50 ความสำเร็จด้านสิทธิมนุษยชน
ที่คุณมีส่วนร่วมในปี 2015

ตลอดปี 2015 ผู้สนับสนุนแอมเนสตี้อย่างคุณ และอีกหลายล้านคนทั่วโลก ได้ร่วมกันผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกมากมาย ตั้งแต่การปล่อยตัวนักข่าวและนักกิจกรรม เปลี่ยนกฎหมายการเลือกปฏิบัติ การเยียวยาผู้เสียหายจากการธุรกิจเอกชน การเยียวยาผู้รอดชีวิตจากการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ และอื่นๆ ซึ่งแม้รัฐบาลหลายประเทศจะยังคงเดินหน้าละเมิดสิทธิมนุษยชนและปราบปรามคนเห็นต่างอย่างต่อเนื่องก็ตาม

 

ต่อไปนี้เป็น 50 ความสำเร็จและข่าวดีด้านสิทธิมนุษยชนจากทั่วโลกที่คุณมีส่วนร่วมตลอดปี 2015 ที่ผ่านมา โดยกรณียกฟ้องผู้สื่อข่าวในไทยถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จของแอมเนสตี้ทั่วโลกด้วย ขอบคุณสำหรับการสนับสนุน พวกเราจะยืดหยัดเคียงข้างทุกคนที่ถูกคุกคามสิทธิเสรีภาพต่อไป

 

1.ไนจีเรีย: บริษัทเชลล์จ่ายเงินชดเชยสำหรับเหตุน้ำมันรั่วไหลบริเวณปากแม่น้ำไนเจอร์
หลังการกดดันหลายปีจากแอมเนสตี้และผู้สนับสนุน ในเดือนมกราคม บริษัทในเครือเชลล์ในไนจีเรียได้ประกาศจ่ายเงินจำนวน55 ล้านปอนด์ (ประมาณ 2,800 ล้านบาท) ให้แก่เกษตรกรและชาวประมงจำนวน 15,600 คนในชุมชนโบโด ซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุน้ำมันรั่วไหลโดยเชลล์ถึงสองครั้ง คือในปี 2008 และ 2009

 

2.เมียนมาร์: นายแพทย์ตุน ออง ผู้นำชุมชนและนักกิจกรรมได้รับการปล่อยตัว
นายแพทย์ตุน ออง ได้รับอิสรภาพในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นผลมาจากแคมเปญ Write For Rights ในปี 2013 และการกดดันจากแอมเนสตี้นานกว่า 2 ปี นายแพทย์ตุน อองต้องโทษจำคุกเป็นเวลากว่า 17 ปี หลังพยายามสงบฝูงชนในเหตุจลาจลเมื่อปี 2012

 

3.เอลซัลวาดอร์: กัวดาลูเปติดคุกเพราะแท้งลูกได้รับอิสรภาพ
การ์เมน กัวดาลูเป วาสเกวซ ได้รับการอภัยโทษและได้รับอิสรภาพในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนหน้านั้น เธอต้องโทษจำคุกนานถึง 30 ปีในปี 2007 ข้อหาฆาตรกรรม หลังจากที่เธอต้องทุกข์ทรมานจากการแท้งลูกขณะที่เธออายุเพียง 18 ปี เธอถูกกล่าวหาว่าทำแท้ง ซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเอลซัลวาดอร์

 

4.ฮ่องกง: นายจ้างทำร้ายแรงงานข้ามชาติถูกตัดสินว่ามีความผิด
ในเดือนกุมภาพันธ์ นายจ้างชาวฮ่องกงถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานทารุณกรรมขั้นร้ายแรงต่อแรงงานข้ามชาติชาวอินโดนีเซียสองคน ได้แก่ เออร์เวียนา สุลิสตยานิงสีห์ และตูติก เลสตาริ นิงสีห์ เหตุการร์ดังกล่าวถือเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้มีอำนาจในฮ่องกงเร่งดำเนินการเพื่อยุติการแสวงหาผลประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อแรงงานข้ามชาติต่อไป

 

