ผลรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565

14 กุมภาพันธ์ 2566

Amnesty International

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565” (Media Awards 2022) ณ ห้องกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล กรุงเทพ

โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน และ Hope” ประเภทบุคคลทั่วไป

ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “แสงเทียน” ที่ฉายแสงส่องให้คนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน  และเชิญชวนให้เราต่างบ่มเพาะความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น  จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสื่อในการเป็นแนวหน้าของการติดตามถกเถียงประเด็นสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในส่วนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องได้รับการคุ้มครอง ไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม

ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้

 

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีข่าว ประเภทสื่อออนไลน์ 6 รางวัล ได้แก่

 

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

1 รางวัล ได้แก่

 

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)

3 รางวัล ได้แก่

 

รางวัลดีเด่นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

1 รางวัล ได้แก่

 

รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)

2 รางวัล ได้แก่

 

รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 2 รางวัล ได้แก่

 

รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 5 รางวัล ได้แก่

 

รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 1 รางวัล ได้แก่

 

“เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนกีดกันช่างภาพข่าวออกจากพื้นที่ระหว่างการสลายการชุมนุมของราษฎรหยุด APEC”

  • ผลงานโดย เมธิชัย เตียวนะ จากเว็บไซต์ 101.world

 

รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 4 รางวัล ได้แก่

 

“กลุ่มไรเดอร์ ผู้ใช้แอฟพิเคชั่น รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ยืดเวลาจดทะเบียน เพื่อวามอยู่รอดของปากท้อง”

  • ผลงานโดย ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช จากสำนักข่าวไทยออนไลน์

 

“ความรุนแรงต่อผู้ประท้วงไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่ต่อพระสงฆ์ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมการชุมนุมเพียงแค่ขอก้าวผ่านเขตแดนที่ทางเจ้าหน้าที่กั้นไว้เพื่อไปรับตัวผู้ชุมนุมที่โดนจับตัวเพียงเท่านี้ก็ได้รับความรุนแรงจากกระบองและโล่จนได้การบาดเจ็บ”

  • ผลงานโดย ณัฐพล โลวะกิจ จาก SPACEBAR

 

“เด็กสาวอายุ 20 ปี ทำกิจกรรมแสดงออกด้วยการผูกริบบิ้นสีแดงและสีน้ำเงินตามสถานที่ต่างๆ ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ "อุ้ม" และจับกุม หลังจากนั้นเธอโดนแจ้งข้อหามาตรา112 อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต่อมาอีก 2 เดือน ศาลสั่งไม่ให้ประกันตัว เธอต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำและอดอาหารเพื่อประท้วงความไม่อยุติธรรมนี้เป็นเวลามากกว่า 1 เดือน”

  • ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ จาก SPACEBAR 

 

“ผู้ชุมนุมใช้หมีพูห์ เป็นสัญลักษณ์แทน ‘สี จิ้นผิง’ ดันแนวโล่ตำรวจบริเวณแยกอโศก ระหว่างการประท้วงผู้นำจีนและการเป็นเจ้าภาพของไทยในการจัดการประชุม APEC 2022”

  • ผลงานโดย ปฏิภัทร จันทร์ทอง ว๊อยซ์ออนไลน์

 

รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 1 รางวัล ได้แก่

 

“เด็กสาวอายุ 20 ปี ทำกิจกรรมแสดงออกด้วยการผูกริบบิ้นสีแดงและสีน้ำเงินตามสถานที่ต่างๆ ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ "อุ้ม" และจับกุม หลังจากนั้นเธอโดนแจ้งข้อหามาตรา112 อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต่อมาอีก 2 เดือน ศาลสั่งไม่ให้ประกันตัว เธอต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำและอดอาหารเพื่อประท้วงความไม่อยุติธรรมนี้เป็นเวลามากกว่า 1 เดือน”

  • ผลงานโดย ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ จาก SPACEBAR

 

รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่

 

"ภาพวินาทีประวัติศาสตร์ของกลุ่มภาคีสีรุ้งหลังได้รับรู้ว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านสภาผู้เเทนราษฎรในวาระเเรก นับเป็นหมุดหมายสําคัญสําหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหลังจากการเรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปี"

  • ผลงานโดย ศุภสัณห์ กันณรงค์

 

รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 4 รางวัล ได้แก่

 

“การละหมาดของไทยมุสลิมผู้นับถือสาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนใต้ในวันฮารีรายอ..”

  • ผลงานโดย วิหาร ขวัญดี

 

“ประชาชนที่หนีสงครามมาอยู่ชายแดนไทยพม่า ยังคงมีความหวังอยู่เสมอ เพียงแต่ต้องอดทนและรอคอยวันเวลาแห่งความสงบสุขคืนกลับมา ซื่งก็ยังมีคนช่วยเหลือเจือจุน ให้ลุกขึ้นต่อสู้ต่อไป”

  • ผลงานโดย ศิริพงศ์ ปทุมอครินทร์

 

“รอยแผลของความหวัง รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำกลุ่มราษฎร จับมือมารดาออกจากศาลอาญา หลังฟังผลขอปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อเรียนและทำวิจัยต่อ โดยข้อมือของรุ้งยังเป็นแผลจากการแสดงอารยะขัดขืนเพื่อยกเลิกมาตรา 112 ด้วยการกรีดข้อมือเป็นเลข 112 ในวันที่ 30 ตุลาคม 2564”

  • ผลงานโดย ชนากานต์ เหล่าสารคาม

 

“15.45 ของวันพฤหัสที่9/06/2565 นั้นคือสิ่งที่รอค่อยจากคนรัก”ความหวัง” ที่จะได้อยู่ด้วยกันอีกครั้งเป็นจริงแล้ว “กอด” คือสัมผัสแรกที่มีให้กัน” #ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีกัญชา

  • ผลงานโดย ฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ

 

รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่

 

"ภาพวินาทีประวัติศาสตร์ของกลุ่มภาคีสีรุ้งหลังได้รับรู้ว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านสภาผู้เเทนราษฎรในวาระเเรก นับเป็นหมุดหมายสําคัญสําหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหลังจากการเรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปี"

  • ผลงานโดย ศุภสัณห์ กันณรงค์

 

ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล กล่าวต่อว่าในปีนี้ยังจัดให้มีการพูดคุยในหัวข้อ Voice of Rights: เสียงจากชาวประมง คนรุ่นใหม่ สื่อสำคัญมากแค่ไหน ในวันที่ประชาชนลุกขึ้นส่งเสียงเพื่อทวงถามความยุติธรรมและเสรีภาพ”  โดยเบนจา อะปัญ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ และวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย สองคนต้นเรื่องของผลงานที่ได้เข้าชิงรางวัลในปี 2565

ในตอนท้าย ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป

 

////

 

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ เนาวรัตน์ เสือสอาด หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มือถือ 089 922 9585 หรืออีเมล media@amnesty.or.th