นิทรรศการภาพวาดจากผลงานที่ได้รับรางวัล MEDIA AWARDS 2020

10 มีนาคม 2564

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

งานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล "สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2563 เป็นการตอกย้ำความสำคัญของการทำงานสื่อที่กล้าหาญ ในการนำเสนอข้อมูล ข่าวสารประเด็นสิทธิมนุษยนชนในประเทศไทยใน พื้นที่ต่าง ๆ การสื่อสารเหล่านี้เป็นการยืนหยัดถึงสิทธิในเสรีภาพการ แสดงออกและเสรีภาพสื่อ เรื่องราวที่ผ่านเข้ารอบและได้รับเลือกจะได้ รางวัลและผลงานภาพวาดจากศิลปิน mimininiii

 

ข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อออนไลน์

 

ผลงานเรื่อง “ขวัญข้าว: ดอกผลแห่งกาลเวลาค้นหาประชาธิปไตย” เว็บไซต์อีสานเด้อ

 

ขวัญข้าว ตั้งประเสริฐ นักเรียนชั้นมัธยมปลายวัย 17 ปี สมาชิกกลุ่มประกายไฟการละครรุ่นเยาว์

 

เวลาล่วงผ่านมากว่าสิบปี ขวัญข้าวมองเห็นความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับคนรอบตัวคนแล้วคนเล่า เช่นเดียวกับใครอีกหลาย ๆ คน กระทั่งในวันนี้ ขวัญข้าวออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองไปพร้อมกับ ผู้คนอีกจำนวนมากตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพียงเพราะพวกเขาอยากมีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานและประสบปัญหาความทุกข์ยากอย่างที่เป็น ขวัญข้าวจึงตัดสินใจออกมา แสดง“จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า” บทอาขยานที่ปรากฏในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ขวัญ ข้าวดัดแปลงเนื้อความเป็นบทละครเรียกร้องประเด็นด้านการศึกษาและประเด็นเรื่องแรงงาน ซึ่งทำ การแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2563 ในงานชุมนุมอีสานปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น เป็นการแสดงต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกของขวัญข้าวในรอบ 8 ปี หลังจากเข้าร่วมแสดงละครครั้งสุดท้ายในเรื่องเจ้าสาวหมาป่า เมื่อปี 2556

 

ขวัญข้าวเล่าว่า การแสดงในครั้งนี้ต่างจากครั้งก่อน ๆ ที่เคยร่วมแสดงกับกลุ่มประกายไฟ เพราะครั้ง นี้ “ผมตัดสินใจออกมาแสดงด้วยตัวเอง”

 

จันทร์เจ้า ขอข้าวราดแกง ขอขึ้นค่าแรง ให้กับพ่อข้า (ไม่รู้จักพอเพียง!)

ขอเสื้อผ้าให้น้องสักชุด (อยากสวย หาผัว!)

ขอสมุดให้น้องได้เขียน (ให้เรียนฟรีก็ดีแค่ไหนแล้ว!)

ขอหนังสือเรียนให้น้องได้อ่าน (หนังสือกระทรวงฯดีที่สุดแล้ว จะเอาอะไรอีก!)

ขอมีงานให้ทำเลี้ยงชีพ (มีหน้าที่เรียนก็เรียนไป!)

ขอเร่งรีบแก้ไขด้วยเถิด (พวกหัวรุนแรง ล้มเจ้า!)

 

ผลงานเรื่อง “50 ปีหลังมนุษย์เหยียบดวงจันทร์ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทยยังอยู่ที่เดิม” เว็บ ไซต์ 101.world

 

หนึ่งในโรงเรียนรัฐบาลที่อยู่คู่กับชุมชนมานานกว่า 90 ปี "โรงเรียนวัดมูลจินดา" ในปัจจุบันมีนัก เรียนเข้ามาศึกษา ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ แต่เป็นคนที่ย้ายมาจากพื้นที่อื่นเพื่อเข้ามาทางาน เนื่องจากไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองและเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ด้วยหุตผลทาง เศรษฐกิจและ/หรือเด็กบางคนพ่อแม่อยู่ในเรือนจำ ด้วยเหตุนี้เด็กหลายคนจึงต้องอาศัยอยู่กับปู่และ ย่า เด็กบางคนย้ายเข้ามาเรียนกลางคัน เมื่อถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กที่นี่ พัชรี เหลือง อุดม ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดมูลจินดาราม ได้บอกว่าความเป็นอยู่ของเด็กเหล่านี้เกินครึ่งอยู่ ในฐานะยากจนถึงยากจนมาก

 

