ประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ...ความงดงามในเสรีภาพการแสดงออก”

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยจัดกิจกรรมการประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อ “สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ...ความงดงามในเสรีภาพการแสดงออก” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 80,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปผู้มีใจรักในการถ่ายภาพ ร่วมกันถ่ายทอดความคิดและสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับสิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับการคุ้มครอง รวมทั้งสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก การรวมตัวและสมาคมด้วย ซึ่งรัฐบาลของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยต้องไม่จำกัดเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบ เพราะสิทธิเหล่านี้ได้รับการรับรองภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

โดยภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจากการประกวดครั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยจะนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชนผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ และช่องทางอื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการรณรงค์เรื่องสิทธิในเสรีภาพการชุมนุม การประชาสัมพันธ์กิจกรรม และภารกิจที่เกี่ยวข้องของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) ต่อไป

 

ประเภทรางวัล

1. เยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี 

ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี  (นับอายุจนถึงสิ้นปี 2563)  โดยไม่จำกัดวุฒิการศึกษา

2. ประเภทประชาชนทั่วไป

 

โดยแต่ละประเภทประกอบไปด้วยรางวัลดังต่อไปนี้ 

รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 15,000 บาท พร้อมโล่พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

รางวัลชมเชย จำนวน 4 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมโล่พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

รางวัลป๊อปปูล่า โหวต 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมโล่พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

 

ผู้ประสงค์จะส่งภาพถ่ายเข้าประกวด สามารถส่งได้ที่นี่

ประเภทเยาวชน

ประเภทบุคคลทั่วไป

ระยะเวลาที่เปิดรับภาพคือ วันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2563 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อคุณเนาวรัตน์  โทร. 02-513-8745 089-922-9585 

กติกา และเงื่อนไขในการประกวด

กติกา

1. ผู้สมัคร 1 คน สามารถส่งภาพเข้าประกวดได้ไม่เกิน 3 ภาพ

2. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวด ต้องเป็นภาพถ่ายที่ถ่ายด้วยตนเอง และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ต้องเป็นภาพถ่ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันหมดเขตรับภาพ (15 พฤศจิกายน 2563)

3. ไฟล์ที่นำส่งต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 5 ล้านพิกเซล (2560x1920 พิกเซลขึ้นไป) เป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิตัล (DSLR, Mirrorless, Compact, Action camera หรือกล้องจากโทรศัพท์มือถือ) หรือจะเป็นกล้องฟิล์มโดยให้แสกนเป็นไฟล์ดิจิตอลตามขนาดที่กำหนด ทั้งนี้การประกวดไม่เปิดรับภาพที่ถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (โดรน)

4. ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นภาพสีเท่านั้น สามารถตกแต่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพของภาพได้แต่ต้องไม่เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ต้องไม่ปรับสีสันจนผิดไปจากธรรมชาติที่ควรเป็นหรือจนเสียคุณภาพเชิงเทคนิคของภาพและต้องไม่มีการตัดต่อ การลบหรือการเพิ่ม หรือการกระทำการใดๆ ที่ส่งผลต่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในภาพ

5. ภาพที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟิกใดๆ ลงบนภาพ รวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ

6. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใด ๆ มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นการประกวดในเวทีสาธารณะ หรือการประกวดภายในของสมาคม ชมรม หรือองค์กรอื่นใด

7. ไฟล์ภาพถ่ายทุกไฟล์ที่ส่งเข้าประกวด แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยจะไม่ส่งคืนให้ผู้เข้าร่วมประกวด นอกจากนี้แล้วผู้ที่ส่งภาพเข้าประกวดต้องรักษาภาพต้นฉบับไว้ ในกรณีที่คณะกรรมการตัดสินภาพมีข้อสงสัย สามารถเรียกให้ผู้เข้าร่วมประกวดแสดงภาพต้นฉบับได้

8. ภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องกรรมสิทธิ์ภาพจากหน่วยงานต่าง ๆ รวมไปถึงต้องไม่ใช่ภาพที่ส่งขายตาม Stock Photo ทุกแห่ง ทั้งนี้ผู้จัดการประกวดจะไม่รับผิดชอบเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เจ้าของผลงานมีสัญญาผูกพันต่อบุคคลหรือหน่วยงานใด ๆ ซึ่งเจ้าของผลงานต้องเป็นผู้รับผิดชอบในกรณีนี้เอง

9. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) มีสิทธิ์ที่จะนำภาพถ่ายทุกภาพที่ได้รับรางวัลไปเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ  เพื่อรณรงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แก่เจ้าของภาพ และไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้าภายในระยะเวลา 4 ปี นับจากวันประกาศผลรางวัล ทั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) จะระบุชื่อเจ้าของผลงานให้ทุกครั้งที่นำภาพถ่ายไปใช้ และเมื่อพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว หากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) มีความประสงค์จะใช้ภาพใด แอมเนสตี้ ประเทศไทยจะติดต่อขออนุญาตจากเจ้าของภาพก่อนเป็นรายกรณี

10. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) มีสิทธิ์นำภาพที่เข้าร่วมการประกวดไปเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ สื่อโซเชียลมีเดีย สื่อออนไลน์ เว็บไซต์ การแสดงนิทรรศการ การตีพิมพ์ภาพลงในสูจิบัตร รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ขององค์กร เฉพาะที่เป็นกิจกรรมที่ไม่หวังผลทางการค้าได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของภาพทราบล่วงหน้าภายใน 2 ปี และจะมีระบุชื่อเจ้าของผลงานทุกครั้งที่นำภาพถ่ายไปใช้ และเมื่อพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว หากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ทั่วโลก) มีความประสงค์จะใช้ภาพใด แอมเนสตี้ ประเทศไทยจะติดต่อขออนุญาตจากเจ้าของภาพก่อนเป็นรายกรณี

11. เจ้าหน้าที่และกรรมการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และคณะกรรมการตัดสินรางวัลไม่มีสิทธิ์ร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในครั้งนี้

12. การพิจารณาผลงานขึ้นกับดุลพินิจของกองประกวด และการตัดสินของกองประกวดถือเป็นที่สิ้นสุด หากปรากฏว่าภาพที่เข้าประกวดไม่เป็นไปตามกติกาข้อใดข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ส่งภาพเข้าประกวด ไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกติกาไม่ครบถ้วน คณะกรรมการฯ มีอำนาจในการตัดสินผู้ส่งภาพเข้าประกวด และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ส่งภาพเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้น

13. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด และเงื่อนไข รวมถึงของรางวัล โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา 

1. ภาพถ่ายสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและความงามของเสรีภาพในการแสดงออก

2. ภาพถ่ายสามารถสะท้อนมุมมองของผู้ถ่ายภาพในเชิงสร้างสรรค์

3. ภาพถ่ายมีคุณค่าและความงามในเชิงศิลปะ

 

ช่องทางการสมัครเข้าร่วมโครงการ

ผู้ประสงค์จะส่งภาพถ่ายเข้าประกวดได้ตามลิงก์แบบฟอร์มในเว็บไซต์ www.amnesty.or.th

โดยระยะเวลาที่เปิดรับภาพคือ วันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2563 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อคุณเนาวรัตน์  โทร. 02-513-8745 089-922-9585 

 

ระยะเวลาดำเนินการ

เปิดรับผลงานระหว่างวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2563

ประกาศผลรอบแรกวันที่ 21 ธันวาคม 2563 

ประกาศผลงานที่ผ่านเข้าชิงรางวัล 10 มกราคม 2564

ประกาศผลรางวัลและพิธีรับมอบในงานประกวด “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” 28มกราคม 2564 

หมายเหตุ วันเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

คณะกรรมการตัดสิน (The Panel of Judges)

1. สุภิญญา กลางณรงค์ Cofact Thailand

2. ผศ. กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร กลุ่มวิชาภาพยนตร์​และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์​และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์

​3. ยศธร ไตรยศ ช่างภาพ จาก Realframe

4.ภานุมาศ สงวนวงษ์ ช่างภาพ จาก Thai News Pix

5. ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย