วันผู้ลี้ภัยโลก: 10 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

20 มิถุนายน 2560

เรื่องและภาพ: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

 

"ผู้ลี้ภัย" คือคนที่ถูกกดขี่ ไล่ล่า หรือตามสังหารในประเทศบ้านเกิดของตน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง จนทำให้ต้องลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศใกล้เคียงโดย บางครั้งพวกเขาถูกเรียกว่าผู้ขอลี้ภัย(Asylum Seekers) จนกว่าจะได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัย (Refugee) จาก UNHCR หรือจากรัฐบาลประเทศต่างๆ

 

ผู้ลี้ภัยในเขตเมืองในประเทศไทยมาจาก 50 กว่าประเทศทั่วโลก โดยไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองคนกลุ่มคนนี้ สถานะของพวกเขาจึงถือว่าเป็น “คนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย” มีเพียง UNHCR ที่ให้ความช่วยเรื่องเรื่องการพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยเพื่อส่งไปประเทศที่สาม ปัจจุบันมีวิกฤตผู้ลี้ภัยเกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ลี้ภัยมีแนวโน้มที่จะอาศัยอยู่ในประเทศทางผ่านนานขึ้น

 

 620.png

 

1. ปัจจุบันโลกเรามีผู้ลี้ภัยถึง 21.3 ล้านคน


2. 49% เป็นผู้หญิงและเด็กผู้หญิงซึ่งมีความเปราะบางมากกว่าผู้ลี้ภัยอื่นๆ


3. ในแต่ละวันมี 34,000 คน ถูกบังคับให้ต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิด เพราะหนีการสังหารและการสู้รบ


4. 53% ของผู้ลี้ภัยทั่วโลกมาจาก 3 ประเทศ

  • - ซีเรีย 4.9 ล้านคน
  • - อัฟกานิสถาน 2.7 ล้านคน
  • - โซมาเลีย 1.1 ล้านคน


5. 3 ประเทศรองรับผู้ลี้ภัยมากที่สุด

  • - ตุรกี 2.5 ล้านคน
  • - ปากีสถาน 1.6 ล้านคน
  • - เลบานอน 1.1 ล้านคน


6. ปัจจุบัน มีผู้ลี้ภัยประมาณ 100,000 คน อาศัยอยู่ในประเทศไทย


7. พวกเขาอาศัยอยู่ในค่ายพักพิง 9 แห่งในจังหวัดชายแดนระหว่างไทยและพม่า


8. โดยผู้ลี้ภัยเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยที่หนีการสู้รบมาจากประเทศเมียนมา


9. มีผู้ลี้ภัยในเขตเมือง (Urban Refugees) ที่พักพิงอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกราว 8,000 คน


10. ผู้ลี้ภัยในเขตเมืองมาจาก 50 ประเทศทั่วโลก เช่น ปากีสถาน เวียดนาม โซมาเลีย อิรัก ปาเลสไตน์ ซีเรีย ฯลฯ