5.ประเทศเม็กซิโก: ผู้รอดชีวิตจากการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐถูกยกเลิกข้อกล่าวหา
ข้อกล่าวหาต่อกลอเดีย เมดินา หญิงชาวเม็กซิกันที่ถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐและถูกบังคับให้รับสารภาพในปี 2012 ข้อสุดท้ายถูกยกเลิกแล้ว ผู้สนับสนุนจากแอมเนสตี้ทั่วโลกได้ทำการเคลื่อนไหวเรียกร้อความยุติธรรมให้กับเธอ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญยุติการทรมานทั่วโลก

 

6.สามประเทศยกเลิกโทษประหารภายในเวลาเพียงสามเดือน
ในเดือนมกราคม มาดากัสการ์ได้ยกเลิกการใช้โทษประหารสำหรับคดีอาญาทุกประเภท ตามมาติดๆ ด้วยฟิจิในดือนกุมภาพันธ์ ส่วนในเดือนมีนาคม ซูรินามก็ได้ลบโทษประหารออกจากกฎหมายของประเทศแล้วเช่นเดียวกัน

 

7.โตโก: การทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐกลายเป็นอาชญากรรม
ในเดือนมีนาคม โตโกผ่านกฎหมายที่ทำให้การทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐในโตโกกลายเป็นอาชญากรรมแล้ว ข่าวดีดังกล่าวเกิดขึ้น 26 ปีหลังจากที่รัฐบาลโตโกได้ลงนามในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติครั้งแรก

 

8.เม็กซิโก: ผู้รอดชีวิตจากการทรมานได้รับการปล่อยตัว
ในที่สุด เม็กซิโกก็ได้ปล่อยตัวอัลฟองโซ มาร์ติน เดล แกมโป ด็อด ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในคุกมานาน 23 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากคำสารภาพที่ได้จากการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ โดยแอมเนสตี้พยายามแสดงความกังวลมาโดยตลอดว่าในหลายๆ คดี ผู้พิพากษายังคงยอมรับคำให้การที่ได้รับจากการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

 

9.โจแอน บาเอซ และอ้าย เหว่ย เหว่ย ได้รับรางวัลทูตแห่งมโนธรรมสำนึกจากแอมเนสตี้
นักร้องเพลงโฟล์กระดับตำนานอย่างโจแอน บาเอซ และศิลปินระดับโลก อ้าย เหว่ย เหว่ย ซึ่งต่างเป็นนักกิจกรรมตัวยง ได้รับรางวัลทูตแห่งมโนธรรมสำนึกประจำปี 2015 จากแอมเนสตี้ร่วมกันในเดือนมีนาคม ซึ่งรางวัลนี้จะมอบให้กับบุคคลที่มีความเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน

 

10.อินเดีย: นักกิจกรรมที่ถูกจำคุกเพราะครองครองวรรณกรรมเหมาอิสม์ได้รับการปล่อยตัว
นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชน ไจสัน ซี คูเปอร์ และธูชาร์ เนอร์มัล ซาราธี ซึ่งถูกจับกุมในข้อหาครอบครองสิ่งของที่ส่อไปในเชิงสนับสนุนลัทธิสังคมนิยมแบบเหมาอิมส์ในบ้านของพวกเขา ได้รับการประกันตัวในเดือนมีนาคม โดยชาวอินเดียหลายพันคนสนับสนุนแอมเนสตี้ในการรณรงค์เรียกร้องอิสรภาพของพวกเขา

 

11.อาเซอร์ไบจาน: นักโทษทางความคิดสองคนได้รับการปล่อยตัว
บาเชียร์ สูเลมานลี และออร์คาน อิย์ยูปซาเด นักวิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามของประธานาธิบดีแห่งอาเซอร์ไบจาน ได้รับการปล่อยตัวในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอภัยโทษหมู่โดยประธานาธิบดีอิลฮัม อะลีเยฟ แอมเนสตี้รณรงค์เพื่ออิสรภาพของพวกเขาและนักโทษทางความคิดคนอื่นๆ ในอาร์เซอร์ไบจานอีก 20 คนอย่างต่อเนื่อง

 

