ขอเชิญส่งผลงานเข้าประกวด “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2565

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ขอเชิญสื่อมวลชนส่งผลงานเข้าประกวด "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2565 (Media Awards 2022)

 

เนื่องด้วยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยซึ่งทำงานสื่อสารสาธารณะกับสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป  จึงได้จัดประกวดเพื่อมอบ “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2565 (Media Awards 2022) เพราะเล็งเห็นว่าสื่อมวลชนเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่อง สื่อทำหน้าที่เป็นครูที่ดีในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น  จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้สื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบผลงานรางวัลสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนในสังคม และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป

โดยแบ่งประเภทการประกวดดังต่อไปนี้ 

  1. ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ 
  2. ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์ 
  3. ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที) 
  4. สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที) 
  5. ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 10นาที) 
  6. ภาพถ่ายในหัวข้อ Protect the Protest” สำหรับสื่อมวลชน 
    และหัวข้อ “Hope” สำหรับประชาชนทั่วไป

 

โดยการประกวดในประเภทที่ 1-4 รับเฉพาะผลงานจากสื่อมวลชนเท่านั้น ส่วนในประเภทที่ 5-6 เปิดรับผลงานทั้งจากสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไป 

สำหรับผลงานที่ส่งเข้าประกวดในประเภทที่ 1-5 ต้องเผยแพร่หรือตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 ตุลาคม 2565 

ส่วนประเภทที่ 6 ต้องเป็นภาพถ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 - 30 พฤศจิกายน 2565 เท่านั้น  

เปิดรับผลงานในทุกประเภทตั้งแต่วันนี้ - 15 พฤศจิกายน 2565 ยกเว้นประเภทภาพถ่ายขยายเวลาไปถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565

 

สามารถสมัครได้ที่: คลิกที่นี่ https://bit.ly/3zPV1J4

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่: media@amnesty.or.th หรือ โทร. 089-922-9585

1. รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด 

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. ผู้สื่อข่าว 1 คน สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ 1 ชิ้น แต่ละสื่อสิ่งพิมพ์ส่งผลงานได้ไม่จำกัด กรณีข่าวชุดส่งได้ไม่เกิน 2 ชิ้น/เรื่อง (ในกรณีเกินกว่านั้นให้ส่งเป็นเอกสารแนบประกอบการพิจารณา)

3. นักข่าวหรือคอลัมนิสต์ที่ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นบุคลากรขององค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน

4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผลิตเองในกองบรรณาธิการหรือโดยนักข่าวในองค์กรสื่อที่ได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน และผลงานนั้นต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่คัดลอกมาจากสื่ออื่นๆ

5.ให้จัดทำสำเนาข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวตัวจริงเรียงลำดับตามวันเวลาโดยระบุวันที่ตีพิมพ์ทุกฉบับ แล้วส่งมาในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล (.jpg, .png หรือ .gif) พร้อมสำเนาเนื้อหาลงในหน้ากระดาษ A4 ความยาวรวมไม่เกิน 8 หน้า (ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16) และแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา ช่องทางการเผยแพร่ ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

6.ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย (ทั้งหนังสือพิมพ์ระดับชาติ หนังสือพิมพ์ระดับท้องถิ่นและนิตยสาร) ด้วยภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ (สำหรับข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวภาษาต่างประเทศ ผู้ส่งเข้าประกวดจะต้องแปลเป็นภาษาไทย และส่งสำเนาการแปลมาพร้อมกับชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดด้วย)

7.ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีระยะเวลาในการเผยแพร่/ตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 ตุลาคม 2565

8.ส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่อีเมล media@amnesty.or.th โทรศัพท์ 02-513-8745, 02-513-8754 หรือมือถือ 089-922-9585 ระหว่างวันที่  1 - 15 พฤศจิกายน 2565

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะของข่าวที่ดีครบถ้วน สมบูรณ์เที่ยงตรงและไม่มีอคติ 

2. จะต้องเป็นข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน อีกทั้งอยู่ในกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ 

