สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 25 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2566

6 มีนาคม 2566

Amnesty International

วันหยุดยาวนี้ มาอัปเดตเรื่องราวของ "สิทธิมนุษยชน" รอบโลกกันเถอะ
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเรื่องราวขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสลายการการชุมนุมในศรีลังกา หรือเรื่องที่เกิดกับเพื่อนบ้านในภูมิภาค #อาเซียน เช่น การเปิดเผยข้อมูลการขนส่งเชื้อเพลิงอากาศยานรอบใหม่ในเมียนมา และการตัดสินจำคุกผู้นำฝ่ายค้านใน #กัมพูชา ในข้อหากบฎ
 
อัปเดตไปพร้อม ๆ กัน กับ สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 25 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2566
 
----
 
 
ศรีลังกา : ทางการจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้กำลังและอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิการชุมนุมประท้วงโดยสงบ
27 กุมภาพันธ์ 2566
 
สืบเนื่องจากข่าวที่มีผู้ชุมนุมประท้วงเสียชีวิต 1 รายและมีผู้คนได้รับบาดเจ็บจำนวนมากซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงและแก๊สน้ำตาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยตำรวจใน โคลัมโบ ศรีลังกาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ฮารินดรินี่ โคเรีย นักวิจัยภูมิภาคเพื่อสิทธิในการชุมนุมประท้วง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่น่ากังวลว่า แม้หลังจากที่มีการชุมนุมประท้วงอย่างกว้างขวางในประเทศมาแล้วหลายเดือน แต่ตำรวจศรีลังกายังต้องได้รับการเตือนถึงหน้าที่ของพวกเขาอยู่เสมอในการอำนวยความสะดวกต่อสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมประท้วงโดยสงบและฝึกความยับยั้งในการใช้กำลังขณะที่กำลังมีการชุมนุมประท้วง การกระทำของพวกเขาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาได้คร่าชีวิตของผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสันติไปจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตในวันนี้ที่เพิ่มขึ้นอีกราย”
“อาวุธร้ายแรงต่ำที่ก่อให้เกิดผลกระทบโดยไม่จำกัดเป้าหมายและมีโอกาสเกิดอันตรายสูงจะต้องไม่ใช้ในกรณีที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงต่อบุคคลในวงกว้างระหว่างการชุมนุมประท้วงโดยสงบ วีดิโอจากเมื่อวานนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ชุมนุมประท้วงต่างอยู่ในพื้นที่คับแคบโดยไม่สามารถกระจายตัวหรือหลบหนีไปได้เลย แต่ตำรวจกลับใช้ปืนฉีดน้ำและแก๊สน้ำตา ซึ่งละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและมาตรฐานในการใช้กำลัง”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3y3qcjL
 
-----
 
 
เมียนมา : เปิดโปงการขนส่งเชื้อเพลิงอากาศยานรอบใหม่ไปเมียนมา แม้กองทัพยังคงก่ออาชญากรรมสงคราม
1 มีนาคม 2566
 
การขนส่งเชื้อเพลิงอากาศยานรอบใหม่ไปเมียนมายังคงเกิดขึ้น แม้กองทัพยังคงก่ออาชญากรรมสงครามอย่างต่อเนื่อง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และ Global Witness กล่าวในวันนี้ หลังทางหน่วยงานตรวจพบว่ามีอีกหลายบริษัทที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานครั้งนี้
มอนต์เซ แฟร์เรอร์ นักวิจัยและที่ปรึกษาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า เราตรวจพบว่ามีการขนส่งเชื้อเพลิงอากาศยานรอบใหม่ ซึ่งน่าจะส่งถึงมือของกองทัพเมียนมาที่ได้โจมตีทางอากาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างต่อเนื่อง การโจมตีเหล่านี้เป็นการสังหารพลเรือนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเด็ก และทำลายทรัพย์สินของพลเรือน แต่เครื่องบินจะบินได้ก็เมื่อมีเชื้อเพลิงเท่านั้น
“นับแต่การทำรัฐประหารของกองทัพเมื่อปี 2564 กองทัพได้ปราบปรามอย่างโหดร้ายต่อผู้วิจารณ์ และโจมตีพลเรือนทั้งทางบกและอากาศ การจัดส่งเชื้อเพลิงอากาศยานถึงมือของกองทัพ ย่อมเป็นการสนับสนุนอาชญากรรมสงครามเหล่านี้ การจัดส่งน้ำมันต้องยุติลงทันที”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3IOmgZ2
 
-----
 
 
30 ประเทศ : กว่า 30 ประเทศเรียกร้องให้มีกฎหมายควบคุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับหุ่นยนต์สังหาร
24 กุมภาพันธ์ 2566
 