12.ฟิลิปปินส์: กรณีการถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐของเจอร์รีเม คอร์ จะถูกสอบสวน
ตำรวจฟิลิปปินส์ประกาศว่าจดหมายที่ถูกส่งมากจา “องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน” กระตุ้นให้พวกเขาตรวจสอบการถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐของเจอร์รีเม คอร์ เขาถูกช็อตด้วยไฟฟ้า ต่อย และถูกขู่เอาชีวิต ผู้สนับสนุนจากแอมเนสตี้หลายหมื่นคนได้ร่วมกันแสดงพลังเรียกร้องความยุติธรรมให้เจอร์รีเมผ่านแคมเปญ Write For Rights ปี 2014

 

13.อินเดีย: ชัยชนะแห่งเสรีภาพในการพูด
ในเดือนมีนาคม ศาลสูงสุดอินเดียยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกออนไลน์ ซึ่งเคยถูกใช้เพื่อฟ้องร้องบุคคลหลายคน ซึ่งรวมถึงนักกิจกรรมและนักวิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลด้วย การตัดสินดังกล่าวถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญสำหรับเสรีภาพในการแสดงออกในอินเดีย

 

14.นอร์เวย์: ความก้าวหน้าของสิทธิคนข้ามเพศครั้งประวัติศาสตร์
รัฐบาลนอร์เวย์ประกาศเมื่อเดือนเมษายนว่าจะเปลี่ยนกฎหมายให้เอื้อต่อประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนเพศตามกฎหมายของตัวเอง การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการรณรงค์ของแอมเนสตี้เพื่อจอห์น จีนเน็ต โซลสตาด เรโม ผู้หญิงข้ามเพศที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเพศตามกฎหมายของเธอได้ เพราะไม่ผ่านกระบวนการทางการแพทย์ภาคบังคับสำหรับคนข้ามเพศ

 

15.จีน: นักสิทธิสตรีห้าคนได้รับการประกันตัว (#FreeTheFive)
ทางการจีนยอมให้ประกันตัวนักกิจกรรมด้านสิทธิสตรีจำนวนห้าคนในวันที่ 13 เมษายน หลังจากถูกกดดันจากการรณรงค์ทั่วโลกเพื่ออิสรภาพของพวกเธอ นักกิจกรรมทั้งห้าประกอบไปด้วยเหว่ย ถิงถิง, หวาง มาน, วู หรงหรง, หลี่ ถิงถิง และเจิ้ง ชูหราน โดยทั้งหมดถูกจับกุมข้อหาวางแผนเพื่อเปิดตัวแคมเปญต่อต้านความรุนแรงทางเพศเนื่องในวันสตรีสากล

 

16.กัมพูชา: 10 นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงได้รับการปล่อยตัว
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงจำนวน 10 คนในกัมพูชาได้รับการปล่อยตัว รวมถึงได้รับการพระราชทานอภัยโทษในเดือนเมษายน โดยผู้หญิง 9 จาก 10 คนในนั้นมาจากทะเลสาบบึงแขก ซึ่งชาวบ้าน 3,500 ครัวเรือนถูกขับไล่รื้อถอนตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2008

 

17.จีน: โทษประหารของหลี่เอี๋ยน ถูกลดเป็นโทษจำคุก
ในเดือนเมษายน ทางการจีนเปลี่ยนจากโทษประหารของหลี่เอี๋ยน เป็นโทษจำคุก เธอฆาตกรรมสามีที่ชอบใช้กำลัง โดยเธอต้องทนทุกข์กับความรุนแรงในครอบครัวมานานหลายเดือนก่อนจะลงมือฆาตกรรม การลดโทษดังกล่าวคาดว่ามาจากความประพฤติในคุกที่ดีหลังติดคุกมาได้สองปี

 

18.สหรัฐอเมริกา: การสอดแนมประชาชนพ่ายแพ้ครั้งใหญ่
การสอดแนมการสื่อสารของประชาชนโดยรัฐบาลอเมริกาประสบความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญในวันที่ 7 พฤษภาคม เมื่อศาลอุธรณ์ตัดสินว่าการที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) เก็บประวัติการโทรของประชาชนจำนวนมากนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ชาวอเมริกันกว่า 100,000 คนร่วมลงนามในแคมเปญ #UnfollowMe เพื่อบอกให้รัฐบาลยุติการสอดแนมพวกเขา

 

19.สหรัฐอเมริกา: โอมาร์ คาดีร์ ได้รับการปล่อยตัว
ในเดือนพฤษภาคม โอมาร์ คาดีร์ ได้รับการปล่อยตัวหลังจากใช้ชีวิตอยู่ในคุกนานกว่า 12 ปี ณ สถานที่สุดฉาวอย่างคุกกวนตานาโม โอมาร์มีอายุเพียง 15 ปีตอนที่ทหารอเมริกันจับกุมเขาในประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี 2002 โดยนักกิจกรรมแอมเนสตี้ทั่วโลกได้รณรงค์เพื่อเรีกยร้องให้สหรัฐอเมริกาปล่อยตัวเขา

 

20.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์: สามพี่น้องได้รับการปล่อยตัวจากสถานกักกันลับ
หลังการเรียกร้องจากสังคมออนไลน์ทั่วโลก อัสมา, มารีแอม และอัลยาเซีย อัล สุวัยดี สามพี่น้องชาวเอมิเรตส์ ได้รับการปล่อยตัวจากสถานกักกันลับในวันที่ 15 พฤษภาคม การทวีตข้อความเกี่ยวกับการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมของพี่ชายของพวกเธอทำให้สามพี่น้องถูกสอบปากคำจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและหายตัวไปนานสามเดือนนับตั้งแต่ดือนกุมภาพันธ์

 

21.ไอร์แลนด์ ชาวไอริชโหวตสนับสนุนการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน
ในเดือนพฤษภาคม ไอร์แลนด์กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ผ่านกฎหมายการแต่งงานที่ครอบคลุมการแต่งงานของคนเพศเดียวกันผ่านการลงประชามติ โคล์ม โอกอร์มัน ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไอร์แลนด์ กล่าวว่า “เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการส่งข้อความถึงกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศทุกคนว่าพวกเขา ความสัมพันธ์ของพวกเขา และครอบครัวของพวกเขานั้นมีความหมาย”

 

22. ไนจีเรีย: ผู้รอดชีวิตจากการทรมานได้รับการอภัยโทษ
ในวันที่ 28 พฤษภาคม โมเสส อากาตูบา ชายชาวไนจีเรียได้รับการอภัยโทษหลังถูกจำคุกนานเกือบ 10 ปี เขาถูกทรมานโดยเข้าหน้าที่รัฐเพื่อให้รับสารภาพในคดีอาญาที่เขายืนยันว่าไม่ได้มีส่วนร่วม ทั้งหมดเป็นเหตุให้นักกิจกรรมแอมเนสตี้กว่า 800,000 คนร่วมกันส่งจดหมายไปยังไนจีเรียเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้เขา

 

23.สหรัฐอเมริกา: ชิคาโก้ตกลงที่จะจ่ายค่าชดเชยให้ผู้รอดชีวิตจากการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
ในที่สุด สภานครชิคาโก้ก็มีมติจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้รอดชีวิตจากการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นผลมาจากอคติด้านเชื้อชาติของตำรวจ ภายใต้การนำของจอน เบอร์จ อดีตผู้บัญชาการตำรวจชิคาโก มติดังกล่าวมีขึ้นหลังจากแอมเนสตี้ ผู้สนับสนุน และองค์กรพันธมิตรร่วมกันรณรงค์ในประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

 

24.อิตาลี: ชัยชนะของชนกลุ่มน้อยในกรุงโรม
ในเดือนพฤษภาคม ศาลอิตาลีได้ตัดสินว่าการสั่งย้ายครอบครัวชาวโรมานีไปยังค่ายแบ่งแยกเชื้อชาตินอกกรุงโรมถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย คำตัดสินครั้งสำคัญนี้ตเกิดขึ้นหลังจากการรณรงค์เป้นเวลานานหลายปีของแอมเนสตี้ควบคู่ไปกับประเด็นอื่นๆ เพื่อยุติการขับไล่ แบ่งแยก และเลือกปฏิบัติต่อชาวโรมานีในอิตาลี

 