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1.สุภัตรา ภูมิประภาส มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์

2.ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย

3.ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย 

4.สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

2. รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อออนไลน์

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด 

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. ผู้สื่อข่าว 1 คน สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้ 1 ชิ้น แต่ละสื่อออนไลน์ส่งผลงานได้ไม่จำกัด กรณีข่าวชุดส่งได้ไม่เกิน 2 ชิ้น/เรื่อง (ในกรณีเกินกว่านั้นให้ส่งเป็นเอกสารแนบประกอบการพิจารณา)

3. นักข่าวหรือคอลัมนิสต์ที่ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นบุคลากรขององค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน

4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผลิตเองในกองบรรณาธิการหรือโดยนักข่าวในองค์กรสื่อที่ได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน และผลงานนั้นต้องเผยแพร่ครั้งแรกในสื่อดิจิทัล (Digital First) ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่คัดลอกมาจากสื่ออื่นๆ

5.ให้จัดทำสำเนาเนื้อหาข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวจากหน้าเว็บไซต์ลงในหน้ากระดาษ A4 ความยาวรวมไม่เกิน 8 หน้า (ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16) ส่งมาพร้อม URL หรือลิงก์หน้าข่าวที่ส่งเข้าประกวด และแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา ช่องทางการเผยแพร่ ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

6.สำหรับข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวภาษาต่างประเทศ ผู้ส่งเข้าประกวดจะต้องแปลเป็นภาษาไทย และส่งสำเนาการแปลมาพร้อมกับชิ้นงานที่ส่งเข้าประกวดเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

7.ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีระยะเวลาในการ เผยแพร่/ตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 ตุลาคม 2565 

8.ส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่อีเมล media@amnesty.or.th โทรศัพท์ 02-513-8745, 02-513-8754 หรือมือถือ 089-922-9585 ระหว่างวันที่ 1 - 15 พฤศจิกายน 2565

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะของข่าวที่ดีครบถ้วน สมบูรณ์เที่ยงตรงและไม่มีอคติ 

2. จะต้องเป็นข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. สุภัตรา ภูมิประภาส มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์

2. ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย

3. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย 

4. สมชาย หอมลออ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

3. รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด   

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่สื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. การผลิตจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ผู้ส่งเป็นผู้ดำเนินการผลิตเอง โดยแต่ละสถานีโทรทัศน์ส่งผลงานได้ไม่จำกัด แต่ผู้สื่อข่าว 1 คน สามารถส่งได้ 1 เรื่องเท่านั้น โดยในแต่ละเรื่องอาจมีจำนวนผลงานมากกว่า 1 ชิ้นก็ได้ ทั้งนี้มีความยาวรวมของเรื่องไม่เกิน 20 นาที 

3. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นไฟล์ mp.4 เท่านั้น โดยส่งพร้อม URL หรือลิงก์ผลงานที่ส่งเข้าประกวด พร้อมแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา และสถานีที่ออกอากาศ 

ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

4. ช่วงเวลาของผลงานจะต้องเป็นผลงานที่เผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล หรือระบบเคเบิลท้องถิ่นในประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 ตุลาคม 2565  เท่านั้น 

5.ส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่อีเมล media@amnesty.or.th โทรศัพท์ 02-513-8745, 02-513-8754 หรือมือถือ 089-922-9585 ระหว่างวันที่ 1 - 15 พฤศจิกายน 2564

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะคุณภาพของเนื้อหาสาระ คุณภาพของการผลิตและการนำเสนอ คุณค่าของผลงาน ความมีจริยธรรมในการเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูล การผลิต และการนำเสนออย่างครบถ้วน 

2. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. สุนี ไชยรส ผู้ประสานงานขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย We Move และอดีตสสร. 2540

2. สุภาพร โพธิ์แก้ว อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3สังกมา สารวัตร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร

