ย้อนดูกิจกรรม "สิทธิมนุษยชนศึกษา" ปี 2566 และก้าวต่อไปของปี 2567

22 กุมภาพันธ์ 2567

Amnesty International Thailand

ห้องเรียนสิิทธิมนุษยชนศึกษา’ คืออะไร  

  • ห้องเรียนที่เปิดโลกกว้างเรื่องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก  
  • ห้องเรียนที่สร้างแรงบันดาลใจให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของทุกคน 
  • ห้องเรียนที่ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน 
  • ห้องเรียนที่อธิบาย ‘หลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) แบบง่าย ๆ  
  • ห้องเรียนที่บอกกติกาและกฎหมายในประเทศและต่างประเทศป้องกันการละเมิดสิทธิ 

 

ย้อนดูกิจกรรม “สิทธิมนุษยชนศึกษา” ปี 2566  

‘ห้องเรียนสิทธิมนุษยชนศึกษา’ ทำอะไรบ้าง ในปี 2566 

  1. ส่งเสริมความรู้สิทธิมนุษยชน ‘สถาบันการศึกษา นักกิจกรรม องค์กรภาคประชาสังคม 71 ครั้ง  
  2. ขยายความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน 4,524 คน เพิ่มจากปี 2565 จำนวน 2,000 คน 
  3. จัดงานกับเครือข่ายอาสาสมัคร นักกิจกรรม กับทุกคนทั่วทุกภูมิภาค  

 

เปิดเรื่องเล่า 10 ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน ปี 2566  

1. ห้องเรียนสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์ุและคนไร้สัญชาติ   

แอมเนสตี้ ประเทศไทย ร่วมกับเครือข่าย เปิดพื้นที่การเรียนรู้ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขา แม่ฟ้าหลวง บ้านเปาปมดงยาง ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่  

 

 

 

2. ห้องเรียนสิทธิมนุษยชนเพื่อผู้มีประสบการณ์ทางด้านจิตเวช   

แอมเนสตี้ ประเทศไทย ทำงานกับครอบครัว และผู้ดูแลของผู้มีประสบการณ์ทางจิตเวช จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหัวข้อความรู้พื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน และทักษะงานรณรงค์ 

 

 

3. ห้องเรียนสิทธิมนุษยชนTraining of Trainers: อบรมทักษะกระบวนกรสิทธิมนุษยชนศึกษา   

แอมเนสตี้ ประเทศไทย จัดอบรมทักษะกระบวนกร หรือ Training of Trainers สร้างเครือข่ายอาสาสมัครเผยแพร่สิทธิมนุษยชนศึกษาทั่วประเทศ เช่น สิทธิคนไร้สัญชาติ สิทธิ LGBTQ+ สิทธิแรงงานข้ามชาติ สิทธิ Sex Worker และสิทธิผู้ลี้ภัย   

 

 

4. ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง   

แม้ประเทศไทยจะมีการเรียนการสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่แล้วในแบบการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานระดับมัธยม แต่ก็ยังเน้นรูปแบบการท่องจำและการบรรยาย กิจกรรมนี้ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ความเหลื่อมล้ำ และอำนาจทางสังคมในหลากหลายมิติ

  

 

 

5. ค่ายนิติอาสาพัฒนาสังคม X HUMAN RIGHTS GEEK ON TOUR ตอน…เหมืองแร่ เมืองเลย   

ค่าย 4 วัน 3 คืน ที่แอมเนสตี้ ร่วมกับ แอมเนสตี้คลับ ชุมนุมนิติอาสาพัฒนาสังคมมหาวิทยาลัยขอนแก่น พานักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และสมาชิกแอมเนสตี้คลับจากทั่วประเทศ ไปเยือนบ้านนาหนองบง อ. วังสะพุง จ.เลย เพื่อไปเรียนรู้การต่อสู้ของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ในการปกป้องชุมชนของตัวเองจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ 

 

 

6. วงคุยเสวนา อ่าน a right?: สิทธิมนุษยชนศึกษาผ่านวงคุยหนังสือ   

กิจกรรมวงคุยหนังสือ (Book Club) ที่ร้าน House of Common Book Cafe & Space พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน” 

 

 

7. ห้องเรียนสิทธิสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย   

แอมเนสตี้ ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย จัดห้องเรียนสิทธิมนุษยชนให้สมาชิกสภาเด็กฯ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ในรูปแบบเวิร์คชอป ให้ความรู้พื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิในเสรีภาพการชุมนุม และสิทธิในการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน 

 

 

 

8. ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน หลักสูตร ปรัชญา การเมือง เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   

แอมเนสตี้ ประเทศไทย จัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสิทธิมนุษยชน ภาควิชาปรัชญา การเมือง เศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ 7 คลาส  

เช่น การรวบรวมรายชื่อเรียกร้องให้รัฐไทยเพิ่มการเข้าถึงสิทธิในการทำแท้งอย่างปลอดภัยในราคาย่อมเยาว์ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยเรื่องโรคซึมเศร้าภายในมหาวิทยาลัย และการสื่อสารเชิงรณรงค์เพื่อสิทธิของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในประเทศไทย 

 

 

9. ห้องเรียน ‘สิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวัน’ ค่ายสิงห์น้ำเงิน New Gen ครั้งที่ 2   

แอมเนสตี้ ประเทศไทย จัดกิจกรรมหัวข้อ ‘สิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวัน’ ให้ผู้เข้าร่วมช่วยกันคิดถึงสิ่งที่จำเป็นต้องมีในชีวิต เช่น น้ำ อากาศ อาหาร ที่อยู่อาศัย เชื่อมโยงหลักการและคุณค่าของสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พร้อมลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วม (MoU) กับคณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี จนเกิดเป็นความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างสององค์กร

 

 

10. โรงเรียนเบญจมราชาลัย

แอมเนสตี้ ประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายจัดห้องเรียนสิทธิมนุษยชนหัวข้อ “อัตลักษณ์ทับซ้อน และความหลากหลายทางเพศ” ให้นักเรียนชั้น ม. 4 โรงเรียนเบญจมราชาลัย เรียนรู้เรื่องสิทธิ LGBTQ+ และลงมือปฏิบัติเพื่อสนับสนุนสิทธิ LGBTQ+  

 

 

 

ก้าวต่อไปของปี 2567: เดินหน้าขยาย ‘สิทธิมนุษยชนศึกษา’ แบบจัดเต็ม ทุกรูปแบบ   

  • ห้องเรียน  
  • เข้าค่าย  
  • เวิร์คชอป 
  • วงคุยเสวนา  

** ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์  

 

ใครมาร่วมขับเคลื่อน ‘สิทธิมนุษยชนศึกษา’ ได้บ้าง 

  • สถาบันการศึกษา (โรงเรียน, มหาวิทยาลัย)  
  • กลุ่มนักกิจกรรม (ชมรม, สมาคม, สโมสร) 
  • องค์กรภาคประชาสังคม (มูลนิธิ, ศูนย์ฝึกอบรม, สมาคม)  

 

ติดต่อฝ่ายนักกิจกรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา แอมเนสตี้ ประเทศไทย ได้ที่อีเมล activism.hre@amnesty.or.th  

ชมเว็บไซต์สิทธิมนุษยชนศึกษา ได้ที่:https://hre.amnesty.or.th/    
เรียนหลักสูตรสิทธิมนุษยชนออนไลน์ฟรีได้ที่:https://academy.amnesty.org/learn