25.สหรัฐอเมริกา: ศาลสูงสุดรับรองสิทธิการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน
ในเดือนมิถุนายน ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาได้แถลงผลการพิจารณาที่ระบุว่าคู่รักเพศเดียวกันทั่วประเทศมีสิทธิที่จะแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย สตีเวน ดับเบิ้ลยู ฮอว์คินส์ ผู้อำนวยการแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นเนลที่สหรัฐอเมริกา ระบุว่า “นี่เป็นวันที่ดี ไม่ใช่แค่สำหรับคู่รักเพศเดียวกันเท่านั้น แต่ยังเป็นวันดีสำหรับทุกคนที่เชื่อมั่นในสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกันด้วย”

 

26.สวาซิแลนด์: สองนักโทษทางความคิดได้รับการปล่อยตัว
เบกิตเธมบา มาคูบู บรรณาธิการนิตยสารและนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน ธูลานี่ มาเซโก้ ได้รับการปล่อยตัวในเดือนมิถุนายน หลังจากใช้เวลาอยู่ในคุกนานกว่า 15 เดือน พวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากการตีพิมพ์บทความที่แดสงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นกลางของผู้พิพากษาในประเทศ

 

27.ชาด: นักกิจกรรมที่ติดคุกด้วยข้อหาดูหมิ่นศาลได้รับการปล่อยตัว
ในเดือนกรกฎาคม เดียราลาร์ เมียนเคโอล์ นักกิจกรรมด้านสิทธิที่ดิน ได้รับการปล่อยตัวจากคุก หลังจากข้อกล่าวต่อเขาทั้งหมดถูกยกฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ได้พลิกคำตัดสินก่อนหน้าที่ระบุให้เขามีความผิดฐานดูหมิ่นศาล ในกรณีที่เขาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของบุคลากรศาลผ่านการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุ

 

28.เมียนมา: นักโทษทางความคิดได้รับการปล่อยตัว
นักโทษทางความคิดอย่างน้อย 11 คน ซึ่งรวมถึงนักข่าว ผู้เข้าร่วมการประท้วงอย่างสงบ และผู้นำชุมนุมชาวโรฮิงญาที่ถูกกดขี่ ได้รับการปล่อยตัวแล้วในการนิรโทษกรรมหมู่โดยรัฐบาลเมียนมา โดยแอมเนสตี้ได้เรียกร้องให้ทางการเมียนมาร์ปล่อยตัวผู้ที่ติดคุกจากการใช้สิทธิของตนอย่างสงบมาโดยตลอด

 

29.ซีเรีย: มาเซ่น ดาร์วิช นักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้รับอิสรภาพ
มาเซ่น ดาร์วิช นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกใส่ร้ายจนต้องโทษจำคุกในข้อหาก่อการร้าย ได้รับการปล่อยตัวแล้วในเดือนสิงหาคม หลังจากใช้เวลาในคุกถึงสามปีครึ่ง เขาเป็นผู้อำนวยการศูนย์สื่อและเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งทำงานเพื่อเก็บข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษชนในซีเรีย

 

30.ซูดาน: นักบวชที่ถูกจับเพราะความเชื่อทางศาสนาสองคนได้รับการปล่อยตัว
บาทหลวงยัต ไมเคิล และบาทหลวงปีเตอร์ เยน ซึ่งเป็นชาวซูดานใต้ ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม หลังจากถูกตัดสินโทษจำคุกที่น้อยกว่าระยะเวลาที่พวกเขาติดคุกจริงในกรุงคาร์ทูม เมืองหลวงของซูดาน เชื่อกันว่านักบวชทั้งสองคนถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาของพวกเขา

 

31.ไทย: นักข่าวที่ถูกกองทัพเรือฟ้องถูกยกฟ้อง
ศาลไทยยกฟ้องสองนักข่าวในเดือนกันยายน กรณีที่ทั้งคู่ถูกฟ้องร้องจากการเผยแพร่ส่วนหนึ่งของบทความเกี่ยวกับขบวนการค้ามนุษย์ในไทย ศาลพบว่า อลัน มอริสัน บรรณาธิการ และชุติมา สีดาเสถียร นักข่าว ไม่มีความผิดตามข้อหาหมิ่นประมาทและความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด

 

32.อียิปต์: นักข่าวอัลจาซีราได้รับการปล่อยตัว
มูฮัมหมัด ฟาห์มี และบาเฮอร์ มูฮัมหมัด นักข่าวและทีมงานสำนักข่าวอัลจาซีราของกาตาร์ ได้รับการปล่อยตัวแล้วเมื่อเดือนกันยายน โดยเป็นส่วนหนึ่งของคำสั่งประธานาธิบดีอียิปต์ที่ให้อภัยโทษหมู่จำนวน 100 คนในประเทศ ทั้งนี้ พวกเขาจับกุมนี 2013 และถูกลงโทษจากการกระทำที่ทางการอียิปต์ระบุว่าเป็น “การเผยแพร่ข่าวเท็จ” พร้อมกับปีเตอร์ เกรสต์ เพื่อนร่วมงานอีกคนหนึ่ง

 

33.ยุโรป: การลงมือช่วยเหลือผู้ลี้ภัยของอาสาสมัคร
ตั้งแต่กรีซไปจนถึงเยอรมนี อาสาสมัครร่วมแรงร่วมใจเพื่อช่วยจัดหาอาหาร เสื้อผ้า และการรักษาพยาบาลให้กับผู้ลี้ภัยและคนต่างด้าวที่เพิ่งจะเดินทางมาถึง ซึ่งช่วยอุดช่องว่างที่เห็นได้ชัดของระบบรองรับผู้ลี้ภัยที่ล้มเหลวในสหภาพยุโรป ส่วนผู้นำในภูมิภาคยังคงพยายามหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไป

 

34.เคนยา: ทางการรับผิดและสัญญาจะจ่ายเงินชดเชยแก่สองชุมชนที่ถูกขับไล่รื้อถอน
มีข่าวดีในเดือนตุลาคมสำหรับสองชุมชนซึ่งเดือดร้อนจากการขยายถนนในเขตมอมบาซา หน่วยงานด้านคมนาคมยอมรับว่าขับไล่ประชาชนกว่า 100 คนออกจากบ้านของพวกเขานั้นเป็นความผิด พร้อมทั้งให้คำมั่นสัญญาด้วยว่าจะจ่ายค่าชดเชย ตลอดจนเตรียมแผนสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องย้ายถื่นฐานจากโครงการดังกล่าวด้วย

 

35.แอฟริกาใต้: การบริการด้านสุขภาพที่ดีขึ้นสำหรับผู้หญิงในเมืองเมคอนโด
ตอนนี้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในเมืองเมคอนโดของแอฟริกาใต้มีการเข้าถึงการดูแลสุขภาพการตั้งครรภ์ที่ดีขึ้น คลินิกแห่งหนึ่งในเมืองให้บริการดูแลสุขภาพการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก 2 เป็น 7 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งสามารถลดระยะเวลาการรอคิวได้อย่างมาก นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลได้เดินทางไปเยี่ยมเมืองเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ด้วย

 

36.เวียดนาม: บล็อกเกอร์ตา ฟอง เติ่น ได้รับการปล่อยตัว
บล็อกเกอร์และนักพูดอิสระชาวเวียดนาม ตา ฟอง เติ่น ได้รับการปล่อยตัวแล้วในเดือนกันยายน หลังต้องติดคุกเป็นเวลากว่า 4 ปี จากการถูกตัดสินให้จำคุกทั้งหมด 10 ปี เธอถูกลงโทษด้วยข้อหา “เผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อ” ในเชิงต่อต้านภาครัฐ

 

37.คิวบา: ศิลปินกราฟฟิตี้และนักโทษทางความคิดได้รับการปล่อยตัว
ศิลปินด้านกราฟฟิตี้และนักโทษทางความคิดชาวคิวบา ดานิโล มัลโดนาโด มาชาโด ได้รับการปล่อยตัวจากคุกในกรุงฮาวานาเมื่อเดือนตุลาคม เขาอยู่ในคุกนานเกือบหนึ่งปี หลังจากที่วาดรูป “ราอูลและฟีเดล” สองผู้นำคิวบาบนหลังของหมูสองตัว แอมเนสตี้หวังว่าการปล่อยตัวดังกล่าวจะนำไปสู่แนวทางใหม่ในการปฏิบัติต่อเสรีภาพในการแสดงออกและการต่อต้านของรัฐบาลคิวบา

 

38.ศรีลังกา: ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับเหยื่อจากสงคราม
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติผ่านมติครั้งสำคัญที่เปิดโอกาสให้เหยื่อจากสงครามและการต่อสู้ด้วยอาวุธในศรีลังกามีสิทธิเรียกร้องความยุติธรรมและเสาะหาความจริง มติดังกล่าวครอบคลุมอาชญากรรมของคู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายในสงคราม

 

39.อียิปต์: พยาน 17 คนที่ถูกคุกคามทางกฎหมายถูกยกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ยึดคำตัดสินยกฟ้องอัซซา โซลิแมน นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อสตรีและคนอื่นๆ อีก 16 คนซึ่งอยู่ร่วมเหตุการณ์ที่กองกำลังฝ่ายความมั่นคงอียิปต์สังหารนักกิจกรรมและกวีอย่าง เชียมา อัล ซับแบกห์ ทั้ง 17 ถูกกลั่นแกลงด้วยการตั้งข้อหาที่กุขึ้นมาหลังจากที่พวกเขาได้ขึ้นให้การต่อศาลในฐานะพยาน อัซซา โซลิแมน ได้กล่าวขอบคุณแอมเนสตี้สำหรับการสนับสนุนและการแสดงพลัง

 

40.ซูดาน: ศาลพลิกคำตัดสิน ไม่เฆี่ยนวัยรุ่นที่โดนข้อหาแต่งตัวไม่เหมาะสม
ศาลอุทธรณ์ซูดานพลิกคำตัดสินคดีของเฟอดัส อัล ทูม วัยรุ่นที่เคยถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานแต่งตัวไม่เหมาะสมและผิดศีลธรรม โดยมีโทษถูกเฆี่ยน 20 ครั้งและถูกปรับเป็นเงิน 500 ปอนด์ซูดาน (ประมาณ 2,900 บาท) แอมเนสตี้เชื่อว่าการพลิกคำตัดสินดังกล่าวมาจากการเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุนและแรงกดดันจากต่างประเทศ

 

41.สหรัฐอเมริกา: ชาเกอร์ อาเมอร์ ได้รับการปล่อยตัวจากคุกกวนตานาโม
ชาเกอร์ อาเมอร์ ผู้ต้องขังคุกกวนตานาโมได้รับอิสรภาพแล้ว หลังจากถูกขังโดยไม่มีการดำเนินคดีหรือการไต่สวนใดๆ นานกว่า 13 ปี เขาเป็นหนึ่งในผู้ต้องขังที่ถูกส่งไปยังคุกดังกล่าวในปี 2002 และเป็นผู้พำนักของอังกฤษคนสุดท้ายที่ถูกกักขัง ณ คุกแห่งนี้ แอมเนสตี้และผู้สนับสนุนร่วมกันเรียกร้องอิสรภาพให้เขามานานกว่า 10 ปี

 

42.จีน: นักโทษทางความคิดได้พบครอบครัวอีกครั้ง
ในเดือนตุลาคม เฉิน เจิ้นผิง อดีตนักโทษทางความคิดได้พบกับครอบครัวของเธออีกครั้งที่ฟินแลนด์ เธอได้รับการปล่อยตัวจากคุกในจีนเมื่อเดือนมีนาคม แต่ยังคงถูกคุกคามและสอดแนมอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะเดินทางถึงสนามบินเฮลซิงกิ เธอถูกตัดสินจำคุก 8 ปีเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2008 เนื่องจากการบำเพ็ญตนแบบฝ่าหลุนต้าฝ่า ซึ่งเป็นขบวนการด้านจิตวิญญาณที่ถูกแบนในจีน

 

43.อัฟกานิสถาน: นักกิจกรรมถูกช่วยเหลือจากอันตรายของกลุ่มตาลีบัน
ในเดือนตุลาคม แอมเนสตี้ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่นเพื่ออพยพคน 40 คน ซึ่งรวมถึงนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและสมาชิกครอบครัวของพวกเขา หลังกลุ่มตาลีบันเข้ายึดจังหวัดคุนดูซ และนำกำลังเข้าบุกจังหวัดอื่นอีกสองจังหวัด ตลอดปี แอมเนสตี้ได้บันทึกตัวเลขที่น่ากลัวเกี่ยวกับการโจมตีผู้หญิง ไปจนถึงผู้ชายที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิสตรีและเด็กผู้หญิงด้วย

 