4. สมศรี หาญอนันทสุข ตัวแทนนักสิทธิมนุษยชน

4. สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด 

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่สื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. การผลิตจะต้องเป็นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ที่ผู้ส่งเป็นผู้ดำเนินการผลิตเอง โดยสามารถส่งเข้าประกวดในนามของบุคคล คณะบุคคล หรือในนามของสถานีโทรทัศน์ ทั้งนี้ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นคนไทยและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ข่าวผลงานนั้นๆ ด้วย สามารถส่งได้โดย ไม่เกิน 3 เรื่อง/รายการ โดยในแต่ละเรื่องอาจมีจำนวนผลงานมากกว่า 1 ชิ้นก็ได้ ทั้งนี้มีความยาว ของเรื่องไม่เกิน 1 ชั่วโมง 

3.ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นไฟล์ mp.4 เท่านั้น โดยส่งพร้อม URL หรือลิงก์ผลงานที่ส่งเข้าประกวด พร้อมแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา และสถานีที่ออกอากาศ 

ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

4. ช่วงเวลาของผลงานจะต้องเป็นผลงานที่เผยแพร่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล หรือระบบเคเบิลท้องถิ่นในประเทศไทย ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 ตุลาคม 2565 เท่านั้น

5. ส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่อีเมล media@amnesty.or.th โทรศัพท์ 02-513-8745, 02-513-8754 หรือมือถือ 089-922-9585 ระหว่างวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2565

 

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะคุณภาพของเนื้อหาสาระ คุณภาพของการผลิตและการนำเสนอ คุณค่าของผลงาน ความมีจริยธรรมในการเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูล การผลิต และการนำเสนออย่างครบถ้วน 

2. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. สุนี ไชยรส ผู้ประสานงานขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย We Move และอดีตสสร. 2540

2. สุภาพร โพธิ์แก้ว อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3สังกมา สารวัตร อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร

4. สมศรี หาญอนันทสุข ตัวแทนนักสิทธิมนุษยชน

 

5. ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 10 นาที)

1.รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

2.รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หลักเกณฑ์การส่งผลงานเข้าประกวด 

1. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่สื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

2. การผลิตจะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ผู้ส่งเป็นผู้ดำเนินการผลิตเอง และผลงานนั้นต้องเผยแพร่ครั้งแรกในสื่อดิจิทัล (Digital First) 

3. ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน หรือองค์กรต่างๆ สามารถส่งผลงานเข้าประกวดในประเภทนี้ได้ทั้งสิ้น โดยผู้ส่งเข้าประกวด 1 คนสามารถส่งได้ 1 ผลงาน แต่ละสื่อหรือองค์กรสามารถส่งได้ไม่จำกัด 

4. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นไฟล์ mp.4 เท่านั้น โดยส่งพร้อม URL หรือลิงก์ผลงานที่ส่งเข้าประกวด พร้อมแนบบทสรุปย่อของข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวนั้นมาด้วย โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ที่จัดทำผลงานชิ้นนี้ เบื้องหลังการผลิตผลงาน ผลงานชิ้นนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและมีคุณค่าต่อสังคมอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วันและเวลาที่เกิดข่าวดังกล่าว/วัน เวลา ช่องทางการเผยแพร่ ชื่อและเบอร์ติดต่อผู้ส่งผลงาน

5.ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีระยะเวลาในการ เผยแพร่/ตีพิมพ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 ตุลาคม 2565

6.ส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่อีเมล media@amnesty.or.th โทรศัพท์ 02-513-8745, 02-513-8754 หรือมือถือ 089-922-9585 ระหว่างวันที่ 1 - 15 พฤศจิกายน 2565

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีลักษณะคุณภาพของเนื้อหาสาระ คุณภาพของการผลิตและการนำเสนอ คุณค่าของผลงาน ความมีจริยธรรมในการเข้าถึงหรือได้มาซึ่งข้อมูล การผลิต และการนำเสนออย่างครบถ้วน 

2. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่ถือเอาเนื้อหาสาระเป็นคุณค่า มีประโยชน์และก่อให้เกิดผลกระทบหรือสร้างความเข้าใจในการให้ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

3. จะต้องเป็นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่มีเนื้อหาสื่อสารถึงความเคารพ ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

