เปิดตัวหนังสือ "There's always spring - เมื่อถึงเวลาดอกไม้จะบาน"

30 ตุลาคม 2565

Amnesty International Thailand

เป็ดยาง  การชูสามนิ้ว กระสุนยาง บทเพลงต่างๆอีกมากมาย ที่หล่อหลอมเรื่องราวการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ ของการชุมนุมตั้งแต่ปี 2563  เป็นต้นมา

การเคลื่อนไหวในครั้งนั้นเปรียบเสมือนความอบอุ่นในฤดูใบไม้ผลิ ที่ต้นไม้ ดอกไม้ต่างแข่งขันกันผลิดอก อีกครั้ง กลายเป็นความหวังในการเปลี่ยนแปลงหลังเผชิญกับฤดูหนาวยาวนาน ที่แม้ว่าผู้ชุมนุมจะต้องเผชิญกับการใช้กฎหมาย แต่พวกเขาก็ยังกู่ตะโกนข้อเรียกร้องด้วยความหวังว่าวันหนึ่งอนาคตจะหวนคืนสู่พวกเขาอีกครั้ง

เรื่องราวการลุกฮือของประชาชนในห้วงเวลาประวัติศาสตร์นี้ถูกบันทึกในหนังสือ There’s always spring - เมื่อถึงเวลาดอกไม้จะบาน”   และเพื่อให้หนังสือเล่มนี้เผยแพร่สู่สาธารณะมากขึ้น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)  ในฐานะผู้จัด ได้ร่วมเปิดตัวหนังสือเล่มนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา 

กิจกรรมในครั้งนี้ได้ชวนทุกคนย้อนรำลึกถึงช่วงเวลาของการชุมนุมทางการเมืงสองปีที่ผ่านมานี้ ผ่านหนังสือที่รวบรวมภาพถ่ายจากช่างภาพและผู้สังเกตการณ์การชุมนุมของโครงการ Mob Data Thailand ที่บันทึกข้อเท็จจริงของการชุมนุมสาธารณะตั้งแต่ปี 2563

ในงานนี้ยังพบกับนิทรรศการเชิงสัญลักษณ์ที่สะท้อนการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในเวลาดังกล่าว ที่มีการร้อยเรียงเรื่องราวตามบทของหนังสือเล่มนี้ ที่เริ่มต้นจาก  Spring has come ความหวังของการเมืองไทยที่ก่อต่อขึ้นหลังจากการชุมนุม Rainbow of hope ความหลากหลายของข้อเรียกร้อง ในช่วงการชุมนุม   Song of seasons บทเพลงที่ขับเคลื่อนการชุมนุม Cloudy days  วาทะกรรมจากการสะท้อนเสียงจากกลุ่มที่เห็นต่างจากผู้ชุมนุม The mist is on the way  ภาพความรุนแรงและมาตรการที่รัฐใช้เพื่อสกัดกั้นการใช้เสรีภาพการแสดงออกของประชาชน

 

 

ก่อนการเสวนา บุศรินทร์ แปแนะ ผู้ประสานงานโครงการ Mob Data Thailand จากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้เล่าถึงที่มาของโครงการ Mob Data Thailand นี้ว่าเริ่มต้นในปี 2563 หลังจากมีการชุมนุมจำนวนมาก ที่ต้องมีการทำฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการเสนอนโยบายที่เอื้อกับเสรีภาพในการชุมนุมในอนาคต  ซึ่งระหว่างการจัดทำโครงการนี้ก็พบความท้าทายอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่การชุมนุมมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนมกราคม 2563  ในขณะที่จำนวนผู้เก็บข้อมูลมีจำนวนจำกัด ท้ายที่สุดจึงต้องประสานข้อมูลกับเครือข่ายการเมือง  รวมถึงมีอาสาสมัครสังเกตการณ์ชุมนุม ซึ่งอาสาสมัครก็ต้องประสบกับการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาการโดนแก๊สน้ำตา

เธอยังได้เล่าว่าหลังจากเก็บข้อมูลแนวทางของรัฐที่ปฎิบัติกับผู้ชุมนุมมาซักระยะหนึ่ง ก็ได้เพิ่มข้อมูลการปราศรัยของแกนนำ รวมถึงรูปภาพของเหตุการณ์ชุมนุมโดยส่งโดยช่างภาพ เพื่อให้เว็บไซต์ Mob Data Thailand เป็นพื้นที่ที่บันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงเวลานั้นได้มากที่สุด ปัจจุบัน มีการรวบรวมข้อมูลกว่า 1,000 ชุมนุมจากการชุมนุมทั้งหมด 2,000 กว่าครั้ง และถูกนำมาเผยแพร่ในรูปแบบหนังสือ  “There’s always spring - เมื่อถึงเวลาดอกไม้จะบาน” 

 

 

 

การเสวนาเริ่มต้นจากการทบทวนความทรงจำของการชุมนุมในปี 2563 ถึง 2564 ผ่านการเปิดภาพเหตุการณ์ในการชุมนุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนา ที่ประกอบด้วย อานนท์ นำภา  ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล  จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา และชลธิชา แจ้งเร็ว มาร่วมทบทวนความทรงจำถึงบทบาทของพวกเขาในช่วงเวลานั้น ซึ่งหลายครั้ง จตุภัทร และอานนท์ พวกเขาไม่สามารถจำภาพเหตุการณ์ได้เนื่องจากถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ

 

ภาพการชุมนุมวันที่ 14 ต.ค. 2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

 

 

อานนท์ได้เล่าว่าการชุมนุมในครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก แต่ก็ถูกฝ่ายตรงกันข้ามพยายามสร้างความยั่วยุเพื่อสร้างสถานการณ์ ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้มีจุดเปลี่ยนของรูปแบบการเคลื่อนไหว ที่นำไปสู่การจัดชุมนุมโดยไม่มีแกนนำ  ซึ่งหลังจากนั้นเขาก็ถูกจับกุม

 

ภาพการชุมนุมเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563  หน้าสถานทูตเยอรมัน

 

 

การชุมนุมในครั้งนี้ มีผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 มากที่สุดถึง 13 คน  ในวันนั้น   อานนท์อยู่ระหว่างการถูกคุมขังในเชียงใหม่ ส่วนจตุภัทร์เพิ่งถูกปล่อยตัว ส่วนภัทราวลีเป็นหนึ่งในแกนนำชุมนุม โดยเธอได้เป็นตัวแทนยื่นหนังสือต่อตัวแทนสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย  เธอเล่าต่อด้วยว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของคนรุ่นใหม่หลายๆคนเพราะบางคนที่ถูกตั้งข้อหาดังกล่าวไม่ใช่นักกิจกรรม แต่เป็นล่ามที่ช่วยแปลภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษในระหว่างการแถลงการณ์

 

ภาพการชุมนุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 ที่สนามหลวง

เป็นการชุมนุมที่ให้ประชาชนได้ร่วมเขียนจดหมายถึงกษัตริย์ เพื่อเรียกร้องให้มีการปฎิรูปสถาบัน  ภัทราวลีเล่าว่าเธอได้เข้าร่วมในการชุมนุมครั้งนั้น และโดนฉีดน้ำระหว่างการเคลื่อนขบวน จึงทำให้การชุมนุมเป็นไปอย่างทุลักทุเล นอกจากนี้เธอยังเห็นตู้จดหมายที่ใส่ข้อเรียกร้องจากประชาชนในการปฎิรูปสถาบันฯถูกเคลื่อนย้ายไป ซึ่งทราบทีหลังว่าถูกเก็บไว้ที่สำนักงานตำรวจ ชนะสงคราม ซึ่งดูแลพื้นที่ที่มีการชุมนุม ส่วนชลธิชา ก็เข้าร่วมในการชุมนุมครั้งนี้เช่นกัน ซึ่งเธอเป็นผู้ประสานงานการเจรจาเพื่อชะลอการใช้ความรุนแรงจากตำรวจ

 

ภาพการชุมนุมเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์2564  หลังอภิปรายไม่ไว้วางใจประเด็น “ ตั๋วช้าง” โดยรังสิมันต์ โรม พรรคก้าวไกล

 

 

ชลธิชาได้เล่าว่าการชุมนุมในครั้งนี้อยู่ในช่วงกระแสสังคมที่ตำรวจได้สลายชุมนุม ในขณะที่ไผ่อยู่ในช่วงการเดินทะลุฟ้า แต่จำจำสัญลักษณ์ตั๋วช้างที่แจกในการชุมนุมครั้งนี้ได้ ส่วนอานนท์ยังถูกจองจำ

 

ภาพการชุมนุมวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 การเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านพักของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ชลธิชาเล่าว่าการชุมนุมในครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระสุนยางในการสลายการชุมนุม ซึ่งเธอมองว่าตำรวจใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ  ซึ่งเธอก็มองว่าวิถีการยิงกระสุนยางนั้นไม่เป็นไปตามมาตราฐาน เนื่องจากทิศทางสูง ซึ่งปรกติต้องยิงต่ำ ในขณะที่ภัทราวลี ซึ่งอยู่ในการชุมนุมนั้นเช่นกัน าเธอต้องพยายามหาทางเอาตัวรอด  เพราะตอนนั้นตำรวจได้นำกระบองไล่ฟาดคน  

 

การชุมนุม 2563-2564 เมื่อถึงฤดูกาลที่ดอกไม้ผลิบาน

อานนท์ชี้ว่าการชุมนุมที่สร้างควาวหวังของการตื่นตัวทางการเมืองของสังคม มาจากการชุมนุมจากยาวชนปลดแอก  ในวันที่18 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบหลายปี  ซึ่งมีคนรุ่นใหม่จำนวนมากเข้ามาร่วมการชุมนุมในครั้งนี้ ซึ่งถึงแม้จะมีกระบวนการที่ติดขัดของการชุมนุมนี้ แต่ก็เป็นการปักหมุดคลื่นความเคลื่อนไหวที่ส่งผลการชุมนุมมาจนถึงปี 2564

 

 

ส่วนจตุภัทร์ อธิบายว่าการขยับการชุมนุมระหว่างปี 2563-2564 เป็นพลังให้เกิดความคิดสร้างสรรค์  เกิดการขยายแนวร่วมที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองในเดียวกัน  และได้ตอบคำถามกับตนเองว่าการเคลื่อนไหวของเขาตั้งแต่ปี 2557 หลังรัฐประหาร  นั้นมีความหมาย การชุมนุมสองปีมานี้ เขาได้การรวมตัวชุมนุมจากต่างจังหวัด รวมถึงจากภาคอีสานที่เขาอยู่ หลายคนรู้สึกปล่อยพลังเมื่อได้ไปชุมนุม มันมีแต่ความหวังที่อยากให้ประเทศไทยดีขึ้น

ภัทราวลี  นักกิจกรรมที่เข้าร่วมชุมนุมหลังผู้เสวนาคนอื่น ก็ย้ำเช่นกันว่าการการชุมนุมในปี 2563 ทำให้บรรรยากาศของสังคมเต็มไปด้วยความหวัง ที่เปรียบเสมือน “ แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ”   ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวจากโลกออนไลน์มายังพื้นที่ออนไลน์ ที่เริ่มตั้งแต่การประกวดแฮทแท็กร่วมเข้าชุมนุมจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการตื่นตัวทางการเมืองอย่างรวดเร็ว และสะท้อนเสียงของประชาชนว่าถูกกดทับจากรัฐอย่างไร

ชลธิชากล่าวว่าการชุมนุมที่ผ่านมาเป็นการขยับเพดานของข้อเรียกร้องในสังคมที่ผนวกการปฎิรูปสถาบันฯ นอกจากนี้ ยังได้เห็นรูปแบบการเคลื่อนไหวของการชุมนุมโดยที่ไม่ต้องมีแกนนำอย่างในอดีต ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ของการชุมนุมทั่วโลก โดยเธอได้ยกตัวอย่างของการชุมนุมที่เกิดขึ้นในประเทศชิลี นำโดยฝ่ายก้าวหน้า ที่ไม่ติดกรอบการเคลื่อนไหวแบบเดิมที่ไม่ยึดติดการมีแกนนำ   นอกจากนี้ เธอยังมองว่าที่ผ่านมาเสรีภาพในการชุมนุมในโลกดิจิตอลกำลังเปลี่ยน  ดังนั้น เเละนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของประเทศเราก็ต้องกลับมาปรับเปลี่ยนให้เท่าทันของโลกเช่นกัน

 

การขยับทางการเมืองปี 2565 ฤดูดอกไม้บานจะวนมาอีกครั้งไหม?

อานนท์แสดงความเห็นว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมามีความนิ่ง มีความลึก เพราะทุกคนกำลังตกผลึกความคิดบางอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับรับ เพราะถึงไม่มีการชุมนุม เเต่ประชาชนก็สะท้อนพลังบางอย่างออกมา  เช่น ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  หรือการเลือกตั้งซ่อมที่หลักสี่  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชาชาชนกำลังสั่งสมอารมณ์ เพื่อปล่อยออกมาในภายหลัง ซึ่งเขาเชื่อเชื่อว่าการชุมนุมการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุด จะเกิดขึ้นในปี 2566 ถึง 2567 ไม่ใช่ปี 2563 ถึง2564 ที่ผ่านมา

ภัทราวลีกล่าวว่าถึงแม้ว่าที่ผ่านมารัฐพยายามใช้กฎหมายเเละการใช้กำลังในการปราบปรามผู้ชุมนุมมาอย่างเข้มข้น  และประชาชนต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ แต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ยังคงอยู่ เพียงแต่ปรับรูปแบบที่แตกต่างออกไป โดยยกตัวอย่างถึงการจัดงานรำลึก 6 ตุลาคม ในปีนี้ ที่มีการจัดหลายที่อย่างคึกคัก รวมถึงการพูดคุยของการครบรอบ 18 ปีของเหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์ปี2553 ซึ่งการเคลื่อนไหวเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าคนในสังคมตื่นตัวกับสถานการณ์การเมืองในอดีตที่มีอิทธิพลต่อปัจจุบัน และการตั้งคำถามถึงกระบวนการที่จะทำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

“ตอนนี้ประชาชนกำลังสั่งสมความคิด ความเข้าใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้น เเละเมื่อถึงวันนึงที่มันพร้อม เเละมันมีเป้าหมายที่ชัดเจน เเละมันเป็นช่วงที่รัฐเองก็อ่อนเเอ ประชาชนก็จะลุกฮืออย่างเต็มตัว เมื่อวันนั้นมาถึง อาจจะเป็นวันที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ไปเลยก็ได้ ”  - ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล

จตุภัทร์ระบุว่าการต่อสู้ที่ผ่านมาเป็นการสร้างพื้นที่เรียนรู้ สร้างประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อต่อสู้กับเผด็จการ แต่ทุกคนคือมนุษย์ ก็ต้องมีช่วงเวลาที่ต้องพัก  แต่ถึงอย่างไรการเคลื่อนไหวก็ยังจะมีต่อ โดยเขาระบุว่าในอนาคตอาจจะไม่ได้อยู่ในฐานะบทบาทผู้ปราศรัย แต่ยังมีบทบาทอื่นในการต่อสู้ เมื่อพร้อมในกำลัง และทรัพยากร การเคลื่อนไหวก็จะดำเนินต่อและรอดอกไม้บานอีกครั้ง

ในขณะที่ชลธิชาระบุว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี 2565 เป็นปรับเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม ผ่านการ “เพาะเมล็ดพันธุ์ทางความคิด” การทำงานร่วมกับเยาวชน การจัดค่าย หรือการเดินสายบรรยาย เพื่อรอถึงเวลาที่เหมาะสมที่ดอกไม้จะผลิบาน  ซึ่งเธอได้มีข้อสังเกตจากการลงบรรยายในหลายพื้นที่ว่ายาวชนยังมีความกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนประเด็นทางการเมือง ซึ่งรวมถึงการปฎิรูปสถาบันฯ ที่ไปไกลกว่าการชุมนุมในปี 2563-2564  นอกจากนี้เธอยังพูดถึงข้อกำหนดของผู้พิพากษาถึงเงื่อนไขการ  EM  ว่าเกิดขึ้นกับการเมืองจากกรณีการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศ ที่การควบคุมด้วย EM ถูกนำไปใช้กับคดีอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น คดียาเสพติด

 

เรื่องเล่าพร้อมเเก๊สน้ำตาจาก “ผู้สังเกตการณ์การชุมนุม”

 

 

ในช่วงที่สองของการเสวนาเป็นการพูดคุยของผู้สังเกตการณ์จากโครงการ Mob Data Thailand  โดย “ซี” ผู้สังเกตการณ์จากแอมเนสตี้ ได้พูดถึงอุปสรรคของการเป็นผู้สังเกตการณ์ โดยเฉพาะความยากลำบากของการประสานงานข้อมูลการชุมนุมกับตำรวจที่มักไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ 

 

 

อ้อม” การสังเกตการณ์ชุมนุมครั้งแรกที่เธอเข้าร่วมคือการชุมนุมหลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ แต่การชุมนุมที่ติดอยู่ในความทรงจำคือม็อบ 28กุมภาพันธ์ 2564 เพราะมีผู้ชุมนุมที่มาจากหลายกลุ่ม หลายอาชีพ รวมถึงกลุ่มคนที่ที่เรียกร้องเรื่องสถานการณ์เมียนมา ซึ่งตอนนั้นมีการสลายชุมนุม คนที่อยู่ในแนวหน้าของการชุมนุมก็รีบรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับเรา ซึ่งทำให้เธอรู้สึกมีประโยชน์กับการทำงาน

 

 

การตรวจสอบความจริง เป็นอีกงานหนึ่งที่สำคัญของผู้สังเกตการณ์การชุมนุม  “แนน” ผู้สังเกตการณ์และช่างภาพจากไอลอว์ ก็ได้เล่าถึงประสบการณ์ของเธอว่า มีการจับกุมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสุดท้ายก็พบว่าไม่เป็นความจริง ในวันนั้นแม้ว่าจะถูกกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เธอก็ยังเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่แสดงความไม่พอใจกับตำรวจ ประสบการณ์ในวันนั้นทำให้แนนนับถือความกล้าของผู้ชุมนุมที่ยังยืนหยัดประจันหน้ากับตำรวจต่อไป

 

 

พลอย” ผู้สังเกตการณ์จากเเอมเนสตี้ ได้เล่าถึงการสังเกตการณ์ครั้งเเรกว่าเริ่มจากการชุมนุมเเฮรี่พอตเตอร์ในช่วงเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งตอนนั้นเป็นการพูดถึงข้อเรียกร้องสถาบันฯเป็นครั้งเเรก  ส่วนการชุมนุมที่เธอประทับใจเป็นการชุมนุมราษฎร์หลังที่หลังการชุมนุมของกลุ่มไทยภักดีที่เธอโดนเเก๊สน้ำตา

 

 

ส่วน “ปอย”  ที่ถูกกังขาว่าลุคของเธอเป็นเหมือนคนชั้นกลางระดับสูง ที่ดูไม่เหมาะสมกับการไปสังเกตการณ์ ได้   ได้พิสูจน์ตัวเองกับการทำหน้าที่นี้ และถึงความประทับใจกว่าการเป็นผู้สังเกตการณ์เป็นเสมือนเป็นผู้บันทึกเหตการณ์จากการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ ก่อนจะมีการเปลี่ยนผ่านที่มีรัฐบาลจากประชาธิปไตย นอกจากนี้ เธอได้เล่าถึงความประทับใจจากการชุมนุมที่มีผู้ชุมนุมหยิบยื่นน้ำให้หลังจากเธอโดนแก๊สน้ำตา หรือการตั้งชื่อการชุมนุมในแต่ละครั้งที่มีความสร้างสรรค์  ท้ายที่สุด เธอยังพูดถึงอีกสิ่งที่สำคัญของการเป็นสังเกตการณ์คือการ “วางตัวเป็นกลาง” ซึ่งเธอก็ปฎิเสธการชวนปราศรัยจากจตุภัทร์ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563

ก่อนเสวนาจบลง “ซี” เน้นย้ำถึงความสำคัญของอาสาสมัครสังเกตการณ์ชุมนุม  เนื่อจากต้องเก็บข้อมูลรอบด้านของสถานการณ์ชุมนุม เช่น การตรวจสอบสารเคมีของน้ำที่ฉีดในพื้นที่ชุมนุม หรือประสานงานกับศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนหลังจากเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีถูกตั้งข้อหาทางการเมืองจากการชุมนุมที่ดินแดง 

 

สนใจสั่งซื้อหนังสือ There is always spring สามารถซื้อได้ที่ เพจ iLaw