บรูไนต้องยุติแผนการลงโทษด้วยการปาหินและวิธีการที่โหดร้ายอย่างอื่น  

4 เมษายน 2562

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

สำนักงานเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน แถลงในกรณีที่ประเทศบรูไน ดาุสซาลาม ได้ดำเนินการขั้นตอนสุดท้ายเพื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาชารีอะฮ์ฉบับใหม่ ซึ่งกำหนดบทลงโทษที่โหดร้าย เช่น การปาหินจนเสียชีวิตกรณีมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน และการตัดอวัยวะกรณีลักทรัพย์ โดย สตีเฟน คอคเบิร์น รองผู้อำนวยการประเด็นปัญหาระดับโลก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนกล่าวดังนี้  

 

เรากังวลอย่างยิ่งว่าการลงโทษที่ทารุณโหดร้ายเช่นนี้ ได้ผ่านเป็นกฎหมายในบรูไน"

ประมวลกฎหมายอาญาฉบับใหม่อนุญาตให้มีการใช้บทลงโทษ รวมทั้งการตัดอวัยวะหรือการปาหินจนเสียชีวิต ซึ่งถือว่ามีความทารุณโหดร้ายอย่างสุดประมาณ และไม่เหมาะสมต่อสถานการณ์ใด ๆ ในโลก"

เป็นเรื่องน่าตกใจที่มีกฎหมายเอาผิดทางอาญากับพฤติการณ์ ซึ่งไม่ควรถือเป็นความผิดอาญาเลย ประชาคมระหว่างประเทศต้องประณามการตัดสินใจของบรูไนที่จะนำบทลงโทษที่ทารุณโหดร้ายเหล่านี้มาใช้ต่อไป"

ทางการบรูไนต้องงดเว้นจากการบังคับใช้กฎหมายเหล่านี้ และต้องดำเนินมาตรการที่จำเป็นเพื่อยกเลิกกฎหมายซึ่งไม่อาจยอมรับได้ และแก้ไขให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ”  

บทลงโทษเหล่านี้เป็นไปตามการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาชารีอะฮ์ของบรูไน ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ เมษายน 2562

 

ข้อมูลพื้นฐาน 

 

บรูไน ดารุสซาลามลงนาม แต่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment) และที่ผ่านมาได้ปฏิเสธข้อเสนอแนะในประเด็นนี้ ในระหว่างการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2557  

 

ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การลงโทษทางกายในทุกรูปแบบ ทั้งการปาหิน การตัดอวัยวะ หรือการเฆี่ยนตี ถือเป็นการทรมานหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นข้อห้ามในทุกกรณี   

 

แม้ว่าบรูไนมีโทษประหารในกฎหมาย แต่ไม่ได้บังคับใช้ในทางปฏิบัติ เมื่อปี 2560 มีการกำหนดโทษประหารอีกครั้ง ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด   

 

ประมวลกฎหมายอาญาชารีอะฮ์ (Shariah Penal Code – SPC) ของบรูไน ไม่ได้เป็นการประกาศใช้แทนกฎหมายแพ่ง แต่คาดว่าจะนำมาใช้คู่กัน จากข้อมูลที่มีอยู่คาดว่า ต้องมีการใช้ดุลพินิจเพื่อวินิจฉัยว่า คดีใดจะถูกฟ้องตามกฎหมายแพ่งหรือกฎหมายชารีอะ