58 ปีแอมเนสตี้กับ 4 แรงบันดาลใจเพื่อสิทธิมนุษยชน

10 มิถุนายน 2562

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

28 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) "แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล” (Amnesty International) ถูกก่อตั้งโดย "ปีเตอร์ เบเนนสัน" ทนายความชาวอังกฤษ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล คือกลุ่มคนธรรมดาๆ จากทั่วโลกที่รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับคนที่ถูกละเมิดสิทธิ ร่วมมือกับรัฐเพื่อผลักดันกฎหมายและนโยบายที่คุ้มครองสิทธิของประชาชน ไปจนถึงสร้างความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนให้กับเยาวชนและคนในสังคม ปัจจุบันมีผู้สนับสนุนกว่า 7 ล้านคนทั่วโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แอมเนสตี้เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เมื่อปี 2520 (ค.ศ. 1977)

เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเศไททยได้เชิญชวนสมาชิกและผู้สนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชนมาร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 58 ปี ที่ "แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล" ยืนหยัดทำงานรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน แม้ว่าโลกของเราทุกวันนี้มีความรุนแรง ความอยุติธรรม และการเอารัดเอาเปรียบเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน แต่แอมเนสตี้ยังคงมุ่งมั่นทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและเป็นแรงบันดาลใจให้กับทุกคนที่ต้องการเห็นโลกสวยด้วยมือเรา โดยยึดหลักการตาม "ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน" (Universal Declaration of Human Rights-UDHR) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหประชาชาติได้กำหนดขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้ใช้เป็นแนวทางในการคุ้มครองดูแลสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองประเทศของตน โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้น โดยเชื่อมั่นว่า "มนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้ ไม่ว่าเป็นใคร อาศัยอยู่ที่ใด ทุกคนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกัน"

ภายในงานได้เชิญชวนสมาชิกและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน 4 ท่านมาร่วมพูดในหัวข้อ “แรงบันดาลใจและการมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม” ได้แก่ ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี ศิริศักดิ์ ไชยเทศ อังคณา นีละไพจิตร และโทชิ คาซามะแขกพิเศษที่เดินทางมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ร่วมงานในการช่วยกันผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยต่อไป

อังคณา นีละไพจิตร นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่รณรงค์เพื่อยุติการอุ้มหายในประเทศไทย และภรรยาทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่ถูกอุ้มหายเมื่อ ปี 2547 ปัจจุบันเป็นหนึ่งในกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงการทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า เรื่องราวของที่ลุกขึ้นมาทำงานเพื่อปกป้องทั้งสิทธิและคนอื่นไม่ใช่เรื่องสนุกเลย หลายคนต้องเผชิญกับปัญหามากมาย อย่างตัวเองเริ่มจากที่เป็นเหยื่อและผู้เสียหายมาก่อน คุณจะไม่มีวันเข้าใจหรอกว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างไร จนกว่าคุณจะเห็นที่คุณรักหรือสิ่งที่คุณรักถูกทำลายย่อยยับไปกับตา สิ่งเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายๆ คนลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรม

 

toastToHumanity_c15.jpg

 

เมื่อถูกตั้งคำถามว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนคือใคร คือ NGO ที่รับเงินต่างชาติรึเปล่า แต่พอเราบอกว่า ลองไปดูสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ลองไปดูในชนบท คนที่ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิมนุษยชนก็คือชาวบ้าน ก็คือเหยื่อหรือผู้เสียหายที่พัฒนาตัวเอง จนกลายเป็นผู้รอดและเป็นผู้ปกป้องและทำเพื่อคนอื่น

“สิ่งที่ภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตก็คือการถูกเรียกว่า “ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน”  คำนี้เป็นการยืนยันว่าเราทำอะไรมาบ้าง ทำเพื่อใคร และเราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไร  และอยากให้ช่วยกันสนับสนุนเสียงของนักปกป้องสิทธิ เพราะถ้าหลายคนมาช่วยกันเสียงเหล่านั้นจะดังขึ้น ดังไปถึงหูของผู้มีอำนาจ ดังไปถึงหูของผู้ละเมิด แม้อาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในวันหรือสองวัน แต่จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นตามมา

คนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน น้อยคนที่จะอยู่อย่างมีความสุขบางคนอาจจะต้องหนี อาจจะต้องอยู่กับความระแวงระวังอันตรายต่างๆ โดยเฉพาะผู้หญิง แต่สิ่งที่ทำไปยืนยันได้ว่า เขาทำเพื่อปกป้องคนอื่นยังไง และวันนี้เราก็ได้เห็นพวกผู้หญิงหลายคนในชนบทออกมาเพื่อปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิในทรัพยากร สิทธิในแม่น้ำ สิทธิในที่ดิน สิ่งเหล่านี้เป็นความภาคภูมิใจ ไม่ใช่ภาคภูมิใจของคนทำงานด้านสิทธิมนุษชน แต่เป็นความพากภาคภูมิใจของชาติของประเทศที่มีคนที่ออกมาปกป้องทรัพยากรต่างๆ”

ตอนท้ายคุณอังคณา นีละไพจิตรหนึ่งในผู้สนับสนุนงานด้านสิทธิมนุษยชนของแอมเนสี้มาโดยตลอด ยังได้ฝากแรงบันดาลใจถถึงสมาชิกและนักกิจกรรมรุ่นใหม่ของแอมเนสตี้ว่า ขอแสดงความยินดีและก็หวังว่าจะมีคนใหม่ๆ ก้าวเข้าร่วมกันทำงานรณรงค์เพื่อช่วยกันเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่งแต่เพื่อเราทุกคน และให้ยืนยันในการเห็นคุณค่าของมนุษย์ทุกคนต่อไป

“แอมเนสตี้เป็นองค์กรที่มีเสน่ห์อย่างหนึ่งคือ เป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนที่มองเห็นด้านดีของมนุษย์อยู่เสมอ แม้ว่ามนุษย์คนนั้นจะเป็นผู้กระทำผิดก็ตาม แอมเนสตี้จึงรณรงค์ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตเพื่อที่จะให้โอกาสคนได้กลับตัวเป็นคนดี เพื่อที่จะให้มีการพัฒนากระบวนการยุติธรรม

แอมเนสตี้ยังทำงานอีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผู้ลี้ภัย ยุติการทรมานและการบังคับบุคลให้สูญหาย แอมเนสตี้ได้ทำเอกสารที่บันทึกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเมื่อเดือนพฤษภา  2535 ซึ่งน่าจะเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนแรกๆ ที่ทำบันทึกข้อเท็จจริงไว้และมีประโยชน์อย่างยิ่งจนถึงทุกวันนี้ คุณอังคณากล่าวทิ้งท้าย

 

โทชิ คาซามะ ช่างภาพที่ใช้ภาพถ่ายรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั่วโลก เขาเคยถูกทำร้าย จนสลบไป 5 วัน ทำให้สมองซีกขวา เสียหายและหูข้างขวาใช้การไม่ได้ แต่เขาก็เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาอาชญกรรมโดยใช้หลักการตาต่อตาฟันต่อฟันไม่ใช่ทางออก ซึ่งเขาได้เดินสายคุยกับผู้นำในหลายๆ ประเทศเพื่อให้เปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษ โดยเรียกร้องให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต

โทชิกล่าวแสดงความยินดีที่แอมเนสตี้ดำเนินงานมาครบรอบ 58 ปี โดยระบุว่าแอมเนสตี้เป็นองค์กรที่มีการรวมตัวกันของทุกคนเพศทุกวัย โดยให้ความสำคัญกับทุกคนในฐานะมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน และให้ความสำคัญแม้กระทั่งคนที่ไม่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย ไม่ว่าจะเป็น คนที่เห็นต่างจากเรา คนที่สนับสนุนโทษประหารชีวิต หรือแม้แต่ผู้นำเผด็จการหลายคนทั่วโลกแอมเนสตี้ก็ยังคำนึงถึงและให้ความสำคัญกับพวกเขา เพราะเราทุกคนคือมนุษย์เหมือนกัน ในตอนที่เรากำลังต่อสู้กับปัญหา เราไม่ได้ต่อสู้กับบุคคล เราไม่ควรเกลียดคนอีกคน แต่ควรต่อกรกับปัญหาที่ยังฝั่งรากลึกในตัวบุคคลนั้น

 

toastToHumanity_c17.jpg

 

15 ปีที่แล้วผมถูกทำร้าย มีคนพยายามจะฆ่าผมซึ่งทำให้ผมต้องอยู่ในอาการโคม่าถึง 5วัน แต่ผมโชคดีที่สามารถฟื้นคืนสติขึ้นมาได้ แต่สองซีกขวาเสียหายและหูข้างขวาใช้การไม่ได้ ผมบอกกับลูกของผมที่มาเฝ้าผมในห้องไอซียูว่า ‘จงเกลียดอาชญากรรมแต่อย่าเกลียดอาชญากร’ การตัดวงจรความรุนแรงควรเริ่มจากครอบครัวของเหยื่อ ถ้าผมบอกให้ลูกลุกขึ้นมาแก้แค้น ครอบครัวผมจะตกยู่ในใวงจรความเกลียดชังไม่จบไม่สิ้น ผมไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวอันเป็นที่รักของผม”

