เปิดโผผลงานเข้าชิง "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ปี 2561

15 ธันวาคม 2561

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดโผผลงานข่าวและสารคดีเชิงข่าวที่เข้าชิง "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน"ประจำปี 2561 (Media Awards 2018) ทั้งหมด 14 ผลงานใน ประเภท โดยจะมีงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัลในวันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม 2562 ณ โรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ (AVANI Riverside Bangkok)


จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ทางคณะกรรมการตัดสินขอแจ้งรายชื่อผลงานที่ผ่านเข้าชิงรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2561 ดังต่อไปนี้

 

media-awards-p.png

ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

  • ผลงานชุด ผู้ต้องกักและผู้ลี้ภัยในเขตเมือง 101 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
  • ผลงานชุด น้องนนท์...จากคนกีฬาชายขอบไร้สัญชาติ สู่วันที่คราบน้ำตาแห้งพร้อมสู้เพื่อชาวไทย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

 

ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

  • ผลงานเรื่อง เปิดตาตีหม้อ-สำรวจตลาดโสเภณีคลองหลอด" เว็บไซต์ the101.world
  • ผลงานเรื่อง "บทเรียนจากแดนประหารจากช่างภาพญี่ปุ่น-โทชิ คาซามะ เว็บไซต์สนุกดอทคอม
  • ผลงานเรื่อง ชีวิตยามเกษียณ: ‘ชีวิตดี’ เกิดจนตาย รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ในชาตินี้ เว็บไซต์ประชาไท 
  • ผลงานเรื่อง “4 ปีรัฐประหารความตายของชัยภูมิ ป่าแส สิทธิมนุษยชนยุคทหารที่ไร้คำตอบ เว็บไซต์บีบีซีไทย
  • ผลงานเรื่อง “In The Name Of The Mother เปลวเพลิงในดวงตาพะเยาว์ อัคฮาด เว็บไซต์ the101.world

 

 ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

  • ผลงานเรื่อง วิสามัญ ชัยภูมิ ป่าแส’ ควันปืนที่บดบังข้อเท็จจริง” สถานีโทรทัศน์นิวทีวี 
  • ผลงานเรื่อง โรฮิงญากลางฤดูอพยพ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  • ผลงานเรื่อง ค้ามนุษย์ข้ามชาติ สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี
  • ผลงานเรื่อง ซ่อมVSซ้อม ธำรงวินัยทหารอดทน” สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์

 

สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยขอขอบคุณและชื่นชมผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด และขอเป็นกำลังใจให้สื่อมวลชนผลิตผลงานที่มีคุณค่า โดยนำเสนอข้อมูลข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ผู้รับสารได้ตระหนักและเข้าใจสิทธิมนุษยชนทั้งของตนเองและผู้อื่นมากขึ้น เพื่อพัฒนาสังคมที่โปร่งใส เป็นธรรม และยั่งยืนต่อไปในอนาคต เพราะเราเชื่อว่าคุณภาพของสื่อสะท้อนถึงคุณภาพของสังคม