ร่วมเฉลิมฉลอง 60 ปี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

25 พฤษภาคม 2564

Amnesty International Thailand

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เฉลิมฉลองวันเกิดครบรอบ 60 ปี ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2564


60 ปี ของการทำงานเพื่อมนุษยชาติ

 

นับตั้งแต่ก่อตั้ง ในปีพ.ศ. 2504 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ส่งเสริมพลังอำนาจให้ผู้คนเช่นคุณมาร่วมดำเนินการเพื่อโลกที่ดียิ่งขึ้น คำกล่าวต่อไปนี้สรุปภาพรวมของสิ่งที่คุณได้ทำให้เกิดผลสำเร็จได้อย่างดี ...แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และ ภาพความสำเร็จบางส่วนตลอด 60 ปีที่ผ่านมา >>

 

“ไม่ว่าจะเป็นวันไหน หากคุณเปิดอ่านหนังสือพิมพ์ก็จะพบว่ามีคนที่กำลังถูกคุมขัง ทรมาน หรือประหารชีวิตในสักแห่งของโลก ด้วยเพราะสาเหตุของการแสดงความคิดเห็นหรือการนับถือศาสนาที่ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของบุคคลนั้นๆ และคุณอาจรู้สึกถึงความไร้อำนาจที่จะช่วยเหลือบุคคลเหล่านั้น แต่ถึงกระนั้นหากความรู้สึกเกลียดชังต่อเหตุการณ์ดังกล่าวทั่วโลกถูกแปรผันมาเป็นการปฏิบัติการร่วมกัน อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้ ”

-ปีเตอร์ เบเนนสัน

 1.jpg

ชัยชนะของมนุษยชาติ ผลกระทบของคุณในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา

 2.jpg

  • หลังจากที่ได้รับทราบถึงนักเรียนชาวโปรตุเกสสองคนที่ถูกจับกุมหลังจากเฉลิมฉลองอิสรภาพในปีพ.ศ. 2504 ทนายความชาวอังกฤษ ปีเตอร์ เบเนนสัน ได้ริเริ่มแคมเปญทั่วโลกที่ชื่อว่า ‘เรียกร้องเพื่อนิรโทษกรรม พ.ศ. 2504’ ข้อเรียกร้องของปีเตอร์เพื่อปลดปล่อยนักโทษทางความคิดได้ถูกนำไปตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทั่วโลกและได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ภายในปีพ.ศ. 2509 นักโทษจำนวนหนึ่งพันคนได้รับการปลดปล่อยจากความพยายามที่ไม่หยุดหย่อนจากคนเช่นคุณ ที่อยากเห็นโลกที่ดีขึ้น

    3.jpg
  • ในปีพ.ศ. 2505 แอมเนสตี้ส่งทนายความไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีของเนลสัน แมนเดลา ในแอฟริกาใต้ ซึ่งเนลสัน แมนเดลาได้บันทึกลงไว้ว่า “เพียงแค่การปรากฎตัวของเขา รวมไปถึงความช่วยเหลือที่เขามอบให้ ได้สร้างแรงบันดาลใจและกำลังใจอันยิ่งใหญ่สำหรับพวกเรา”
    4.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2516 แอมเนสตี้ได้ออกปฏิบัติการด่วนอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก เพื่อกระตุ้นให้สาธารณชนมาร่วมดำเนินการเพื่อช่วยเหลือ ลูอิส บาซิลิโอ รอสซี่ ศาสตราจาร์ชาวบราซิลที่ถูกจับกุมด้วยเหตุผลทางการเมือง ลูอิสได้ยกย่องการสนับสนุนอย่างล้นหลามของผู้คนต่อการเรียกร้องเหล่านั้นว่ามีส่วนช่วยให้สถานการณ์ของเขาดีขึ้น “ฉันรู้ว่ากรณีของฉันเป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะแล้ว ดังนั้น พวกเขาจะไม่สามารถฆ่าฉันได้อีกต่อไป นั่นทำให้แรงกดดันลดลงและทำให้หลายๆ สิ่งกลับมาดีขึ้น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ทั่วโลกได้รณรงค์ในนามของบุคคล ครอบครัว และชุมชนอีกนับพัน และหนึ่งในสามของกรณีเหล่านั้นได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก และถึงแม้ในกรณีที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยความพยายามที่จะช่วยพวกเขาก็ได้ช่วยเรียกขวัญกำลังใจและให้ความหวังแก่บุคคลเหล่านั้น

