ถึงสมชาย จากความทรงจำ

 

23 มีนาคม 2566

Amnesty International

ส่วนหนึ่งของชุดบทความ Remember Me: อย่าให้ลืมเลือน

 

"สิ่งสำคัญที่สุดคือการพูดถึงเรื่องราวของพวกเขาและบันทึกไว้เพื่อไม่ให้ถูกลืมเลือน" 

- อังา นีละไพจิตร

 

 

หากเทียบตัวเลข 19 ปีที่ ทนายสมชาย นีละไพจิตร ถูกบังคับให้สูญหายไป ให้เป็นอายุของใครคนหนึ่ง ก็คงเป็นช่วงอายุของคนที่กำลังจะก้าวผ่านวัยผู้ใหญ่ อาจออกเดินทางไปทำตามความฝัน หรือกำลังจะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย  

 

19 ปีที่ยาวนานพอกับที่เรามีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกเขียนขึ้นหลังจากการมีรัฐประหารถึง 2 ครั้งในปี 2549 และปี 2557 มีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในสังคมไทยในรอบ 19 ปี บางความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บางความเปลี่ยนแปลงค่อย ๆ เผยให้เห็นและนำไปสู่ การขยับเพดานทางความคิดของคนในสังคมไทย 

 

วันที่ 12 มีนาคม 2547 คือวันที่ทนายสมชาย นีละไพจิตร ได้หายตัวไปในบริเวณซอยมหาดไทย รามคำแหง กรุงเทพมหานคร คดีสุดท้ายที่เขาทำคือคดีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การปล้นปืนปิเหล็ จ.นราธิวาส หลังจากนั้นเราก็ไม่อาจพบทนายสมชายได้อีก ทุก ๆ ปีของวันที่ 12 มีนาคม เราจะพบภาพของทนายสมชาย ที่เป็นโปสเตอร์พร้อมประโยคที่บอกและถามไปในตัวว่า  ทนายสมชายหายไปไหน” 

เราได้เห็นบทสัมภาษณ์ของคนที่รักเขาเกิดขึ้นมากมาย เรื่องเล่าของทนายสมชายที่ปรากฏขึ้นคือ   ความทรงจำของคนที่อยู่รายรอบ และความทรงจำเหล่านี้คือหลักฐานในการมีอยู่ของคน ๆ หนึ่งที่แม้ว่าเวลาจะผ่านมาถึง 19 ปีแต่เรื่องราวของเขายังคงดำเนินอยู่ แต่ความยุติธรรมก็ยังคงอยู่ที่เดิม 

ทนายก้อย หรือ ดร. วาสนา ภัทรนันทกุล และ มีน สูฮัยมี ลือเเบซา คือหนึ่งในคนที่มีความทรงจำผูกพันกับทนายสมชายทนายก้อยคือลูกศิษย์ที่ได้ฝึกงานกับทนายสมชายเมื่อครั้งยังเป็นทนายความฝึกหัด และมีน นักศึกษาจาก  จังหวัดปัตตานีทั้งสองพบเจอทนายสมชายในห้วงเวลาและเหตุการณ์ที่แตกต่างกัน  

สำหรับทนายก้อย ทนายสมชายคืออาจารย์ของเธอ ผู้เป็นเสมือนบันไดก้าวแรกของการเป็นอาชีพทนายความในการทำงานเพื่อสังคม เพื่อคนเล็กคนน้อย การที่เธอได้มาเป็นทนายเพื่อพี่น้องชาติพันธุ์อาข่าของตนเอง ในจังหวัดเชียงราย บ้านเกิดนั้น จุดเริ่มต้นคือการไปฝึกงานกับทนายสมชาย  

สำหรับมีน เรื่องเล่าของทนายสมชายที่ได้ยินในรั้วมหาวิทยาลัย ได้เป็นจุดกำเนิดของการตามอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับทนายสมชาย จนนำไปสู่ความสนใจในประเด็นเรื่องการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ในฐานะนักกิจกรรมคนหนึ่ง เมื่อมีโอกาสมีนไม่รอช้าที่จะพูดเรื่องราวเหล่านี้บนเวทีต่าง ๆ เพื่อบอกกล่าวกับคนทั่ไป รุ่นน้องในมหาวิทยาลัยให้ทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เฉกเช่นเดียวกับตัวเขาเองที่เคยได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้มาเช่นกัน 

 

กระเป๋าเจมส์บอนด์ รถฮอนด้าสีเขียว และข้าวหมกไก่

 20 ปีที่แล้วนักศึกษาชาวอาข่าคนหนึ่งเคยไปหาสมชาย นีละไพจิตร ถึงสำนักงานทนายความของเขาเพื่อขอฝึกงาน  

“ไปมา 2-3 ครั้ง สุดท้ายอาจารย์ก็ยอมให้ฝึกงานด้วย ถึงจะไม่ค่อยเต็มใจเท่าไหร่” เธอเล่าพร้อมเสียงหัวเราะ 

แม้เรื่องราวดังกล่าวจะผ่านมามากว่า 20 ปีแต่สำหรับก้อยหรือทนายก้อยวาสนา ภัทรนันทกุลที่ปัจจุบันทำงานเป็นทนายความอิสระ และเป็นทนายความอาสาให้คำปรึกษาด้านคดีกับกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองอาข่า อยู่ที่ จ. เชียงราย ยังคงจดจำเรื่องราวเหล่านี้ได้ดี  