44.อียิปต์: นักข่าวด้านสิทธิมนุษยชนได้รับอิสรภาพ
ฮอสซัม บากัต นักกิจกรรมและนักข่าวได้รับการปล่อยตัว หลังจากที่แอมเนสตี้และประชาคมโลกออกมาประณามการจับกุมของเขา การที่เขาถูกคุมขังนับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่ระบุว่ารัฐบาลอียิปต์ยังคงคุกคามสื่ออิสระและภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง

 

45.อินโดนีเซีย: นักกิจกรรม ฟิเลป การ์มา ได้รับการปล่อยตัว
ในที่สุด นักกิจกรรมเพื่อเอกราชปาปัว ฟิเลป การ์มา ก็ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำในเดือนพฤศจิกายน เขาต้องอยู่ในคุกมานานกว่าหนึ่งทศวรรษ หลังจากชูธงเอกราชปาปัวกลางงานเลี้ยงเมื่อปี 2004 ผู้สนับสนุนจากแอมเนสตี้ได้รณรงค์เพื่ออิสรภาพของเขามาอย่างยาวนาน ซึ่งรวมถึงงานเขียน 65,000 ชิ้นแคมเปญ Write For Rights ปี 2011 ด้วย

 

46.อินเดีย: นักร้องเพลงเสียดสีได้รับการปล่อยตัว
นักร้องเพลงโฟล์กและนักกิจกรรม เอส สิวาดาส หรือ โควาน ซึ่งถูกจับกุมจากเพลงสองเพลงที่มีเนื้อหาเสียดสีวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลท้องถิ่นและคณะรัฐมนตรีของรัฐทมิฬนาฑู ได้อนุญาตให้ประกันตัว ชาวอินเดียมากกว่า 13,000 คนร่วมสนับสนุนแคมเปญของแอมเนสตี้ในการเรียกร้องอิสรภาพของเขา

 

47.เม็กซิโก: สองผู้รอดชีวิตจากการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐได้รับการปล่อยตัว
สองผู้รอดชีวิตจากการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐทางตอนเหนือของเม็กซิโกได้รับการปล่อยตัวในเวลาใกล้เคียงกันเมื่อเดือนธันวาคม อาเดียน วาสเควซ คนขับรถบัสและคุณพ่อลูกสี่ ติดคุกนานกว่าสามปีหลังจากที่เขาถูกทรมานโดยตำรวจและถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกระดับสูงของขบวนการค้ายาเสพติด และไม่กี่ชั่วโมงต่อมา กรีสเตล ปีญา คุณแม่ลูกสองวัย 25 ปีได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน เธอถูกทุบตีอย่างหนักและถูกทรมานด้วยความรุนแรงทางเพศเพื่อให้รับสารภาพจนต้องติดคุกนานกว่าสองปี

 

48.มองโกเลียยกเลิกการใช้โทษประหาร
ในเดือนธันวาคม มองโกเลียกลายเป็นประเทศล่าสุดที่ทำให้การประหารชีวิตกลายเป็นเพียงประวัติศาสตร์ ซึ่งถือเป็นชัยชนะด้านสิทธิมนุษยชนครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ การยกเลิกดังกล่าวมาจากแรงถูกกดดันของแอมเนสตี้และผู้สนับสนุน

 

49.อาเซอร์ไบจาน: นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนได้รับอิสรภาพ
เลย์ลา ยูนูส นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป้นที่รู้จักที่สุดคนหนึ่งของประเทศ ได้รับการปล่อยตัวแล้วในเดือนธันวาคม หลังถูกตัดสินข้อหา "ฉ้อโกง" และอาชญากรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านองค์การนอกภาครัฐ (NGO) ของเธอเมื่อเดือนสิงหาคม

 

50.เมียนมา: นักกิจกรรมที่ประท้วงอย่างสงบได้รับการปล่อยตัว
นักกิจกรรมชาวเมียนมา เต็งอองมี้น ได้รับการลดโทษและถูกปล่อยตัวออกจากคุกแล้ว โดยก่อนหน้านั้น เขาต้องติดคุกมานานกว่าหนึ่งปี กรณีมีส่วนร่วมในการประท้วงอย่างสงบสองครั้งที่มัณฑะเลย์