สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 24 มิถุนายน - 30 มิถุนายน 2566

3 กรกฎาคม 2566

Amnesty International

 

ไทย : แอมเนสตี้ ประเทศไทย เปิดรับสมัครเข้าร่วมเวิร์กชอป “นัก(อยาก)เขียนเปลี่ยนโลก” ปี 2566 

29 มิถุนายน 2566

 

เพราะตัวอักษรของคุณเปลี่ยนโลกได้

และเรื่องเล่าของคุณเปิดโลกใบใหม่ให้กับใครได้เสมอ

มาเรียนรู้วิธีการเขียน จากเพจนักเล่าเรื่อง นักเขียนรุ่นใหม่ และผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายธารแห่งวรรณกรรม  ที่จะจุดประกายแรงบันดาลใจไปด้วยกัน เพื่อร่วมสื่อสารประเด็นสิทธิมนุษยชน ให้สังคมก้าวเข้าสู่บทใหม่ไปด้วยกัน กับกิจกรรม Workshop: Writers that Matter ✍️“นัก(อยาก)เขียน เปลี่ยนโลก" ตอน “สู่ฝันอันเสรี”

เวิร์กชอปขีดเขียนสำหรับคุณ คนที่อยากเห็นสังคมนี้ดีกว่าเดิม!

หากคุณเป็นคนที่ชอบเล่าเรื่องราวผ่านตัวหนังสือ สนใจประเด็นสังคม และเชื่อว่าการการเขียนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นบนโลกนี้ได้ สมัครมาร่วมเวิร์กชอปกับเรา

เพราะเราเชื่อในพลังของการเล่าเรื่อง และเราเชื่อว่าการเล่าเรื่องของคุณจะเป็นส่วนหนึ่งที่บันทึกเรื่องราวในยุคสมัยได้

 

อ่านต่อ: https://www.amnesty.or.th/latest/news/1141/ 

 

------

 

 

ไต้หวัน : เลขาธิการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเยือนไต้หวัน

24 มิถุนายน 2566

 

แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กำลังเดินทางไปไต้หวันเพื่อปฏิบัติภารกิจระดับสูงตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายนถึง 1 กรกฎาคม

หัวหน้าองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะเข้าร่วมในการประชุมและกิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มภาคประชาสังคมและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน รวมถึงโทษประหารชีวิต ความท้าทายที่ชนเผ่าพื้นเมืองต้องเผชิญ ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและผู้ลี้ภัย และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยยังจะพิจารณาถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากความตึงเครียดของปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก รวมถึงระหว่างจีนและสหรัฐฯ ต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน

“ฉันยินดีอย่างยิ่งที่จะได้พบและเรียนรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับของภูมิทัศน์ด้านสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน รวมถึงแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไต้หวันด้วย การเดินทางครั้งนี้เป็นโอกาสของฉันที่จะได้รับฟังความคิดเห็นจากนักกิจกรรมที่อยู่แนวหน้าในการต่อสู้เพื่อยืนยันสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แสวงหาการยกเลิกโทษประหารชีวิต และดำเนินการอย่างเร่งด่วนด้านสภาพภูมิอากาศ” 

 

อ่านต่อ:  https://shorturl.ac/7anu4


-----

 

 

สหรัฐอเมริกา: ข้อมูลจากผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติตอกย้ำถึงความเร่งด่วนในการปิดคุกกวนตานาโมและให้การเยียวยาแก่ผู้ถูกคุมขังทั้งในอดีตและปัจจุบัน

26 มิถุนายน 2566

 

สืบเนื่องจากการนำเสนอรายงานเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในขณะที่ต่อต้านการก่อการร้ายเกี่ยวกับสถานที่คุมขังที่ฐานทัพเรือสหรัฐที่อ่าวกวนตานาโม คิวบา 

แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า

“ข้อมูลที่นำเสนอในวันนี้ ตอกย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับประธานาธิบดีไบเดนในการปิดสถานที่คุมขังในฐานทัพที่อ่าวกวนตานาโม และยุติการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายในการคุมขังอย่างไม่มีกำหนดโดยไม่มีการตั้งข้อหาหรือพิจารณาคดี

“รายงานที่เสียดแทงนี้ตรวจสอบการคุมขังโดยไม่มีกำหนดมากกว่า 21 ปี ของชายและเด็กชายชาวมุสลิม 780 คน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อพวกเขานับไม่ถ้วน

 

อ่านต่อ: https://shorturl.ac/7anu3


-----

 

ซีเรีย: ประเทศสมาชิกสหประชาชาติต้องสนับสนุนสถาบันสำหรับผู้หายตัวในสงคราม

27 มิถุนายน 2566

 