ถึงวันนี้ก้อยเรียกทนายสมชาย นีละไพจิตร ว่า อาจารย์”  

ก้อยพาเราย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2542-2543 ซึ่งเป็นปีที่ก้อยได้เจอกับ “อาจารย์” ของเธอเป็นครั้งแรก  

เหมือนกับว่าเหตุการณ์พึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้” ก้อยว่า งานที่อาจารย์ทำนั้นตรงกับสิ่งที่เราอยากจะทำคือการทำงานกับคนตัวเล็กตัวน้อย"  

เมื่อปี 2542 – 2543  เราไปสมัครเรียนเป็นทนายความรุ่นที่ 17 ของสภาทนายความ วันนั้นอาจารย์สมชายก็มาเป็นวิทยากรบรรยายให้กับทนายรุ่นนั้นเราประทับใจอาจารย์ตรงที่กลุ่มเป้าหมายที่อาจารย์ทำงานด้วยคล้ายประเด็นทางภาคเหนือ เรื่องการถูกเลือกปฏิบัติโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ตอนนั้นอาจารย์ทำงานกับพื้นที่ทางภาคใต้ อาจารย์หยิบยกประเด็นในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสมาเล่า ซึ่งฟังดูแล้วคล้ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองที่ภาคเหนือ

"พออาจารย์บรรยายเสร็จ เราก็ไปขออาจารย์ว่า นูขอไปฝึกงานกับอาจารย์ได้ไหมคะแต่อาจารย์ปฏิเสธเพราะที่สำนักงานไม่มีผู้หญิงเลย มันอาจจะไม่สะดวก เราก็ไม่ยอมแพ้เพราะรู้สึกว่าอยากทำงานกับอาจารย์มาก ๆ และไปหาที่สำนักงาน พยายามตามตื๊อ 2-3 ครั้ง จนสุดท้ายอาจารย์ก็ยอมรับแต่ไม่เต็มใจเท่าไหร่ (หัวเราะ) หลังจากนั้นก็ได้ไปฝึกงานอยู่กับอาจารย์ที่สำนักงาน เราฝึกงาน 6 เดือนกว่า และไปสอบได้ตั๋วทนาย หลังจากนั้นก็ได้มาอยู่กับอาจารย์ต่อทั้งหมดประมาณ 1 ปี”  

ภาพของสมชาย นีละไพจิตรในความทรงจำของก้อย มาพร้อมกับบุคลิกภายนอกที่สุขุม พูดน้อย เหมือนดุตลอดเวลา ในทุก ๆ วัน เธอมักจะเห็นรถฮอนด้าสีเขียวจอดข้างหลังสำนักงาน  

 

นั่นคือรถของทนายสมชาย  

 

สมชาย นีละไพจิตร มัสวมใส่เสื้อเชิ้ต ผูกเน็กไทด์ บางครั้งเขาจะสวมสูท หรืออาจเอาไปใส่ที่ศาล สองขาดินลงจากรถ ถือกระเป๋าใบหนึ่งที่เธอเรียกว่า “กระเป๋าเจมส์บอนด์” กับน้ำหนักที่หนักถึงห้ากิโลกรัม กับอาหารที่เอามาฝากน้อย ๆ ที่มักจะถือติดมืคู่กับกระเป๋า  

อาหารเมนูนั้น มักจะเป็น “ข้าวหมกไก่”  

จะมีใครตามไปด้วยไหม?” สมชายถามน้อง ๆ ของเขาที่สำนักงานก่อนไปศาล แน่นอนว่าก่อนไป มักจะมีศึกแย่งกระเป๋าของเหล่าลูกศิษย์เสมอ 

ตอนนั้นจะมีคดีที่ศาลอาญาและศาลแพ่งซึ่งอยู่ ใกล้ ๆ กับสำนักงาน ทุกวันอาจารย์จะเอารถมาจากบ้านมาจอดที่สำนักงานและเดินข้ามสะพานลอยกันไปไปที่ศาล อาจารย์จะถือกระเป๋าเจมส์บอนด์สีดำ น้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัมได้ ข้างในจะใส่เอกสาร เสื้อครุย และก้อยเองก็จะรู้สึกว่าเราเป็นลูกศิษย์ควรต้องถือกระเป๋าให้กับอาจารย์ ก็จะมีศึกที่จะแย่งชิงกระเป๋ากัน (หัวเราะ) อาจารย์จะบอกว่าเราเป็นผู้หญิงไม่ต้องถือเดี๋ยวอาจารย์จะถือเอง แต่เราก็อยากจะช่วยอาจารย์ อาจารย์ก็บอกไม่ต้อง ๆ พอเดินข้ามไปได้ครึ่งสะพานลอย เราบอกจะช่วยถืออีก อาจารย์ถึงยอมและบอกว่า เอาไป 

ด้วยความที่ทำงานเป็นจิตอาสาในนามของชมรมทนายความมุสลิม ทุกคนที่อยู่ตรงนั้นก็จะมีเงินไม่ได้มากเท่าไหร่ เพราฉะนั้นวันไหนที่อาจารย์สมชายของพวกเขาเข้ามาออฟฟิศทุกคนจะดีใจกันมากว่าวันนี้จะได้กินของอร่อย และเมนูข้าวหมกไก่ก็เป็นเมนูโปรดที่มาจากอาจารย์ อยู่ตรงนั้นทุกคนไม่มีเงินเดือน เราจะอยู่แบบเป็นพี่เป็นน้อง อาจารย์จะซื้อข้าวมาให้ ข้าวหมกไก่บ้าง ทุกคนจะได้กินอาหารเที่ยงที่อาจารย์ซื้อให้ เวลาทานข้าวอาจารย์ก็จะถามไถ่ว่าเป็นไงบ้าง พูดคุยกันทั่วไปภายนอกหน้าตาอาจารย์ไม่ค่อยยิ้มแย้มแต่ว่าอาจารย์เป็นคนใจดี 

 

เครื่องพิมพ์ดีด ลายแทง และ จำเลยเป็นคน กินข้าวไม่ใช่กินหญ้า 

ก้อยเล่าบรรยากาศในช่วงที่ฝึกงานกับอาจารย์ว่าหมือนด้ทำงานในสนามจริง  

ก้อยได้ช่วยอาจารย์ทุกอย่างตั้งแต่ช่วยพิมพ์สำนวนที่ต้องถอดมาจากลายมืออาจารย์ (หรือลายแทง) ไปศาลกับอาจารย์ ได้เห็นการทำงานในคดีที่หนักและความประทับใจในการเขียนสำนวนของอาจารย์ที่ทุกวันนี้เมื่อรู้สึกว่าเขียนไม่ออก ไม่รู้จะใช้คำอย่างไรดีก็จะนึกถึงอาจารย์เป็นคนแรก 

ในสำนักงานมีลูกศิษย์อยู่สามรุ่น เราจะเรียก รุ่นใหญ่ กลาง เล็ก ซึ่งเราเป็นรุ่นเล็กสุด จำได้เลยว่าลายมืออาจารย์ คือลายแทงที่ต้องแกะ เพราะอ่านยากมาก เวลาอาจารย์จะเขียนคำร้องที่ต้องยื่นต่อศาล อาจารย์จะร่างด้วยดินสอ ใส่กระดาษรีไซเคิล และจะเรียกลูกศิษย์รุ่นเล็กที่สุด ตอนนั้นคือพี่ไปช่วยพิมพ์ดีดให้ สำหรับเราที่เป็นรุ่นเล็กคือเราอ่านลายมืออาจารย์ออกได้สัก50% ก็ต้องไปหารุ่นกลางว่าช่วยดูให้หน่อย รุ่นกลางก็จะแกะได้ประมาณ 75% สุดท้ายต้องไปหารุ่นใหญ่ที่คุ้นเคยลายมืออาจารย์ ก็ได้ประมาณ 90% แต่มันจะมีคำสองคำที่ไม่มีใครอ่านออกเลยต้องไปหาอาจารย์ กว่าจะเสร็จหนึ่งงานก็วุ่นวาย ต้องหาพี่คนนี้คนนั้น คือเราก็ไม่กล้าไปหาอาจารย์โดยตรงก็เลยต้องผ่านรุ่นพี่อีกสองรุ่นก่อน 

 

ข้ามผ่านกาลเวลา ประสบการณ์ในสมัยครั้งเป็นเด็กฝึกงานยังคงอยู่กับเธอความทรงจำของสมชาย นีละไพจิตร ถ่ายทอดออกมาผ่านปลายนิ้วมือและปลายปากกาของก้อย 

จากเด็กฝึกงานในวันนั้น เติบโตกลายมาเป็นทนายความในวันนี้  

 

“เรายังจำได้ว่ามีคดีเรื่องการเผาโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส ที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้วว่ามีความผิดเนื่องจากว่าเจอหลักฐานคือถุงปุ๋ยที่หน้าโรงเรียน แล้วเวลาอาจารย์เขียนอุทธรณ์แปลเป็นภาษาชาวบ้านคือ ‘จำเลยเป็นคน กินข้าวนะไม่ได้กินหญ้า’ ความหมายประมาณนั้น ที่อาจารย์จะสื่อว่า ชาวบ้านมีความคิดความอ่านเหมือนคนทั่ว ๆ ไป เขาจะวางถุงปุ๋ยไว้หน้าโรงเรียนให้คนมาจับตัวเองทำไม สำหรับเราสำนวนมันกระแทกใจมาก 

ดังนั้นเวลาที่จะต้องเขียนอุทธรณ์หรือฎีกาเราจะนึกถึงสำนวนของอาจารย์มาก ๆ เลย อาจารย์มักจะมีคำพูดที่กระแทกใจ  ในสมัยนั้นเวลาจะต้องเขียนอุทธรณ์หรือฎีกา มีหลายครั้งที่อาจารย์เขียนแล้วเราเป็นคนพิมพ์ เราก็จะรู้สึกว่า ‘โอโห้ คำนี้มันใช่เลย’ อาจารย์พูดได้ถูกต้อง คือเวลาก้อยเขียนเอง เวลานึกคำอะไรไม่ออกก็คิดถึงอาจารย์ว่า ถ้ามีอาจารย์มาเขียนเองนะ อาจารย์ต้องเขียนได้แบบกระแทกใจแน่เลย จะคิดถึงอาจารย์มาก ๆ ช่วงที่ต้องทำงานพวกนี้  

 

มุ่งมั่น แน่วแน่ และไม่หวั่นเกรง 

สมชายในความทรงจำ คืคนที่มีความมุ่งมั่น มีจุดยืน และไมไหวหวั่นต่ออิทธิพลใด ๆ แม้อาจต้องลำบากใจหรืออยู่ในสภาวะที่ปฏิเสธไม่ได้ก็ตาม  

