรงค์ #LetThemFly โดยมีผู้คนเกือบ 100,000 คนทั่วโลกเรียกร้องให้ทางการซาอุดีอาระเบียยกเลิกการห้ามการเดินทางทั้งหมดต่อเหล่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรม เพื่อใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกโดยสงบ
ไดอาน่า เซมาน รักษาการรองผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกล่าวว่า
“ทางการซาอุดีอาระเบียได้มีการสั่งห้ามการเดินทางโดยพลการ ที่เป็นส่วนหนึ่งของโทษจำคุกต่อผู้ที่กล้าแสดงออกถึงความไม่เห็น มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือ มีการสนับสนุนต่อสิทธิมนุษยชนโดยสงบทุกรูปแบบ โดยการห้ามการเดินทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเหล่านี้ได้บ่อนทำลายความสามารถในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของนักกิจกรรมและโอกาสทางอาชีพหรือการศึกษาในต่างประเทศและยังทำลายสุขภาพจิตของพวกเขาอย่างมาก โดยมีคนมากมายต่างถูกบังคับให้ต้องพลัดพรากจากครอบครัวเป็นเวลาหลายปี”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3Co1Mog
 
---------
 
เม็กซิโก: ทางการรัฐจะต้องรับประกันความจริง ความยุติธรรม และการรำลึกถึงสำหรับครอบครัวของนักเรียนในอาโยตซินาปา
29 กันยายน 2565
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการสอบสวนคดีการหายตัวไปของนักศึกษา 43 คน จาก Raúl Isidro Burgos Rural Training College โดยการลาออกของหัวหน้าหน่วยสอบสวนและคดีพิเศษในอาโยตซินาปา (Special Investigation and Litigation Unit for the Ayotzinapa Case: UEILCA) เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานและสำนักงานอัยการสูงสุด (Attorney General’s Office: FGR) ซึ่งทำให้ความคืบหน้าในการดำเนินการตกอยู่ในความเสี่ยงและส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรม และการรำลึกถึงสำหรับครอบครัวมากขึ้น
นอกจากนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเรียกร้องให้ทางรัฐเม็กซิโกเร่งพัฒนาและดำเนินการตามแผนที่เป็นระเบียบ คืบหน้า และแสดงให้เห็นถึงการถอนกำลังทหารออกจากงานด้านความปลอดภัยสาธารณะ เพื่อรับประกันว่าเหตุการณ์เฉกเช่นที่เกิดขึ้นในอาโยตซินาปาจะไม่เกิดขึ้นอีก
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3rkzFQm