คำตัดสินเรื่องประกันสุขภาพจุดประกายความหวังของการสมรสเท่าเทียมในเกาหลีใต้

22 กุมภาพันธ์ 2566

Amnesty International

ภาพถ่าย : ©Amnesty International Korea

จากที่ศาลสูง (High Court) เกาหลีใต้ ได้ตัดสินออกคำสั่งให้สำนักงานประกันสุขภาพต้องกลับมาคุ้มครองความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิตเพศเดียวกัน โบรัม จาง นักวิจัยสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า

“นี่คือการตัดสินใจสำคัญ ที่จะพาเกาหลีใต้ให้เข้าใกล้ความสำเร็จของการสมรสเท่าเทียม หนทางในการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นอาจยังยาวไกล แต่คำตัดสินนี้ได้มอบความหวังว่าอคตินั้นล้วนแล้วแต่สามารถถูกก้าวข้ามไปได้

“การที่ไม่ตระหนักถึงคู่ชีวิตในความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน นั้นหมายความว่าสำนักงานประกันสุขภาพได้เลือกปฏิบัติต่อคู่รักเพศเดียวกันหลายคู่ โดยได้การปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขาทั้งที่คู่รักต่างเพศสามารถมีได้ คำตัดสินในครั้งนี้จะช่วยทำให้เรื่องที่ผิดเหล่านี้ได้ถูกต้องเสียที

“คำตัดสินนี้สำคัญมาก เมื่อมันเป็นการตัดสินแรกที่กฎหมายได้มองเห็นคู่รักเพศเดียวกันผ่านศาล ไม่ว่าจะศาลชั้นไหน ในประเทศเกาหลีใต้ แต่สิ่งที่ควรจะทำยิ่งกว่าคือการหยุดการเลือกปฏิบัติ และการทำให้ชุมชนเพศหลากหลายต้องกลายเป็นอาชญากรรม 

“สิ่งนี้รวมถึงการนำเอากฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติมาใช้ และการยกเลิกมาตรา 92-6 ในกฎหมายอาญาทางการทหาร (Military Criminal Act)”

 

 

Background

ศาลสูงเกาหลีใต้ได้พิพากษาให้ สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ [National Health Insurance Service (NHIS)] ต้องกลับมาคุ้มครองความสัมพันธ์บุคคลเพศเดียวกัน

7 มกราคม 2565 ศาลปกครองกรุงโซลได้ยกฟ้องคดีปกครองที่ ซอซองอุค ได้ยื่นฟ้องต่อ NHIS หลังจากที่ปฏิเสธการครอบคลุมกรมธันม์ประกัน ที่ไม่ได้รวมถึงคู่ชีวิตของเขาอย่าง คิมยองมิน ให้เป็นผู้อยู่ในอุปการะ

คู่รักคู่นี้ได้จัดงานแต่งงานในปี 2562 และได้ใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะคู่แต่งงาน แม้ความสัมพันธ์ของพวกเขาจะไม่ได้รับการยอมรับในกฎหมายของเกาหลีใต้ พวกเขาคือคู่สมรสเพศเดียวกันคู่แรกที่สามารถยื่นเป็นผู้อยู่ในอุปการะ ของ NHIS ได้ แต่ NHIS กลับปฏิเสธสถานะนี้ในอีกแปดเดือนให้หลัง

ก่อนหน้านี้ ไต้หวันคือชาติแรกในเอเชียที่ทำให้การสมรสระหว่างเพศเดียวกันถูกกฎหมายในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 การที่กฎหมายยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกันนั้น ได้ส่งผลต่อประเทศสโลวีเนียและอันดอร์ราในเดือนเดียวกัน ทำให้ทั่วโลกมีประเทศที่รองรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกันทางกฎหมายอยู่ที่ 33 ประเทศ