  • ในปีพ.ศ. 2522 แอมนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ตีพิมพ์กรณีของบุคคลที่สูญหาย จำนวน 2,665 คดี ในประเทศอาร์เจนตินาภายหลังรัฐประหารที่นำโดยฮอร์เก ราฟาเอล วิเดลา เพื่อเป็นการช่วยเหลือเพื่อนๆ และครอบครัวของบุคคลเหล่านั้นให้ได้รับความเป็นธรรมและนำผู้รับผิดชอบมารับโทษ และในปีพ.ศ. 2520 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญในการปกป้องเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก ซึ่งถือเป็นการยกย่องการทำงานหนักและความมุ่งมั่นของเหล่าผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ทั่วทุกมุมโลก
    5.jpg

  • เมื่อแอมเนสตี้และผู้สนับสนุนริเริ่มการต่อสู้เพื่อต่อต้านโทษประหารชีวิตในปีพ.ศ. 2520 มีเพียง 16 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต แต่ในวันนี้กลับมีมากถึง 108 ประเทศ ซึ่งนับเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งของจำนวนประเทศทั้งหมดในโลก ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554 อีกหลายประเทศ รวมทั้งเบนิน ชาด สาธารณรัฐคองโก ฟิจิ  กินี ลัตเวีย มาดากัสการ์ มองโกเลีย นาอูรู ซูรินาม ต่างได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งสิ้น ความเชื่ออย่างแรงกล้าของเราว่ามนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิตเป็นแรงผลักดันเพื่อนำมาซึ่งความสำเร็จนี้ ด้วยความช่วยเหลือของคุณ เราจะไม่หยุดต่อสู้จนกว่าทุกประเทศทั่วโลกยุติการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีเช่นนี้อย่างถาวร
    6.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2527 ภายหลังการรณรงค์อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยจากผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ สมัชชาสหประชาชาติได้รับรองอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ด้วยเหตุนี้ กฎหมายระหว่างประเทศจึงกำหนดให้ประเทศต่างๆ ใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องไม่ให้มีการทรมานในดินแดนที่อยู่ในการควบคุมและถูกห้ามให้มีการเคลื่อนย้ายคนไปสู่ประเทศใดที่เขาอาจถูกทรมาน

  • แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ปฏิบัติการเพื่อต่อต้านการทรมานและการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรมในบราซิล และได้รับการตอบสนองจากประธานาธิบดีเฟอร์นันโด โคลเลอร์ ในทันที  ซึ่งกล่าวว่า “เราจะไม่เป็นประเทศที่ผู้คนกล่าวอ้างว่ารุนแรงอีกต่อไป” นอกจากนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลกไปที่สถานการณ์เลวร้ายของทหารเด็กจำนวน 300,000 คน และผนึกกำลังร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศอีกห้าองค์กรเพื่อเปิดตัวพันธมิตรเพื่อยุติการใช้ทหารเด็ก
    7.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2545 แรงกดดันที่ยาวนานจากผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ ได้นำไปสู่การก่อตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้ที่สงสัยว่าได้ก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมรุกราน ซึ่งบุคคลเหล่านี้หมายรวมถึงผู้นำทางการเมือง ผู้นำกลุ่มติดอาวุธ และบุคคลระดับสูงอื่นๆ

    8.jpg
  • ภายหลังจาก 20 ปีของการกดดันจากผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้และฝ่ายอื่นๆ สนธิสัญญาว่าด้วยการค้าอาวุธจึงมีผลบังคับใช้ในปีพ.ศ. 2557 และนับเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของมนุษยชาติ สนธิสัญญาดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อยุติการเคลื่อนย้ายอาวุธอย่างไร้ความรับผิดชอบซึ่งเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคนและกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง ชัยชนะนี้อาจไม่ประสบผลสำเร็จหากไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากผู้บริจาค สมาชิก และนักกิจกรรมของเรา
    9.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2553 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ทำงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ Dongria Kondh ในรัฐโอริสสาของอินเดีย เพื่อยับยั้งไม่ให้บริษัทเหมืองแร่เวดันต้าขับไล่พวกเขาออกจากที่ดินดั้งเดิม ความพยายามครั้งนี้ได้ส่งผลให้รัฐบาลอินเดียปฏิเสธแผนการทำเหมืองแร่บนผืนดินนั้น
    10.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2556 ปาปัวนิวกินียกเลิกพระราชบัญญัติเวทมนตร์ที่เป็นที่ถกเถียงเป็นอย่างมาก ซึ่งอนุญาตให้ลดโทษสำหรับคดีฆาตกรรมในกรณีที่มีการกล่าวหาผู้กระทำผิดว่าใช้เวทมนตร์กับเหยื่อ นับเป็นความก้าวหน้าในการต่อสู้เพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงในประเทศที่มักใช้ข้อกล่าวหาเรื่องเวทมนตร์มาเป็นข้ออ้างในการทุบตี สังหาร และทรมานผู้หญิง นอกจากนี้ในปีเดียวกันก็มีการผ่านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองครอบครัว (เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว) ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งข่าวดีทีเดียว
    11.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2558 หลังจากการกดดันจากแอมเนสตี้และผู้สนับสนุนมานานหลายปี บริษัทสาขาของเชลล์ในไนจีเรียประกาศยุติข้อตกลงมูลค่า 55 ล้านปอนด์ แก่เกษตรกรและชาวประมงในโบโด ไนจีเรีย ซึ่งได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลของน้ำมันเชลล์ครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2551 ถึงสองครั้ง และเป็นการปูทางให้ชุมชนไนจีเรียอื่นๆ ได้ปฏิบัติการเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมจากความผิดพลาดที่เป็นผลมาจากความประมาทของบริษัท และในปีนี้ศาลฎีกาแห่งสหราชอาณาจักรได้ตัดสินให้สองชุมชนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำของไนเจอร์ที่ได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของน้ำมันเป็นเวลาหลายปีสามารถฟ้องร้องบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ในศาลของสหราชอาณาจักรได้

  • ในปีพ.ศ. 2558 องค์การสหประชาชาติได้ปรับใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างมีมนุษยธรรม ภายหลังจากได้รับแรงกดดันจากกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนรวมถึงแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กฏระเบียบที่แก้ไขใหม่เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูสมรรถภาพ การปกป้องผู้ต้องขังจากการถูกทรมาน การเข้าถึงการให้บริการทางด้านสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น และจำกัดการลงโทษทางวินัย รวมถึงการแยกขังเดี่ยว
    12.jpg


  • ในปีพ.ศ. 2558 ไอร์แลนด์เป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายอนุญาตให้มีการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกันได้ ผ่านการลงประชามติ “เหตุการณ์นี้ได้ส่งสารไปถึงกลุ่มแอลจีบีทีไอทุกคนในทุกหนแห่งว่าพวกเขา และความสัมพันธ์และครอบครัวของพวกเขามีความสำคัญ” โคล์ม โอกอร์มัน ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว และในปีพ.ศ. 2563 ภายหลังการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ไต้หวันเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ออกกฎหมายอนุญาตการสมรสเพศเดียวกัน

  • ในการพิจารณาคดีที่สำคัญต่อความยุติธรรมระหว่างประเทศ อดีตประธานาธิบดีของชาด ฮิสเซเน ฮาเบร ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และการทรมานที่เกิดขึ้นในชาดระหว่างปีพ.ศ. 2525-2533 การดำเนินคดีในครั้งนี้เกิดขึ้นได้เพราะรายงานข้อมูลจากแอมเนสตี้และคำให้การของอดีตเจ้าหน้าที่ของแอมเนสตี้ รวมถึงหลักฐานอื่นๆ ร่วมด้วย

    13.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2559  อัลเบิร์ต วู้ดฟ็อกซ์ ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในสหรัฐอเมริกาภายหลังจากแรงกดดันจากผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ เขาถูกขังเดี่ยวในเรือนจำของรัฐหลุยเซียน่าเป็นระยะเวลา 43 ปี 10 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา “ผมไม่สามารถเน้นย้ำได้มากพอว่าการได้รับจดหมายจากผู้คนทั่วโลกมีความสำคัญต่อผมมากเพียงใด” อัลเบิร์ตกล่าว “มันทำให้ผมรู้สึกมีค่า ให้ผมรู้สึกเข้มแข็ง และทำให้ผมเชื่อว่าสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ถูกต้องแล้ว”

