จบไปแล้วอย่างยิ่งใหญ่ งาน #AGM24 ของสมาชิกแอมเนสตี้ ประเทศไทย

30 เมษายน 2567

Amnesty International Thailand

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 #AGM24 เมื่อวันวันเสาร์ที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา เวลา 09.00 น. – 17.00 น. ณ ห้องประชุม BARN ชั้น 1 โรงแรมเบสเวสเทิร์น จตุจักร กรุงเทพฯ โดยมีสมาชิกจากรุงเทพและต่างจังหวัดมาประชุมทั้งออนไลน์และออฟไลน์กว่า 90 คน

งานประชุม #AGM24 เริ่มต้นด้วยการรับรองรายงานการประชุมปี 2566 เรื่องแจ้งให้ทราบ เกี่ยวกับ “เพิ่มการมีสมาชิกภาพแอมเนสตี้ของคนเป็นสมาชิกกลุ่ม” ข้อเรียกร้องจากรายการสถานการณ์สิทธิมนุษยชนระดับโลก 2566/67 สรุปจากการประชุมแอมเนสตี้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก การประชุมสมัชชาโลก (Global Assembly-GA) รายงานผลการดำเนินงานปี 2566 (รวมรายงานงบประมาณ) นำเสนอแผนการทำงานจาก Amnesty Group Member ปีนี้พิเศษมีกิจกรรมกลุ่มย่อยที่จัดโดยเจ้าหน้าที่และสมาชิกแอมเนสตี้ และปิดท้ายด้วยการมอบรางวัลสมาชิกแห่งปี

 

 

สำหรับ กิจกรรมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับประกอบไปด้วย

กลุ่มที่ 1 การประชุม Global Assembly (GA) ที่ปีนี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการจัดงาน ซึ่งจะมีการเปิดรับอาสาสมัครสำหรับงานในลำดับต่อไป สมาชิกท่านไหนสนใจฝากติดตามข่าวสารได้

กลุ่ม 2: AMNESTY INTERNATIONAL THAILAND's CAMPAIGN

กลุ่ม 3: MY JOURNEY WITH AMNESTY - AMNESTY CLUB มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กลุ่ม 4: MY JOURNEY WITH AMNESTY - สุไลพร ชลวิไล จากทำทาง

 

สำหรับ รางวัลสมาชิกแห่งปี มีผลรางวัลดังนี้

1. AMNESTY'S MOST SUPPORTIVE GROUP (คลับไทย) ได้แก่ แอมเนสตี้คลับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2. AMNESTY'S MOST SUPPORTIVE GROUP (International คลับ) ได้แก่ RIS Club, Ruamrudee international school

3. WRITE FOR RIGHTS VOLUNTEER ได้แก่ แอมเนสตี้คลับ มหาวิทยาลัยพะเยา

4. MEMBER WHO IS ALWAYS WITH AMNESTY ได้แก่ ทักษิณ บำรุงไทย

 

พทธณี กางกั้น ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เผยว่า งาน AGM คือการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาชิกแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลในแต่ละประเทศ ถือเป็นงานที่สำคัญมาก เพราะเป็นโอกาสที่สมาชิกจะได้มาเจอกัน ได้ทำทำกิจกรรม ทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ร่วมกัน และรับฟังนโยบายการทำงานของแอมเนสตี้ ประเทศไทย ในแต่ละปี รวมทั้งการใช้งบประมาณ การรับฟังข้อแนะนำถึงยุทธศาสตร์ การทำงาน ความสำเร็จ และความท้าทาย ในปีที่ผ่านมา รวมทั้งแผนงาน และกิจกรรมที่จะทำในปีต่อๆ ไป

“เป้าหมายที่มีการรวมตัวในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือเราได้มีการแลกเปลี่ยนว่าแอมเนสตี้ทำอะไรมา และจะทำอะไรต่อไป มีประเด็นที่เราควรจะทำร่วมกัน เราจะพัฒนาองค์กรและความเป็นสมาชิกของเราอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สถานการณ์สังคม และสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และเราจะร่วมสร้างพลังเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในงานด้านสิทธิมนุษยชนของคนไทยได้อย่างไร”

ทั้งนี้ พุทธณี ฝากข้อความถึงผู้คนที่มีความสนใจงานด้านสิทธิมนุษยชน แต่ยังไม่มีความเข้าใจมากนัก ได้ลองเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เพื่อสร้างเป็นองค์คใามรู้ใหม่ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนสู่สังคมโลก

สมาชิกที่ไม่ได้ร่วมประชุมสามารถดู เอกสารประกอบการประชุม #AGM24 ได้ที่นี่