แอมเนสตี้เรียกร้องฮ่องกงสอบสวนอย่างเต็มที่ต่อปฏิบัติการของตำรวจระหว่างการประท้วง

5 กันยายน 2562

ภาพโดย Chris McGrath/Getty Images

ถ่าม หม่าน-เก ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮ่องกงเปิดเผยหลังการแถลงของแคร์รี่ หลั่ม ผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงว่า จะมีการถอนร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมการส่งผู้ร้ายข้ามแดนออกจากสภาอย่างเป็นทางการ

 

“แม้เราจะยินดีกับการถอนร่างกฎหมายที่เป็นอันตรายในท้ายที่สุด แต่การแถลงครั้งนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงที่เกิดขึ้นไปแล้ว นั่นคือทางการฮ่องกงเลือกใช้วิธีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อปราบปรามการประท้วง ส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อความเชื่อมั่นของประชาชน และความรู้สึกต่อความชอบธรรมของรัฐบาลนี้

 

“จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสอบสวนอย่างรอบด้านและเป็นอิสระ ต่อการใช้กำลังอย่างไม่จำเป็นและเกินขอบเขตของตำรวจระหว่างการประท้วง เรายังคงเรียกร้องทุกรัฐบาลให้ระงับการส่งมอบอุปกรณ์ “เพื่อควบคุมมวลชน” (ที่ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชีวิต) ให้กับฮ่องกง จนกว่าจะมีการสอบสวนอย่างเต็มที่ และจนกว่าจะมีการนำมาตรการป้องกันอย่างเพียงพอมาใช้  

 

“ปัญหาจาก “ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมการส่งผู้ร้ายข้ามแดน” เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น และความจริงรัฐบาลควรถอนร่างกฎหมายนี้ตั้งแต่หลายเดือนก่อน แทนที่จะทำเช่นนั้น พวกเขากลับใช้ก๊าซน้ำตาและกระสุนยางมาตอบโต้การประท้วง ยิ่งเร่งให้เกิดความตึงเครียดและส่งผลให้เกิดการประท้วงต่อต้านเป็นเวลาหลายเดือน การแถลงในวันนี้จึงเป็นขั้นตอนเล็ก ๆ ในแนวทางที่ถูกต้อง แต่ยังต้องมีการดำเนินงานอีกมากเพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ทางการฮ่องกงมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน และส่งสัญญาณอย่างชัดเจนให้กับประชาชนในฮ่องกงว่า พวกเขาสามารถใช้สิทธิเหล่านี้ได้ไม่ว่ามีความเชื่อทางการเมืองแบบใดก็ตาม”

 

อ่านเพิ่มเติม

ความเป็นมา

ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) และอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment หรือ CAT) โดยความเป็นอิสระจากการถูกบังคับให้สูญหายนั้นได้รับการคุ้มครองโดยอนุสัญญาทั้งสองนี้ และเนื่องจากการบังคับให้สูญหายมักจะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิอื่น ๆ เพิ่มเติมเสมอ ได้แก่ สิทธิในชีวิต อิสระจากการถูกทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี สิทธิในเสรีภาพ และสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังเป็นการละเมิดสิทธิของสมาชิกในครอบครัวของผู้สูญหายที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานที่กระทำต่อเขาโดยเจตนาผ่านการทำให้พวกเขานั้นจำต้องอยู่กับความไม่แน่นอนด้วยไม่ทราบชะตากรรมและถิ่นที่อยู่ของบุคคลอันเป็นที่รัก

 

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้ลงนาม แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ ICPPED) อนุสัญญาดังกล่าวได้ยืนยันถึงสิทธิอันเด็ดขาดที่บุคคลจะไม่ถูกบังคับให้สูญหาย อีกทั้งกำหนดให้รัฐมีพันธกรณีในการสืบสวนสอบสวนกรณีการบังคับให้สูญหาย และกำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาและมีบทลงโทษที่เหมาะสมโดยต้องพิจารณาถึง “ความร้ายแรงอย่างมาก” ของการกระทำผิด และให้มีการดำเนินการที่จำเป็นใด ๆ เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

 

รัฐบาลได้กล่าวว่าจะไม่ทำการภาคยานุวัติอนุสัญญาจนกว่าบทบัญญัติต่าง ๆ ของอนุสัญญาจะถูกบรรจุในกฎหมายภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะผ่านร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย (‘ร่าง พ.ร.บ.’) กลับหยุดชะงักไปหลังจากไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก่อนการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2562 ร่าง พ.ร.บ.ในปัจจุบันนั้นยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของประธานรัฐสภา ทั้งนี้ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ในฐานะผู้ลงนามใน ICPPED ประเทศไทยยังคงมีข้อผูกพันที่จะไม่ทำการอันขัดต่อวัตถุประสงค์และเป้าหมายของสนธิสัญญาดังกล่าว

 

ประเทศไทยมีพันธกรณีระหว่างประเทศซึ่งผูกพันให้ต้องทำการสืบสวนสอบสวนกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตโดยมิชอบด้วยกฎหมายและการบังคับให้สูญหายอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ละอียดถี่ถ้วน อิสระ เป็นกลาง และโปร่งใส

 

จากบทบัญญัติของ ICPPED และพิธีสารมินนิโซต้าซึ่งถูกปรับปรุงแก้ไขในปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) โดยระบุถึงมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนกรณีที่ต้องสงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตโดยมิชอบด้วยกฎหมายและการบังคับให้สูญหาย และได้มีการเปิดตัวพิธีสารดังกล่าวร่วมกับกระทรวงยุติธรรม ประเทศไทย เมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้กำหนดว่าการสืบสวนสอบสวน “ต้องพยายามระบุไม่เพียงแต่ผู้กระทำความผิดโดยตรงเท่านั้น แต่รวมถึงบุคคลอื่นๆ ทั้งหมดที่รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตนั้น ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ในสายบังคับบัญชาซึ่งสมรู้ร่วมคิดกับการเสียชีวิตดังกล่าว” (วรรค 26)

 

อ่านเพิ่มเติม

Thailand: special investigation into apparent enforced disappearance of “Billy” welcome, but much more is needed

Thailand: ICJ submits recommendations on draft law on torture and enforced disappearance amendments

Justice for Billy: Time for Thailand to Account for Activist’s Disappearance

 

ติดต่อ

สำหรับ ICJ: นายเฟรเดอริก รอว์สกี ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชีย ICJ โทร.: +66 64 478 1121 อีเมล์: frederick.rawski(a)icj.org

สำหรับ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล: นิโคลัส เบเคลัง รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก โทร.: +852 9805 9120 อีเมล์: nicholas.bequelin(a)amnesty.org