GoT vs ชีวิตจริง : 5 ความจริงที่เลวร้ายยิ่งกว่าซีรี่ย์

22 เมษายน 2562

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

ภาพ Getty

แปลโดย Smiling Sun

ซีซั่น 8 ของซี่รี่ย์ Game of Thrones ที่รอคอยคอยกันมาอย่างยาวนานได้เริ่มฉายตอนแรกไปเมื่อวันที่ 15 เมษา ที่ผ่านมา โดยซีรี่ย์นี้ได้ช็อคคนดูมาตลอดด้วยความรุนแรงและฉากทางเพศ โดยเฉพาะกับผู้หญิงและเด็ก ทว่าโลกความเป็นจริงวันนี้มีสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่าดินแดนเวสเทรอสหลายเท่าตัว

คำเตือน: บทความนี้เฉลยเนื้อหาของซีรี่ย์นี้ถึงตอนจบซีซั่น 2

 

1. การประหารชีวิต

Ned Stark from the HBO series Game of Thrones.Ned Stark from the HBO series Game of Thrones.Ned Stark from the HBO series Game of Thrones.Ned Stark from the HBO series Game of Thrones.Ned start prepares for an execution. Beheading is still used in Saudi Arabia. Photo credit: HBO / Sky AtlanticNed Stark from the HBO series Game of Thrones.

 

Game of Thrones เริ่มต้นเรื่องราวจากตอนที่ขุนนางแดนเหนือ เน็ด สคาร์ค ประหารชีวิตทหารหนีทัพ แต่เพราะชะตาชีวิตตัวละครเรื่องนี้มันไม่เข้าใครออกใคร เจ็ดตอนต่อมาเน็ด สตาร์คก็สังเวยคมดาบกษัตริย์จอฟฟรีย์เสียเอง

เน็ด สตาร์ค กำลังเตรียมการประหาร โดยโทษตัดหัวยังคงถูกใช้ในซาอุดีอาระเบีย

แม้เรื่องนี้จะเต็มไปด้วยการประหัตประหาร แต่ยอดผู้เสียชีวิตในเวสเทรอสก็ยังต้องชิดซ้ายให้กับยอดประหารชีวิต 690 รายในปี 2018 ที่ผ่านมาตามรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล -- โดยยอดนี้ยังไม่รวมกับการประหารชีวิตในจีนที่เชื่อได้ว่ามีการสังหารในหลักพัน

 วิธีประหารในหลายๆ ที่ทั่วโลกมีหลายอย่างเช่นการแขวนคอและฉีดยาพิษ ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียยังคงการประหารด้วยการตัดหัวอยู่

 

 

2. การทรมาน

Flaying people alive is a family tradition of the Boltons. In Saudi Arabia, blogger Raif Badawi has been living under sentence of flogging since 2014. Photo credit: HBO / Sky Atlantic

 

ที่มาของวิธีการทรมานที่โหดร้ายในซีรี่ย์ Game of Thrones ล้วนแต่สามารถหาได้ในชีวิตจริง ในปี 2019 โดยรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกการทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงซึ่งล้วนแต่คล้ายคลึงกับสารพัดวิธีที่ ธีออน เกรย์จอย ต้องเผชิญตลอดซีซั่น 2 ไม่ว่าจะเป็นการทุบตีและข่มขืนอย่างในลิเบีย บังคับให้ร้องเพลงในเวเนซุเอลา และการทรมานเด็กที่อวัยวะเพศในอียิปต์ หรือกระทั่งในเดือนนี้ที่บรูไนประกาศใช้การลงโทษปาหินคู่รักร่วมเพศและการตัดมือขโมย

วิถีตระกูลโบลตันคือการถลกหนังคนทั้งเป็น ส่วนในซาอุดีอาระเบีย นายราอิฟ บาดาวี ต้องโทษถูกเฆี่ยนทุกวันมาตั้งแต่ปี 2014

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังได้ออกรายงานการทรมานและล่วงละเมิดจากหลายๆ ที่รอบโลกที่มีวิธีการตั้งแต่การทุบตีข่มขืนไปจนถึงการทำร้ายเหยื่อด้วยสุนัข

 

 

3. การบังคับแต่งงานและความรุนแรงต่อผู้หญิง

 The women in Game of Thrones rarely have a choice who they marry, a situation all too common for women and girls in the real world. Photo credit: HBO / Sky Atlantic

 

ซีรี่ย์ Game of Thrones ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากต่อฉากความรุนแรงทางเพศและผู้หญิง โดยมีทั้งฉากข่มขืน บังคับเป็นทาสทางความใคร่ หรือเป็นเหยื่อต่อความรุนแรงที่เจาะจงเพศ

สตรีชาวเวสเทรอสน้อยคนนักจะมีสิทธิเลือกคู่ครองของตัวเอง สถานการณ์ที่ผู้หญิงในชีวิตจริงหลายคนเองก็พบเจอเช่นกัน

ตัวละครเอกหลายตัวต้องถูกขายหรือบังคับให้แต่งงาน อย่างเช่นในตอนแรกสุดที่พี่ชายของแดเนรีส ทาร์เกเรียนบังคับเธอให้แต่งงานเพื่อสานต่อความทะเยอทะยานของเขา

แต่สิทธิสตรีในชีวิตจริงก็แทบจะไม่ได้ดีกว่ากันนัก รายงานของแอมเนสตี้จากสาธารณรัฐโดมินิแกนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาระบุว่าตำรวจลงโทษหญิงค้าประเวณีด้วยการข่มขืนและทรมานอย่างสม่ำเสมอ ส่วนในอิหร่านก็มีผู้สนับสนุนรัฐบาลทำการโจมตีผู้หญิงที่ประท้วงกฎบังคับสวมผ้าคลุมหัว

เราอาจจะไม่รู้สถิติจริงของการบังคับแต่งงาน แต่กลุ่ม GirlsNotBrides ระบุว่ามีผู้หญิงมากกว่า 650 ล้านคนที่แต่งงานก่อนอายุ 18 ปี หนึ่งในประเทศที่การบังคับแต่งงานยังคงแพร่หลายคือเบอร์กิน่า ฟาโซ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2018 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลมีรายงานมาว่ามากกว่าครึ่งของเด็กผู้หญิงในประเทศแต่งงานก่อนอายุ 18 ปี ในรายงานเดียวกันยังพบว่าเด็กหญิง 48 คนมีอาการแทรกซ้อนจากการขริบอวัยวะเพศหญิงภายในหนึ่งเดือน

แต่ผู้หญิงและเด็กทั้งในชีวิตจริงและเวสเทรอสกำลังลุกขึ้นตอบโต้ โครงการ #MeToo กระจายไปไกลจากจุดกำเนิดในลอสแองเจิลลิส เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับสตรีชาวเนปาลสามคนที่ลุกขึ้นมาต่อต้านความรุนแรงทางเพศในประเทศของพวกเธอ

 

 

4. การถูกสอดแนม

 

With characters like Littlefinger and their informants everywhere, there are few secrets in Game of Thrones. Photo credit: HBO / Sky Atlantic

 

ไม่มีถ้อยคำใดที่กล่าวในคิงส์แลนด์ดิ้งแล้วพ้นหูสายลับของลิตเติ้ลฟิงเกอร์ หรือเหล่านกน้อยของวาริสที่เล่าทุกเรื่อง “ที่สุดจะแปลกประหลาด” ให้เขาฟัง

เพราะตัวละครอย่างลิตเติ้ลฟิงเกอร์และสายลับของเขาที่แทรกซึมไปทุกที่ จึงมีเรื่องราวอันน้อยนิดที่เป็นความลับใน Game of Thrones

สายลับในวันนี้ไม่มีเหล่านกน้อยแต่อย่างใด แต่พวกเขามีโปรแกรมที่สามารถจับตาดูการสื่อสารบนโลกออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา

โปรเจ็คลับของกูเกิล “ดราก้อนฟลาย” ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรัฐบาลจีนสำหรับการสืบความลับผู้ใช้งานกูเกิลและช่วยต่อการเซ็นเซอร์ข้อมูลในประเทศ แม้ทางบริษัทกูเกิลจะถอยจากโครงการนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2018 ทางบริษัทก็ยังไม่ได้ประกาศยกเลิกการพัฒนาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

รายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เกี่ยวกับการเฝ้าจับตานักปกป้องสิทธิมนุษยชนในปากีสถานเปิดเผยถึงการจู่โจมพวกเขาทางดิจิตอล นักกิจกรรมตกเป็นเป้าของการส่งข้อความส่วนตัวที่เมื่อเปิดดู จะมีการจู่โจมเครื่องมือของพวกเขาด้วยมัลแวร์ หรือส่งต่อไปหน้าโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ปลอมแปลงขึ้นเพื่อขโมยรหัสผ่านโดยเฉพาะ

 

 

5. อาวุธชีวภาพและอาชญากรรมสงคราม

 Greyworm, leader of child soldier army called the “Unsullied” Photo credit: HBO / Sky Atlantic

 

โลกยุคกลางใน Game of Thrones คือเขตสงครามที่มีการโจมตีพลเรือน อาวุธเคมีอย่าง “ไวล์ไฟร์” และกองทัพทาสที่ได้มาจากการลักพาตัวเด็ก นี่ยังไม่นับมังกรด้วยซ้ำ

เกร์ยวอร์ม หัวหน้ากองทัพทาสที่สร้างจากทหารเด็กนามว่า “ผู้ไร้มลทิน”

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังไม่เคยพบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยมังกรในปี 2019 แต่มีรายงานมากมายถึงอาชญากรรมสงครามอื่นๆ

หลักฐานใหม่ในปีที่แล้วระบุถึงการใช้อาวุธชีวภาพโดยรัฐบาลซีเรียแม้อาวุธดังกล่าวจะผิดกฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีการใช้ก๊าซคลอรีนในเมืองซาราเค็บจนมีผู้บาดเจ็บสาหัส 11 คน จากการสัมภาษย์ผู้เห็นเหตุการณ์

 

อย่าให้ชีวิตจริงมาแข่งขันเรื่องความโหดร้ายและรุนแรงกับ Game of Thrones มาร่วมแสดงพลังและยืนหยัดเพื่อสิทธิมนุษยชนรอบโลกกันดีกว่า