4. ถ้าเห็นว่าไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดดีเด่น คณะกรรมการตัดสินอาจจะให้รางวัลชมเชยหรือไม่ให้รางวัลเลยก็ได้ 

 

การตัดสิน ประกาศผล และมอบรางวัล 

1. การตัดสินของคณะกรรมการตัดสินซึ่งแต่งตั้งโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ถือเป็นอันยุติ 

2. กรณีไม่มีข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวใดสมควรได้รับรางวัล คณะกรรมการตัดสินฯ อาจให้ได้รับรางวัลชมเชยหรืองดเว้นการให้รางวัลในแต่ละประเภทได้

3. การประกาศผลการตัดสินและการมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมปีถัดไป

 

คณะกรรมการตัดสินรางวัล

1. ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และประธาน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

2. ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย

3. พัฒนะ จิรวงศ์ ผู้กำกับหนังสารคดี 

4. จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ์ ศิลปินอิสระและอาจารย์มหาวิทยาลัย

6. ภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” สำหรับสื่อมวลชน และหัวข้อ “Hope” สำหรับประชาชนทั่วไป

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยจัดกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อ “Protect the Protest” สำหรับสื่อมวลชน และหัวข้อ “Hope” สำหรับประชาชนทั่วไป ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 80,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

หัวข้อประกวด “Protect the Protest” สำหรับสื่อมวลชน

เสียงกระซิบจากคนหนึ่งคน อาจจุดประกายความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ และเมื่อคนหนึ่งคนรวมกลุ่มกันแสดงความคิดเห็นหรือความต้องการของตน เมื่อนั้นจากเสียงกระซิบจะกลายเป็นเสียงตะโกนที่ยิ่งใหญ่ ใช่ นั่นคือจุดเริ่มต้นของการชุมนุม 

การชุมนุมเป็นดังการเปล่งเสียงของคนธรรมดา ให้สะท้อนไปถึงผู้มีอำนาจ เพื่อเรียกร้องความเปลี่ยนแปลง สร้างแรงบันดาลใจ หรือส่งเสียงเพื่อแสดงความคิดเห็นของตน เพื่อนำสังคมนั้น ๆ ไปสู่บทใหม่แห่งหน้าประวัติศาสตร์ของประชาชน ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การชุมนุมนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลงของประชาชนนับแสนคน การจุดประกายวลีในโซเชียลมีเดียจนเกิดเป็นการเคลื่อนไหวในทุกภาคพื้นที่ทวีป การสร้างแฮชแท็กเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันของคนต่างชาติ ต่างภาษา ไปจนถึงการทำให้ท้องถนนเต็มไปด้วยผู้คน 

ที่สำคัญการชุมนุมไม่ใช่สิทธิพิเศษที่มีเงื่อนไข แต่สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบนั้นเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทว่าปัจจุบันสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมกลับต้องเผชิญหน้ากับภัยคุกคาม 

แล้วในภาพถ่ายของคุณล่ะ การชุมนุมเป็นอย่างไร? มาถ่ายทอดภาพของการชุมนุมในสายตาของคุณ ผ่านเลนส์ที่จะพาผู้คนไปรู้จักกับการชุมนุมกันเถอะ

 

หัวข้อประกวด “Hope” สำหรับประชาชนทั่วไป 

ท่ามกลางความมืดมิด ประกายไฟเพียงริบหรี่ อาจกลายเป็นแสงไฟที่พาใครสักคนไปพบกับทางออก ท่ามกลางวิกฤตสิทธิมนุษยชนเองก็เช่นกัน 

ในทุกพื้นที่ต่างมีเรื่องราวที่เต็มไปด้วยการพยายามต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องบ้านของตัวเอง เพื่อหวนคืนสู่แผ่นดินของบรรพบุรุษ เพื่ออากาศที่สะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เพื่อผืนน้ำที่จะกลับมางดงามและหล่อเลี้ยงชีวิตดังเดิม  เพื่อสิทธิของชุมชน ไปจนถึงการทวงคืนความยุติธรรมให้กับคนในอดีต หรือการปกป้องอนาคตให้กับลูกหลาน ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้เพื่อสิ่งใด พวกเขาต้องพบเจอกับความท้าทายในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นจากกฎหมาย หรือจากผู้มีอิทธิพล นั่นทำให้บ่อยครั้งที่ผู้คนที่ลุกขึ้นยืนเพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรมต้องพบเจอกับความมืดมิด 