นอกจากปัญหาเรื่องความยากจนในเมืองแล้ว ประเทศไทยยังมีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คนต่อโรงเรียน และมีระยะห่างจากโรงเรียนข้างเคียงที่ใกล้ที่สุดไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตรอยู่ จำนวน 1,594 โรง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีนักเรียนอยู่ในโรงเรียนเหล่านี้ประมาณ 100,000 คน ซึ่งก็นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

 

รวมถึงโรงเรียนที่อยู่ในหมู่บ้านตามชุมชนต่างจังหวัด ที่บางส่วนบุคลากรครูไม่เพียงพอ และโรงเรียน ขาดอุปกรณ์การเรียนการสอน ครูที่จบเอกพละ ต้องวิ่งสอนตั้งแต่วิชาภาษาไทยไปจนถึง คณิตศาสตร์ เด็กชั้นประถม 1-3 แทบจะเป็นเพื่อนกัน เพราะนั่งเรียนข้างกันเกือบทุกวิชา คอมพิวเตอร์บางที่ก็ติด ๆ ดับ ๆ บางโรงเรียนเด็กสิบคนต้องใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว

 

ยิ่งในโลกที่เทคโนโลยีแทบจะเป็นลมหายใจของอนาคต การศึกษาแบบนี้ยิ่งไม่ตอบโจทย์ในทุกด้าน ของชีวิต

 

 

ผลงานเรื่อง “จากชายแดนใต้ถึงเราทุกคน ‘ความรุนแรงต่อผู้หญิงจะต้องยุติ’” เว็บไซต์ 101.world

 

สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถานที่ที่ผู้คนเลือกมองความรุนแรงในพื้นที่เป็นภาพหลัก แต่อีกความ รุนแรงที่ดำเนินไปควบคู่กันคือความรุนแรงต่อผู้หญิง

 

บริบทของพื้นที่นี้มีทั้งความไม่สงบที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนสูญเสียครอบครัว ปัญหายาเสพติดเรื้อรัง ในพื้นที่ส่งผลให้คู่ชีวิตของพวกเธอเลือกลงไม้ลงมือต่อกัน รวมถึงข้อจำกัดของหลักศาสนาที่ทำให้ การเดินออกจากความรุนแรงไม่ง่ายสำหรับพวกเธอ

 

หากผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรง พวกเธอต้องร้องเรียนต่อผู้นำศาสนาในพื้นที่ และให้สำนักงาน คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดช่วยดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการฯ ดังกล่าวล้วนเต็มไปด้วย ผู้ชาย พวกเขาไม่สามารถตรวจสอบร่างกายของเธอได้ และไม่อาจเข้าใจถึงความบอบช้ำของพวก เธอในบางแง่มุมได้

 

ผู้หญิงในสามจังหวัดจึงต้องต่อสู้กับความรุนแรงที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมายมาโดยตลอด สำนัก งานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาสที่เคยมีแต่ผู้ชาย เกิดมุมเล็ก ๆ ของผู้หญิงที่คอย ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรง ในนาม "ศูนย์บริการให้คำ ปรึกษาเสริมพลังสตรี" นับแต่นั้น ความบอบช้ำที่เยียวยาได้ด้วยกลไกของร่างกาย ก็ได้รับการ เยียวยาด้วยกลไกของสังคม

 

ผลงานเรื่อง “ตามรอยน้ำตาในเพลง-เรื่องเล่าท้องถิ่น ความรุนแรงโดยรัฐจากอดีตถึงปัจจุบัน” เว็บไซต์ประชาไท

 

ความรุนแรงในภาคใต้ที่เกิดขึ้นมาโดยตลอด กรณีถังแดง หนึ่งในความทรงจำที่สร้างบาดแผลที่ยัง ไม่มีใครออกมารับผิดชอบที่เกิดขึ้นในจังหวัดพัทลุง

 

ช่วง พ.ศ. 2510 ได้มีการต่อสู้ระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีการใช้ความ รุนแรงอย่างเข้มข้น พื้นที่แห่งนี้เป็นบริเวณที่มีความสูญเสียจากความรุนแรงทางการเมืองมากที่สุด ในเชิงปริมาณและเชิงรูปแบบ โดยมี “ถังแดง” เป็นบทสะท้อนถึงความสูญเสีย

 

เหตุการณ์ “ถังแดง” เป็นเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของ รัฐที่ใช้ความรุนแรงและวิธีการนอกกระบวนการกฎหมายเพื่อลงโทษผู้ต้องสงสัยว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ขบวนการคอมมิวนิสต์ในเขตจังหวัดพัทลุงและพื้นที่ใกล้เคียงในช่วงปีพ.ศ. 2510

