สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 3 - 9 ธันวาคม 2565

12 ธันวาคม 2565

Amnesty International Thailand

 

แอมเนสตี้เปิดตัวแคมเปญ ‘Write for Rights’ กิจกรรมรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนประจำปีที่ใหญ่สุดในโลก

10 ธันวาคม 2565 

 

กลับมาอีกครั้งกับแคมเปญ ‘Write for Rights’ หรือ ‘เขียน เปลี่ยน โลก’ กิจกรรมรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนประจำปีที่ใหญ่สุดในโลก ซึ่งผู้คนนับล้านทั่วโลกมารวมตัวกันเพื่อปกป้องสิทธิของผู้อื่น โดยกิจกรรมนี้ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 21 แล้ว 

แคมเปญ ‘Write for Rights’ - เขียน เปลี่ยน โลก’ เริ่มต้นเมื่อ 21 ปีที่แล้วที่กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ จากกลุ่มเพื่อนที่ตัดสินใจเฉลิมฉลองวันสิทธิมนุษยชนสากล ด้วยการเขียนจดหมายมาราธอนติดต่อกัน 24 ชั่วโมง จากจดหมาย 2,326 ฉบับเพิ่มเป็นจดหมาย การทวีตข้อความ และการลงชื่อในจดหมาย 4.5 ล้านฉบับในปี 2564  แคมเปญ ‘Write for Rights’ ได้เติบโตจนเป็นกิจกรรมรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

ปีนี้คุณสามารถร่วมเป็นส่วนของแคมเปญ ‘Write for Rights’ - เขียน เปลี่ยน โลก’ โดยรวมลงชื่อเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ที่ https://www.aith.or.th/ 

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/3Y6tEpL 

 

 

รัฐบาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการให้ดูแลและที่พักพิงสำหรับชาวโรฮิงญาที่ติดค้างอยู่กลางทะเล 

9 ธันวาคม 2565

 

สืบเนื่องจากรายงานข่าวว่า มีเรือขนผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอย่างน้อยหนึ่งลำติดค้างอยู่กลางทะเล

เรเชล ชัว โฮวาร์ด นักวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า เจ็ดปีหลังเกิดวิกฤตทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้สูญเสียชีวิตจำนวนมาก ชาวโรฮิงญายังคงเสี่ยงภัยในการเดินทาง เพื่อหลบหนีการประหัตประหารจากเมียนมาภายใต้ระบอบทหาร แม้จะเป็นบ้านเกิดของตน และหลบหนีจากสภาพชีวิตที่เลวร้ายในค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ 

"กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกำหนดให้ต้องช่วยชีวิตหรือให้การช่วยเหลือบุคคลที่ประสบภัยอยู่กลางทะเล และนำตัวไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองชีวิตเหล่านี้ ความล่าช้าในการบรรเทาความทุกข์ยากของชาวโรฮิงญาหรือความพยายามใดๆ ที่จะส่งตัวกลับไปเผชิญกับการประหัตประหารในเมียนมา ถือเป็นการกระทำที่ขาดมโนธรรมสำนึก" 

“รัฐบาลประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องประสานงานและร่วมมืออย่างเร่งด่วนในภารกิจค้นหาและช่วยชีวิต โดยต้องพยายามค้นหาเรือที่ประสบภัย รวมถึงประกันว่าผู้ที่อยู่ในเรือจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัย และได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่เหมาะสม รวมทั้งน้ำและอาหาร”

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/3Hp0n3q 

 

 

เกาหลีใต้ : เนื้อหาการล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ทวีคูณขึ้นอย่างรวดเร็วขณะที่ผู้รอดชีวิตประณามความล้มเหลวของกูเกิล

8 ธันวาคม 2565 

ผู้รอดชีวิตจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศทางออนไลน์ในเกาหลีใต้ได้บอกกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า ความทุกข์ทรมานของพวกเขาเลวร้ายยิ่งขึ้นจากระบบที่ช้าและซับซ้อนของกูเกิลในการประมวลผลคำร้องขอให้ลบเนื้อหา

ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ตกเป็นเป้าของอาชญากรรมทางเพศทางดิจิทัลได้กล่าวว่ากระบวนการรายงานเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมซึ่งไม่ได้รับความยินยอมบนกูเกิลนั้นเป็นเรื่องยากมากในการค้นหาวิดิโอที่มีการล่วงละเมิดทางเพศที่แพร่กระจายในโลกออนไลน์

“เนื่องจากกระแสอาชญากรรมทางเพศดิจิตอลในเกาหลีใต้ได้ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ตกเป็นเป้า ระบบที่ไม่เพียงพอของกูเกิลสำหรับการรายงานเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมซึ่งไม่ได้รับความยินยอมทำให้เรื่องนี้ยิ่งแย่ลง” จีฮิว ยุน ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เกาหลีใต้ กล่าว 

