สถานการณ์โควิด-19 (COVID-19) ในประเทศไทยกับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน : เพราะประชาชนมีสิทธิที่จะมีชีวิต สิทธิที่จะได้รับการดูแลจากรัฐ สิทธิด้านสุขภาพ และสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

15 กรกฎาคม 2564

Amnesty International Thailand

 

การจัดการโรคระบาดของรัฐบาลไทยในสภาวะการเเพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลต่อชีวิตเเละความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศ วิกฤติด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ เเละสังคมทวีความรุนเเรงด้วยสาเหตุความเหลื่อมล้ำเเละการจัดสรรบริการทางการเเพทย์ที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนหลายด้าน ทั้งสิทธิในการมีชีวิต สิทธิในสุขภาพ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เเละสิทธิในการเข้าถึงมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ  จากภาวะการเเพร่ระบาดที่ยาวนานต่อเนื่องมากว่า 2 ปี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เเล้วกว่า 3,000 คน สิทธิในการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพ ทั้งการตรวจหาเชื้อและการเข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เเละการเข้าถึงวัคซีนอย่างเป็นธรรม ยังไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมจากรัฐบาล

 

 

 

จึงเป็นข้อท้าทายของรัฐบาลไทยจะสามารถเคารพสิทธิมนุษยชนได้มากน้อยแค่ไหน เพราะบุคคลทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต สิทธิที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการดูเเล ปกป้อง เเละคุ้มครองจากรัฐตามหลักปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ถูกบัญญัติไว้ ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญในการเคารพ คุ้มครอง และเติมเต็มสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก ถึงแม้ว่าปฏิญญาฉบับนี้จะไม่ใช่สนธิสัญญาระหว่างประเทศแต่ก็จัดเป็นกฎหมายจารีตระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญที่สุดและรัฐที่เป็นภาคีจำเป็นต้องมอบสิทธิที่ถูกบัญญัติไว้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน 

 

 

ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในข้อที่ 3 สิทธิในการมีชีวิต

 

 

 

ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล ดังนั้นสิทธิในการมีชีวิต จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่ของรัฐ ที่จะต้องคุ้มครองบุคคลให้รอดพ้นจากภาวะการเเพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการดำเนินทุกมาตรการเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตเเละจัดสรรให้บุคคลเข้าถึงการบริการทางสาธารณสุขรวมถึงวัคซีนอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เเละไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุเเห่งเชื้อชาติ สัญชาติ หรือสถานะทางเศรษฐกิจเเละสังคม ปัจจุบันประชาชนเกิดความกังวลต่อหน้าที่และมาตรการของรัฐบาลที่จะนำมาใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานในสิทธิที่จะดำรงชีวิตตามสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมถึงมาตรการอื่น ๆ เช่น สุขาภิบาล และการเข้าถึงสิทธิด้านการบริการรักษา หรือการป้องกันและจำกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิในการมีชีวิตของประชาชน 

 

ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในข้อที่ 22 สิทธิที่จะได้รับการดูแลจากรัฐ

 

 

กำหนดว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงหลักประกันทางสังคม ซึ่งหมายถึงหลักประกันทางสุขภาพ การดำรงชีพ ความปลอดภัยในชีวิต เพื่อให้พัฒนาตนเองได้อย่างอิสระเเละสามารถบรรลุสิทธิอื่นทางเศรษฐกิจ สังคม เเละวัฒนธรรม อันจำเป็นอย่างยิ่งต่อการคงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเอง   สิทธิที่จะได้รับการดูแลจากรัฐเป็นสิ่งที่สำคัญในสถานการณ์โรคโควิด-19 นอกจากการส่งเสริมงานด้านสาธารณสุขอย่างเต็มความสามารถ เพื่อคุ้มครองทั้งบุคลากรทางการเเพทย์เเละบุคคลทั่วไปเเล้ว หลักประกันทางสังคมอื่น เช่น การช่วยเหลือผู้ประกอบการ การเยียวยาแรงงาน การจัดสรรให้เด็กเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงเมีประสิทธิภาพ และการไม่ปิดกั้นสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร จึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รวมถึงรัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคคล ด้วยการจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึงตามเหตุผลด้านสาธารณสุข จัดลำดับความสำคัญให้กับกลุ่มต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แพทย์ พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยโรคโควิค-19  หรือบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคโควิค 19 รวมทั้งกลุ่มที่มีปัจจัยทางสังคมด้านสุขภาพ เช่น คนที่อาศัยหรือตั้งถิ่นฐานนอกระบบ กลุ่มผู้ที่อยู่อาศัยอยู่กันหนาแน่นหรือไม่มั่นคง ชนพื้นเมือง ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย คนพลัดถิ่นผู้ถูกจองจำรวมถึงประชากรชายขอบและผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ และกลุ่มคนที่ไม่สามารถรับมาตรการการ Work from Home หรือการเปลี่ยนมาทำงานที่บ้านได้ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ผลสำรวจภาวะตลาดแรงงานไทยในช่วงสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 แรงงาน 63% ไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ เพราะเป็นผู้ที่ทำงานกับเครื่องมือเฉพาะ หรือมีงานที่เกี่ยวข้องกับการพบปะผู้คน แรงงานในภาคที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานบริหาร แรงงานในภาคการผลิต อาทิ กลุ่มวิศวกร นายช่างคุมเครื่องจักร เจ้าหน้าที่คุมท่าอากาศยาน เจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์ธนาคาร รวมทั้งนักร้อง นักแสดง บริกร ตามสถานบันเทิงต่างๆ กลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับผลกระทบในระดับที่เสี่ยงมากหากมาตรการยังกำหนดให้มีการทำงานที่บ้าน ซึ่งรัฐบาลต้องจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึงตามเหตุผลการจัดลำดับวัคซีนภายใต้แผนงานของผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ขององค์กรณ์อนามัยโลกสำหรับการจัดลำดับความสำคัญของการใช้วัคซีนโควิด-19 ในบริบทของปริมาณความต้องการที่จำกัด (WHO SAGE Roadmap For Prioritizing Uses Of COVID-19 Vaccines In The Context Of Limited Supply) ได้ให้คำอธิบายในกรอบค่านิยมสำหรับการจัดสรรและจัดลำดับความสำคัญของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19  ควรกำหนดผ่านบันทึกของสนธิสัญญาที่โปร่งใสและอยู่ภายใต้กระบวนการที่เคารพสิทธิมนุษยชน

