จากทำลายธรรมชาติ สู่สถานการณ์ละเมิดสิทธิ

1 พฤศจิกายน 2561

 

แอมเนสตี้ออกคำเตือนว่า ตัวเลือกในการลดประมานคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่บนบรรยากาศล้วนแต่นำไปสู่ความเสี่ยงละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

ในปัจจุบันที่ประชากรนับไม่ถ้วนต้องเผชิญกับภัยทางธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้นเพราะสภาวะโลกร้อน รัฐบาลจะต้องทุ่มเทให้กับการลดปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศมากยิ่งขึ้น ไม่อย่างนั้นจะต้องรับผิดชอบต่อการเสียชีวิต ความทุกข์ทรมาณ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากมายชนิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลประกาศ

 

“รายงานของ IPCC แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่มืดมน แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะเป็นข้ออ้างให้เหล่าผู้นำประเทศทำเป็นว่ามันสายเกินแก้”

 

คูมี นายดู เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล

 

งานวิจัยใหม่ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่ประกาศออกมาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2018 แสดงให้เห็นว่าการรักษาอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเหนือสถิติก่อนยุคอุตสาหกรรมจะสามารถยับยั้งการละเมิดอย่างร้ายแรงที่สุดที่จะมีต่อสิทธิมนุษยชนได้ แต่ถ้าเรายังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนในปริมาณที่เราทำในปัจจุบัน เราจะมีอุณหภูมิสูงเกินสถิติ 1.5 องศาเซลเซียสในระหว่างปี 2035 ถึง 2052 และจะขึ้นถึง 3 องศาตอนจบศตวรรถนี้

 

“รายงานของ IPCC แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่มืดมน แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะเป็นข้ออ้างให้เหล่าผู้นำประเทศทำเป็นว่ามันสายเกินแก้ งานวิจัยแสดงให้เห็นได้ชัดว่าหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างสาหัส ถ้าขึ้นถึง 2 องศาจะทำให้โลกของเราเปลี่ยนไปอย่างไม่เห็นภาพเดิมอีกเลย แต่เรายังมีเวลาพอที่จะแก้ไขมัน” นายคูมี นายดู เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลได้กล่าว

 

“อุณหภูมิโลกได้สูงขึ้นเกิน 1 องศาแล้ว และเราก็ได้เห็นถึงผลที่ร้ายแรงของมัน -- ตั้งแต่คลื่นความร้อนที่วาดผ่านซีกโลกเหนือ ไปจนถึงพายุไซโคลนที่กวาดล้างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานของ IPCC เตือนเราแล้วว่าการทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาไม่ใช่แค่ความคาดหวังอีกต่อไป แต่เป็นเส้นตายที่เราต้องทำให้สำเร็จ และเป็นความหวังสุดท้ายที่เราจะปกป้องสิทธิมนุษยชนในเวลาที่จะมาถึง”

 

ภายใต้ข้อตกลงปารีสปี 2015 ที่ 197 ประเทศตกลงที่จะช่วยกันควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสเหนือสถิติก่อนยุคอุตสาหกรรม ปัจจุบันทุกประเทศตกลงที่จะลดอุณหถูมิที่ตกลงกันลงมาเป็น 1.5 องศาเซลเซียส

 

งานวิจัยของ IPCC ประมาณให้เราเห็นถึงความแตกต่างอย่างมากของอุณหภูมิโลกที่จะเพิ่มขึ้น 1.5 หรือ 2 องศา อย่างเช่นภายในปี 2100 ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นหากอุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.5 องศาจะต่ำกว่าระดับที่จะเพิ่มขึ้นจากอุณหภูมิ 2 องศาอยู่ถึง 10 เซนติเมตร ซึ่งเท่ากับว่าประชากรประมาณสิบล้านคนจะไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงเพราะที่อยู่อาศัยเดิมอาจจะถูกทะเลกลืนไป

 

นอกจากการสนับสนุนให้รัฐบาลดำเนินนโยบายเพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่ากำหนดแล้ว ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลก็ขอร้องให้รัฐบาลหลีกเลี่ยงการพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อลดประมาณคาร์บอนในอากาศ เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวมีผลกระทบด้านลบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างมาก

 

“การยอมให้ปล่อยคาร์บอนจนมากเกินไป แล้วคาดหวังให้คนที่ถูกกีดกันจากสังคมอยู่แล้วต้องรับผลร้ายมากยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นทางเลือกที่สะเพร่าและไม่มั่นคง”

 

คูมี นายดู เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล

 

ตัวอย่างเช่นการปลูกพืชพลังงานเพื่อดูดซึมคาร์บอนลงไปใต้ดิน (BECCS) ซึ่งวิธีดังกล่าวต้องใช้ที่ดินและทรัพยากรน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะนำไปสู่การขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัย การขาดแคลนน้ำและอาหารและราคาที่แพงขึ้นอันนำไปสู่ปัญหาอื่นๆต่อไป

 

รายงานจาก IPCC ยังกล่าวอีกว่า การลดการปล่อยคาร์บอนที่มากขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เราไม่ต้องหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีกำจัดคาร์บอนเช่น BECCS เป็นต้น

 

“การยอมให้ปล่อยคาร์บอนจนมากเกินไป แล้วคาดหวังให้คนที่ถูกกีดกันจากสังคมอยู่แล้วต้องรับผลร้ายมากยิ่งขึ้นไปอีกเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นทางเลือกที่สะเพร่าและไม่มั่นคง เพราะผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุดจะกลายเป็นคนแบกรับปัญหาอย่างเช่นที่เคยเป็นมา” คูมี นายดูกล่าว

 

วิธีการลดสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันนั้น หากไม่ใช่วิธีที่จะไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว ล้วนแต่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิทุกครั้ง อย่างเช่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลได้บันทึกข้อมูลการขับไล่ชนพื้นเมืองในป่าเอมโบบัท ประเทศเคนย่า ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง พวกเขาถูกถอนสิทธิเหนือแผ่นดินบรรพบุรุษเพราะรัฐบาลอ้างว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของการทำลายป่าไม้ที่รัฐบาลต้องหยุดยั้ง แม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยแสดงหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างดังกล่าว

 

โปรเจคลักษณะดังกล่าวควรที่จะผ่านการศึกษาถึงผลกระทบต่อสิทธมนุษยชนก่อนการลงมือเพื่อค้นหาว่าจะมีผลกระทบหรือไม่

 

“การปกป้องสิทธิมนุษยชนและการปกป้องโลกต้องเป็นไปพร้อมๆกัน และนั่นหมายถึงการลดการปล่อยคาร์บอนลงให้ได้” นายคูมี กล่าว

 

“รัฐบาลจะต้องทุ่มเททุกสิ่งให้แก่การลดการปล่อยคาร์บอนให้เร่งด่วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่ต้องระวังเรื่องสิทธิมนุษยชนไปด้วย เพื่อที่เราจะหลีกเลี่ยงผลกระทบอย่างร้ายแรงที่สุดจากธรรมชาติ และความเลวร้ายที่จะมากับวิธีการลดปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ”