ประกาศผลภาพถ่ายที่ได้เข้าชิง "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2565

13 มกราคม 2566

Amnesty International Thailand

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดโผภาพถ่ายที่เข้าชิงรางวัล (รอบ 2) จากการประกวด  "รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน" ประจำปี 2565 (Media Awards 2022) ประเภทภาพถ่ายในหัวข้อ Protect the Protest” สำหรับสื่อมวลชน และหัวข้อ Hope” สำหรับประชาชนทั่วไป

จากการคัดสรรและตัดสินภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ทางคณะกรรมการตัดสินขอแจ้งผลงานภาพถ่ายที่ผ่านเข้าชิงรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 ในประเภทภาพถ่าย ดังต่อไปนี้

 

ภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” สำหรับสื่อมวลชน

 

“กลุ่มไรเดอร์ ผู้ใช้แอฟพิเคชั่น รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ยืดเวลาจดทะเบียน เพื่อวามอยู่รอดของปากท้อง”

ผลงานของ ชำนาญวุฒิ สุขุมวานิช (สำนักข่าวไทยออนไลน์)

 

“เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนกีดกันช่างภาพข่าวออกจากพื้นที่ระหว่างการสลายการชุมนุมของราษฎรหยุด APEC”

ผลงานของ เมธิชัย เตียวนะ (The101.world)

 

“ความรุนแรงต่อผู้ประท้วงไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่ต่อพระสงฆ์ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมการชุมนุมเพียงแค่ขอก้าวผ่านเขตแดนที่ทางเจ้าหน้าที่กั้นไว้เพื่อไปรับตัวผู้ชุมนุมที่โดนจับตัวเพียงเท่านี้ก็ได้รับความรุนแรงจากกระบองและโล่จนได้การบาดเจ็บ”

ผลงานของ ณัฐพล โลวะกิจ (SPACEBAR)

 

“เด็กสาวอายุ 20 ปี ทำกิจกรรมแสดงออกด้วยการผูกริบบิ้นสีแดงและสีน้ำเงินตามสถานที่ต่างๆ ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ "อุ้ม" และจับกุม หลังจากนั้นเธอโดนแจ้งข้อหามาตรา112 อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต่อมาอีก 2 เดือน ศาลสั่งไม่ให้ประกันตัว เธอต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำและอดอาหารเพื่อประท้วงความไม่อยุติธรรมนี้เป็นเวลามากกว่า 1 เดือน”

ผลงานของ  ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ (SPACEBAR)

 

“ผู้ชุมนุมใช้หมีพูห์ เป็นสัญลักษณ์แทน ‘สี จิ้นผิง’ ดันแนวโล่ตำรวจบริเวณแยกอโศก ระหว่างการประท้วงผู้นำจีนและการเป็นเจ้าภาพของไทยในการจัดการประชุม APEC 2022”

ผลงานของ  ปฏิภัทร จันทร์ทอง

 

รางวัลป๊อปูล่าโหวต

 

13.1.jpg

“เด็กสาวอายุ 20 ปี ทำกิจกรรมแสดงออกด้วยการผูกริบบิ้นสีแดงและสีน้ำเงินตามสถานที่ต่างๆ ก่อนจะถูกเจ้าหน้าที่ "อุ้ม" และจับกุม หลังจากนั้นเธอโดนแจ้งข้อหามาตรา112 อาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ต่อมาอีก 2 เดือน ศาลสั่งไม่ให้ประกันตัว เธอต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำและอดอาหารเพื่อประท้วงความไม่อยุติธรรมนี้เป็นเวลามากกว่า 1 เดือน”

ผลงานของ  ณัฐพล พันธ์พงษ์สานนท์ (SPACEBAR)

 

 

ภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” สำหรับประชาชนทั่วไป

 

“15.45 ของวันพฤหัสที่9/06/2565 นั้นคือสิ่งที่รอค่อยจากคนรัก”ความหวัง” ที่จะได้อยู่ด้วยกันอีกครั้งเป็นจริงแล้ว “กอด” คือสัมผัสแรกที่มีให้กัน” #ปล่อยตัวผู้ต้องหาคดีกัญชา

ผลงานของฉัฐพัชร์ สุวรรณยุหะ

 

“รอยแผลของความหวัง รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำกลุ่มราษฎร จับมือมารดาออกจากศาลอาญา หลังฟังผลขอปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อเรียนและทำวิจัยต่อ โดยข้อมือของรุ้งยังเป็นแผลจากการแสดงอารยะขัดขืนเพื่อยกเลิกมาตรา 112 ด้วยการกรีดข้อมือเป็นเลข 112 ในวันที่ 30 ตุลาคม 2564”

ผลงานของ  ชนากานต์ เหล่าสารคาม

 

“ประชาชนที่หนีสงครามมาอยู่ชายแดนไทยพม่า ยังคงมีความหวังอยู่เสมอ เพียงแต่ต้องอดทนและรอคอยวันเวลาแห่งความสงบสุขคืนกลับมา ซื่งก็ยังมีคนช่วยเหลือเจือจุน ให้ลุกขึ้นต่อสู้ต่อไป”

ผลงานของ  Siripong Patumaukkarin

 

“การละหมาดของไทยมุสลิมผู้นับถือสาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนใต้ในวันฮารีรายอ..”

ผลงานของ วิหาร ขวัญดี

 

ภาพวินาทีประวัติศาสตร์ของกลุ่มภาคีสีรุ้งหลังได้รับรู้ว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านสภาผู้เเทนราษฎรในวาระเเรก นับเป็นหมุดหมายสําคัญสําหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหลังจากการเรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปี

ผลงานของ ศุภสัณห์ กันณรงค์

 

รางวัลป๊อปูล่าโหวต

 

ภาพวินาทีประวัติศาสตร์ของกลุ่มภาคีสีรุ้งหลังได้รับรู้ว่า พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านสภาผู้เเทนราษฎรในวาระเเรก นับเป็นหมุดหมายสําคัญสําหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหลังจากการเรียกร้องมาตลอดระยะเวลาหลายปี

ผลงานของ ศุภสัณห์ กันณรงค์