ก่อนการลงคะแนนในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในวันที่ 29 มิถุนายน ในการจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศที่เป็นอิสระเพื่อชี้แจงที่อยู่และชะตากรรมของผู้สูญหายและผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายหลายหมื่นคนในซีเรียตั้งแต่ปี 2554 

แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

“ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติสามารถให้วิธีในการเติมเต็มสิทธิของครอบครัวในการได้รับความจริง ด้วยการจัดตั้งสถาบันที่เน้นให้ความสำคัญกับเหยื่อ เพื่อให้คำตอบที่รอคอยมานานเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนที่พวกเขารัก  ประเทศสมาชิกควรฟังเสียงเรียกร้องของครอบครัวและผู้รอดชีวิตชาวซีเรีย ซึ่งเป็นแนวหน้าของความพยายามในการสร้างองค์กรดังกล่าวและลงคะแนนเห็นชอบกับมติดังกล่าว

“เป็นเวลากว่าทศวรรษ ที่ครอบครัวของผู้สูญหายและผู้ถูกบังคับให้สูญหายต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างมหาศาลในการหาข้อมูลเกี่ยวกับชะตากรรมของบุคคลที่พวกเขารัก 

 

อ่านต่อ: https://shorturl.ac/7anu2


-----

 

รัสเซีย: ทาทียาน่า คอตเลียร์ นักปกป้องสิทธิผู้อพยพ ถูกตัดสินว่ามีความผิดเพียงเพราะงานสิทธิมนุษยชนของเธอ

28 มิถุนายน 2566

 

สืบเนื่องจากข่าวที่ว่า ทาทียาน่า คอตเลียร์ นักปกป้องสิทธิผู้อพยพชาวรัสเซียถูกตัดสินว่ามีความผิดและถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 650,000 รูเบิล (7,500 ดอลลาร์สหรัฐ) 

นาตาเลีย ซเวียจิน่า ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รัสเซีย กล่าวว่า 

“ทาทียาน่า คอตเลียร์ ถูกลงโทษเพียงเพราะช่วยเหลือคนหลายร้อยคน รวมถึงผู้อพยพและผู้ลี้ภัยด้วยการลงทะเบียนพวกเขาไว้ที่บ้านของเธออย่างมีน้ำใจ ภายใต้กฎหมายของรัสเซีย บุคคลจำเป็นต้องมีที่อยู่ที่ลงทะเบียนเพื่อเข้าถึงการบริการทางสังคม การนำเด็กเข้าเรียน หรือการหางาน 

ข้อกำหนดทางกฎหมายนี้เป็นการผลักผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เสี่ยงที่สุด เช่น คนไร้บ้านและผู้ลี้ภัยให้อยู่ชายขอบต่อไป แทนที่จะแก้ไขปัญหานี้ ทางการกลับมุ่งเน้นไปที่การลงโทษนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่าง ทาทียาน่า คอตเลียร์แทน” 

 

อ่านต่อ: https://shorturl.ac/7anu1


-----

 

ฝรั่งเศส: ศาลยังคงใช้กฎที่เลือกปฏิบัติห้ามนักฟุตบอลหญิงมุสลิมสวมผ้าคลุมศีรษะเข้าแข่งขัน 

29 มิถุนายน 2566

 

สืบเนื่องจากคำตัดสินเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จากศาลปกครองสูงสุดฝรั่งเศส (Conseil d’Éta: กองเซยเดต้า) ซึ่งตัดสินว่าสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส (French Football Federation: FFF) ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยบายที่เลือกปฏิบัติ ในการห้ามผู้เล่นสตรีชาวมุสลิมที่สวมผ้าคลุมศีรษะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอล 

แอนนา บลัซ นักวิจัยสิทธิสตรีในยุโรป แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า 

“การตัดสินใจที่น่าผิดหวังอย่างมากในวันนี้จากศาลปกครองสูงสุดฝรั่งเศสยิ่งเพิ่มการเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติทางเพศในฟุตบอลฝรั่งเศสมากขึ้น การที่สหพันธ์ฟุตบอลสั่งห้ามการสวมเครื่องแต่งกายทางศาสนาไม่เพียงกีดกันไม่ให้นักฟุตบอลหญิงมุสลิมที่สวมผ้าคลุมศีรษะเข้าร่วมในการแข่งขันเท่านั้น แต่ยังละเมิดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก การสมาคม และการนับถือศาสนา”

“การตัดสินใจในวันนี้มองข้ามคำแนะนำจากตุลาการผู้แถลงคดีที่ให้ยุติการห้ามที่เลือกปฏิบัตินี้ และยังบั่นทอนความพยายามในการเพิ่มการมีส่วนร่วมในกีฬาของผู้หญิงอย่างร้ายแรง” 

 

อ่านต่อ: https://shorturl.ac/7anu0