สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 19 พฤจิกายน – 25 พฤจิกายน 2565

เกาหลีใต้ : คำตัดสินของศาลฎีกาเกี่ยวกับการรองรับเพศสภาพตามกฎหมายเป็นก้าวสำคัญเพื่อสิทธิของคนข้ามเพศ

24 พฤศจิกายน 2565

คำตัดสินของศาลฎีกาเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ว่าเรื่องการมีบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่ควรเป็นเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับรองเพศตามกฎหมายของคนข้ามเพศในทันที นับเป็นก้าวสำคัญของสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

“คำตัดสินของศาลฎีกาในครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้มีการรับรองสิทธิของคนข้ามเพศมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นหนทางที่ยาวไกลเนื่องจากว่ายังคงมีการเลือกปฏิบัติและการตีตราบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างมากในสังคมเกาหลีใต้ ” จีฮิว ยุน ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เกาหลีใต้ กล่าว

อ่านต่อ: https://www.amnesty.or.th/latest/news/1059/

.

แอลจีเรีย : การหายตัวไปของนักกิจกรรมทางการเมืองต้องมีการสอบสวนที่มีประสิทธิภาพและเป็นกลาง

23 พฤศจิกายน 2565

ทางการแอลจีเรียต้องรับรองว่าการสอบสวนคดีบังคับสูญหาย 20 วันของนักกิจกรรม อับเดลฮามิด บูซีซา นั้นเป็นอิสระ มีประสิทธิภาพและเป็นกลาง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

องค์กรตุลาการในทเลมเซนมีคำสั่งให้เปิดการสอบสวนในเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ต้องก็ตามในคดีอย่างน้อยสามคดีที่ได้รับการบันทึกโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล การสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนในแอลจีเรีย เช่น การเสียชีวิตอย่างน่าสงสัยในระหว่างถูกควบคุมตัว หรือการทรมานนักกิจกรรมจากฝีมือของตำรวจที่ไม่ได้ส่งผลให้เกิดความยุติธรรมและมีการเยียวยาต่อเหยื่อ

ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ทางการแอลจีเรียได้ใช้บทบัญญัติต่อต้านการก่อการร้ายในประมวลกฎหมายอาญาอย่างกว้างขวางเพื่อดำเนินคดีกับนักกิจกรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่แสดงความคิดเห็นแย้งทางออนไลน์หรือเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงโดยสงบ

อ่านต่อ: https://bit.ly/3gG9n9k

.

COP27 : กองทุนว่าด้วยความสูญเสียและความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ความล้มเหลวในการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่

21 พฤศจิกายน 2565

สืบเนื่องจากผลการประชุมรัฐสภากรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27

เชียรา ลิกูโอริ ที่ปรึกษาทางด้านความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

“ นี่เป็นเรื่องราวสองอย่างของการประชุม อย่างแรกคือการยินดีกับการยอมรับกองทุนว่าด้วยความสูญเสียและความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศ แต่เรื่องที่ไม่น่ายินดีนั้น คือแม้ว่าจะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงขึ้น การเจรจาล้มเหลวในการรักษาความมุ่งมั่นที่สำคัญในการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมด ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนอันดับหนึ่งของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ”

“ในแง่ของภัยพิบัติที่เกิดจากสภาพอากาศที่รุนแรงที่เราได้เห็นไปในปีที่แล้ว และรายงานที่เพิ่มขึ้นจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเอกสารอื่นๆ ที่บันทึกทั้งผลกระทบและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความล้มเหลวในการดำเนินการจัดการกับเชื้อเพลิงฟอสซิลนี้แสดงให้เห็นถึงการละทิ้งข้อผูกพันด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเลวร้ายและไม่คำนึงถึงสิทธิของผู้ที่ได้รับผลกระทบและลูกหลานในอนาคต ”

อ่านต่อ: https://bit.ly/3U5ZVd2

.

กาตาร์ : FIFA ล้มเหลวในการรักษาความสำคัญของสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมจากการขู่ลงโทษผู้เล่น

21 พฤศจิกายน 2565

สืบเนื่องจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ขู่ลงโทษนักเตะที่สวมปลอกแขน One Love ลงสนามในศึกฟุตบอลโลกในปีนี้เพื่อแสดงออกถึงการสนับสนุนชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ

สตีฟ ค็อกเบิร์น หัวหน้าฝ่ายความยุติธรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า

“ การขู่ลงโทษผู้เล่นในนาทีสุดท้ายสำหรับการใส่ปลอกแขนเพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมคือตัวอย่างล่าสุดของ FIFA ในความล้มเหลวในการรักษาคุณค่าและความรับผิดชอบของตนเองอย่างเต็มที่ กีฬาไม่ได้แยกออกจากสิ่งอื่นๆ โดยสิ้นเชิงและสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ FIFA ควรเป็นผู้นำ ไม่ใช่มาปราบปราม ข้อตกลงเกี่ยวกับปลอกแขนและการคุ้มครองชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศให้ดีขึ้น ควรเป็นสิ่งที่ทำตั้งนานแล้ว ”

“ และอย่าลืมแรงงานข้ามชาติที่ทำให้การแข่งขันนี้เป็นไปได้ พวกเขาจะต้องได้รับการชดเชยอย่างเต็มจำนวนสำหรับการละเมิดสิทธิที่พวกเขาได้รับโดยไม่สามารถพูดออกมาได้ ”

อ่านต่อ: https://bit.ly/3idwuJ2

.

อินเดีย : รัฐบาลควรรับและปฏิบัติตามคำแนะนำที่เกิดขึ้นในการทบวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติโดยทันที

21 พฤศจิกายน 2565

รัฐบาลอินเดียควรรับและปฏิบัติตามคำแนะนำจากรัฐสมาชิกสหประชาชาติในกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2022 กลุ่มสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหกกลุ่มกล่าวเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา คำแนะนำดังกล่าวครอบคลุมข้อกังวลที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ การปกป้องชุมชนชนกลุ่มน้อยและกลุ่มเปราะบาง การแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศสภาพ ส่งเสริมเสรีภาพของภาคประชาสังคม การปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และยุติการทรมานในระหว่างถูกควบคุมตัว

โดยมีกลุ่มต่างๆ ดังนี้ สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights – FIDH), องค์กรต่อต้านการทารุณกรรมโลก (World Organisation Against Torture – OMCT), กรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี (Commission on the Status of Women – CSW), International Dalit Solidarity Network, แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และฮิวแมนไรท์วอทช์

อ่านต่อ: https://bit.ly/3AKBuv7

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแอมเนสตี้
บริจาคสนับสนุนแอมเนสตี้