สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 26 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2565

ประเทศจีน : รัฐบาลจะต้องไม่คุมขังผู้ชุมนุมประท้วงโดยสงบ เมื่อเกิดการประท้วงทั่วประเทศ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

27 พฤศจิกายน 2565

สืบเนื่องจากการประท้วงอย่างกว้างขวางที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ฮาน่า ยัง รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาค แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

“โศกนาฏกรรมจากเหตุเพลิงไหม้เมืองอูหลู่มู่ฉีได้จุดประกายความกล้าหาญอันน่าทึ่งไปทั่วประเทศจีน ผู้ชุมนุมโดยสงบต่างถือกระดาษเปล่า ตะโกนคำขวัญ และมีส่วนร่วมในการต่อต้านอย่างสร้างสรรค์ในหลายรูปแบบ แต่มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คนในประเทศจีนจะประท้วงโดยสงบโดยไม่ต้องเผชิญกับการข่มขู่และดำเนินคดี ทางการไม่แสดงความอดทนอดกลั้นต่อฝ่ายต่อต้านเลยแม้แต่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสิบปีที่ผ่านมาภายใต้ประธานาธิบดีสี แต่นี่ก็ไม่ได้ทำให้การประท้วงหยุดลง”

“แทนที่จะลงโทษประชาชน รัฐบาลควรรับฟังเสียงเรียกร้องของพวกเขา ทางการต้องปล่อยให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีและประท้วงอย่างสันติโดยไม่ต้องกลัวการโต้กลับ”

อ่านต่อ: https://bit.ly/3OPNBN4

——-

กาตาร์ : ข้อถกเถียงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติเผยให้เห็นถึงความต้องการความจริงและค่าชดเชย

29 พฤศจิกายน 2565

สืบเนื่องจากความคิดเห็นโดย ฮัสซาน อัล-ทาวาดี เลขาธิการคณะกรรมการสูงสุดของกาตาร์เวิลด์คัพ เกี่ยวกับการเสียชีวิตของแรงงานข้ามชาติระหว่างการสัมภาษณ์กับ เพียร์ซ มอร์แกน และการชี้แจงในภายหลังของความคิดเห็นเหล่านั้นที่ปล่อยโดยคณะกรรมการสูงสุด

สตีฟ ค็อกเบิร์น หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและความยุติธรรมทางสังคม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “การถกเถียงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับจำนวนคนงานที่เสียชีวิตในการเตรียมการแข่งขันฟุตบอลโลกตีแผ่ให้เห็นถึงความจริงที่ว่าครอบครัวผู้เสียชีวิตจำนวนมากยังคงรอคอยความจริงและความยุติธรรม”

“มันไม่มีอะไรที่เป็นธรรมชาติเลยเกี่ยวกับระดับความสูญเสียแบบนี้ และมันไม่มีข้อแก้ตัวใดๆในการปฏิเสธความจริงของครอบครัว ความยุติธรรม และการชดเชยอีกต่อไป จนกว่าการละเมิดสิทธิทั้งหมดที่แรงงานข้ามชาติในกาตาร์ต้องทนทุกข์ทรมานจะได้รับการเยียวยา มรดกของฟุตบอลโลกครั้งนี้จะมัวหมองอย่างมากจากการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมของพวกเขา”

อ่านต่อ: https://bit.ly/3GVBDQd

——-

ญี่ปุ่น : การตัดสินเรื่องการแต่งงานเพศเดียวกันของโตเกียวเป็นสัญญาณแห่งความหวัง

30 พฤศจิกายน 2565

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนที่ผ่านมา คำตัดสินของศาลภาคกรุงโตเกียวที่สนับสนุนรัฐบาลญี่ปุ่นในการห้ามการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน

โบรัม จาง นักวิจัยภูมิภาคเอเชียตะวันออกของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