สืบเนื่องจากการลงนามในแถลงการณ์โดยมากกว่า 30 ประเทศในคอสตาริกา เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แอกเนส กาลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า
“การพัฒนาอาวุธอัตโนมัติกำลังเพิ่มขึ้น และการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีการสอนให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยการใส่ข้อมูลเข้าไปที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นพัฒนาการที่น่ากังวลอย่างมาก เครื่องจักรเหล่านี้เสี่ยงที่จะกระทำการฆาตกรรมโดยอัตโนมัติ โดยนับว่าเป็นกิจการทางเทคนิคที่เพิ่มความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนข้อกังวลเกี่ยวกับมนุษยธรรม กฎหมาย และจริยธรรม เครื่องจักรอัตโนมัติจะทำการตัดสินชีวิตและความเป็นความตายโดยปราศจากความเห็นอกเห็นใจหรือความสงสาร”
“ระบบอาวุธอัตโนมัตินั้นขาดความสามารถในการวิเคราะห์เจตนาเบื้องหลังของการกระทำของผู้คน พวกมันไม่สามารถตัดสินใจอะไรที่ซับซ้อนเกี่ยวกับข้อแตกต่างและสัดส่วนที่เหมาะสม ระบุความจำเป็นในการโจมตี ปฏิเสธคำสั่งที่ผิดกฎหมาย หรือแม้กระทั่งรับรู้ถึงความพยายามที่จะยอมจำนน ที่สำคัญต่อการปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3Zeiv67
 
-----
 
อียิปต์ : เพิกถอนคดีปลอม ๆ กับกลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอียิปต์
1 มีนาคม 2566
 
ทางการอียิปต์จะต้องปล่อยตัว เอซซัต โกเนียม, ผู้ก่อตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน Egyptian Coordination for Rights and Freedoms และคนอื่นๆอีก 13 คน พิจารณาคดีด้วยข้อหาที่ไม่สมเหตุสมผล อันเป็นเหตุมาจากการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนหรือการไม่เห็นด้วยอย่างสันติของพวกเขา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ก่อนหน้าคำพิพากษาของพวกเขาในวันที่ 5 มีนาคม
พวกเขาทั้ง 14 คนต่างถูกควบคุมตัวโดยพลการตั้งแต่ปี 2018 และอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีโดย Emergency State Security Court (ESSC) จำเลยต่างถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการบังคับบุคคลให้สูญหาย การทรมาน หรือการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ หากถูกตัดสินว่ามีความผิด พวกเขาจะต้องเผชิญกับโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีจนไปถึงตลอดชีวิตหลังลูกกรง
“การพิจารณาคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมืองนี้ที่กระทำโดยศาลฉุกเฉิน นับเป็นความพยายามครั้งล่าสุดโดยทางการอียิปต์ในการปิดปากกลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทนายความ และทั้งผู้วิจารณ์รัฐบาลที่มีตัวตน หรือผู้วิจารณ์ที่รัฐสามารถรับรู้ได้ บุคคลทั้ง 14 คนนี้ต่างถูกคุมขังเพียงแค่ใช้สิทธิมนุษยชนของตนเอง พวกเขาควรได้รับการปล่อยตัวในทันทีและข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อพวกเขาจะต้องถูกเพิกถอนลง” ฟิลิป ลูเทอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและสนับสนุนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ กล่าว
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3YfQ3Qb
 
-----
 
กัมพูชา : ผู้นำฝ่ายค้าน เขม โสกา ถูกตัดสินจำคุก 27 ปีในข้อกล่าวหาในความผิดฐานกบฎ
3 มีนาคม 2566
 
สืบเนื่องจากข่าวที่ศาลเทศบาลกรุงพนมเปญได้ตัดสินให้ผู้นำฝ่ายค้าน เขม โสกาจำคุกเป็นเวลา 27 ปี และระงับการใช้สิทธิทางการเมืองในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและลงสมัครเลือกตั้งอย่างไม่มีกำหนดในข้อหา “สมรู้ร่วมคิดกับตะวันตก”
มิงยู ฮาห์ รองผู้อำนวยการภูมิภาค แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “เป็นอีกครั้งที่ระบบยุติธรรมของกัมพูชาแสดงให้เห็นว่าขาดความเป็นอิสระ โดยการตัดสิน เขม โสกา ในข้อหาที่ไม่มีมูลความเป็นจริงและเกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง คำตัดสินในครั้งนี้ถือเป็นคำเตือนที่ชัดเจนต่อกลุ่มฝ่ายค้านหลายเดือนก่อนที่จะมีการเลือกตั้งระดับประเทศ การใช้ศาลเพื่อไล่ล่าฝ่ายตรงข้ามของ นายกรัฐมนตรีฮุน เซน นั้นไม่มีขอบเขต”
“โสกา ถือเป็นหนึ่งในบุคคลฝ่ายค้านจำนวนมากที่ต้องผ่านการทดสอบทางร่างกายและจิตใจต่อการพิสูจน์อย่างทารุณซึ่งจะดำเนินการต่อไปหลังจากคำตัดสินที่ไม่เป็นธรรมในวันนี้ มันไม่มีสิทธิ์เลยที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม เมื่อศาลถูกเลือกจากรัฐบาลโดยตรง”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3Zif1zA