จำนวนเด็กที่ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกทางการเมือง ในช่วงปี 2563-2564

27 เมษายน 2564

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ตั้งแต่ปี 2563 มีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและการชุมนุมทางการเมืองแล้วอย่างน้อย 33 คน ใน 34 คดี เนื่องจากประชาชนทุกคนสามารถแจ้งความรวมไปถึงคดีอาญาที่มีโทษร้ายแรงต่อใครก็ได้จึงมีแนวโน้มที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น

  • เด็ก 6 คนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในจำนวน 5 คดี โดยมี 3 รายที่ถูกแจ้งความจากประชาชนทั่วไป และอีก 2 รายถูกเจ้าหน้าที่แจ้งความในข้อหาเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์
  • เด็ก 1 คนถูกตั้งข้อหา ยุยงปลุกปั่น (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 )
  • เด็ก 25 คนถูกตั้งข้อฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและ พ.ร.ก.โรคติดต่อ
  • เด็ก 3 คนถูกตั้งข้อหาฐาน อั้งยี่,ซ่องโจร (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209และมาตรา 210 )

 

 

เด็ก 13 คนถูกตั้งข้อหา ชุมนุมผิดกฎหมาย (ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 ) ซึ่งมีจำนวน 2 คนถูกตั้ง 2 ข้อหารวมกับข้อหาไม่เลิกตามคำสั่งเจ้าพนักงาน (ตามประมวลกฎหมายมาตรา 216) และมีจำนวน 10 ที่ถูกตั้ง 3 ข้อหารวมกับข้อหากระทำการโดยมีหรือใช้อาวุธ(ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 ) เป็นต้น 

เด็กที่มีคดีมากที่สุดมีจำนวนคดีรวมทั้งหมด  10 คดี รวมทั้งคดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพ (ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) มีเด็กจำนวน 23 คนถูกควบคุมตัวโดยไม่มีหมายจับที่ได้รับอนุญาตจากศาลฯ (จับโดยมิชอบด้วยกฎหมาย)

เป็นที่น่าสังเกตว่าการจับกุมจากการสลายการชุมนุมตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 โดยส่วนใหญ่มีการควบคุมตัวไปกองบัญชาการตำรวจตระเวรชายแดน ภาค 1 (ควบคุมตัวที่มิชอบด้วยกฎหมาย) และมีการสลายการชุมนุมที่รุนแรงโดยใช้กำลัง กระสุนยาง แก๊สน้ำตา เครื่องช็อตไฟฟ้า เครื่องพันธนาการ โดยไม่แยกแยะระหว่างเด็กกับบุคคลทั่วไป

 

 

กระบวนการจับกุม

มีการจับกุมที่มิชอบด้วยกฎหมายต่อเด็ก จับกุมโดยพลการ จากการจับกุมบริเวณสะพานวันชาติ จากการชุมนุมของกลุ่ม REDEM วันที่ 20 มีนาคม เด็ก 2 คนถูกยึดอุปกรณ์สื่อสารและทำร้ายร่างกาย 1 คนถูกนำไปควบคุมตัวไปกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1เด็กให้ข้อมูลว่าถูกควบคุมตัวแยกจากคนอื่น ไม่สามารถพบทนายและผู้ปกครองได้ และถูกคุกคาม/ข่มขู่ด้วยวาจาและสายตาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่พยายามคาดคั้นว่าเด็กเป็นผู้ทำจริงหรือไม่ ไม่ทราบว่าอยู่ในกระบวนการนั้นเป็นระยะเวลาเท่าไร ภายหลังที่เด็กไม่รับสารภาพ จึงถูกปล่อยตัวออกมาหาผู้ปกครองและทนายความ เพื่อแจ้งข้อกล่าวหาต่อไป อีก 1 คนสลบ มีบาดแผลขนาดใหญ่บริเวณศรีษะ ต่อมาถูกเย็บ 5 เข็มและพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นเวลา 2 คืน 3 วัน โดยระหว่างนั้นถูกลอคมือด้วยกุญแจมือกับเตียง ไม่อนุญาตให้ขับถ่าย ญาติและทนายความไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ จนกระทั่งทนายความแย้งว่าอาจเป็นการควบคุมตัวโดยมิชอบ จึงให้เข้าเยี่ยมได้ไม่เกิน 30 นาทีต่อวัน และต้องออกภายใน 18.00 น. ภายหลังจากเด็กออกจากโรงพยาบาลเเล้ว เด็กและครอบครัวภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนนักโทษทางการเมืองต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

 

 

 

กระบวนการสอบข้อเท็จจริง

จากกรณีเด็กเด็กอายุ 14 ปี ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 112 และอื่นๆ เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงศาลเยาวชนแลครอบครัวกลางมีการกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาภายในอาคาร รวมทั้งผู้ปกครอง ครู และเพื่อนของเด็กที่ถูกกล่าวหา เฉพาะทนายความและเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้นที่เข้าไปในอาคารได้ ศาลตรวจสอบการจับกุมบริเวณหน้าเคาเตอร์ยื่นเอกสาร ไม่ใช่ห้องตรวจสอบการจับกุม ทนายความไม่มีการทักท้วงถึงเหตุการณ์ที่เด็กถูกบังคับให้สารภาพ กระบวนการตรวจสอบการจับกุมเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วศาลให้ประกันตัวด้วยการวางเงินประกัน 20,000 บาท แม้จะเป็นการกระทำความผิดครั้งแรก เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแจ้งว่า อธิบดีศาลเยาวชนจะไม่ให้ประกันตัวด้วยเหตุที่เด็กกระทำนั้นเป็นการดูหมิ่นศาล แต่รองอธิบดีเจรจาและสุดท้ายเด็กได้รับการประกันตัว