จากวิกฤติสิทธิมนุษยชนในซูดาน ... ถึงจุดร่วมของระบอบเผด็จการ

28 มิถุนายน 2562

ผู้เขียน ธปณัฐ สวัสดิ์เวช นักศึกษาฝึกงาน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย  

เหมือนกับเป็นกระแสของโลกที่ความขัดแย้งระหว่าง “ประชาธิปไตย” กับ “อำนาจนิยมและเผด็จการ” ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประชาชนในหลายประเทศออกมาเรียกร้องถึงสิทธิและเสรีภาพความเท่าเทียมต่างๆ อย่างกว้างขวาง บวกกับมีการพลักดันการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอำนาจในการนำประเทศให้อยู่ในมือของ “ประชาชน” มากกว่าเดิม และด้วยความต้องการที่เป็นเหมือนการลดทอนอำนาจนี้เอง กลุ่มผู้มีอำนาจต่างๆ จึงพยายามทำทุกวิถีทางในการรั้ง “อำนาจ” นี้ไว้ซึ่งนำไปสู่ความรุนแรงและความโหดร้ายต่อประชาชน

 

เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เกิดการสังหารหมู่ประชาชนในประเทศซูดานโดยสภากองทัพเปลี่ยนผ่านอำนาจ (TMC) ของซูดาน เนื่องจากมีประชาชนออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทหารชั่วคราวคืนอำนาจในการเลือกตั้งให้กับประชาชน หลักจากที่ทั้งสองฝ่ายร่วมโค่นอำนาจของผู้นำเผด็จการอย่างดีโอมาร์ อัล-บาเชียร์ที่ปกครองซูดานมามากว่า30ปี แต่ภายหลังฝ่ายกองทัพกลับยกเลิกข้อตกลงที่เคยให้กับกลุ่มประชาชนและจัดตั้งสภาเปลี่ยนผ่านที่มีคนของกองทัพเองอยู่ในตำแหน่ง จึงนำไปสู่ความกังกลในหมู่ประชาชนซูดานว่าบ้านเมืองจะกลับเข้าไปสู่วงจรการเมืองเผด็จการอีกครั้งและขยายตัวกลายเป็นการชุมนุมและการสังหารกลุ่มประชาชนในระยะต่อมา จากรายงานของคณะกรรมการกลางของแพทย์ซูดาน (Central Committee of Sudanese Doctors) ระบุว่าจำนวนเหยื่อผู้เสียเสียชีวิตจากการสลายกลุ่มผู้ชุมนุมมีมากกว่า 100 คน โดยมีทั้งคนที่โดนแทงโดนฟันด้วยมีด โดนยิง หรือแม้กระทั้งโดนทุบตีตาย ซึ่งนี่คือ “การสังหารหมู่ประชาชน” ที่แท้จริง

 

แล้วอะไรคือประเด็นสำคัญจากโศกนาฏกรรมอันเลวร้ายนี้?

 

ถ้าทุกคนลองสังเกตเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการในโลกและจากเหตุการณ์ในซูดาน เราจะเห็นถึงรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจนของ “ระบอบเผด็จการ” ที่ก่อตัวขึ้น 

 

1. โครงอำนาจรัฐที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับประชาชน

แทนที่อำนาจในการขับเคลื่อนประเทศจะกระจายแบ่งปันให้กับประชาชน  แต่อำนาจนี้กลับกระจุกอยู่เพียงแค่คนๆ เดียวหรือกลุ่มผู้มีอำนาจเพียงแค่กลุ่มเดียว จากเหตุการณ์ในที่เกิดขึ้นในซูดาน ผู้มีอำนาจหรือรัฐบาล (สภากองทัพซูดาน) ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการรักษาและควบคุมผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในประเทศโดยโดยไม่มีการแบ่งปันอำนาจตรงนี้ให้กับประชาชนในประเทศซูดานแม้แต่น้อย เพราะการที่ประชาชนยิ่งมีอำนาจอยู่ในมือกลุ่มผู้มีอำนาจหรือรัฐบาลก็ยิ่งเสื่อมอำนาจมากเท่านั้น