ความมุ่งมั่นของ “อาจารย์”จุดประกายแรงบันดาลใจให้กับก้อยในการทำงาน เธอกล่าวว่า เธออยากจะเติบโตและเป็นคนที่มุ่งมั่นเหมือนสมชาย นีละไพจิตร เพราะเป็นเช่นนี้ รถฮอนด้าสีเขียวจึงกลายเป็นรถในฝันของก้อยด้วยเช่นกัน  

อาจารย์เป็นที่พึ่งให้กับคนในยะลา ปัตตานี และนราธิวาสทีได้รับความเดือดร้อน เพราะทนายคนอื่นเขาไม่ค่อยรับ (คดีเหล่านี้) กันเพราะมันไม่ใช่เป็นคดีเกี่ยวกับธุรกิจ ซึ่งเราเข้าใจได้ ส่วนใหญ่ที่อาจารย์ทำเป็นคดีช่วยเหลือ ซึ่งเราก็จะได้รับสิ่งเหล่านั้นมาเต็ม ๆ จากอาจารย์ แล้วเราก็มาทำงานกับกลุ่มกลุ่มชาติพันธุ์ของเรา ซึ่งเราได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์ ที่ส่งต่อให้มาเต็ม 

ตอนนั้นที่มาฝึกงานช่วงแรก ๆ เรายังไม่ได้คิดอะไรไปไกล แค่มีความประทับใจในการทำงานของอาจารย์ ซึ่งมันคล้าย ๆ กับประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เราอยากทำงานด้วย (เราเป็นชนเผ่าพื้นเมืองอาข่า) เราเลยอยากจะไปอยู่ใกล้กับอาจารย์ให้ได้มากที่สุดเพื่อจะได้ซึมซับ แนวคิด อะไรต่าง ๆ 

อีกเรื่อง ไม่เกี่ยวกับการทำงานแต่เป็นภาพของอาจารย์ที่เราอยากเหมือน จำได้ตอนนั้น อาจารย์จะขับรถฮอนด้าสีเขียว ถ้าต่อไปฉันมีเงินซื้อรถ จะซื้อรถเหมือนอาจารย์ให้ได้    

 

ทำงานดีดีแล้วกัน 

เสียงสุดท้ายจากปลายสายที่หายไป 19 ปี  

หลังจากฝึกงานกับอาจารย์ได้ 6 เดือนก้อยสอบตั๋วทนายได้และอยู่ทำงานต่อกับอาจารย์อีกจนครบปี โดยมีแผนในใจที่ชัดขึ้นคือการจะกลับไปทำงานยังบ้านเกิดของตนเองที่ จ. เชียงราย เพื่อทำงานให้กับกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองอาข่าของตนเองก้อยได้ไปทำงานยังมูลนิธิที่ทำเรื่องสิทธิมนุษยชนแห่งหนึ่งที่ จ. เชียงใหม่ก้อยบอกว่าอาจารย์จะโทรมาหาบ้างและมักจะเป็นเรื่องงาน เช่นช่วยไปดูคดีนั้นให้หน่อย แต่ไม่ได้คุยกันบ่อย  

จนกระทั่ง 3 วันก่อนที่อาจารย์หายตัวไป เสียงโทรศัพท์ได้ดังขึ้นก้อยบอกกับเราว่ามันเป็นบทสนทนาที่ไม่ค่อยคุ้นเคย คืออาจารย์โทรมาถามสารทุกข์สุขดิบไม่ใช่เรื่องงาน 

 

‘ก้อย เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม?’  

อาจารย์ก้อยกำลังจะกลับบ้านที่เชียงราย อยากสร้างสำนักงานของตัวเอง’ 

 

หลังจากนั้น อาจารย์แนะนำคนที่เราควรไปทำความรู้จัก และบอกว่า..” 

 

ทำงานดี ๆ แล้วกัน  

 

ปลายสายเงียบไปเมื่อกดวาง ผ่านไปสามวัน สายโทรศัพท์อีกสายก็ดังขึ้น  

ครั้งนี้ไม่ใช่ “อาจารย์” ของเธอที่โทรมา  

แต่เป็นรุ่นพี่คนหนึ่ง 

 

รู้ไหมอาจารย์หายตัวไปนะ’ 

 

"ตอนนั้นก้อยขนลุก ตกใจ และบอกกับรุ่นพี่ไปว่าเมื่อ 3 วันที่แล้วอาจารย์ยังโทรมาหาอยู่เลย แล้ก็คุย ๆ กันว่า เหมือนอาจารย์จะโทรหาคนรู้จักในช่วงนั้นอาจารย์อาจรู้ตัวว่าตัวเองไม่ค่อยปลอดภัยหรือเปล่า อันนี้ก้อยคิดเองนะคะ เพราะปกติอาจารย์จะไม่เคยโทรมาหาเลย ถ้าไม่ใช่เรื่องงาน  

เราถามต่อว่าการที่อยู่อาจารย์หายไปเลยนั้น มันมีความรู้สึกอะไรที่มันติดค้างอยู่ในใจหรือความทรงจำของเราบ้างไหม บางครั้งก้อยจะฝันถึงอาจารย์บ้างว่าเราได้เจอกัน ฝันเห็นเป็นตุเป็นตะ นึกถึงวนเวียนว่าอาจารย์ทำให้เรามีก้าวแรกของการเป็นทนายความ แรงบันดาลใจ เรื่องของการทำงาน และเรื่องความไม่หวั่นเกรงต่อผู้มีอิทธิพล 