โทชิกล่าวเพิ่มเติมว่า ซีวิตทุกคนเต็มไปด้วย “ความท้าทาย” เพราะเราแคร์หลายสิ่งหลายอย่างมากว่าแค่ตัวเอง เราแคร์คนอื่น เราแคร์สังคม เราแคร์ถึงอนาคตของสังคมและประเทศชาติ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องเผชิญกับปัญหามากมายที่อยู่ตรงหน้า นี่คือความท้าทายของชีวิตทุกคน

“พวกเรามีเป้าหมายและวิสัยทัศน์เพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของสังคม ในฐานะคนรุ่นใหม่ความท้าท้ายตรงนี้ถือว่ายากมาก ผู้นำรุ่นเก่าในโลกใบนี้ไม่ได้คำนึงถึงอนาคตของส่วนรวม ในเวลานี้เราทุกคนจึงมีจำเป็นอย่างมากในการรวมกันเป็นหนึ่ง ทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือผู่อื่น เพื่อทำให้ความท้าทายมีอยู่ตรงนี้ง่ายขึ้นหรือคุ้มค่าที่จะร่วมกันต่อสู้ ผมภูมิใจในสิ่งที่แอมเนสตี้กำลังทำอยู่ ขอแสดงความยินดีอีกครั้งที่ยืนหยัดทำงานเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลกมาถึง 58 ปีและขอบคุณที่ให้ผม ‘ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง’ ในค่ำคืนนี้” โทชิกล่าวทิ้งท้าย

ศิริศักดิ์ ไชยเทศ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและสิทธิของพนักงานบริการ (sex workers) พูดถึงแรงบันดาลใจในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนว่ามาจากตัวเอง เพราะมาจากครอบครัวที่เคร่งศาสนา และมีความคาดหวังกับลูกผู้ชายที่อยากจะให้มีครอบครัว เขาเองพยายามสื่อสารกับครอบครัวในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่ แม้จะไม่สามารถสื่อสารถึงความเป็นตัวเองได้ทั้งหมด เพราะประเมินแล้วว่าทางครอบครัวน่าจะเสียใจมาก ดังนั้นจึงเลือกที่จะพบกันครึ่งทางเพื่อความสบายใจทั้งสองฝ่าย

 

toastToHumanity_c14.jpg

 

“วันนี้ถามว่าความสัมพันธ์กับครอบครัวเป็นอย่างไร ฉันยังรักพ่อแม่อยู่เหมือนเดิม ฉะนั้นฉันจะบอกว่า แรงบันดาลใจก็คือ คนเราเวลาจะออกมาพูดถึงความหลากหลายทางเพศ มันไม่จำเป็นที่ต้องเป็นคนที่เปิดตัวเท่านั้น เพราะว่าเราสามารถทำได้ในพื้นที่ของเราโดยที่เราประเมินตัวเอง คุณต้องเข้าใจนะว่าบริบทของแต่ละคนมันแตกต่างกัน ซึ่งสิ่งที่ฉันทำฉันตัดสินใจแล้วและก็ประมินแล้วว่า ถ้าเกิดฉันทำอะไรไปครอบครัวอาจจะเสียใจมาก เราก็ต้องพบกันครึ่งทาง”

นอกจากนั้นศิริศักดิ์ยังเชื่อว่าเราสามารถทำงานสิทธิมนุษยชนได้ แม้ว่าเราไม่ได้ประสบเหตุการณ์ความรุนแรงด้วยตัวเอง เช่น เวลาเราอ่านข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ แล้วเห็นว่าสื่อใช้คำไม่เหมาะสมเกี่ยวกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ตีตราและเหมาะรวมทำให้ผู้อ่านเกิดความคิดด้านลบกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เราในฐานะผู้อ่านสามารถร้องเรียนไปถึงสื่อนั้นได้ แม้เราจะไม่ใช่คนที่ถูกอ้างถึงในข่าว เพราะเราอยู่ในประเทศนี้ มีเพื่อนเราที่ได้รับผลกระทบจากการนำเสนอข่าว ซึ่งส่งผลกระทบทางอ้อมกับเราด้วย ฉะนั้นไม่ต้องรอให้ความรุนแรงมาถึงตัวเรา ไม่ต้องรอให้ถูกตบหรือถูกชี้หน้าด่าถึงจะลงมือทำอะไรบางอย่าง เราสามารถทำได้เลยตั้งแต่ตอนนี้

 

