สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 6 พฤษภาคม - 12 พฤษภาคม 2566

22 พฤษภาคม 2566

Amnesty International

 
โทษประหารชีวิตในปี 2565: การประหารชีวิตเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบห้าปี
16 พฤษภาคม 2566
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลแถลง “รายงานสถานการณ์โทษประหารชีวิตและการประหารชีวิตในปี 2565” พบว่า เป็นปีที่มีการประหารชีวิตสูงสุดในรอบห้าปี โดยตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือเป็นภูมิภาคที่มีการประหารชีวิตบุคคลมากที่สุด
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ได้บันทึกการประหารชีวิตในปี 2565 พบว่า มีจำนวนสูงสุดในรอบห้าปี โดยมีข้อมูลการประหารชีวิตบุคคลอย่างน้อย 883 คนใน 20 ประเทศ เพิ่มขึ้น 53% เมื่อเทียบกับปี 2564 จำนวนการประหารชีวิตที่เพิ่มสูงมากเช่นนี้ ยังไม่รวมการประหารชีวิตอีกหลายพันครั้ง ซึ่งเชื่อว่าเกิดขึ้นในประเทศจีนโดยการประหารชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มจาก 520 ครั้งในปี 2564 เป็น 825 ครั้งในปี 2565
จนถึงสิ้นปี 2565 มี 112 ประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณี มี 9 ประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น ­ มี 23 ประเทศยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ รวมมี 144 ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติแล้ว ส่วนประเทศที่มีและยังใช้โทษประหารชีวิตอยู่มี 55 ประเทศ
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3WgwrvY
 
-----
 
 
โทษประหารชีวิตในปี 2565: ข้อเท็จจริงและตัวเลข
16 พฤษภาคม 2566
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลบันทึกข้อมูลการประหารชีวิต 883 ครั้งใน 20 ประเทศในปี 2565 เพิ่มขึ้น 53% จาก 579 ครั้งในปี 2564 ตัวเลขนี้นับเป็นจำนวนการประหารชีวิตสูงสุดเท่าที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลบันทึกได้ในช่วงห้าปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งนับจำนวนการประหารชีวิตได้ 993 ครั้ง)
จีนยังคงเป็นประเทศที่มีการประหารชีวิตมากที่สุดในโลก แต่ตัวเลขที่แท้จริงยังไม่เป็นที่แน่ชัด เนื่องจากการทางการจีนถือว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับทางราชการ ตัวเลขการประหารชีวิตทั่วโลกที่บันทึกโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังไม่นับรวมการประหารชีวิตอีกหลายพันครั้งที่เชื่อว่าเกิดขึ้นในประเทศจีน รวมทั้งในเวียดนามและเกาหลีเหนือ ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่ามีการใช้โทษประหารชีวิตอย่างกว้างขวาง
การประหารชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในจีน (มากกว่า 1000 ครั้ง) อิหร่าน (อย่างน้อย 576 ครั้ง) ซาอุดีอาระเบีย (196 ครั้ง) อียิปต์ (24 ครั้ง) และสหรัฐฯ (18 ครั้ง)
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/43aSd6t
 
-----
 
 
อิหร่าน : ประชาคมโลกต้องดำเนินการอย่างกล้าหาญในการป้องกันการประหารชีวิตผู้ชุมนุมประท้วงที่ถูกทรมานสามคน
17 พฤษภาคม 2566
 
สืบเนื่องต่อความกลัวต่อการประหารชีวิตที่ใกล้เข้ามาในอิหร่านของผู้ชุมนุมประท้วงสามคน – มาจิ๊ดด์ คาเซมี, ซาเลห์ มีร์ฮาเชมี และซาอีด ยากูบี – จากอิสฟาฮานหลังจากสื่อของรัฐเผยแพร่ “คำสารภาพ” ที่ถูกบังคับของพวกเขา และศาลฎีกาเห็นชอบกับการตัดสินความผิดที่ไม่ยุติธรรมและโทษประหารของพวกเขา แม้ว่าจะมีข้อกังวลเกี่ยวกับการทรมานและการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม
ไดอานา เอลทาฮาวี รองผู้อำนวยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกล่าว
“เป็นเรื่องที่น่าตกใจที่การพิจารณาคดีและการพิพากษาลงโทษผู้ชุมนุมประท้วงเหล่านี้ถูกดำเนินการอย่างรวดเร็วผ่านระบบตุลาการของอิหร่าน ท่ามกลางการใช้ ‘คำสารภาพ’ ที่มีการทรมาน ข้อบกพร่องทางขั้นตอนอย่างร้ายแรง และการขาดหลักฐาน เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ทางการอิหร่านเพิกเฉยสิทธิในชีวิตและการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอย่างหน้าด้านๆ มาจิ๊ดด์ คาเซมี กล่าวในการบันทึกเสียงจากเรือนจำว่า เขาถูกบังคับให้พูดความเท็จใส่ร้ายตนเอง หลังจากที่ผู้ซักถามทุบตีเขา ช็อตไฟฟ้าเขา ขู่จำลองการประหารชีวิตเขา และขู่ว่าจะข่มขืนเขา ประหารชีวิตพี่น้องของเขาและตามรังควานพ่อแม่ของเขา”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3BD30dW
 
-----
 
ปากีสถาน : พลเรือนต้องไม่ถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายทหาร
16 พฤษภาคม 2566
 
สืบเนื่องต่อข่าวประชาสัมพันธ์ที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยงานประชาสัมพันธ์อินเตอร์เซอร์วิส (ISPR) แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของกองทัพปากีสถานในการนำตัว ‘ผู้ลอบวางเพลิง’ ระหว่างการชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มาเข้าสู่การพิจารณาคดีภายใต้พระราชบัญญัติกองทัพปากีสถานและพระราชบัญญัติความลับของทางการ
ดินูชิกา ดิสสานายาเค รองผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ เผยว่า “ถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจเมื่อทราบว่ากองทัพปากีสถานได้แสดงถึงเจตจำนงที่จะดำเนินคดีกับพลเรือนภายใต้กฎหมายทหาร ซึ่งอาจขึ้นศาลทหาร การดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหารนับเป็นการขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ”
“นี่ถือเป็นกลยุทธ์ในการข่มขู่อย่างแท้จริง ที่ออกแบบมาเพื่อปราบปรามผู้เห็นต่างโดยใช้ความกลัวต่อสถาบันที่ไม่เคยถูกนำมารับผิดชอบสำหรับการกระทำที่เกินเลย มีบทบัญญัติหลายประการตามกฎหมายอาญาทั่วไปที่สามารถใช้ในการฟ้องร้องการก่อกวนและการทำลายทรัพย์สินสาธารณะได้ สิทธิในการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมซึ่งถูกรับรองโดยรัฐธรรมนูญของปากีสถาน ถูกบ่อนทำลายอย่างหนักจากการเคลื่อนไหวนี้และไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีความชอบธรรม มันจะต้องถูกยกเลิกในทันที”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3pVV4SF
 
-----
 
สหภาพยุโรป : กฎหมายความยั่งยืนทางธุรกิจฉบับใหม่ต้องเข้มแข็งขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน
15 พฤษภาคม 2566
 
กฎหมายใหม่ที่ควบคุมสิทธิมนุษยชนและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมของธุรกิจในสหภาพยุโรป ที่รู้จักกันว่า Corporate Sustainability Due Diligence Directive, กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกบั่นทอนโดยการยกเว้นและช่องโหว่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
รายงานฉบับใหม่ที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม นามว่า ปิดช่องโหว่: คำแนะนำสำหรับกฎหมายความยั่งยืนขององค์กรในสหภาพยุโรปซึ่งทำงานให้กับผู้ถือสิทธิ์ ระบุช่องโหว่ร้ายแรงหลายประการในการเสนอกฎหมาย ซึ่งมีกำหนดการลงมติโดยรัฐสภายุโรปในวันที่ 1 มิถุนายน ก่อนที่การเจรจาขั้นสุดท้ายระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปจะเริ่มขึ้นในเดือนหน้า
ฮันนาห์ สโตรีย์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และผู้เขียนรายงานกล่าวว่า
“กฎหมายใหม่นี้สามารถกำหนดมาตรฐานทางกฎหมายและปกป้องผู้คนในยุโรปและที่อื่น ๆ จากภัยอันตรายขององค์กร การปิดช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้บริษัทต่างๆ สามารถทำการละเมิดสิทธิอย่างกว้างขวางทั่วโลกและหลบหนีความรับผิดชอบ”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3pXYvrD
 
-----
 
เคนยา : ค่ายผู้ลี้ภัยคาคูมายังคงไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ลี้ภัยเพศหลากหลาย
19 พฤษภาคม 2566
 
ผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัยที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเคนยา มักประสบอาชญากรรมจากความเกลียดชัง ความรุนแรง รวมถึงการข่มขืนและการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงอื่นๆเป็นประจำ คณะกรรมการสิทธิเกย์และเลสเบี้ยนแห่งชาติเคนยา (NGLHRC) และ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวในรายงานร่วมกัน
ค่ายผู้ลี้ภัยคาคูมาที่ตั้งอยู่ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเคนยาเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ขอลี้ภัยและผู้ลี้ภัยมากกว่า 200,000 คนรวมถึงกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศหลายร้อยคน ในรายงานได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงอย่างสุดโต่ง ที่ผู้อยู่อาศัยที่มีความหลากหลายทางเพศในคาคูมาได้รับ ทั้งจากสถานะของผู้ขอลี้ภัยหรือผู้ลี้ภัยและรสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และ/หรือการแสดงออกทางเพศ และลักษณะทางเพศ
“บุคคลผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในค่ายผู้ลี้ภัยคาคูมาต่างได้รับความรุนแรงทั้งทางร่างกายและทางเพศ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงอื่นๆ รวมถึงการละเมิดสิทธิที่จะเป็นอิสระจากการถูกทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย เนื่องจากรสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ และ/หรือการแสดงออกทางเพศ และลักษณะทางเพศ” วิคเตอร์ นายโมรี่ นักวิจัยและที่ปรึกษาด้านสิทธิผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3Mkgpg4