 

หากว่าเราได้เจอกันอีก 

ในช่วงของการพูดคุยตอนหนึ่งที่ก้อยเป็นนักศึกษาฝึกงานก้อยเคยพยายามถามอาจารย์ว่าเคล็ดลับของการเป็นทนายที่ดีคืออะไรและถ้าอยากจะเป็นทนายความที่ดีแบบอาจารย์นั้นต้อทำอย่างไรอาจารย์ไม่มีคำตอบให้ เพียงแต่บอกว่า ไม่มีหรอกคำตอบ อีก 20 ปีข้างหน้า เดี๋ยวคุณก็ได้คำตอบเองแหละ”  

ถ้าตอนนี้หากได้เจอกันอีมีอไรอยากจะบอกกับอาจารย์ไหม” เราถาม  

ก้อยนิ่งไปสักพัก แล้วเอ่ยตอบ  

อยากจะบอกว่า คำถามที่ก้อยเคยถามอาจารย์เมื่อ 20 ปีที่แล้วว่าการเป็นทนายที่เก่งต้องทำยังไง ตอนนี้ก้อยได้คำตอบแล้วค่ะ และอยากจะขอบคุณที่อาจารย์เป็นแรงบันดาลใจให้ก้อยได้ก้าวมาอย่างแข็งแกร่ง จนถึงทุกวันนี้ได้ 

และได้ทิ้งท้ายไว้ว่า เรารู้สึกว่า 19 ปีที่ผ่านมาเรื่องราวมันยังวนเวียนอยู่ไม่ได้ลบหายไปจากความทรงจำ ยังหลับและฝันอยู่เสมอเลย” 

เรื่องเล่าจากลูกศิษย์คนหนึ่ง ที่มีทนายสมชายเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน เป็นประตูบานแรกที่ทำให้เธอชัดเจนในการกลับไปทำงานให้กับกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง อันเป็นสายเลือดของเธอ ที่บ้านเกิดของตัวเอง ระยะเวลาไม่นานที่เธอได้เรียนรู้จากการทำงานกับทนายสมชายนั้นกลับต่อยอดทางความคิด และอุดมการณ์มาจนถึงปัจจุบันก้อยคือหนึ่งในคนที่มีชีวิต มีเรื่องราว ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ทนายสมชายยังมีชีวิตอยู่ เราเห็นถึงชุดความคิดที่มันถูกส่งผ่านต่อมา จากคนอีกหลายคน ความสำคัของการบันทึกเรื่องราวของคนที่ถูกบังคับให้สูหายนั้น นอกจากมันจะเป็นการทำให้เขาไม่ถูกลืมแล้ว มันยังเป็นหนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ      ที่วันหนึ่งจะมีคนหลายคนที่ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกับเขา ได้เข้ามาเปิดอ่านอีกครั้งเช่นกัน 

 

สำหรับมิน สูฮัยมี ลือเเบซาอดีตประธานสภานักศึกษา นักกิจกรรม จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ความทรงจำของทนายสมชาย นีละไพจิตร ถูกเล่าผ่านการบันทึกเรื่องราวของทนายสมชายที่เกิดขึ้น ผ่านรุ่นสู่รุ่น ทำให้คน ๆ หนึ่งสนใจและอยากจะรู้เพิ่มว่าประเด็นเรื่องการทรมานและการอุ้มหายในสังคมไทยเป็นอย่างไร โดยเฉพาะพื้นที่ที่มินเติบโตมาใน จ. นราธิวาส  

มีนเติบโตในจังหวัดนราธิวาส ที่มีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ​ เช่นเดียวกับยะลา ปัตตานี กฎหมายพิเศษนั้นครอบคลุมถึงพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551  

กฎหมายเหล่านี้ทำให้ผู้คนในจังหวัดดังกล่าว และอีกสี่อำเภอในจังหวัดสงขลา (ยกเลิกกฎหมายพิเศษภายหลัง) ต้องพบเจอกับภาพของด่านทหารและป้ายประกาศอยู่เสมอ  

  

ด่านทหาร อาวุธสงครามตั้งคำถามแต่พูดไม่ได้  

มินเกิดในปี 2542 และเติบโตในจังหวัดปัตตานี เขาบอกกับเราว่าในฐานะคน ๆ หนึ่งที่ต้องเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เจอด่านทหาร เห็นคนถืออาวุธสงครามอยู่ในโรงเรียน ภาพต่าง ๆ เหล่านี้มันทำให้เขามีคำถามมาตั้งแต่เป็นเด็ก ซึ่งตัวเขาเองก็เชื่อว่าทุกคนที่เกิดมาในช่วงเวลานั้นก็มีคำถามไม่ต่างจากเขา  

เพียงแต่ว่าหากคุณเป็นคนชอบตั้งคำถาม ชอบสงสัย ตัวคุณก็จะถูกเพ่งเล็งนเล่า 

เพราะฉะนั้นคำถามต่าง ๆ มันจึงวนเวียนอยู่ในหัวและในตัวตนของคนนั้น ๆ  

และไม่มีโอกาสให้ได้รับคำตอบ 

ในพื้นที่บ้านผม เราพูดคุยกันเรื่องคนถูกอุ้มหาย ชาวบ้านเขารู้เรื่อง แต่เขาเลือกที่จะไม่พูด เด็กที่เติบโตมาภายใต้เหตุการณ์มันจะโตมาแบบมีคำถามว่า ทำไมด่านทหารมาตั้งใกล้หมู่บ้าน ขับรถไปทำไมถูกตรวจบัตร หรือมีทหารถืออาวุธสงครามมาในโรงเรียน ไม่ใช่แค่ผมที่ตั้งคำถาม แต่เด็กที่เติบโตมาในพื้นที่ ตั้งคำถาม แต่พูดไม่ได้ เพราะเมื่อไหร่ที่พูดคุณก็จะถูกเพ่งเล็งทันที และคุณก็จะกลายมาเป็ผู้ต้องสงสัยของรัฐ หากคุณมาอยู่ต่างพื้นที่ คุณก็อาจจะกล้าพูด  

 

เรื่องเล่าจากรุ่นพี่ สำนวนคดี การซ้อมทรมาน และการถูกบังคับให้สูญหาย  

จากเด็กคนหนึ่งที่โตมากับคำถามดังกล่าว การหายไปของทนายสมชายในปี 2547 ทำให้เขาในวัย 5 ปี ได้รู้จักกับคำว่า “อุ้มหาย” เป็นครั้งแรก และได้ผลักดันให้เขากลายมาเป็นนักกิจกรรมจนถึงปัจจุบัน เมื่อได้ออกเดินทางตามหาคำตอบผ่านความทรงจำ

ช่วงที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัย มีรุ่นพี่มาทำกิจรรมในประเด็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองเขาพูดถึงเรื่องการการอุ้มหายในพื้นที่  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการพูดถึงชื่อบุคคลที่ถูกทำให้สูญหายหนึ่งในนั้นมีชื่อทนายสมชาย นีละไพจิตร เราสนใจจึงไปติดตามต่อว่าเกิดอะไรขึ้นกับทนายสมชาย ทำไมถึงหายตัวไป อยากรู้เรื่องราว จึงไปหาหนังสือ อ่านบทความ ฟังพอดแคสต์ (Podcast) บ้าง

"จนกระทั่งกระแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองเริ่มสูงขึ้น และมีปรากฏการณ์เรื่อง วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่ถูกอุ้มหายในปี 2563 นั่นเลยทำให้เราพบว่าเรื่องราวการถูกอุ้มหายในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในนั้นที่เราจำได้คือ มี ทนายสมชาย นีละไพจิตร หะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา และบิลลี่ พอจี รักษ์จงเจริญ ที่เป็นเรื่องราวของคนที่ถูกกระทำให้สูญหายโดยรัฐ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราเริ่มสนใจ อยากจะศึกษา เราตั้งคำถามกับการทำงานของรัฐ ว่าเพราะอะไรถึงต้องทำให้บุคคลเหล่านี้สูญหาย 

ความสนใจในประเด็นการทรมานและการบังคับให้สูญหายที่มีจุดกำเนิดมาจากทนายสมชายนั้น ทำให้มินออกมาเรียกร้อง และปราศรัย เมื่อมีโอกาส มินเคยได้เข้ามายื่นหนังสือที่กรุงเทพมหานครในการให้รัฐบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ....  (ร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหาย)นอกจากนี้มีนยังอยากเข้าไปฝึกงานที่รัฐสภา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายดังกล่าวที่สุดท้ายก็ถูกดอง  

เราเคยออกไปเรียกร้องเรื่องร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหายที่หน้ารัฐสภา เวลาเรามีโอกาสได้ขึ้นพูดในเวทีต่าง ๆ เราจะหยิยกเรื่องประเด็นการซ้อมทรมานไปพูดด้วย สำหรับเราที่เราประทับใจมากที่สุดคือช่วงที่เราขึ้นมากรุงเทพมหานคร ไปที่หน้ารัฐสภา ไปยื่นหนังสือกับทางแอมเนสตี้ ประเทศไทย ที่มีคุณอังคณา นีละไพจิตร และคุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ไปยื่นด้วยเช่นกันตอนนั้นเราจำได้ว่ากฏหมายยังไม่ผ่าน ตัวผมสนใจเรื่องการซ้อมทรมานและการอุ้มหาย เราอยากให้มันผ่านสภา และอยากให้มันมีการบังคับใช้ได้จริง  

ทุกวันนี้ในพื้นที่ 3 จังหวัดก็ยังมีการจับกุมโดยพลการอยู่ เราอยากรู้ว่ากระบวนการในร่างกฎหมายเป็นอย่างไร ดังนั้นช่วงโควิดเราจึงได้ไปฝึกงานที่รัฐสภา ไปฝึกงานที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ซึ่งดูแลเรื่องกฎหมายการทรมานอยู่ เราได้เห็นกระบวนการขั้นตอน ว่ามันเป็นยังไง 

มินยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า คนในพื้นที่รู้สึกดีใจกันมากตอนที่พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหายผ่าน เพรามันคือสิ่งที่พวกเขาต้องประสบพบเจอมาทั้งชีวิต

ตอนที่กฎหมาย พ.ร.บ.ทรมานและการอุ้มหายผ่านสภา คน ในจังหวัดดีใจมาก เพราะมันเป็นหลักประกันในชีวิตของเขา ไม่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือใครที่ทำผิด จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เสมอภาคเหมือนคนทั่วไป เขาอยากให้หมายนี้ผ่านมากเพราะความไม่เป็นธรรมมันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเขามากที่สุด 

