สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 4 กุมภาพันธ์ - 10 กุมภาพันธ์ 2566

13 กุมภาพันธ์ 2566

Amnesty International

 
ไทย : ผู้ชุมนุมประท้วงที่เป็นเด็กในประเทศไทยเผชิญกับ ‘ผลกระทบอย่างรุนแรง’ จากการเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่
8 กุมภาพันธ์ 2566
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดตัวรายงานฉบับใหม่ระบุ ทางการไทยได้จับกุม ดำเนินคดี สอดแนมข้อมูล และข่มขู่เด็กที่ร่วมการชุมนุมประท้วงซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากเป็นประวัติการณ์ พร้อมเรียกร้องให้ยกเลิกการดำเนินคดี และยุติการคุกคามทุกรูปแบบที่ขัดขวางไม่ให้เด็กเข้าร่วมการชุมนุมประท้วง
รายงานใหม่ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชื่อ “We are Reclaiming Our Future” (ขอทวงคืนอนาคตของพวกเรา) จัดทำขึ้นจากการสัมภาษณ์ผู้ชุมนุมประท้วงและนักกิจกรรมที่เป็นเด็ก 30 คนทั่วประเทศ ซึ่งเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างตั้งแต่ปี 2563- 2565
เมื่อเปรียบเทียบกับการชุมนุมประท้วงที่ผ่านมาในประเทศไทย การชุมนุมประท้วงครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากที่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี พวกเขาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมที่มีลักษณะแบบพ่อปกครองลูก (กล่าวคือ ผู้ใหญ่รู้ดีและมีอำนาจตัดสินใจแทนเด็ก) และอนุรักษ์นิยมอย่างเคร่งครัด เด็กผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เด็กชนเผ่าพื้นเมือง และเด็กกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนกลุ่มน้อยต่างมีบทบาทสำคัญในการชุมนุมประท้วงครั้งนี้เช่นกัน
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3YdWjsq
 
-----
 
 
อิหร่าน : การเฉลิมฉลองวันครบรอบที่น่าอับอายท่ามกลางการสังหารหมู่และการปิดบังมานานหลายทศวรรษ
6 กุมภาพันธ์ 2566
 
การที่ทางการอิหร่านปฏิเสธที่จะยอมรับโดยไม่ต้องเอ่ยถึงการรับประกันความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์สังหารหมู่ในคุกในปี 2531 ซึ่ง เป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของการสังหารหมู่อย่างลับๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ได้ก่อให้เกิดวงจรอาชญากรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศและการปิดบังที่ถูกออกแบบมาเพื่อที่จะหยุดฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองทุกรูปแบบ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวในโอกาสที่สาธารณรัฐอิสลามได้ฉลองครบรอบ 44 ปี
ในการแถลงการณ์สาธารณะเพิ่มเติม “การมีส่วนร่วมของอดีตนักการทูตของอิหร่านในการปกปิดการสังหารหมู่ในเรือนจำในปี 1988” แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ขอไว้อาลัยต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการบังคับบุคคลให้สูญหายหมู่และการวิสามัญฆาตกรรมในช่วงทศวรรษ 1980 และให้รายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของผู้แทนทางการทูตของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในการปฏิเสธการสังหารหมู่ เผยแพร่ข้อมูลที่ผิดและคัดค้านการสอบสวนระหว่างประเทศต่อหน้าหลักฐานที่น่าเชื่อถือจำนวนมาก
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3jOBMvt
 
-----
 
 
ซีเรีย : ประชาคมโลกจำเป็นต้องมีการดำเนินการหลังจากเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรงส่งผลกระทบกับภูมิภาคที่เสียหายจากสงคราม
6 กุมภาพันธ์ 2566
 
สืบเนื่องจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในทูร์เคียและซีเรียเมื่อเช้านี้
อายา มาซุบ รองผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ กล่าวว่า
“ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงในครั้งนี้ ผู้คนนับแสนคนทั่วทูร์เคียและซีเรียต่างก็ได้รับผลกระทบ ยิ่งไปกว่านั้นคนในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากความขัดแย้งอยู่แล้วมานานหลายปีต่างก็ต้องเผชิญกับความท้าทายเพิ่มเติม”
“ผู้คนทั้งหมด 4 ล้านคนในพื้นที่ตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรียที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายต่อต้าน ต่างจะต้องทนอยู่ในสภาพที่น่าหวาดกลัวโดยแทบจะไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้เลย เมื่อเช้านี้อาคารหลายหลังได้พังทลายลงในละแวกใกล้เคียงซึ่งทรุดโทรมมาจากสงครามมากกว่า 10 ปี นอกจากนั้นความเสียหายอย่างหนักนี้ ประกอบกับวิกฤตเศรษฐกิจเฉียบพลันและพายุฤดูหนาวที่รุนแรงยังขัดขวางการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอีกด้วย”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3RTYtuX
 
-----
 
ฮ่องกง : คดีทั้งหมดต่อแกนนำประชาธิปไตย 47 คนจะต้องถูกยกเลิก เมื่อการพิจารณาคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมืองได้เริ่มต้นขึ้น
6 กุมภาพันธ์ 2566
 
เนื่องจากการพิจารณาคดีกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดของฮ่องกงต่อผู้สนับสนุนประชาธิปไตยจำนวน 47 คนได้เริ่มขึ้นในวันนี้
ฮานา ยัง รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า
“คดีนี้ถือเป็นความอยุติธรรมที่ต่ำช้านับตั้งแต่ที่มีการดำเนินคดีฟ้องร้องจำเลยทั้ง 47 คนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2021”
“ในการพิจารณาคดีที่เผยลักษณะที่เป็นการละเมิดโดยเนื้อแท้ของกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ จำเลยบางคนต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตเพียงแค่เพราะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง ‘ขั้นต้น’ ของพรรคการเมือง”
“พวกเขาต่างถูกบังคับให้ตัดสินใจในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ระหว่างการสารภาพรับผิดข้อหาอาชญากรรมที่ไม่ได้มีอยู่จริง เพื่อการลดหย่อนโทษหรือการต่อสู้ในศึกที่พ่ายแพ้ภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่ไม่ชอบธรรม”
“คนส่วนใหญ่ในจำนวน 47 คนต่างถูกคุมขังเป็นเวลา 2 ปีโดยไม่มีการไต่สวนใดๆ เนื่องจากหลักเกณฑ์การประกันตัวที่เข้มงวดอย่างมาก ซึ่งผลกระทบนี้ได้ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานในการคัดค้านการประกันตัวในคดีความมั่นคงของประเทศ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในการพิจารณาคดี ก็ไม่สามารถแก้ไขความอยุติธรรมนี้ได้”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3I9ix9n
 
-----
 
“เราต่างตกอยู่ในความเสี่ยง” : เยาวชนต่างแสดงความกังวลต่อผลกระทบของโซเชียลมีเดียต่อความเป็นส่วนตัวและสุขภาพจิตในการสำรวจทั่วโลก
7 กุมภาพันธ์ 2566
 
อินสตาแกรม ติ๊กต๊อก และสื่อโซเชียลมีเดียอื่นๆ ได้กลายเป็นกิจวัตรประจำวันในชีวิตของเด็กๆและเยาวชนทั่วโลก โดย 59% ของเยาวชนที่มีการสำรวจจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ใช้เวลาเฉลี่ยมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันไปกับโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม การวิจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ของเยาวชนต่อโซเชียลมีเดียนั้นก็ยังคงมุ่งเน้นอย่างหนักไปที่อเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้รวบรวมคำตอบมาจากเด็กและเยาวชนทั้งหมด 550 คนที่มีอายุระหว่าง 13 ปีไปจนถึง 24 ปีใน 45 ประเทศเพื่อที่จะทำความเข้าใจประสบการณ์ชีวิต ความกังวล และทัศนคติต่อโซเชียลมีเดียของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ท่ามกลางเสียงชื่นชมในความหลากหลายทางความคิด ความคิดสร้างสรรค์และโอกาสของผู้ใช้สำหรับกิจกรรมที่เยาวชนค้นพบในโซเซียลมีเดีย มีข้อกังวลหลักๆ 2 ประการที่โดดเด่นดังนี้: เนื้อหาที่เป็นอันตรายและสิ่งที่ผู้เข้าร่วมต่างอธิบายว่าเป็นแพลตฟอร์ม “เสพติด” ที่ออกแบบมาเพื่อส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเยาวชนและความรู้สึกไร้อำนาจ เมื่อต้องเผชิญกับบริษัทระดับโลกที่พยายามผลักดันอย่างต่อเนื่องให้เข้าร่วมในวงจรการแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลและการบริโภคเนื้อหา
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3HOH6Hl
 
-----
 
เกาหลีเหนือ : สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายลงต้องได้รับความสนใจจากนานาชาติ
7 กุมภาพันธ์ 2566
 
ก่อนการเตรียมการที่ชัดเจนของเกาหลีเหนือสำหรับการสวนสนามฉลองครบรอบ 75 ปีของการก่อตั้งกองทัพแห่งประชาชนเกาหลี
โบรัม จาง นักวิจัยประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า
“ในขณะที่เมืองหลวงอย่างเปียงยางเตรียมการสำหรับการสวนสนามอย่างโอ้อวด ชาวเกาหลีเหนือมากกว่า 40% ต่างประสบกับปัญหาภาวะขาดสารอาหารท่ามกลางความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างกว้างขวาง ผู้คนในประเทศต่างถูกตัดขาดการสื่อสารกับโลกภายนอก ใครก็ตามที่พยายามกระทำการในลักษณะที่เป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาลคิมจองอึน เสี่ยงที่จะถูกจำคุกตลอดชีวิตหรืออาจถึงขั้นถูกประหารชีวิตด้วยซ้ำ”
“ขนาดและความรุนแรงของการละเมิดในเกาหลีเหนือต้องได้รับความสนใจจากนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลของเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ จะต้องสร้างโอกาสให้ทูตสิทธิมนุษยชนของตนมีส่วนร่วมในการเจรจากับเกาหลีเหนือ”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3XjuYns