“ความหวัง” จึงเป็นดังแสงเทียนที่ผลักดันให้ผู้คนยังคงสู้ต่อเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าของตัวเอง แม้จะอยู่ท่ามกลางความมืดมิดเพียงใด แต่หากใจยังมีหวัง.. เมื่อนั้นจุดหมายของผู้คนจึงไม่ไกลเกินเอื้อม เหมือนดังเช่นที่เหล่าคนธรรมดาตลอดหน้าประวัติศาสตร์ทั่วโลกที่ผ่านมาได้จุดเทียนจนกลายเป็นประกายไฟอันยิ่งใหญ่ ที่ต่อสู้กับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม จนเรื่องที่อาจดูเป็นไปไม่ได้ กลายเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในที่สุด 

คุณเองก็สามารถถ่ายทอดมุมมองแห่ง “ความหวัง” ผ่านเลนส์บนภาพถ่ายได้เช่นเดียวกัน มาจุดประกายความหวังผ่านรูปภาพ เพื่อให้หวังได้ส่องประกายในสังคมกันเถอะ

  

ประเภทรางวัล

1. สื่อมวลชน (ระบุสื่อที่สังกัด)
2. ประชาชนทั่วไป

 

โดยแต่ละประเภทประกอบไปด้วยรางวัลดังต่อไปนี้ 

รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 15,000 บาท พร้อมโล่พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

รางวัลชมเชย จำนวน 4 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมโล่พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

รางวัลป๊อปปูล่า โหวต 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมโล่พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

กติกา และเงื่อนไขในการประกวด

1. ผู้สมัคร 1 คน สามารถส่งภาพเข้าประกวดได้ไม่เกิน 3 ภาพ

2. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยตนเอง และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นภาพถ่ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 - 30 พฤศจิกายน 2565

3. ไฟล์ที่นำส่งต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 5 ล้านพิกเซล (2560x1920 พิกเซลขึ้นไป) เป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตัล (DSLR, Mirrorless, Compact, Action camera หรือกล้องจากโทรศัพท์มือถือ) หรือจะเป็นกล้องฟิล์มโดยให้แสกนเป็นไฟล์ดิจิตอลตามขนาดที่กำหนด ทั้งนี้การประกวดไม่เปิดรับภาพที่ถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (โดรน)

4. ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพสีเท่านั้น สามารถตกแต่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพของภาพได้แต่ต้องไม่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ต้องไม่ปรับสีสันจนผิดไปจากธรรมชาติที่ควรเป็นหรือจนเสียคุณภาพเชิงเทคนิคของภาพและต้องไม่มีการตัดต่อ การลบหรือการเพิ่ม หรือการกระทำการใดๆ ที่ส่งผลต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในภาพ

5. ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟิกใดๆ ลงบนภาพ รวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ

6. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใด ๆ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการประกวดในเวทีสาธารณะ หรือการประกวดภายในของสมาคม ชมรม หรือองค์กรอื่นใด

7. ไฟล์ภาพถ่ายทุกไฟล์ที่ส่งเข้าประกวด แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยจะไม่ส่งคืนให้ผู้เข้าร่วมประกวด นอกจากนี้แล้วผู้ที่ส่งภาพเข้าประกวดต้องรักษาภาพต้นฉบับไว้ ในกรณีที่คณะกรรมการตัดสินภาพมีข้อสงสัย สามารถเรียกให้ผู้เข้าร่วมประกวดแสดงภาพต้นฉบับได้

8. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องกรรมสิทธิ์ภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงต้องไม่ใช่ภาพที่ส่งขายตาม Stock Photo ทุกแห่ง ทั้งนี้ผู้จัดการประกวดจะไม่รับผิดชอบเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เจ้าของผลงานมีสัญญาผูกพันต่อบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ซึ่งเจ้าของผลงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีนี้เอง

9. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) มีสิทธิที่จะนำภาพถ่ายทุกภาพที่ได้รับรางวัลไปเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ  เพื่อรณรงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แก่เจ้าของภาพ และไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้าภายในระยะเวลา 4 ปี นับจากวันประกาศผลรางวัล ทั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) จะระบุชื่อเจ้าของผลงานให้ทุกครั้งที่นำภาพถ่ายไปใช้ และเมื่อพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว หากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) มีความประสงค์จะใช้ภาพใด แอมเนสตี้ ประเทศไทยจะติดต่อขออนุญาตจากเจ้าของภาพก่อนเป็นรายกรณี

10. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) มีสิทธิ์นำภาพที่เข้าร่วมการประกวดไปเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ การแสดงนิทรรศการ การตีพิมพ์ภาพลงในสูจิบัตร รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ขององค์กร เฉพาะที่เป็นกิจกรรมที่ไม่หวังผลทางการค้าได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้าภายใน 2 ปี และจะมีระบุชื่อเจ้าของผลงานทุกครั้งที่นำภาพถ่ายไปใช้ และเมื่อพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว หากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) มีความประสงค์จะใช้ภาพใด แอมเนสตี้ ประเทศไทยจะติดต่อขออนุญาตจากเจ้าของภาพก่อนเป็นรายกรณี

11. เจ้าหน้าที่และกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และคณะกรรมการตัดสินรางวัลไม่มีสิทธิ์ร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในครั้งนี้

12. การพิจารณาผลงานขึ้นกับดุลพินิจของกองประกวด และการตัดสินของกองประกวดถือเป็นที่สิ้นสุด หากปรากฏว่าภาพที่เข้าประกวดไม่เป็นไปตามกติกาข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ส่งภาพเข้าประกวด ไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกติกาไม่ครบถ้วน คณะกรรมการฯ มีอำนาจในการตัดสินผู้ส่งภาพเข้าประกวด และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งภาพเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

13. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด และเงื่อนไข รวมถึงของรางวัล โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. ภาพถ่ายสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสิทธิในเสรีภาพการชุมนุม (สำหรับสื่อมวลชน) และสื่อสารถึงมุมมองที่สะท้อนความหวัง (สำหรับบุคคลทั่วไป)

2. ภาพถ่ายสามารถสะท้อนมุมมองของผู้ถ่ายภาพในเชิงสร้างสรรค์

3. ภาพถ่ายมีคุณค่าและความงามในเชิงศิลปะ

 

ช่องทางการสมัครเข้าร่วมโครงการ

ผู้ประสงค์จะส่งภาพถ่ายเข้าประกวดได้ตามลิงก์แบบฟอร์มในเว็บไซต์ www.amnesty.or.th

โดยระยะเวลาที่เปิดรับภาพคือ วันที่ 1 - 30 พฤศจิกายน 2565 

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อคุณเนาวรัตน์  โทร. 02-513-8745 089-922-9585 

 

ระยะเวลาดำเนินการ

เปิดรับผลงานระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2565

ประกาศผลรอบแรกวันที่ 21 ธันวาคม 2565

ประกาศผลงานที่ผ่านเข้าชิงรางวัล 9 มกราคม 2566

ประกาศผลรางวัลและพิธีรับมอบในงานประกวด “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” 26 มกราคม 2566

หมายเหตุ วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

คณะกรรมการตัดสิน (The Panel of Judges)

1. สุภิญญา กลางณรงค์ Cofact Thailand

2. ผศ. กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร กลุ่มวิชาภาพยนตร์​และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์​และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์

​3. ยศธร ไตรยศ ช่างภาพ จาก Realframe

4.ภานุมาศ สงวนวงษ์ ช่างภาพ จาก Thai News Pix

5. ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย