สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 29 เมษายน - 5 พฤษภาคม 2566

8 พฤษภาคม 2566

Amnesty International

 
ซิมบับเว : ต้องยกเลิกความผิดและการลงโทษผู้นำฝ่ายค้านในการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกแลการชุมนุมประท้วง
29 เมษายน 2566
 
สืบเนื่องจากการตัดสินความผิดและลงโทษผู้นำฝ่ายค้าน เจค็อบ นาริฮูม ให้จำคุก 48 เดือนฐานยุยงปลุกปั่นความรุนแรงในที่สาธารณะเพียงเพราะใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมประท้วงโดยสงบ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปราบปรามเสียงฝ่ายค้านและผู้เห็นต่างที่เพิ่มขึ้น
วองไก ชิกวันดา รักษาการรองผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ภูมิภาคแอฟริกาใต้ กล่าวว่า
“เป็นเรื่องที่คิดไม่ถึงว่า เจค็อบ นาริฮูม จะถูกส่งเข้าคุกเนื่องจากใช้สิทธิ์ที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมประท้วงโดยสงบ”
“ทางการจะต้องยกเลิกการตัดสินโทษนี้ การตัดสินโทษของนาริฮูมเป็นกลอุบายที่เหยียดหยามดูถูกในการปราบปรามผู้เห็นต่างและเป็นการละเมิดกระบวนการยุติธรรมเพื่อข่มขู่และคุกคามเสียงของฝ่ายค้าน”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3HF4986
 
-----
 
 
ยูกันดา : ความล้มเหลวของประธานาธิบดีในการยับยั้งการร่างกฎหมายต่อต้าน LGBTI นับเป็นการละเมิดสิทธิของ LGBTI ที่ 'น่ารังเกียจ'
2 พฤษภาคม 2566
 
สืบเนื่องจากข่าวที่รัฐสภายูกันดาได้ผ่านกฎหมายต่อต้านคนที่รักเพศเดียวกันหลังจากประธานาธิบดีโยเวรี มูเซเวนี ส่งกฎหมายกลับไปที่รัฐสภาเพื่อแก้ไข เป็นการยืนยันว่ารัฐกำลังสร้างการเลือกปฏิบัติผ่านการทำให้ความสัมพันธ์ทางเพศของคนที่รักเพศเดียวกันเป็นอาชญากรรม
ฟลาเวีย มวังโกวา รองผู้อำนวยการภูมิภาค แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า
“ร่างกฎหมายฉบับที่แก้ไขยังคงกำหนดให้พฤติกรรมรักเพศเดียวกันโดยสมัครใจเป็นอาชญากรรมและคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิตในกรณีของ ‘การรักเพศเดียวกันที่เป็นเหตุฉกรรจ์’ โดยเป็นนิยามกว้างๆ ที่ใช้อธิบายการกระทำต่างๆ รวมถึง พฤติกรรมรักเพศเดียวกันในหมู่ผู้ติดเชื้อ HIV นอกจากนั้นยังคงอนุญาตให้มีโทษจำคุก 20 ปีในข้อหาส่งเสริมการรักเพศเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้การสนับสนุนสิทธิของ LGBTI ในประเทศเป็นเรื่องผิดกฎหมาย”
“เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจที่รัฐสภายังคงมีกฎหมายต่อต้านการรักเพศเดียวกันที่ผ่านโดยรัฐสภายูกันด้าเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กฎหมายที่ดูหมิ่นนี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของ LGBTI ในยูกันดาอย่างโจ่งแจ้ง รวมถึงสิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมาย”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/415mG4z
 
-----
 
 
เมียนมา : ดำเนินการลดหย่อนโทษที่ ‘ล่าช้ามานาน’ โดยปล่อยผู้ถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมทั้งหมด
3 พฤษภาคม 2566
 
