สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 20 - 26 สิงหาคม 2565

27 สิงหาคม 2565

Amnesty International

 
ไทย : แอมเนสตี้ย้ำถึงสามข้อกังวลสำคัญในร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทรมารและอุ้มหาย
24 สิงหาคม 2565
 
หลังจากสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ .... ที่วุฒิสภาส่งกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎร โดยลงมติเห็นชอบด้วยคะแนน 287 เสียง ไม่เห็นชอบ 1 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ทำให้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบทั้ง 2 สภาแล้ว
ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เผยว่า หลังจากกระบวนการพิจารณาของวุฒิสภา ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหายยังคงมีข้อกังวลสำคัญในหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3 ประเด็น อันได้แก่ การที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานจากการทรมานได้ การนิรโทษกรรมหรือยกเว้นโทษให้ผู้กระทำความผิดได้ และองค์ประกอบของ “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายที่ยังไม่เหมาะสมและอาจขาดความอิสระในการทำงาน โดยทางแอมเนสตี้ยังคงยังเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพิจารณาการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและอุ้มหายให้สอดคล้องกับพันธกรณีตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของไทย เนื่องด้วยกฎหมายดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาลงโทษผู้กระทำความผิดและอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้เสียหายจากการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
 
อ่านต่อ : https://bit.ly/3RceKtH
 
 
ศรีลังกา : ผู้ชุมนุมจะต้องไม่ถูกคุมขังภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่เข้มงวด
22 สิงหาคม 2565
 
ตอบกลับจากรายงานที่ระบุว่าเหล่าสมาชิกนักศึกษาต่างถูกจับกุมตัวไปเมื่อวันที่ 18 และ 19 สิงหาคม ภายใต้กฎหมายการป้องกันการก่อการร้าย (The Prevention of Terrorism Act: PTA) ยามินิ มิชรา ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแห่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “การใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่เข้มงวดเพื่อปราบปรามผู้มาชุมนุมถือเป็นสัญญาณขาลงสำหรับรัฐบาลศรีลังกา การใช้อาวุธจากกฎหมายที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากอยู่แล้ว ทั้งๆที่มันควรจะถูกยกเลิกโดยทันที เป็นข้อพิสูจน์ว่าเจ้าหน้าที่ต่างไม่ยอมทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์ทุกรูปแบบและพยายามที่จะระงับเสียงคัดค้านอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้ต่างก็ขัดต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของศรีลังกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสันติ”
“กฎหมาย PTA มีประวัติการละเมิดมาอย่างยาวนานในศรีลังกา และการพัฒนาการใช้กฎหมายนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทำไมผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศจึงเรียกร้องให้มีการยกเลิก ครั้งแล้วครั้งเล่า กฎหมายนี้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปิดปากคนวิจารณ์รัฐบาล นักข่าว และชนกลุ่มน้อย”
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3KbOeOS
 
 
เกาหลีใต้ : ยกเลิกข้อกล่าวหาผู้คัดค้านคนแรกที่ปฏิเสธระบบรับราชการพลเรือนเพื่อทดแทนการเกณฑ์ทหาร
22 สิงหาคม 2565
 
ผู้คัดค้านคนแรกที่ปฏิเสธการเลือกรับราชการทหารของเกาหลีใต้จะต้องไม่โดนรับโทษเพิ่มเติม โทษฐานต่อต้านระบบการลงโทษใหม่ของประเทศ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวก่อนการพิจารณาคดีอาญาของผู้คัดค้านคนแรกในวันอังคาร นายฮเยมินคิม ผู้ซึ่งความเชื่อทางศาสนากำหนดห้ามไม่ให้เขาไปรับราชการทหาร เป็นคนแรกที่ปฏิเสธระบบระบบรับราชการพลเรือนเพื่อทดแทนการเกณฑ์ทหาร ตั้งแต่ถูกเปิดตัวตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งระบบใหม่นี้เกี่ยวข้องกับการทำงานในเรือนจำหรือสถานทัณฑสถานอื่นๆ เป็นเวลาสามปี ซึ่งก็ใช้เวลานานเป็นสองเท่าของการรับราชการทหารธรรมดาที่ใช้เวลาเพียง 18 เดือน นอกจากนั้นยังเป็นหนึ่งในระบบรับราชการพลเรือนเพื่อทดแทนการเกณฑ์ทหารที่ยาวที่สุดในโลกอีกด้วย
คิมถูกตั้งข้อหาภายใต้มาตรา 88 ของพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร ซึ่งจะจำคุกผู้ที่ล้มเหลวในการเกณฑ์ทหารโดยไม่มีเหตุอันสมควร คิมเชื่อว่าการคัดค้านของเขาอยู่บนพื้นฐานของ "เหตุผลที่สมควร" ภายใต้พระราชบัญญัติและระบบรับราชการพลเรือนเพื่อทดแทนการเกณฑ์ทหารในปัจจุบันได้รวมการลงโทษที่มากเกินไปที่ไม่ได้มาตรฐานสากล
 
อ่านต่อ: https://bit.ly/3wmRvFc
 
 
เวียดนาม : จะต้องปล่อยตัวนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ฝ่าม ดวน ตรังในทันที
24 สิงหาคม 2565
 
ก่อนการพิจารณาอุทธรณ์ของน.ส.ฝ่าม ดวน ตรัง นักข่าวอิสระและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกตัดสินจำคุกในข้อหาโฆษณาชวนเชื่อถึง 9 ปี เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 เอ็มเมอร์ลีน จิล รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ขอเรียกร้องให้มีการปล่อยตัว น.ส.ฝ่าม ดวน ตรัง เนื่องจากเธอเป็นนักข่าวที่กล้าหาญและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ยืนหยัดต่อสู่เพื่อนักเคลื่อนไหวที่ถูกคุมขังและยังวิพากษ์วิจารณ์ภัยพิบัติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์และการยึดที่ดิน นอกไปจากนั้นยังรวมถึงเรียกร้องขอให้ปล่อยตัวของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกควบคุมตัวโดยพลการในเวียดนามอื่นๆ อีกด้วย
 
อ่านต่อ : https://bit.ly/3dYDd7g
 
 
เมียนมา : การครบรอบห้าปีกับวิกฤตการณ์โรฮิงญา จะต้องเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในปฏิบัติการเพื่อความยุติธรรม
24 สิงหาคม 2565
 
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า วันครบรอบห้าปีกับวิกฤตการณ์โรฮิงญาต้องเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปฏิบัติการด่วนเพื่อมอบความยุติธรรมให้กับเหยื่อ และเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมาทหารเมียนมาเริ่มใช้ความรุนแรงกับชาวโรฮิงญาในทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ ที่ส่งผลให้เกิดอาชญากรรมร้ายแรงภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ หมู่บ้านทั้งหมู่บ้านต่างถูกจุดไฟเผา และมีการบังคับให้ผู้คนหลายแสนคนต้องหลบหนีไปยังบังกลาเทศ นอกจากนั้นทางแอมเนสตี้ขอเรียกร้องให้อาเซียนแสดงบทบาทที่เข้มแข็งและเด็ดขาด ในการยืนหยัดต่อสู้เพื่อชาวโรฮิงญาและผลักดันความรับผิดชอบให้กับทางการเมียนมา
 
อ่านต่อ : https://bit.ly/3RarYqH