    14.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2560 ศาลสูงเคนย่าปิดกั้นการตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียวของรัฐบาลในการปิดค่ายผู้ลี้ภัยดาดาบ ซึ่งเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก คำตัดสินดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อคำร้องของสององค์กรสิทธิมนุษยชนในเคนยา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแอมเนสตี้ การปิดค่ายดาดาบอาจส่งผลให้ผู้ลี้ภัยชาวโซมาเลียมากกว่า 260,000 คนตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกบังคับให้กลับประเทศของตน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ

15.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2561 ทีโอดอรา เดล คาร์เมน วาสเกส ได้รับการปลดปล่อยจากเรือนจำหลังจากที่ถูกจองจำในเอลซาลวาดอร์อยู่เป็นเวลากว่าสิบปี หลังจากที่ทารกของเธอเสียชีวิตในครรภ์ ซึ่งเป็นเหตุให้เธอโดนกล่าวหาและถูกตัดสินว่าทำแท้ง ซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศ เธอได้รับการปลดปล่อยหลังจากศาลได้ลดโทษสั่งจำคุก 30 ปีลง ผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ได้รณรงค์ให้ทีโอดอราได้รับอิสรภาพมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ผ่านการร้องเรียนไปจนกระทั่งการประท้วง

  • 16.jpg
  • ในปีพ.ศ. 2561 การลงประชามติในไอร์แลนด์ได้ยกเลิกข้อห้ามการทำแท้งและถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่สำหรับสิทธิสตรีซึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวอย่างทุ่มเทร่วมหลายปี รวมถึงการทำงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเช่นเดียวกัน ในปีพ.ศ. 2563 อาร์เจนตินาทำให้การทำแท้งเป็นสิ่งถูกกฎหมาย นับเป็นชัยชนะสำหรับขบวนการสิทธิสตรีและผู้สนับสนุนของแอมเนสตี้ที่ได้ต่อสู้มาหลายทศวรรษ กรณีเหล่านี้ได้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และทั่วโลกในการก้าวไปสู่การยอมรับการเข้าถึงการทำแท้งที่ปลอดภัยและถูกกฎหมาย

    17.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2561 คำตัดสินของศาลในสหราชอาณาจักรพบว่าการใช้การสื่อสารส่วนตัวของหน่วยข่าวกรองเป็นจำนวนมากละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชน นับเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปีที่คณะกรรมการสืบสวนอำนาจศาลได้ตัดสินลงโทษหน่วยข่าวกรอง คำตัดสินดังกล่าวพิสูจน์ว่าการส่งต่อการสอดแนมมวลชนในระดับอุตสาหกรรมนั้นผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออก

    18.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2562 เซียร์ราลีโอนยกเลิกการห้ามเด็กผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ให้เข้าถึงการศึกษาหลังจากพบว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ แอมเนสตี้ได้เข้าไปแทรกแซงในคดีนี้โดยอาศัยการค้นคว้าเกี่ยวกับประเด็นนี้ รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจดังกล่าวส่งข้อความที่หนักแน่นไปยังประเทศในแอฟริกาประเทศอื่นๆ ให้พิจารณาทำเช่นเดียวกัน

19.jpg

  • ในปีพ.ศ. 2562 และ 2563 การเปลี่ยนแปลงกฎหมายในเดนมาร์ก สวีเดน และกรีซ ให้ยอมรับว่าการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้รับความยินยอมคือการข่มขืน หลังจากหลายปีของการรณรงค์โดยกลุ่มสิทธิสตรีและกลุ่มผู้รอดชีวิต และผ่านแคมเปญของแอมเนสตี้ที่ชื่อว่า เล็ทส์ทอล์คอะเบาท์เยส สเปนก็ได้ประกาศร่างกฎหมายเพื่อให้นิยามคำว่าข่มขืน คือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

 

“จากที่ผมเคยรู้สึกหมดหวัง แต่ทุกอย่างกลับแปรผันเมื่อแอมเนสตี้เข้ามา ข้อความที่ได้รับทำให้ผมรู้สึกตื้นตันและกลับมามีความหวังอีกครั้ง”

-โมเสส อากัทอักบา

 

ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับบุคคลต่างๆ

 

ตัวอย่างความสำเร็จอื่นๆ

 

ร่วมเขียนอวยพรวันเกิด 60ปีแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

ติดตามผ่านเฟซบุ๊กอีเว้นท์