สืบเนื่องจากข่าวที่ทางการทหารเมียนมาได้ลดหย่อนโทษให้กับนักโทษ 2,153 คนที่ถูกคุมขังภายใต้กฎหมายที่ทำให้การยุยงให้เกิดความขัดแย้งกับทหารเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
มิงยู ฮาห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า
“การปล่อยตัวที่ล่าช้ามานานนี้ควรเป็นก้าวแรกสู่การปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวโดยพลการเพียงเพราะใช้สิทธิขั้นพื้นฐานในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบหรือสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ทั้งหมดในทันที แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังคงกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับคนอีกหลายพันคนที่ยังคงถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรมในเรือนจำทั่วประเทศ ซึ่งพวกเขาต่างต้องเผชิญกับการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ”
“ใครก็ตามที่ถูกคุมขังเพียงเพราะต่อต้านรัฐประหารของกองทัพโดยสงบในเมียนมา ไม่ควรถูกส่งเข้าคุกตั้งแต่แรก เมื่อได้รับการปล่อยตัวพวกเขาควรได้รับการดูแลทางการแพทย์ การดูแลจิตใจ และการดูแลทางสังคมที่จำเป็น เพื่อช่วยให้พวกเขาฟื้นตัวจากความเจ็บปวดที่ผ่านมา การแสดงความไม่เห็นด้วยโดยสงบไม่ใช่อาชญากรรม แต่คือสิทธิมนุษยชน”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/44t1I2b
 
-----
 
โมร็อกโก : การปฏิเสธไม่ให้นักวิชาการและนักข่าวที่ถูกคุมขังเข้าถึงการอ่านและเขียนนับเป็นการละเมิดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก
3 พฤษภาคม 2566
 
นักข่าวอย่างน้อย 4 คนและนักวิชาการ 1 คน ถูกปฏิเสธสิทธิ์ในการอ่านและเขียนในเรือนจำโมร็อกโก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ขณะที่ทั่วโลกกำลังเฉลิมฉลองให้กับวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก
อ้างอิงถึงข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง หรือที่เรียกว่ากฎแมนเดลา นักโทษควรได้รับการอนุญาตให้อ่านและทำงาน โดยสามารถเข้าถึงหนังสือพิมพ์ หรือวิทยุ และเข้าใช้ห้องสมุดได้เป็นประจำ นักโทษที่ถูกควบคุมตัวก่อนการพิจารณาคดี ควรจะสามารถที่จะซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และอุปกรณ์การเขียนได้”
“ทางการโมร็อกโกได้ตั้งเป้าจับกุมนักเขียนและนักข่าวที่คัดค้านทางการมานานแล้ว และวันนี้ก็เป็นวันระลึกถึงบรรดาผู้ที่ถูกคุมขังเพียงเพราะงานเขียนของพวกเขา การกีดกันปากกาและกระดาษจากนักข่าวที่ถูกคุมขังถือเป็นการลงโทษที่ไม่จำเป็นและเป็นการจงใจโจมตีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของพวกเขา” รอยา ราเกห์ รักษาการรองผู้อำนวยการประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ กล่าว
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3no6lu2
 
-----
 
อิสราเอล/OPT : เสียชีวิตของคาเดอร์ อัตนาน เน้นย้ำถึงการปฏิบัติที่โหดร้ายของอิสราเอลต่อนักโทษชาวปาเลสไตน์
3 พฤษภาคม 2566
 
การเสียชีวิตของนักโทษชาวปาเลสไตน์ คาเดอร์ อัตนาน เป็นเครื่องเตือนใจถึงสิ่งที่ต้องแลกมาที่ชาวปาเลสไตน์ต้องจ่ายสำหรับการท้าทายการแบ่งแยกเชื้อชาติของอิสราเอลและระบบยุติธรรมของทหารที่เข้มงวดกับพวกเขา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา
คาเดอร์ อัตนาน เสียชีวิตในเรือนจำราเมลของอิสราเอลเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม หลังจากใช้เวลา 87 วันในการอดอาหารประท้วงการกักขังชาวปาเลสไตน์โดยพลการอย่างเป็นระบบของทางการอิสราเอลและการปฏิบัติต่อนักโทษอย่างโหดร้ายและไร้มนุษยธรรมของพวกเขา
ผู้ถูกคุมขังชาวปาเลสไตน์มักจะใช้การอดอาหารประท้วงเพื่อท้าทายนโยบายดังกล่าว ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพและชีวิตของตัวเองเพื่อเรียกร้องสิทธิที่ทางการอิสราเอลปฏิเสธพวกเขา
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3LSWK7F