 

 

 

 

ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในข้อที่ 25  สิทธิด้านสุขภาพหรือคุณภาพชีวิตที่ดี

 

 

ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ของตนและของครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่อง นุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการ แพทย์ และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิใน หลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะ แวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน รวมถึงมารดาและเด็กย่อมมีสิทธิที่จะรับ การดูแลรักษาและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็ก ทั้งปวงไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกสมรส จะต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน สิทธิด้านสุขภาพถือเป็นสิ่งที่องค์กรอนามัยโลก (WHO)  ได้ประกาศเป็น “สัญญาณเตือน” สำหรับการรับมือกับโรคโควิด 19  และสาธารณะสุขอื่นๆในภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการเพื่อ: “การป้องกัน การรักษา และการควบคุมโรคระบาด โรคเฉพาะถิ่น และโรคอื่นๆ”  เพราะสิทธิด้านสุขภาพถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเคารพสิทธิมนุษยชนนอกจากนี้ในประเทศไทยยังมีสิทธิได้รับการปฏิบัติด้านสุขภาพตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทยดังนี้ 

 

  1. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับบริการเพื่อสุขภาพ (the rights to health care) เมื่อเกิดการเจ็บป่วยควร ได้รับการรักษาพยาบาลโดยมาตรฐานวิชาชีพของผู้ที่มีหน้าที่รักษา 
  2. สิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแพทย์ผู้รักษา (the rights to information) หมายถึงผู้ป่วยมีสิทธิที่ จะรับรู้อาการเจ็บป่วย วิธีรักษา ผลดี ผลเสียที่อาจจะมีขึ้น โดยแพทย์มีหน้าที่ต้องอธิบายให้ผู้ป่วย ทราบเมื่อผู้ป่วยรับรู้แล้วยอมรับการรักษาจากแพทย์ ความยินยอมของผู้ป่วยนั้นจึงจะมีผลตาม กฎหมาย ซึ่งเรียกว่า “ความยินยอมภายหลังจากได้รับการบอกกล่าว (informed consent)” เพราะ เมื่อแพทย์ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยแล้ว แพทย์มีสิทธิกระทา ต่อร่างกายของผู้ป่วยตามกรรมวิธี รักษาของแพทย์ประเภทนั้นได้ 
  3. สิทธิที่จะปฏิเสธการรักษา (the patient’s right to refuse treatment) หากเกิดกรณีหมดทาง รักษาจริง ๆ แล้วแพทย์สามารถงดใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่จะช่วยผู้ป่วยได้ เพียงแต่ดูแลให้ถึงแก่ความ ตายตามธรรมชาติ แพทย์จะกระท าได้ก็ต่อเมื่อเป็นเจตนาของผู้ป่วยและผู้ป่วยใช้สิทธิปฏิเสธการรักษา
  4.  สิทธิในความเป็นส่วนตัว (privacy right) ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของตนไว้ เป็นความลับ ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของคำด้านสุขภาพ ไว้ ดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา, 2550ข) “สุขภาพ” หมายความว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล

 

นอกจากนี้หลายประเทศประสบปัญหาความล่าช้าในการสร้างมาตรฐานในด้านสารธารณะสุขหรือล้มเหลวในการจัดการ กับสถานการณ์โควิด 19 รวมถึงประสบปัญหาในการตรวจสอบความพร้อม การเข้าถึง การยอมรับ คุณภาพของการคุ้มครองสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโควิค 19  ตามสิทธิด้านสุขภาพ และกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ดูแลทางการแพทย์ที่จำเป็นเช่น อุปกรณ์การตรวจวินิจฉัยโรค และเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น 

 

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้รัฐบาลไทยอย่างไร ?

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยควรประกันว่า บุคคลทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ เป็นกลางและมีหลักฐานสนับสนุนเกี่ยวกับวัคซีน และดำเนินการทั้งปวงเพื่อประกันให้มีการกระจายวัคซีนอย่างเป็นผลและรวดเร็ว เพื่อคุ้มครองระบบสาธารณสุขและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับสิทธิและสวัสดิภาพของผู้ทำงานด้านสุขภาพ   

 

 

แหล่งที่มาข้อมูล

อ้างอิงจากรายงาน Human Rights Dimensions of the COVID-19 Pandemic,   https://theindependentpanel.org/wp-content/uploads/2021/05/Background-paper-11-Human-rights.pdf 

แอมเนสตี้แถลงหลังทางการไทยประกาศ "ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว" คุมเข้ม 10 จังหวัด https://www.amnesty.or.th/latest/news/935 

บทสรุปรายงาน “วัคซีนที่ยุติธรรม” ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล https://www.amnesty.or.th/latest/blog/859/ 

รายงานประจําปี 2563/64 สถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก https://www.amnesty.or.th/files/9716/1777/1213/AIR2020_Web-Thai.pdf