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/3h74y9z 

 

-----

 

อัฟกานิสถาน : แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประณามการประหารชีวิตในที่สาธารณะโดยกลุ่มตาลีบัน

7 ธันวาคม 2565 

 

สืบเนื่องจากการประหารชีวิตในที่สาธารณะโดยกลุ่มตาลีบันในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การยึดอำนาจในอัฟกานิสถาน 

ดินูชิกา ดิสสานายาเค รองผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ เผยว่า

“การกลับมาอย่างเลวร้ายของการประหารชีวิตในที่สาธารณะในอัฟกานิสถานเป็นสถานการณ์ล่าสุดของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่น่าตกใจของกลุ่มตาลีบันในประเทศ ซึ่งยังคงเย้ยหยันหลักการสิทธิมนุษยชนอย่างโจ่งแจ้งโดยไม่คำนึงถึงกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศโดยสิ้นเชิง”

“การประหารชีวิตทั้งหมดเป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิต การกระทำต่อสาธารณะนับเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรงซึ่งยอมให้เกิดขึ้นไม่ได้ การก้าวถอยหลังของกลุ่มตาลีบันครั้งนี้ถือเป็นการถอยหลังครั้งสำคัญของสิทธิมนุษยชน” 

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/3FCYHCg 

 

-----

 

อิหร่าน : ประชาคมโลกจะต้องไม่ถูกหลอกด้วยข้ออ้างที่คลุมเคลือว่าจะยุบ 'ตำรวจศีลธรรม'

6 ธันวาคม 2565 

 

แถลงการณ์ที่คลุมเครือและขัดแย้งกันของทางการอิหร่านเกี่ยวกับการยกเลิกสิ่งที่เรียกว่า "ตำรวจศีลธรรม" ของอิหร่านจะต้องไม่หลอกประชาคมโลกเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงต่อสตรีและเด็กผู้หญิงอย่างต่อเนื่องที่แฝงอยู่ในกฎหมายบังคับให้คลุมหน้าและขับเคลื่อนด้วยการไม่ต้องรับโทษอย่างต่อเนื่องของผู้ที่บังคับใช้กฎหมายอย่างรุนแรง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมา 

ในช่วงการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2022 โมฮัมหมัด จาฟาร์ มอนตาเซรี อัยการสูงสุดของอิหร่าน กล่าวว่า 

“ตำรวจศีลธรรมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบศาลยุติธรรมและถูกปิดไปแล้วโดยใครก็ตามที่ก่อตั้งขึ้นมาในอดีต” จากนั้นเขาก็เสริมว่า “ระบบศาลยุติธรรมจะทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมต่อไป” แสดงให้เห็นว่าการควบคุมเกี่ยวกับร่างกายของผู้หญิงภายใต้กฎหมายบังคับให้คลุมหน้าจะยังคงดำเนินต่อไป สื่อของรัฐยังรายงานในวันถัดไปว่า “ไม่มีหน่วยงานอย่างเป็นทางการในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านยืนยันการปิดสำนักงานตำรวจศีลธรรม” 

 

อ่านต่อ: https://bit.ly/3VHaJQy 

 

-----

 

ยูเครน : ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงและไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยในการพลัดถิ่นหลังจากการรุกรานของรัสเซีย – รายงานฉบับใหม่

6 ธันวาคม 2565 

 

ผู้สูงอายุในยูเครนต่างได้รับผลกระทบอย่างมากเกินสัดส่วนจากการเสียชีวิตและการบาดเจ็บระหว่างการรุกรานของรัสเซีย และไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้อย่างเท่าเทียมกับกลุ่มอื่นหลังจากพลัดถิ่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวในรายงานฉบับใหม่เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2022 

รายงาน ‘I used to have a home’: Older people’s experience of war, displacement, and access to housing in Ukraine, บันทึกเหตุว่าผู้สูงอายุมักจะยังอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือไม่สามารถหลบหนีออกจากพื้นที่ได้ ซึ่งทำให้พวกเขาได้รับอันตรายและอยู่ในสภาพความเป็นอยู่ที่เป็นอันตรายในที่อยู่อาศัยที่เสียหายอย่างหนัก คนที่หลบหนีได้มักจะไม่สามารถจ่ายค่าเช่าได้ ในขณะที่หลายพันคนต้องอยู่ในเคหะสถานของรัฐที่รับคนจนเกินความสามารถ ซึ่งไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอในการดูแลในระดับที่จำเป็น 


อ่านต่อ: https://bit.ly/3uDjeQJ