 

เรื่องราวของทนายสมชาย ตัวอักษรที่ปรากฏขึ้นในสายตาของมีน 

การหายไปของทนายสมชาย เป็นที่มาของการตามไปอ่านเรื่องราวการทำงานของเขา ที่เชื่อมโยงไปถึงประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในบ้านเกิดของมิ  

เราเคยอ่านเรื่องราวที่ถูกพูดถึงในสำนวนคดีที่ทนายสมชายทำ ในการช่วยชาวบ้านในคดีความมั่นคง เราพบว่ามีคนถูกซ้อมทรมานในค่ายทหาร ถูกช็อตไฟฟ้าเพื่อให้เขารับสารภาพ นำสิ่งสกปรกมาใช้กับเขา เพื่อที่จะให้เขารับสารภาพให้ได้จากสำนวนคดีมันโหดร้ายทารุณมาก ๆ มันทำให้คนต้องยอมรับสารภาพ กระบวนการสอบสอนมันควรมีความยุติธรรม กระบวนการที่รัฐใช้ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงตอนนี้ไม่เปลี่ยนแปลงเลย กรณีของ อับดุลเลาะห์อีซอมูซอ ที่ถูกทรมาน คนที่กระทำความผิดก็ไม่ได้รับโทษอะไร เรื่องราวก็ยังคงเป็นแบบนี้ กรณีของทนายสมชายจึงไม่ใช่กรณีแรก เวลาผ่านเลยไปรัฐไม่เคยนำบทเรียนเหล่านี้มาปรับใช้เลย 

ตลอดชีวิตของเขา คือทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนในประเด็นทางหมาย เรื่องสิทธิมนุษยชน ถ้าดูจากชีวิตของเขา หากเขาประกอบอาชีพเป็นทนายความปกติ ชีวิตของเขาอาจจะไม่โดนอุ้มหาย แต่พอมาแตะเรื่องราวในคดี3 จังหวัด มันคือจุดเริ่มต้น ช่วงเวลานั้นมันคือช่วงที่เหตุการณ์กลับมารุนแรงอีกครั้ง ตัวเราไม่คิดเลยว่าในกรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่รัฐจะกล้าทำขนาดนี้ในการอุ้มหายคน ๆ หนึ่งใจกลางเมือง จากที่เราอ่านมาทนายสมชายไม่ใช่กรณีแรกของการถูกบังคับให้สูหายโดยรัฐประวัติศาสตร์ของการถูกอุ้มหายนั้นยาวนานมาก ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เราจะต้องตั้งคำถามจากโครงสร้างของอำนาจรัฐไทย เพราะหัวใจของประชาธิปไตย คือการยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น แต่ใครที่ไปแตะเรื่องที่รัฐไม่ต้องการให้ยุ่งท้ายที่สุดคุณจะถูกเพ่งเล็งจากรัฐ และกลายเป็นคนคิดต่างทันที คุณถูกเพ่งเล็งคุณก็จะกลายเป็นผู้ต้องหาในสายตาของรัฐ ไม่ถูกดำเนินคดีก็อุ้มหาย 

มินได้เชื่อมโยงปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นมาเพียง 20 หรือ 30 ปี ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและจริงใจจากภาครัฐ มินมองว่ามันย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยของหะยีสุหลงผู้นำทางศาสนาและการเมืองคนสำคัญในพื้นที่ปัตตานี  

สำหรับเรา จุดเริ่มต้นของเรื่องราวต่าง ๆ และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเกิดก่อนขบวนการต่าง ๆ ที่เราเห็นในปัจจุบัน เราคิดว่ามันเกิดมาตั้งแต่การอุ้มกาย หะยีสุหลงในช่วงนั้นเราไม้อาจเชื่อในกระบวนการสันติวิธีของรัฐได้เลย รู้สึกว่ารัฐไม่ให้ความเป็นธรรม ทำให้เกิดการจับอาวุธสู้กัน จนกระทั่งในช่วงหลังที่คนในพื้นที่เริ่มเชื่อมั่นในกระบวนการสันติวิธีมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากคดีที่ทนาสมชายทำ  

ผมมองว่าต้นเหตุทั้งหมดมันมาจากความไม่เป็นธรรมของรัฐ ซึ่งเกี่ยวโยงกับการใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ ใน 3 จังหวัดเจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจพิเศษผ่านกฏหมายพิเศษที่ใช้ในพื้นที่ เช่น กฏอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมันให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่อย่างเต็มที่ เพียงแค่คุณสงสัยใครคนใดคนหนึ่ง คุณสามารถนำจับตัวเขามาในค่ายได้เลย โดยที่ไม่ต้องขอหมายใด ๆ  เพราะมีกฏหมายพิเศษที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเต็มที่ ภายใต้กฏหมายพิเศษ มันมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ทุกวัน บางคนที่ออกจากค่ายทหารมา ก็มีสภาวะทางจิตที่มีปัญหาด้วย 

 

เมื่อถึงเวลา ดอกไม้จะบาน 

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในปี 2563 นั้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างเดียว แต่เป็นการเคลื่อนไหวที่เปิดประเด็นในต่างจังหวัดไปด้วย การชุมนุมเกิดขึ้นในพื้นที่เล็ก ๆ ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย กระจายไปโดยรอบ และยังเป็นการขยายเพดานทางความคิดอีกด้วย  

