เปิดโผผลงานเข้าชิง "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ปี 2565

21 ธันวาคม 2565

Amnesty International Thailand

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดโผผลงานที่เข้าชิง "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2565 (Media Awards 2022) ใน 5 ประเภท

จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ทางคณะกรรมการตัดสินขอแจ้งรายชื่อผลงานที่ผ่านเข้าชิงรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 ดังต่อไปนี้

 

รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อออนไลน์

 

รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

 

สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

 

ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์

 

 

ภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” สำหรับสื่อมวลชน (รอบแรก)

 

 

“กลุ่มไรเดอร์ ผู้ใช้แอฟพิเคชั่น รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ยืดเวลาจดทะเบียน เพื่อวามอยู่รอดของปากท้อง”

ผลงานของ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช (สำนักข่าวไทยออนไลน์)

 

“เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนกีดกันช่างภาพข่าวออกจากพื้นที่ระหว่างการสลายการชุมนุมของราษฎรหยุด APEC”

ผลงานของ เมธิชัย เตียวนะ (The101.world)

 

“ความรุนแรงต่อผู้ประท้วงไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่ต่อพระสงฆ์ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมการชุมนุมเพียงแค่ขอก้าวผ่านเขตแดนที่ทางเจ้าหน้าที่กั้นไว้เพื่อไปรับตัวผู้ชุมนุมที่โดนจับตัวเพียงเท่านี้ก็ได้รับความรุนแรงจากกระบองและโล่จนได้การบาดเจ็บ”

ผลงานของ ณัฐพล โลวะกิจ (SPACEBAR)

 

“เด็กสาวอายุ 20 ปี ทำกิจกรรมแสดงออกด้วยการผูกริบบิ้นสีแดงและสีน้ำเงินตามสถานที่ต่างๆ ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ "อุ้ม" และจับกุม หลังจากนั้นเธอโดนแจ้งข้อหามาตรา112 อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต่อมาอีก 2 เดือน ศาลสั่งไม่ให้ประกันตัว เธอต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำและอดอาหารเพื่อประท้วงความไม่อยุติธรรมนี้เป็นเวลามากกว่า 1 เดือน”

ผลงานของ  ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ (SPACEBAR)

 

“หนึ่งในผู้ชุมนุม "ราษฎรหยุดเอเปค" โดนเจ้าหน้าที่ดึงตัวเข้าไปหลังแนว จะเห็นว่าเจ้าหน้าที่กำลังบีบคอผู้ชุมนุมคนนั้นอย่างแรงก่อนจะจับลงกับพื้นและรุมกระทืบ ในวันนั้นมีผู้ชุมนุมถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายบาดเจ็บอีกหลายคน ทั้งโดนตี โดนกระทืบ ยิงกระสุนยางระยะประชิด แแม้กระทั่งถูกกระสุนยางยิงตาบอด”

ผลงานของ  ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ (SPACEBAR)

 

“ชายหนุ่มชาวกะเหรี่ยงในเสื้อพื้นเมืองสีชมพูเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนพร้อมโล่และกระบองด้านหน้าแนวตู้คอนเทนเนอร์ที่ตั้งปิดสะพานชมัยมรุเชฐเพื่อไม่ให้กลุ่มบางกลอยคืนถิ่น  ซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงจากบ้านบางกลอย จังหวัดเพชรบุรี และนักกิจกรรมจากภาคีเซฟบางกลอยเดินเท้าเข้าไปถึงทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้มีการจัดตั้งเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาชุมชนกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย หลังจากประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินมาตลอด 25 ปีหลังถูกบังคับย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านใจแผ่นดิน ลึกเข้าไปในผืนป่าแก่งกระจาน”

ผลงานของ  อันนา หล่อวัฒนตระกูล (ประชาไท)

 

“ผู้ชุมนุมใช้หมีพูห์ เป็นสัญลักษณ์แทน ‘สี จิ้นผิง’ ดันแนวโล่ตำรวจบริเวณแยกอโศก ระหว่างการประท้วงผู้นำจีนและการเป็นเจ้าภาพของไทยในการจัดการประชุม APEC 2022”

ผลงานของ  ปฏิภัทร จันทร์ทอง

 

 

ภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” สำหรับประชาชนทั่วไป (รอบแรก)

 

“15.45 ของวันพฤหัสที่9/06/2565 นั้นคือสิ่งที่รอค่อยจากคนรัก”ความหวัง” ที่จะได้อยู่ด้วยกันอีกครั้งเป็นจริงแล้ว “กอด” คือสัมผัสแรกที่มีให้กัน” #ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีกัญชา

ผลงานของฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ

 

“แสงเเดดที่แผดเผาพร้อมไอแดดที่สะท้อนขึ้นมาจากน้ำ “ยังมีคนรอความหวัง” แม้จะนานเท่าไรเธอก็จะรอเพื่อเข้าบ้านที่ถูกน้ำท่วม ขวดนมที่กำลังหมด และเด็กน้อยที่โรยแรงหลับคาตักแม่นั้นเป็นภาพที่ชวนสงสารยิ่งนัก มนุษย์หรือจะสู้กับภัยธรรมชาติได้” #น้ำท่วมอ่างทอง65

ผลงานของ ฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ

 

“แม่ของคูไมดี รีจิ เธอสูญเสียลูกชายจากการถูกเจ้าหน้าที่รัฐวิสามัญฆาตกรรมในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ หลายครั้งข่าวการรายงานเรื่องคดีวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยจะมาจากการให้ข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายเดียว หากสื่อมวลชนไทยยังรายงานข้อเท็จจริงจากมุมของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายเดียว ความหวังเดียวของเธอก็คือ การละหมาดอ้อนวอนจากพระเจ้า”

ผลงานของ พัชรพล ภิภพสุขาวดี

 

“รอยแผลของความหวัง รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำกลุ่มราษฎร จับมือมารดาออกจากศาลอาญา หลังฟังผลขอปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อเรียนและทำวิจัยต่อ โดยข้อมือของรุ้งยังเป็นแผลจากการแสดงอารยะขัดขืนเพื่อยกเลิกมาตรา 112 ด้วยการกรีดข้อมือเป็นเลข 112 ในวันที่ 30 ตุลาคม 2564”

ผลงานของ  ชนากานต์ เหล่าสารคาม

 

“สักวันจะได้รับอิสภาพ ขบวนคาร์ม็อบกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย และเครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี ปล่อยนกพิราบที่หน้าประตูศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้นักโทษทางการเมือง และใบปอ-ผักบุ้ง ทะลุวัง ที่ถูกถอนประกันคดีมาตรา 112 จากการส่งโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนว่าได้รับความเดือดร้อนจากขบวนเสด็จหรือไม่ที่หน้าวังสระปทุม”

ผลงานของ  ชนากานต์ เหล่าสารคาม

 

“ประชาชนที่หนีสงครามมาอยู่ชายแดนไทยพม่า ยังคงมีความหวังอยู่เสมอ เพียงแต่ต้องอดทนและรอคอยวันเวลาแห่งความสงบสุขคืนกลับมา ซื่งก็ยังมีคนช่วยเหลือเจือจุน ให้ลุกขึ้นต่อสู้ต่อไป”

ผลงานของ  Siripong Patumaukkarin

 

“การละหมาดของไทยมุสลิมผู้นับถือสาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนใต้ในวันฮารีรายอ..”

ผลงานของ วิหาร ขวัญดี

 

“ความสุขสะท้อนความหวัง ภาพบรรยากาศของเด็กๆ ในการจัดงานกรุงเทพกลางแปลง ณ ศูนย์เยาวชนคลองเคยวันที่ 16 กรกฎาคม 2565 สะท้อนให้เห็นถึงความหวังในการกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ หลังจากที่ก่อนหน้านี้กรุงเทพมหานครแทบจะไม่มีการจัดงานที่เปิดพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนได้เข้ามาใช้งานเลย”

ผลงานของ ปิติวัฒน์ อังวัฒนพานิช

 

“หลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ชุมชนบ่อนไก่หนึ่งวันประชาชนบางส่วนยังเลือกใช้ชีวิตต่อในบ้านของตนใกล้จุดเกิดเหตุเนื่องจากบางคนไม่มีทางเลือกมากนัก ดังเช่นเด็กผู้หญิงในภาพที่บ้านของเธอไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้จึงจําเป็นต้องใช้ความสว่างจากไฟฉายในการอ่านหนังสือเรียน ซึ่งการเรียนเปรียบเสมือนความหวังเเละหนหางให้ผู้คนไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าเดิม”

ผลงานของ ศุภสัณห์ กันณรงค์

 

"ภาพวินาทีประวัติศาสตร์ของกลุ่มภาคีสีรุ้งหลังได้รับรู้ว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านสภาผู้เเทนราษฎรในวาระเเรก นับเป็นหมุดหมายสําคัญสําหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหลังจากการเรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปี"

ผลงานของ ศุภสัณห์ กันณรงค์