  

2. สิทธิของประชาชนถูกริดรอน

นอกจากประชาชนในประเทศจะถูกกีดกันออกจากอำนาจอธิปไตย สิทธิและเสรีภาพต่างๆ ของประชาชนยังถูกจำกัดและถูกระงับเนื่องด้วยการแสดงออกทางสิทธิตรงนี้เปรียบเสมือนการท้าทายต่อการใช้อำนาจความชอบธรรมที่รัฐมีจากประชาชน ด้วยเหตุผลนี้รัฐหรือกลุ่มผู้มีอำนาจจึงต้องทำให้การเรียกร้องด้วยสิทธิต่างๆ ของประชาชนเป็นสิ่งที่ “ผิด” และ “สร้างปัญหา” ให้กับสังคมเพื่อที่จะปกปิดความไม่เท่าเทียมที่รัฐและผู้มีอำนาจสร้างขึ้นเอง ในเคสของซูดานหลังจากที่โดนประนามโดยสังคมโลกว่าเป็น “การโจมตีที่โหดเหี้ยม” ต่อประชาชน สภาทหารจึงออกมาแก้ต่างว่า “การปฏิบัติการที่เกิดขึ้นมุ่งเป้าไปแค่เพียงคนที่ก่อให้เกิดปัญหาและอาชญากรรมเท่านั้น” โดยข้อกล่าวตรงนี้มุ่งเน้นเหตุผลไปที่ปัญหาข้อเท็จจริงจากคำกล่าวอ้างแต่ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมว่าการ “สังหาร” ผู้คนเหล่านี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลตามหลักของกระบวนการยุติธรรมสากล

 

3. ข้อกล่าวอ้างจากรัฐหรือผู้มีอำนาจจะมุ่งไปที่ “ความมั่นคง” หรือ “ความสงบเรียบร้อย”

ความคล้ายคลึงของระบอบเผด็จการอย่างที่สาม สืบเนื่องมาจากการตีความว่าการใช้สิทธิเสรีภาพต่างๆ ที่คนมีเป็นสิ่งที่ผิดและเป็นปัญหากับสังคม ข้อกล่าวอ้างจากรัฐหรือผู้มีอำนาจจะมุ่งไปที่ “ความมั่นคง” หรือ “ความสงบเรียบร้อย” ของสังคมเพราะภายใต้คำสองคำนี้จะสร้างกรอบและภาพลักษณ์ของการกระทำของรัฐหรือผู้มีอำนาจในลักษณะหรือฐานะ “ผู้ปกป้องประเทศ” อีกทั้งยังเป็นเหมือนการให้สิทธิในการใช้อำนาจรัฐอย่างเต็มที่ในการจัดการเรื่องที่มีผลกระทบในระดับประเทศ ด้วย 2 เหตุผลนี้เองรัฐหรือผู้มีอำนาจจึงมีการใช้กำลังความรุนแรงกับประชาชนมากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ในซูดานก็มีรูปแบบคล้ายๆ กัน โดยทางสภาพทหารได้ออกแถลงการณ์ว่าเจ้าหน้าที่เพียงต้องเก็บกวาดพื้นที่การชุมนุมแต่มีกลุ่มชุมนุมบางส่วนที่สร้างความปั่นปวนจึงทำให้เกิดประทะกันและการยิงของเจ้าหน้าที่ขึ้น จากคำแถลงตรงนี้นักเคลื่อนไหวจึงมีการโต้ว่ามีเจ้าหน้าที่ความมั่นคงบุกเข้าพื้นที่การชุมนุมจากทุกทิศทาง อีกทั้งเผาเต็นท์และไล่จับผู้ชุมนุมที่วิ่งหนี ถึงแม้จะเกิดการปะทะขึ้นระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่แต่มีความจำเป็นขนาดไหนที่ต้องฆ่าพวกเขาเพียงเพื่อความสงบเรียบร้อย