 

ปฏิบัติการที่ถูกกล่าวถึงในแง่ลบนี้ คือ วิธีการที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐจับกุมผู้ต้องสงสัยแล้วใส่เข้าไปในถัง น้ำมันขนาด 200 ลิตร ซึ่งใส่น้ำมันเชื้อเพลิงเอาไว้ในก้นถังประมาณ 20 ลิตรเผากลุ่มผู้ต้องสงสัย เหล่านั้น ผู้ต้องสงสัยบางส่วนถูกทรมานจนเสียชีวิตก่อนหน้านั้น ในขณะที่บางส่วนซึ่งยังไม่เสียชีวิต ก็จะถูกเผาทั้งเป็น ซึ่งในกรณี "ถีบลงเขาเผาลงถัง" มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากกว่า 3,000 คน

 

ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความ ยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

 

ผลงานชุด “สูญสิ้น สูญหาย แต่ไม่สิ้นหวัง” สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์

 

สิตานันท์ สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาว ได้ทำบุญวันเกิดแทนวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้เป็นน้องชาย นักกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกอุ้มหายเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2563 บริเวณด้านนอกอพาร์ทเมนท์ ของเขาในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

 

เวลาได้ล่วงเลยมากกว่าสามเดือนกับการตามหาน้องชายที่ยังคงไร้วี่แวว สิตานันท์ เข้ายื่นหนังสือต่อ หลายหน่วยงานของภาครัฐ ร้องขอต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราชอาณาจักรไทยหรือที่รู้จักใน ชื่อ "ดีเอสไอ" (DSI) ให้รับเป็นคดีพิเศษ และ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอการสนับสนุน อำนวยความสะดวกในการติดตามคดีในกัมพูชา แต่ยังคงไร้ความคืบหน้า

 

สิตานันท์มองเห็นความเป็นสองมาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับคดีที่สาวกัมพูชาเสียชีวิตในบ่อนไทย ความยุ่งยากของกระบวนการตามหาน้องชาย ทำให้สิตานันท์รู้สึกท้อ แต่ไม่ถอย และยังหวังว่าจะได้ พบน้องชายอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นเพื่อให้พบน้องชายไปสู่ถนนที่กว้างขึ้น ด้วยการร่วมผลักดันร่างพระราช บัญญัติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฉบับภาค ประชาชน ให้เป็นกฎหมาย เพราะระหว่างทางเดิน สิตานันท์เห็นครอบครัวผู้สูญหายต้องเผชิญ ความทุกข์ยากไม่ต่างจากเธอ

 

การสูญหายของวันเฉลิม ได้สร้างประวัติศาสตร์การเมืองบนท้องถนน เมื่อคนรุ่นใหม่สนใจประเด็น เรื่องการอุ้มหายมากขึ้น อีกทั้งยังตั้งคำถามถึงสิทธิในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง สิ ตานนันท์บอกว่า "นี่คือสิ่งที่วันเฉลิมยืนหยัดมาตลอด"

 

“ถ้าต้าร์มองเห็นก็จะหัวเราะแล้วคงบอกว่า เป็นไงล่ะพี่เจน สิ่งที่ต้าร์เรียกร้องมาตลอด 6 ปี มัน สัมฤทธิ์ผล มันเห็นผลในวันนี้ (ร้องไห้) สิ่งที่เขาทำเขาไม่เคยเสียดาย เขาจะเป็นคนอย่างนี้ค่ะ แล้ว เขาไม่เสียใจด้วยที่ไม่ว่าเขาจะอยู่หรือเขาจะไป แต่มันเปลี่ยนแปลงประเทศไทยได้ พี่รู้ว่าเขาดีใจค่ะ”

 

ผลงานเรื่อง “26 ปี เหมืองหินดงมะไฟ” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

 

กว่า 26 ปี ที่ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเหล่าใหญ่-ผาจันได ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เรียกร้องให้ยุติการทำเหมืองหินปูนภูผาฮวก เพราะตลอดระยะเวลาการทำ เหมืองหินที่ผ่านมา ชาวบ้านได้รับผลกระทบอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะทางเสียง ทางอากาศ ฝุ่นละออง

 

และที่ชาวบ้านเป็นกังวลก็คือ "ป่าชุมชน" ซึ่งเป็นแหล่งน้ำของชุมชน รวมถึง "วัตถุโบราณ" ที่อาจ จะได้รับผลกระทบหากมีการต่อใบอนุญาต

 

สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

 

ผลงานเรื่อง “ลูกผู้เห็นต่าง” รายการสารตั้งต้น สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี

 

สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ ๆ การประเมิน ค่าความสูญเสียของแต่ละชีวิตคงไม่สามารถทำได้ แต่จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ส่งผลให้ เกิดเด็กกำพร้ามากถึง 7,297 คน

 

เด็กกำพร้าจากสถานการณ์ความรุนแรงจะได้รับการดูแลจากภาครัฐเมื่อได้รับการรับรองจากทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครองว่าพ่อหรือแม่เสียชีวิตจากสถานการณ์จริง ที่ผ่านมามีการเยียวยาเด็กไป แล้วกว่า 4,000 คน แต่มีเด็กกลุ่มหนึ่งที่รัฐไม่ให้การรับรองเพราะพวกเขาเป็น "ลูกของกลุ่มผู้ เห็นต่างจากรัฐ" ทั้งที่เป็นเด็กกำพร้าเหมือนกัน แต่สิทธิในการเข้าถึงการช่วยเหลือกลับไม่เหมือน กัน

 

เด็กกลุ่มนี้ควรไปอยู่ในความดูแลของใคร หรือพวกเขาจะถูกผลักเข้าสู่วงจรความรุนแรงต่อไปอีก

 

ผลงานเรื่อง “รักสีรุ้ง” รายการสารตั้งต้น สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี

 

เมืองไทยถูกขนานนามว่าเป็นสวรรค์ของกลุ่ม “LGBT” ด้วยสังคมที่เปิดกว้างและให้การยอมรับ มากขึ้น แม้คนกลุ่มนี้จะอยู่ในทุกมิติของสังคมไทย

 

แต่ในด้านสิทธิความเท่าเทียม คนกลุ่มนี้กลับแทบไม่มีกฎหมายใดออกมารองรับ เช่น การสมรสเท่า เทียม ที่ต่อสู้เรียกร้องกันมานาน ซึ่งจนถึงวันนี้ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

 

ผลงานเรื่อง “ครูฉลบชลัยย์ ชีวิตเพื่อผู้อื่น” รายการความจริงไม่ตาย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

 

"ครูฉลบชลัยย์ พลางกูร" ผู้หญิงธรรมดาที่ไม่ได้ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ แต่เป็นผู้อยู่เบื้อง หลังบุคคลสำคัญที่ออกมาเคลื่อนไหว ต่อสู้เพื่อความจริงและความถูกต้อง

 

เป็นผู้หญิงที่ใช้ตลอดทั้งชีวิตเป็นดั่งลมใต้ปีกให้กับนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและโอบอุ้ม ดูแลผู้ได้รับ ผลกระทบจากพิษภัยทางการเมือง ทั้งจากเหตุการณ์รัฐประหารและอดีตจำเลยในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยทำในสิ่งที่ผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งจะทำได้ และควรทำเพื่อมนุษยธรรม

 

ผลงานเรื่อง “มอแกน ลมหายใจสุดท้าย” รายการคนชายขอบ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

 

เรื่องราวของยิปซีทะเลที่เคลื่อนย้ายเร่ร่อนในทะเลอันดามัน หลังจากลาบูนหรือสึนามิซัดผ่าน

 

ภาพความสำเร็จของภาครัฐในการส่งเสริมชาวมอแกนให้ตั้งถิ่นฐานถาวรภายใต้กรอบการอนุรักษ์ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ และความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในไทยและเมียนมา ปรากฏเด่นชัดผ่านปริมาณนักท่องเที่ยวและเม็ดเงินจำนวนมหาศาล

 

แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงของ เทียม ปุ๊กกี้ และ หม่ามุ๊ ตอกย้ำความจริงอีกด้านหนึ่งที่ยังไม่ ปรากฏอยู่ในภาพดังกล่าว สถานะบุคคล สิทธิขั้นพื้นฐาน ความเป็นธรรม และศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ ยังคงเป็นคำถามสะท้อนอยู่ในดวงตาคู่ใส คอยบั่นทอนจิตใจชาวมอแกนตราบทุกวันนี้

 

ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดี โอออนไลน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 10 นาที)

 

ผลงานเรื่อง “'ทุนไทย' ในเขื่อนลาว ปชช. แบกค่าไฟ ประโยชน์อยู่ไหน?” เว็บไซต์วอยซ์ออนไลน์

 

รายงานพิเศษ: ภายใต้การลงทุนสร้าง 'เขื่อน' ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเพื่อ รับประกัน 'ความมั่นคงทางพลังงาน' แต่ในวันที่พลังงานสำรองล้นเกิน

 

ถึงเวลาต้องทบทวนหรือไม่ว่า เท่าไรจึงจะพอ? การคำนึงถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจและสังคมที่ ประชาชนต้องแบกรับ และจุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน?

 

ผลงานเรื่อง “จะตามหาความยุติธรรมให้ลูกจนแผ่นดินกลบหน้า พะเยาว์ อัคฮาด” เว็บไซต์ The MATTER

 

จะตามหาความยุติธรรมให้ลูกจนแผ่นดินกลบหน้า พะเยาว์ อัคฮาด จากแม่ค้าขายดอกไม้กลาย มาเป็นนักเคลื่อนไหว จากไม่เคยสนใจการเมืองต้องเดินทางไปกรมสอบสวนคดีพิเศษแห่งราช อาณาจักรไทยหรือที่รู้จักในชื่อ "ดีเอสไอ" (DSI) อัยการ ศาล กองทัพบก จนกลายเป็นขาประจำ

 

เมื่อผู้ถูกกระทำคือลูกแท้ ๆ ที่เสียชีวิตเพราะตั้งใจเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในฐานะอาสาพยาบาล ที่มีตรากาชาดอยู่บนเสื้อ แถมสถานที่เกิดเหตุยังเป็นภายในวัด ซึ่งถูกประกาศให้เป็น 'เขตอภัยทาน'

 

ด้วยพลังของแม่ 'พะเยาว์ อัคฮาด' จึงเดินสายเรียกร้องให้ทหารที่ลั่นไกสังหารลูกสาว 'กมนเกด อัคฮาด' ที่วัดปทุมวนารามในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สิบปีที่ผ่านมา ถึง จะเหน็ดเหนื่อยแต่ไม่เคยท้อถอย

 

แม้วันนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่เธอก็มีความมั่นใจว่า ผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษ ก่อนคดีจะ หมดอายุความในปี 2573

 

ผลงานเรื่อง “101 Gaze Ep.1 ‘โคตรคนกอง อึดทะลุคิว’” เว็บไซต์ 101.world

 

เวลาการทำงานที่ติดต่อกันหลายสิบชั่วโมงจนต้องอดหลับอดนอน คิวการถ่ายทำที่อัดแน่นวันต่อวัน คืนต่อคืน นี่คือสภาพการทำงานที่ท้าทายขีดจำกัดของ ‘คนกอง’ หรือคนในอุตสาหกรรม ภาพยนตร์ตลอดมา

 

และเมื่อถึงคราวที่วายร้ายอย่าง ‘โควิด’ เข้ามาเปลี่ยนทุก scene บนโลกไปอย่างฉับพลัน พวกเขา ต้องเจอกับอะไร สภาพการทำงานที่แสนสาหัสจะถูกซ้ำเติมหรือไม่ หนทางใดจะเป็นทางออกเพื่อกู้ หัวใจ ความเป็นธรรม และสวัสดิภาพในการทำงานของคนกองให้ดีขึ้น!

 

สำรวจปัญหาการทำงานกองถ่าย ผ่านความเห็นและประสบการณ์ของ ตั้ม - พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ ผู้ออกแบบงานสร้างภาพยนตร์ (Production Designer) ไก่ - ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับ ภาพยนตร์ และ ปั๊ป - ภิไธย สมิตสุต ผู้กำกับภาพ

 

ผลงานเรื่อง “อยู่(ไร้)บ้าน คนไร้บ้านภายใต้วิกฤตโควิด-19” เว็บไซต์ประชาไท

 

หลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการเพื่อชะลอการระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านการออกข้อบังคับ ต่างๆ เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม ทั้งการปิดสถานประกอบการ การกักตัว ควบคุมการเดินทางของ ประชากร พร้อมกับออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยากับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดัง กล่าว

 

"อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ทุกคนมีบ้านอยู่ แต่เขาเหล่านี้ไม่มีบ้านอยู่" อัจฉรา สรวารี เลขาธิการมูลนิธิอิสรชนกล่าว

 

กลุ่มคนไร้บ้าน เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงติดเชื้อไม่ต่างจากคนกลุ่มอื่น และได้รับผล กระทบจากมาตรการของรัฐไม่ต่างกัน ทว่าหลังมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมาได้หนึ่งสัปดาห์ การจัดการช่วยเหลือเพื่อลดการระบาดมาสู่คนกลุ่มนี้ยังเดินทางมาไม่ถึง

 

ขณะที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กำลังดำเนินมาตรการจัดหาสถานที่พักชั่ว คราว แต่คาดว่าคงมีสถานที่ไม่เพียงพอ หวังภาคเอกชนที่มีตึกร้างหรือห้องว่าง ช่วยเหลือ