5 ปัญหาของพี่น้องชาติพันธุ์ในวิกฤตโควิด-19

28 กันยายน 2564

Amnesty International Thailand

“นี่ฉันติดหรือยัง?” คงเป็นคำถามที่ทุกคนคงเคยถามตัวเอง เมื่ออ่านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ทุกวัน พร้อมปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ทั้งหมั่นใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างทางสังคม เมื่อมีอาการป่วยน่าสงสัยก็รีบเข้ารับการตรวจคัดกรอง หรือมีปัญหาคาใจเรื่องวัคซีนก็หาข้อมูลหลายแหล่งข่าวเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามเราก็ยังมีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ไม่มากก็น้อย

 

แต่ไม่ใช่ทุกคนในสังคมที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลการดูแลตัวเองที่มีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งความกังวลใจแบบทวีคูณ เราจึงขอชวนคุณมาร่วมทำความเข้าใจ 5 ปัญหาที่พี่น้องชาติพันธุ์กำลังเผชิญในสถานการณ์โควิด 

 

5 ปัญหาของพี่น้องชาติพันธุ์ในวิกฤตโควิด-19

 

 

Mani-edit-02.png

พี่น้องชาติพันธุ์หลายกลุ่มยังคงใช้ภาษาของตัวเอง ไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ อาจรับรู้ข่าวว่ามีคนป่วยและเสียชีวิตจากโรคระบาด แต่ขาดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง จึงรู้สึกวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสิทธิในสุขภาพคือสิทธิที่ทุกคนพึงมี ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการให้ข้อมูลเพื่อการป้องกันและรักษาโรค ที่จำเป็น ในประเทศพหุวัฒนธรรม เช่น ประเทศออสเตรเลีย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เป็นภาษาต่าง ๆ เพื่อให้ประชากรทุกกลุ่มเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม แม้ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่

 

 

Mani-edit-03.png

บ้านของพี่น้องชาติพันธุ์อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เช่น พื้นที่ป่า บางชนเผ่าจะอพยพโยกย้ายไปตามความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เมื่อมีอาการป่วยจะไม่สามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองหรือเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ เกิดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดสู่คนในชุมชน หรือกรณีที่มีอาการหนักอาจไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

 

Mani-edit-04.png

เมื่อเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรค อีกทั้งอุปกรณ์ป้องกันและดูแลสุขอนามัยหมายถึงรายจ่ายที่สูงขึ้น พี่น้องชาติพันธุ์จึงมีความเสี่ยงติดเชื้อจากคนนอกชุมชนและแพร่กระจายโรคในชุมชนตัวเอง

 

 

Mani-edit-05.png 

ระบบการลงทะเบียนเข้ารับวัคซีนถูกออกแบบมาเพื่อคนเมือง ต้องทำผ่านโทรศัพท์ ต้องมีอินเตอร์เน็ต และดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน แต่พี่น้องชาติพันธุ์หลายกลุ่มอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าและสัญญาณอินเทอร์เน็ต การลงทะเบียนรับสิทธิ์ต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องยาก 

อีกทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนมีความซับซ้อนและมีหลายกระแสข่าว ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ไม่กล้าที่จะเข้ารับวัคซีน นอกจากนี้ยังไม่มีหน่วยงานรัฐเข้ามาดูแล เมื่อเป็นเช่นนี้จึงยากต่อการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในระดับชุมชนและสังคม

 

 

Mani-edit-06.png

พี่น้องชาติพันธุ์จำนวนมากเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน จึงเข้าไม่ถึงสวัสดิการที่บุคคลสัญชาติไทยพึงมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการชดเชยเยียวยาช่วงโควิด ท่ามกลางวิกฤตที่คนจำนวนมากยังรอความช่วยเหลือ การอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจึงทำให้ความช่วยเหลือไปไม่ถึงชุมชน ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือจากภาครัฐหรือภาคประชาสังคมก็ตาม

 

 

Mani-edit-07-2.png

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับชาวมานิ ไม่ควรมีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังเพียงเพราะมีวิถีชีวิตที่แตกต่าง

กลุ่มชาติพันธุ์มานิ (MANI ETHNIC GROUP) ชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 20-30 คน ปัจจุบันมีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในผืนป่าเทือกเขาบรรทัดในพื้นที่ของจังหวัดพัทลุง สตูล และตรัง มีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับป่ามาอย่างยาวนาน ไม่มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีการอพยพโยกย้ายไปตามความสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ชาวมานิมีความหวาดระแวงและกลัว เพราะไม่รู้ว่าโควิดคืออะไร ขาดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เนื่องจากไม่สามารถอ่านหรือเขียนภาษาไทยได้ และไม่มีหน่วยงานรัฐเข้ามาดูแล ให้การรักษาพยาบาลและการฉีดวัคซีน รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันตัวจากโรคระบาดและมาตรการชดเชยเยียวยาเนื่องจากเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ตกหล่นในการรับสัญชาติไทย ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน

 

Mani-edit-08.png

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยขอเชิญชวนร่วมส่งหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย เครื่องวัดอุณหภูมิ และเจลแอลกอฮอล์ (ขนาดขั้นต่ำปริมาณ 5 ลิตร) หรือสมทบทุนร่วมจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวให้กับพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ “มานิ” จำนวน 12 กลุ่ม กว่า 500 คนในจังหวัดสตูล ตรังและพัทลุง และเรือนจำ 7 แห่งทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ได้แก่ 1. เรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ 2. เรือนจำกลางจังหวัดกาฬสินธุ์ 3. ทัณฑสถานหญิงกลาง กรุงเทพมหานคร 4. เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 5. ทัณฑสถานหญิงธนบุรี 6. เรือนจำจังหวัดธัญบุรี 7. เรือนจำกลางจังหวัดนราธิวาส

 

ที่อยู่จัดส่งอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 : แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย 139/21 ซอยลาดพร้าว 5 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

สมทบทุนซื้ออุปกรณ์: โอนเข้าบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 047 2426 175 ชื่อบัญชี สมาคมแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: โทรศัพท์ 02 513 8754 อีเมล membership@amnesty.or.th

 

*เปิดรับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้น หรือ “จนกว่าจะมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแลอย่างทั่วถึง”