“ดิฉันอยากจะบอกว่าการที่พูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเด็นเนี่ย ไม่จำเป็นต้องให้คนที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเจ้าของประเด็นออกมาพูดเท่านั้น แต่เราต้องรณรงค์ให้คนทุกคนในสังคมสามารถพูดแทนคนที่ถูกละเมิดสิทธิได้ เพราะวันใดวันหนึงถ้าดิฉันตายไป ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงของศิริศักดิ์ผู้ที่โดนกระทำความรุนแรงเท่านั้น แต่ดิฉันหวังว่าอยากจะให้ทุกคนออกมาช่วยกันแล้วพูดแทนเรา แต่พูดในทิศทางเดียวกัน พูดในเรื่องเดียวกัน พูดในสิ่งที่เราต้องการพูด อันนี้ถึงจะถือว่าประสบความสำเร็จ ดิฉันอยากจะบอกว่าเวลาพูดถึงสิทธิของผู้ที่มีความหลากลายทางเพศ ไม่ได้หมายความว่าดิฉันพูดถึงสิทธิของตัวเองเท่านั้น แต่ฉันพูดถึงสิทธิมนุษยชนทั้งหมดที่อยู่บนโลกใบนี้ เฉกเช่นเดียวกันเวลาเราพูดถึงสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เราไม่ได้หมายถึงว่าเราจะต่อสู้เพื่อสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและสิทธิของพนักงานบริการ (sex workers) ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ดิฉันสู้เพื่อสิทธิสิทธิของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและสิทธิของพนักงานบริการ (sex workers) ทั่วทั้งโลกด้วย” ศิริศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย

ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี ผู้ประสานงานชั่วคราวเครือข่ายคนรุ่นใหม่และนักกิจกรรมขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม โดยมีแรงบันดาลใจจากคำ 4 คำ คือ โกธร เศร้า หดหู่ และคับแค้น  เพราะเราเกิดมาในสังคมที่ “ผิดปกติ” เราเกิดมาในประเทศที่มีความ “ผิดปกติ” บางอย่างอยู่ โดยเชื่อมั่นในเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก

 

toastToHumanity_c10.jpg

 

“ตัวผมเองเชื่อมั่นในคุณค่าของสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐาน คำว่าขั้นพื้นฐานในที่นี้คือสิ่งที่ไม่สามารถละเมิดหรือทำให้มันหายไปได้ มันเป็นสิ่งที่ควรจะติดตัวเราทุกคนตั้งแต่เกิด แต่เราถูกกดทับด้วยโครงสร้างบางอย่างที่ไม่เป็นธรรม เราถูกกดทับด้วยชุดความคิดที่รัฐพยายามให้เราคิด ไม่ให้เราเชื่อในคุณค่าสากล คือ สิทธิมนุษยชน”

ทัตเทพกล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นฐานของสิทธิมนุษยชนคือเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเสรีภาพในการแสดงออกจะนำไปสู่ประเดนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าและบทบาททางเพศ การเคารพสิทธิของผู้ลี้ภัย หรือแม้แต่เรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา ทุกอย่างมันมาจาก “เสรีภาพในการแสดงออก” ทั้งนั้น และมีเพียงระบอบเดียวบนโลกใบนี้ที่เคารพในสิทธิมนุษยชนทุกประการ คือ ระบอบประชาธิไตยครับ เพราะฉะนั้น การที่ผมมาเป็นผู้ประสานงานในพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองหนึ่งนี้ ผมต้องการอาศัยกลไกทางการเมือง เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นประชาธิปไตยและบรรจุเอาคุณค่าของสิทธิมนุษยชนลงหลักปักฐานในสังคมนี้ให้ได้ โดยมีองค์กรภาคประชาสังคมมาช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ให้คนในสังคมมีความตระหนักมากยิ่งขึ้น

“สำหรับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นองค์กรภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชนองค์กรแรกๆ ที่ผมคิดถึง ถ้าหากเรามีรัฐที่เป็นประชาธิปไตย แอมเนสตี้จะไม่ระคายเคืองรัฐรัฐนั้น แต่จะเป็นองค์กรที่สนับสนุนรัฐรัฐนั้น แต่การที่แอมเนสตี้ถูกมองว่าระคายเคือง แสดงว่ารัฐนั้นไม่เปิดกว้าง ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เคารพในสิทธิมนุษยชน ดังนั้นคุณค่าของสิทธิมนุษยชนจะลงหลักปักฐานได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในระบอบประชาธิปไตยที่มีทั้งรัฐและภาคประชาสังคมสนับสนุนด้วย” ทัตเทพทิ้งท้าย