“ในขณะที่วันนี้ศาลได้รับรู้ถึงการเลือกปฏิบัติของรัฐบาลในการห้ามการแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีการยอมรับว่าการที่ไม่มีระบบกฎหมายใดให้กับคู่รักเพศเดียวกันในการมีครอบครัว นับเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพวกเขา อย่างน้อยมันก็เป็นสัญญาณแห่งความหวัง”

“นี่ไม่ใช่คำตัดสินที่ชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศต้องการ แต่มันก็ยังคงเป็นก้าวสำคัญของคู่รักเพศเดียวกันและสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามมันยังคงต้องมีการดำเนินการอีกมากมายเพื่อต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติที่เหล่าบุคคลกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศต่างต้องเผชิญในสังคมญี่ปุ่น มันถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรจะเปลี่ยนแนวทางเกี่ยวกับสิทธิของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ”

อ่านต่อ: https://bit.ly/3GXSSQX

——-

สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย : ครอบครัวของ ‘ผู้สูญหาย’ ควรได้รับคำตอบ

30 พฤศจิกายน 2565

รัฐสมาชิกขององค์กรสหประชาชาติควรจัดตั้งหน่วยงานระหว่างประเทศที่เป็นอิสระ เพื่อติดตามและระบุผู้ที่หายไปและสูญหายตั้งแต่เกิดวิกฤตซีเรียในปี 2016 ฮิวแมนไรท์วอทช์ และ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

ความขัดแย้งในซีเรียได้รับการจดจำจากการคุมขังโดยพลการเป็นเวลานาน การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ และการบังคับให้สูญหายจากฝีมือของทุกฝ่ายที่มีการขัดแย้งกัน อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้เสนอกลไกดังกล่าวในรายงานหลักที่เผยแพร่ในเดือนสิงหาคม 2022 เกี่ยวกับวิธีการสนับสนุนความพยายามในการแก้ไขปัญหาผู้ที่ถูกคุมขังและสูญหายหลายพันคน และให้การสนับสนุนต่อครอบครัวของพวกเขา

อ่านต่อ: https://bit.ly/3B0bkoc

——-

อิสราเอล/ดินแดนที่ปาเลสไตน์ครอบครอง : ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวปาเลสไตน์หมายถึงการยุติการสนับสนุนทั้งหมดเกี่ยวกับการแบ่งแยกสีผิว

29 พฤศจิกายน 2565

สืบเนื่องจากวันสากลว่าด้วยความเป็นปึกแผ่นกับชาวปาเลสไตน์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ย้ำถึงการเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั่วโลกในการยุติระบบการแบ่งแยกสีผิวซื่งทางการอิสราเอลได้มีการบังคับใช้ต่อชาวปาเลสไตน์โดยการได้รับยกเว้นจากการลงโทษ

ระบบนี้ได้มีความรุนแรงและกดขี่มากขึ้นเรื่อยๆในตลอดช่วงปีที่ผ่านมา – ในเวสต์แบงก์ ซึ่งกองกำลังอิสราเอลได้มีการฆ่าชาวปาเลสไตน์ถึง 127 คน ตั้งแต่เดือนมกราคมและมีการบาดเจ็บมากมายอีกหลายร้อยคนและยังมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากของการทำร้ายและความรุนแรงต่อชาวปาเลสไตน์โดยผู้ตั้งถิ่นฐานที่รัฐหนุนหลัง

ทางการอิสราเอลได้เพิ่มมาตรการการคุมขังโดยอำนาจฝ่ายบริหาร เพื่อควบคุมตัวชาวปาเลสไตน์โดยไม่ตั้งข้อหาหรือการพิจารณาคดี และเพิ่มการโจมตีต่อองค์กรภาคประชาสังคมปาเลสไตน์ ในกาซา การรุกรานของกองทัพอิสราเอลในเดือนสิงหาคมทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมเลวร้ายยิ่งขึ้นจากการปิดล้อมอย่างผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องของอิสราเอล

อ่านต่อ: https://bit.ly/3ESrcKH

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแอมเนสตี้
บริจาคสนับสนุนแอมเนสตี้