ช่วงที่ทนายสมชายเขาหายตัวไป เขาคือคนที่มาเปิดเผยเรื่องราวกระบวนการสอบสวนของรัฐไทย ที่มันเกิดขึ้นในค่ายทหาร สุดท้ายก็ถูกปิดปากโดยการอุ้มเขาหายไป โดยเรื่องราวการอุ้มหายที่มันเกิดขึ้นที่ถูกเอาไว้ใต้พรมนั้นมันได้ปรากฏขึ้นอีกทีในช่วงที่กระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยเกิดขึ้นในปี 2563 มันคือการเบิกเนตรอีกครั้ง ปัญหาใต้พรมถูกพูดถึงมากขึ้น 

เรื่องราวเหล่านี้มันไม่ใช่เรื่องปกติ แต่มันถูกทำให้รู้สึกเหมือนปกติ คือเคยชิน ช่วงหลังมีการตั้งคำถามมากขึ้น เราต้องขอบคุณเพื่อนนักศึกษาที่ออกมาชุมนุม การเคลื่อนไหวในขบวนการประชาธิปไตยของคนรุ่นใหม่ที่ผ่านมา มันทำให้เพดานทางความคิดของคนในสังคมเริ่มสูงขึ้น การเคลื่อนไหวในกรุงเทพฯ การออกมาพูดประเด็นของการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่าง ๆการออกมาพูดถึงประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 หรือ  116 ซึ่งการพูดถึงประเด็นทางสังคมการเมืองในพื้นที่ 3 จังหวัดนั้น มันอาจจะมีความแตกต่าง เพราะมันมีความเฉพาะในพื้นที่ เช่น การใช้กฎหมายหมายพิเศษ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีใครกล้าพูดตรง ๆ  พอเพดานทางความคิดในกรุงเทพฯ สูงขึ้นมันทำให้เรื่องราวใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถูกหยิบยกมาพูดถึงเช่นกัน มีการตั้งคำถามกับภาครัฐว่าเกิดอะไรขึ้นในพื้นที่ ทำไมคนกระทำความผิดจึงไม่ถูกลงโทษ ทำไมมีการอุ้มหายเป็นต้น นอกจากนี้คนทำงานภาคประชาสังคมในพื้นที่เริ่มพูดถึงสิ่งเหล่านี้มากขึ้น ช่วงหลังพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ฝ่ายค้านเองก็มีความคิดในนโยบายเรื่องพื้นที่มากขึ้น คุณจะแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ  ได้สำคัญมากที่ต้องนึกถึงและคำนึงถึงบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ไม่ใช่การเหมารวม 

ในปี 2563 นักศึกษาในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ลุกขึ้นมา เขาเริ่มมาแปะโปสเตอร์ตั้งคำถามกับคนที่ถูกบังคับให้สูญหาย แม้เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมาถอดโปสเตอร์ออก เขาก็มาแปะใหม่ นี่คือการตั้งคำถามกับสังคม ที่เกิดขึ้น เมื่อไหร่ที่พูดถึงการอุ้มกายในพื้นที่ มันทำให้นักศึกษาคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจ เริ่มที่จะศึกษาว่าทำไมเขาเหล่านี้ถูกอุ้มาย และใครคือผู้กระทำ สิ่งเหล่านี้มันคือเรื่องที่น่าสนใจ ในอนาคตสังคมเราจะตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น 

 

หากได้เจอกับทนายสมชาย มินมีอะไรที่อยากจะบอกกับทนายสมชายไหม? 

ผมอยากจะบอกกับเขาว่า ทนายสมชายคือจุดเริ่มต้นของการเปิดเผยเรื่องราวที่มันอยู่ใต้พรม ของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ และทนายสมชายคือจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องความเป็นธรรมให้คนในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ คดีที่เขาทำมีความสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตของเขา ซึ่งมันเป็นคุณูปการมาก เพราะหลังจากนั้น ทนาย หรือคนทำงานเพื่อสังคมอื่น ๆ ได้ลุกขึ้นมาทำต่อในประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ 

 

หลังจากที่คุณได้อ่านเรื่องราวจากความทรงจำที่มีต่อคน ๆ หนึ่งที่ชื่อว่าทนายสมชาย นีละไพจิตร จบลง ความรู้สึกอาจเกิดขึ้นอยู่ภายในใจและความคิดคำนึงของคุณมากมาย คุณอาจมีคำถามต่อสังคม รัฐบาล และความยุติธรรม ว่าเพราะเหตุใดการถูกบังคับให้สูญหายยังคงเกิดขึ้นอยู่ (เพราะทนายสมชายไม่ใช่คนแรกและคนสุดท้ายที่ถูกบังคับให้สูญหาย) หรือคุณอาจจะกำลังรู้สึกเศร้าถึงความสูเสียที่มันปรากฏขึ้นกับคนที่เขารัก 

 

อาจท้อถอยว่าเวลาผ่านไป 19 ปีแล้ว.. แต่ทำไมยุติธรรมยังไม่มาถึง 

 

เมื่อคนคนหนึ่งหายไป สิ่งที่ยังอยู่ต่อคือความทรงจำ 

เมื่อความยุติธรรมยังไม่มาถึง การจดจำเพื่อคืนยุติธรรมจึงเป็นเรื่องที่เราต่างทำได้ 

จนกว่าจะถึงวันนั้น