แอมเนสตี้ออกรายงานใหม่
ชี้ระบบยุติธรรมกัมพูชาตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของรัฐบาล

1 มิถุนายน 2560

แอมเนสตี้เปิดตัวรายงานฉบับใหม่ที่ค้นพบว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการปราบปรามคนเห็นต่างและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกรายงานใหม่ Courts of Injustice: Suppressing Activism through the Criminal Justice System in Cambodia (ศาลอยุติธรรม: การกดขี่การเคลื่อนไหวผ่านกระบวนการยุติธรรมในกัมพูชา) ระบุว่ารัฐบาลกัมพูชาใช้อำนาจผ่านกระบวนการยุติธรรมในการกุข้อกล่าวหาเพื่อปราบปรามผู้ที่เห็นต่างและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากมาย เช่น ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง นักกิจกรรมสหภาพแรงงาน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักวิจารณ์การเมือง เป็นต้น

 

นักวิจัยของแอมเนสตี้พบว่าความพยายามของรัฐบาลกัมพูชาในการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกทำให้มีประชาชนอย่างน้อย 27 คนถูกคุมขังและอีกกว่า 100 คนกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีในปัจจุบัน โดยมักเป็นการกุข้อกล่าวหาลอยๆ ใช้หลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ และพิจารณาคดีอย่างไม่เป็นธรรม

 

แชมพา พาเทล ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “แทนที่กระบวนการยุติธรรมจะใช้ตัวบทกฎหมายเป็นที่ตั้ง การวิจัยของเรากลับพบว่าข้อบังคับต่างๆ กลับถูกบิดเบือนเพื่อให้ผลลัพธ์ทางกฎหมายออกมาตามคำสั่งของรัฐบาล”

 

กรณีของกลุ่ม ADHOC 5

 

หนึ่งในกรณีที่โด่งดังที่สุดของกัมพูชาในปี 2559 คือการคุมขังโดยพลการนักปกป้องสิทธิมนุษยชน 11 คนอย่างยาวนาน โดยห้าคนในนั้นเป็นสมาชิกปัจจุบันชอง ADHOC องค์กรสิทธิมนุษยชนที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ ส่วนอีก 6 คนเป็นอดีตสมาชิก พวกเขาถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับสินบนและเรื่องอื้อฉาวทางเพศ โดยถูกคุมขังเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปีโดยไม่ได้รับการพิจารณาคดี

 

ขณะที่แกม สุขะ รักษาการหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน CNRP และสมาชิกอีกคนในพรรคก็ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีนี้อละถูกตั้งข้อกล่าวหาเช่นกัน

 

กรณีของเทพ วันนี

 

กรณีของเทพ วันนี เป็นอีกกรณีที่ตกเป็นเที่สนใจของสาธารณะชนและเป็นหนึ่งในแคมเปญเพื่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลกของแอมเนสตี้ เทพถูกจับกุมไม่น้อยกว่าห้าครั้งนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดของกัมพูชา เธอเป็นนักสิทธิมนุษยชนที่ออกมาปกป้องสิทธิในที่ดินของชุมชนรอบทะลสาบบึงกอกในกรุงพนมเปญ ซึ่งมีชาวบ้านมากกว่า 1,000 ครัวเรือนถูกบังคับไล่ที่ ปัจจุบันเธออยู่ระหว่างการใช้โทษสงปีครึ่งในคุก ลงชื่อ

 

เทพเป็นเพียงหนึ่งในนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอีกหลายคนที่ถูกคุกคาม ตั้งข้อกล่าวหา ตลอดจนถูกรังควาญ ทำร้ายร่างกาย และจำคุก

 

> ร่วมลงชื่อปล่อยตัวเทพ วันนี <

 

ความไม่แน่นอนทางกฎหมาย

 

แอมเนสตี้พบว่าหนึ่งในวิธีที่ทางการกัมพูชาใช้บ่อยๆ คือการทำให้ตายใจ หลายคนถูกทางการแช่แข็งคดีไว้เฉยๆ นานหลายปีโดยที่ไม่มีการสืบสวนหรือการตัดสินใดๆ เนื่องจากทางการต้องการใช้คดีเหล่านั้นใช้เป็นเครื่องมือควบคุมความประพฤติของพวกเขาทางอ้อม ซึ่งทางการสามารถจะฟื้นคดีขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้โดยปราศจากการสืบสวนหรือลงโทษ

 

นอกจากนี้ การฟ้องร้องต่อนักสิทธิมนุษยชนยังกินระยะเวลานานเกินความจำเป็น ส่งผลให้พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่บนความไม่แน่นอนทางกฎหมายนานหลายปีด้วย

 

ช่วงเวลาที่เหมาะเจาะ

 

แอมเนสตี้พบว่าการตัดสินในหลายๆ คดีไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสืบสวน แต่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ทางการเมือง อย่างเช่น การประท้วง การเลือกตั้ง หรือการต่อรองของฝ่ายค้านกับรัฐบาล และในหลายกรณีที่การสืบสวนและการตัดสินมักเกิดขึ้นในช่วงการเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมทางการเมืองที่ต้องคดีเข้าร่วมการชุมนุม

 

การพิจารณาคดีอย่างไม่เป็นธรรม

 

ผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวอย่างสงบเพื่อสิทธิมนุษยชนเกือบทั้งหมดถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงโดยอัตโนมัติ โดยแอมเนสตี้เองไม่พบข้อมูลกรณีที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกตัดสินให้พ้นผิดแม้แต่กรณีเดียว หนทางเดียวที่สามารถจะช่วยให้ผู้ที่ถูกจองจำได้รับอิสรภาพคือแรงกดดันจากนานาชาติ

 

แอมเนสตี้เรียกร้องให้กัมพูชาปล่อยตัวและยกเลิกข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่เรียกร้องสิทธิมนุษยชนอย่างสันติโดยทันที ตลอดจนปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมและระบบตุลาการให้มีความเป็นอิสระมากขึ้นจนสามารถตรวจสอบดูแลให้รัฐบาลปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนได้อย่างเหมาะสม