กิจกรรม Freeratsadon Postcard Initiative 2025: Freedom Beyond Walls ส่งเสียงถึงผู้ถูกพรากเสรีภาพผ่าน “โปสการ์ดศิลปะ”

โปสการ์ดแห่งความหวัง: แอมเนสตี้เปิดรับผลงานศิลปะเพื่อส่งถึงผู้ต้องขังการเมือง – “Freedom Beyond Walls” จัดแสดง ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ

“รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาก และเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ในการเชิญชวนบุคคลทั่วไปให้เขียนจดหมาย สิ่งที่กำลังใจให้คนในเรือนจำรับรู้คือความหวัง อยากจะเห็นความเปลี่ยนแปลงแม้เพียงเสียงเดียวกัน”

– หนึ่งในผู้ต้องขังที่ได้รับโปสการ์ดจากแคมเปญที่ผ่านมา

แม้การชุมนุมใหญ่จะผ่านพ้นไปตั้งแต่ปี 2564 แต่การดำเนินคดีกับประชาชนที่แสดงออกอย่างสงบยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2568 ระบุว่ามีผู้ต้องขังที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกหรือประเด็นทางการเมือง อย่างน้อย 48 คน ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นคดีมาตรา 112 ถึง 31 คน ทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่บางส่วนยังไม่ได้รับการประกันตัวและยังถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ

แคมเปญ “ฟรีราษฎร” (Freeratsadon) ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จึงมีเป้าหมายเพื่อส่งเสียง สิทธิเสรีภาพ และความหวังไปถึงผู้ถูกจองจำผ่านเครื่องมือเล็ก ๆ อย่าง “โปสการ์ด” ซึ่งในปี 2567 มีการจัดส่งโปสการ์ดไปยังเรือนจำทั่วประเทศแล้วกว่า 700 ฉบับ พร้อมการตอบรับอย่างลึกซึ้งจากผู้ต้องขัง เช่น:

“อ่านทุกฉบับ และขอบคุณทุก ๆ คนที่ช่วยกันเขียนจดหมายหรือโปสการ์ดมา
อ่านแล้วรู้สึกว่า เขาก็ยังไม่ลืมเรา คิดว่าเขาคงจะไม่ลืมแหละ ก็เกินตั้ง 50 ปี แป๊บเดียวก็จะได้ออกไปออกไปก่อนแล้ว อีกสัก 50 ปี อยู่ในนานหรอก อะไรก็เป็นไปได้”

เพื่อขยายพื้นที่ของการสื่อสารด้วยศิลปะ แอมเนสตี้ฯ จึงเปิดตัวกิจกรรม “Freeratsadon Postcard Initiative 2025: Freedom Beyond Walls” เชิญชวนประชาชนทั่วไปและเยาวชนร่วมออกแบบโปสการ์ดภายใต้แนวคิด
“Unchained Expression – ปลดปล่อยสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกผ่านปลายพู่กัน”

ผลงานที่ได้รับการคัดเลือก 50 ชิ้นจะถูกจัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ระหว่างวันที่ 15 – 27 กรกฎาคม 2568 และอีก 20 ผลงานเด่นจะเผยแพร่บนเว็บไซต์ freeratsadon.or.th พร้อมโอกาสรับทุนสนับสนุนศิลปิน 5,000 บาท และร่วมเวทีแลกเปลี่ยนกับศิลปินและนักสิทธิมนุษยชน

✨ กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับใคร?

  • ผู้ที่สนใจใช้ศิลปะเพื่อสื่อสารเรื่องสิทธิมนุษยชน
  • เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินมืออาชีพ
  • ผู้ที่ต้องการส่งเสียงถึงเพื่อนในเรือนจำว่า “คุณไม่ได้ถูกลืม”

📌 กำหนดการสำคัญ

  • วันนี้ – 14 มิ.ย.: สมัครและส่งผลงานผ่าน แบบฟอร์มนี้
  • 7 มิ.ย.: Online Sharing Session พูดคุยกับศิลปินและนักสิทธิมนุษยชน
  • 16–22 มิ.ย.: เปิดโหวตผลงานยอดนิยมผ่านโซเชียลมีเดีย
  • 25 มิ.ย.: ประกาศผู้ได้รับคัดเลือกอันดับหนึ่ง
  • 15–27 ก.ค.: จัดแสดงผลงาน 50 ชิ้น ณ BACC

🧮 หลักเกณฑ์การตัดสิน

  • คะแนนจากการโหวตของสาธารณะ 20%
  • คะแนนจากคณะกรรมการ 80%

    คณะกรรมการประกอบด้วย:
  1. ธี ถิรนัย – นักกิจกรรมทางการเมืองและอดีตผู้ต้องขัง ผู้ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือสื่อสารจากหลังกำแพงเรือนจำ
  2. อาจารย์จิรวัฒน์ เอื้อสังคมเศรษฐ – อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารสังคมและศิลปะเพื่อสิทธิมนุษยชน
  3. Thai Political Tarot – ศิลปินอิสระและนักสื่อสารสาธารณะ เจ้าของผลงานไพ่ทาโรต์สะท้อนสังคมการเมือง
  4. คุณปิยนุช โคตรสาร – นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้ใช้งานศิลปะเป็นงานอดิเรกและใช้เครื่องมือเยียวยาจากการทำงาน

เกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น 4 ด้าน:

  • แนวคิด (Concept – 30%)
    ถ่ายทอดสิทธิ และ”ความหวัง” ของผู้ต้องขังทางการเมือง โดยแสดงให้เห็นว่าเสรีภาพยังดำรงอยู่แม้ในสภาพจำกัด
  • การสื่อสารผ่านทัศนศิลป์ (Visual Communication – 30%)
    ใช้ “ภาพ” เป็นภาษาหลักในการสื่อสารอย่างมีพลัง โดยไม่จำเป็นต้องมีคำอธิบายประกอบ
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity – 30%)
    ถ่ายทอดเนื้อหาอย่างไม่ซ้ำใคร แสดงตัวตนของผู้สร้างสรรค์ และมุมมองต่อเสรีภาพในแบบของตนเอง
  • ความสามารถในการใช้จริงในการรณรงค์ (Campaign Usability – 10%)
    ผลงานสามารถพิมพ์ แจกจ่าย หรือใช้ในการรณรงค์/ส่งถึงผู้ต้องขังได้จริง มีความเหมาะสมกับพื้นที่เรือนจำและสาธารณะ

โครงการนี้ไม่ได้เป็นการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะ แต่เป็นพื้นที่เปิดให้ศิลปะของคุณ “มีชีวิต”
เพื่อเดินทางข้ามกำแพง และบอกใครสักคนว่า เขายังมีตัวตน และยังมีคนข้างนอกที่พร้อมยืนยันสิทธิของเขาเช่นกัน

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
📮 freeratsadon.amnesty.or.th
#FreedomBeyondWalls #โปสการ์ดเสรีภาพ #AmnestyThailand #Freeratsadon #UnchainedExpression

ปกป้องเสรีภาพการแสดงออก

สิทธิของบุคคลทุกคนที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการแสดงความคิดเห็น เป็นสิทธิในระดับสากลที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายระหว่างประเทศ

สนับสนุนความเท่าเทียม

เราทุกคนต้องได้รับการปกป้องจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งการแสดงออกตามอัตลักษณ์ทางเพศ รสนิยมทางเพศและเพศวิธี ภายใต้หลักการด้านสิทธิมนุษยชน