ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวด "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2566

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ขอเชิญสื่อมวลชนส่งผลงานเข้าประกวด "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2566 (Media Awards 2023)

เนื่องด้วยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยซึ่งทำงานสื่อสารสาธารณะกับสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป  จึงได้จัดประกวดเพื่อมอบ “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2566 (Media Awards 2023) เพราะเล็งเห็นว่าสื่อมวลชนเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง สื่อทำหน้าที่เป็นครูที่ดีในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น  จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้สื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบผลงานรางวัลสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป

โดยแบ่งประเภทการประกวดดังต่อไปนี้

  • ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์
  • ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์
  • ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)
  • สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)
  • ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 10นาที)

โดยการประกวดในประเภทที่ 1-4 รับเฉพาะผลงานจากสื่อมวลชนเท่านั้น ส่วนในประเภทที่ 5 เปิดรับผลงานทั้งจากสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไป

สำหรับผลงานที่ส่งเข้าประกวดในประเภทที่ 1-5 ต้องเผยแพร่หรือตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 ตุลาคม 2566

เปิดรับผลงานในทุกประเภทตั้งแต่วันนี้ - 15 พฤศจิกายน 2566

 

สามารถสมัครได้ที่: คลิกที่นี่ https://bit.ly/46dg7Qs

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่: media@amnesty.or.th หรือ โทร. 089-922-9585

1. รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด 

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. ผู้สื่อข่าว 1 คน สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ 1 ชิ้น แต่ละสื่อสิ่งพิมพ์ส่งผลงานได้ไม่จำกัด กรณีข่าวชุดส่งได้ไม่เกิน 2 ชิ้น/เรื่อง (ในกรณีเกินกว่านั้นให้ส่งเป็นเอกสารแนบประกอบการพิจารณา)

3. นักข่าวหรือคอลัมนิสต์ที่ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นบุคลากรขององค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน

4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผลิตเองในกองบรรณาธิการหรือโดยนักข่าวของสำนักข่าวที่รายงานข่าวเป็นกิจลักษณะ และผลงานนั้นต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่คัดลอกมาจากสื่ออื่นๆ

5.ให้จัดทำสำเนาข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวตัวจริงเรียงลำดับตามวันเวลาโดยระบุวันที่ตีพิมพ์ทุกฉบับ แล้วส่งมาในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล (.jpg, .png หรือ .gif) พร้อมสำเนาเนื้อหาลงในหน้ากระดาษ A4 ความยาวรวมไม่เกิน 8 หน้า (ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16) และแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา ช่องทางการเผยแพร่ ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

6.ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย (ทั้งหนังสือพิมพ์ระดับชาติ หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่นและนิตยสาร) ด้วยภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ (สำหรับข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวภาษาต่างประเทศ ผู้ส่งเข้าประกวดจะต้องแปลเป็นภาษาไทย และส่งสำเนาการแปลมาพร้อมกับชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดด้วย)

7.ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีระยะเวลาในการเผยแพร่/ตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 ตุลาคม 2566

8. สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พฤศจิกายน 2566

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะของข่าวที่ดีครบถ้วน สมบูรณ์เที่ยงตรงและไม่มีอคติ 

2. จะต้องเป็นข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน อีกทั้งอยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ 

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. สุภัตรา ภูมิประภาส มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์

2. ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย

3. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย 

4. สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

2. รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อออนไลน์

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด 

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. ผู้สื่อข่าว 1 คน สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ 1 ชิ้น แต่ละสื่อออนไลน์ส่งผลงานได้ไม่จำกัด กรณีข่าวชุดส่งได้ไม่เกิน 2 ชิ้น/เรื่อง (ในกรณีเกินกว่านั้นให้ส่งเป็นเอกสารแนบประกอบการพิจารณา)

3. นักข่าวหรือคอลัมนิสต์ที่ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นบุคลากรขององค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน

4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผลิตเองในกองบรรณาธิการหรือโดยนักข่าวของสำนักข่าวที่รายงานข่าวเป็นกิจลักษณะ และผลงานนั้นต้องเผยแพร่ครั้งแรกในสื่อดิจิทัล (Digital First) ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่คัดลอกมาจากสื่ออื่นๆ

5.ให้จัดทำสำเนาเนื้อหาข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวจากหน้าเว็บไซต์ลงในหน้ากระดาษ A4 ความยาวรวมไม่เกิน 8 หน้า (ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16) ส่งมาพร้อม URL หรือลิงก์หน้าข่าวที่ส่งเข้าประกวด และแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา ช่องทางการเผยแพร่ ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

6.สำหรับข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวภาษาต่างประเทศ ผู้ส่งเข้าประกวดจะต้องแปลเป็นภาษาไทย และส่งสำเนาการแปลมาพร้อมกับชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