 

4. การควบคุมสื่อและการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร

อย่างที่สี่ของความคล้ายคลึงในระบอบเผด็จการคือการควบคุมสื่อและการบิดเบือนข้อมูลข่าว สื่อหรือข่าวสารเปรียบเสมือน “ตัวกลาง” ระหว่างเนื้อหาความจริงที่เกิดขึ้นกับคนในสังคม การที่สื่อมีอิสระในการให้นำเสนอข้อความต่างๆ สังคมจะได้โอกาสที่จะรับรู้ความจริงจากหลายแง่มุม ด้วยความหลากหลายของข้อความข่าวสารนี้เองจะเป็นตัวพลักดันให้สังคมตั้งคำถามต่อสิ่งที่รัฐหรือผู้มีอำนาจกล่าวและทำว่ามีความ “ถูกต้อง” มากน้อยเพียงใด ตรงนี้เองรัฐและผู้มีอำนาจจึงต้องควบคุมและบิดเบือนข้อมูลข่าวให้ไปในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มอำนาจเองเพียงฝั่งเดียวเพื่อตัดข้อกังขาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นสังคม แต่ด้วยโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ อย่างอินเทอร์เน็ตการควบคุบสื่อจึงไม่ใช้เรื่องที่ง่ายอีกต่อไป เพราะเหตุนี้เองประเด็นเรื่อง “ข่าวปลอม” (Fake News) จึงเกิดขึ้นและกลายเป็นอีกเครื่องมือที่ถูกใช้โดยรัฐและกลุ่มผู้มีอำนาจ ในเหตุการนี้ที่ซูดานการบิดเบือนและการขัดแย้งทางข้อมูลก็เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน คณะกรรมการกลางของแพทย์ซูดาน (Central Committee of Sudanese Doctors) ได้ออกมาแจ้งถึงจำนวนเหยื่อผู้เสียเสียชีวิตว่ามีราว 118 คนแต่ทางสำนักข่าวของรัฐอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตเพียง 61 คน ซึ่งช่องว่างทางข้อมูลนี้เองทำให้ภาพความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซูดานคลุมเครือและไม่ชัดเจนต่อทั้งสังคมในประเทศและในระดับโลก

 

5. การสร้างความหวาดกลัวในสังคม

และความคล้ายคลึงอย่างสุดท้ายของเผด็จการคือการ “การสร้างความหวาดกลัว” ในสังคม การที่สังคมเต็มไปด้วยความหวาดกลัวต่ออำนาจรัฐหรือกลุ่มผู้มีอำนาจเป็นจุดสำคัญที่จะช่วยให้ระบอบอำนาจเผด็จการเข้มแข็งและคงอยู่นานมากขึ้นเพราะ “ไม่มีใครกล้า” ที่จะลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐกลุ่มผู้มีอำนาจ ด้วยเหตุนี้เองการใช้ความรุนแรงต่อประชาชนจึงมีมากขึ้นเพื่อสร้าง “ความกลัว” ให้กับคนที่คิดจะโต้แย้งในอนาคต จากการสลายการชุมนุมในซูดานฝ่ายสภาทหารใช้ทั้งกำลังทหารและอาวุธครบมือในการปะทะกับกลุ่มผู้ชุมไม่ว่าทั้งผู้ชายและผู้หญิงซึ่งทำให้มีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตมาก ด้วยภาพความรุนแรงนี้เองเปรียบเสมือนการเตือนให้ฝ่ายประชาชนรับรู้ว่านี่คือสิ่งที่จะได้จากการต่อต้านรัฐบาลทหาร

 

 

อ้างอิง 

https://thematter.co/brief/recap/recap-1560762000/78859

https://www.theguardian.com/world/2019/jun/14/sudan-military-admits-abuses-committed-in-khartoum-attack

https://www.theguardian.com/news/datablog/2019/jun/16/sudans-government-is-minimizing-the-death-toll-in-the-khartoum-attack