7.ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีระยะเวลาในการ เผยแพร่/ตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 ตุลาคม 2566

8. สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พฤศจิกายน 2566 

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะของข่าวที่ดีครบถ้วน สมบูรณ์เที่ยงตรงและไม่มีอคติ 

2. จะต้องเป็นข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. สุภัตรา ภูมิประภาส มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์

2. ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย

3. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย 

4. สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

3. รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด   

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่สื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. การผลิตจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ผู้ส่งเป็นผู้ดำเนินการผลิตเอง โดยแต่ละสถานีโทรทัศน์ส่งผลงานได้ไม่จำกัด แต่ผู้สื่อข่าว 1 คน สามารถส่งได้ 1 เรื่องเท่านั้น โดยในแต่ละเรื่องอาจมีจำนวนผลงานมากกว่า 1 ชิ้นก็ได้ ทั้งนี้มีความยาวรวมของเรื่องไม่เกิน 20 นาที 

3. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นไฟล์ mp.4 เท่านั้น โดยส่งพร้อม URL หรือลิงก์ผลงานที่ส่งเข้าประกวด พร้อมแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา และสถานีที่ออกอากาศ ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

4. ช่วงเวลาของผลงานจะต้องเป็นผลงานที่เผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล หรือระบบเคเบิลท้องถิ่นในประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 ตุลาคม 2566 เท่านั้น 

5. สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พฤศจิกายน 2566

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะคุณภาพของเนื้อหาสาระ คุณภาพของการผลิตและการนำเสนอ คุณค่าของผลงาน ความมีจริยธรรมในการเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูล การผลิต และการนำเสนออย่างครบถ้วน 

2. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. สุภาพร โพธิ์แก้ว อดีตอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. สังกมา สารวัตร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร

3. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4. ธีระพล อันมัย กรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยและ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

4. สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด 

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่สื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. การผลิตจะต้องเป็นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ที่ผู้ส่งเป็นผู้ดำเนินการผลิตเอง โดยสามารถส่งเข้าประกวดในนามของบุคคล คณะบุคคล หรือในนามของสถานีโทรทัศน์ ทั้งนี้ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นคนไทยและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ข่าวผลงานนั้นๆ ด้วย สามารถส่งได้โดย ไม่เกิน 3 เรื่อง/รายการ โดยในแต่ละเรื่องอาจมีจำนวนผลงานมากกว่า 1 ชิ้นก็ได้ ทั้งนี้มีความยาว ของเรื่องไม่เกิน 1 ชั่วโมง 

3.ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นไฟล์ mp.4 เท่านั้น โดยส่งพร้อม URL หรือลิงก์ผลงานที่ส่งเข้าประกวด พร้อมแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา และสถานีที่ออกอากาศ ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

4. ช่วงเวลาของผลงานจะต้องเป็นผลงานที่เผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล หรือระบบเคเบิลท้องถิ่นในประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 ตุลาคม 2566 เท่านั้น

5. สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พฤศจิกายน 2566

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะคุณภาพของเนื้อหาสาระ คุณภาพของการผลิตและการนำเสนอ คุณค่าของผลงาน ความมีจริยธรรมในการเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูล การผลิต และการนำเสนออย่างครบถ้วน 

2. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

  

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. สุภาพร โพธิ์แก้ว อดีตอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. สังกมา สารวัตร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร

3. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4. ธีระพล อันมัย กรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยและ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

5. ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 10 นาที)

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด 

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่สื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. การผลิตจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ผู้ส่งเป็นผู้ดำเนินการผลิตเอง และผลงานนั้นต้องเผยแพร่ครั้งแรกในสื่อดิจิทัล (Digital First) 

3. ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน หรือองค์กรต่างๆ สามารถส่งผลงานเข้าประกวดในประเภทนี้ได้ทั้งสิ้น โดยผู้ส่งเข้าประกวด 1 คนสามารถส่งได้ 1 ผลงาน แต่ละสื่อหรือองค์กรสามารถส่งได้ไม่จำกัด 

4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นไฟล์ mp.4 เท่านั้น โดยส่งพร้อม URL หรือลิงก์ผลงานที่ส่งเข้าประกวด พร้อมแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา ช่องทางการเผยแพร่ ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

5.ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีระยะเวลาในการ เผยแพร่/ตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 ตุลาคม 2566

6. สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พฤศจิกายน 2566

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะคุณภาพของเนื้อหาสาระ คุณภาพของการผลิตและการนำเสนอ คุณค่าของผลงาน ความมีจริยธรรมในการเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูล การผลิต และการนำเสนออย่างครบถ้วน 

2. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประธาน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

2. ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย

3. จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์ ศิลปินอิสระและอาจารย์มหาวิทยาลัย

4. ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย