เมียนมา: การครบรอบห้าปีกับวิกฤตการณ์โรฮิงญา จะต้องเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในปฏิบัติการเพื่อความยุติธรรม

25 สิงหาคม 2565

Amnesty International

ภาพประกอบ : ©AFP via Getty Images

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า วันครบรอบห้าปีกับวิกฤตโรฮิงญาต้องเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการปฏิบัติการด่วนเพื่อมอบความยุติธรรมให้กับเหยื่อ และเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

วันที่ 25 สิงหาคม 2560 กองทัพเมียนมาได้เริ่มต้นใช้ความรุนแรงต่อประชากรชาวโรฮิงญา ในตอนเหนือของรัฐยะไข่ ซึ่งนับว่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ หลังหมู่บ้านถูกเผา ทำให้ผู้คนนับแสนคนต้องหนีไปยังบังกลาเทศ

มิงยู ฮาห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า วันครบรอบเหตุการณ์ในครั้งนี้ เป็นดังสิ่งย้ำเตือนที่ยังคงหลอกหลอนว่า ไม่มีผู้นำกองทัพระดับสูงสักคนเดียวที่ได้รับการลงโทษจากการใช้ความรุนแรงเป็นวงกว้างต่อชาวโรฮิงญา

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ขอยืนหยัดเคียงข้างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ และผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากว้่หนึ่งล้านคนที่พรมแดนบังกลาเทศ ความยุติธรรมที่แท้จริงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต่อการยุติวงจรการลอยนวลพ้นผิดที่กลืนกินประเทศเมียนมามาเป็นเวลาหลายปี” 

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลขอยืนหยัดในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่และเหล่าผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากว่าหนึ่งล้านคนที่พรมแดนบังกลาเทศ ความยุติธรรมที่แท้จริงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต่อการยุติวงจรการลอยนวลพ้นผิดที่กลืนกินประเทศเมียนมามาเป็นเวลาหลายปี” 

ห้าปีผ่านไป  ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ยังคงไม่มีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และไม่มีสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณสุขและการศึกษา โดยปัญหาเหล่านี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้นจากการรัฐประหารในเมียนมา เมื่อปี 2564 ที่ชายแดนบังกลาเทศผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ในเมือง คอกส์บาซาร์  (Cox’s Bazar) ไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะได้กลับบ้านเกิดอย่างปลอดภัยในเมียนมา และไม่มีทางที่จะอยู่อย่างสงบสุขในบังกลาเทศ ที่ซึ่งความรุนแรงได้เพิ่มสูงขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัย

“เราได้เผชิญกับความยากลำบากมหาศาลในค่ายผู้ลี้ภัย” แซน ไท ชิน ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่อยู่ในค่ายคอกส์บาซาร์ ของบังกลาเทศ กล่าวกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา “เราไม่รู้เลยว่าจะกลับบ้านได้อย่างไร เรารู้สึกไม่ปลอดภัยทั้งในค่ายผู้ลี้ภัยหรือในรัฐอาระกัน [รัฐยะไข่ในเมียนมา]”

“คนของเรากำลังต่างกำลังเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงในค่ายผู้ลี้ภัย จากภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม หรือจากความความพยายามในการอพยพไปยังประเทศอื่นผ่านทะเลที่อันตราย รวมทั้งผ่านช่องทางอื่นๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นอันตรายเช่นกัน”

“คนของเรากำลังเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงในค่ายผู้ลี้ภัย ในภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้วยความพยายามที่เป็นอันตรายในการอพยพไปยังประเทศอื่นผ่านทะเลที่อันตรายถึงชีวิตและวิธีการอื่นๆ”

ที่สำคัญไปกว่านั้น ความพยายามด้านความยุติธรรมระหว่างประเทศบางอย่างกำลังดำเนินไปข้างหน้า ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้เพิกถอนคำคัดค้านของเมียนมาและตัดสินใจว่าศาลมีเขตอำนาจที่จะดำเนินการตามกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลแกมเบียต่อรัฐบาลเมียนมาในปี 2562 บนพื้นฐานของอนุสัญญาของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

“คำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) นับเป็นหนึ่งก้าวสำคัญในความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้รัฐบาลเมียนมารับผิดชอบ” 

ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) ยังคงสืบสวนอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในปี 2559 และ 2560 กับประชากรโรฮิงญา แม้ว่าเมียนมาจะไม่ได้ให้สัตยาบันตามระเบียบของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ตาม แต่ศาลกำลังตรวจสอบข้อกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมบางส่วนในอาณาเขตพื้นที่ของบังกลาเทศหรือรัฐอื่นๆ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เรียกร้องให้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council – UNSC) ส่งรายงานสถานการณ์ทั้งหมดในประเทศเมียนมาไปยังพนักงานอัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court Prosecutor) เพื่อให้สามารถดำเนินการสอบสวนอาชญากรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในเมียนมาได้

การสืบสวนอาชญากรรมอื่นๆ ในเมียนมากำลังดำเนินการในอาร์เจนตินาภายใต้หลักการของเขตอำนาจตามหลักสากล (universal jurisdiction) ที่อนุญาตให้หน่วยงานระดับชาติทำการสอบสวนอาชญากรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นที่ใดก็ได้ในโลกในนามของประชาคมโลก คดีนี้ยื่นฟ้องโดย Burmese Rohingya Organisation UK (BROUK) โดยหวังให้ผู้นำทหารระดับสูงรับผิดชอบในการก่ออาชญากรรมต่อชาวโรฮิงญา

ความพยายามเหล่านี้ควรได้รับการสนับสนุน และรัฐอื่นๆ ควรใช้มาตรการในการตรวจสอบและดำเนินคดีกับอาชญากรรมต่อศาลในประเทศของตน

“สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) จะต้องแสดงบทบาทที่เข้มแข็ง เด็ดขาด และเป็นผู้นำมากขึ้นกว่านี้ในการยืนหยัดเพื่อชาวโรฮิงญาและผลักดันความรับผิดชอบในเมียนมา”  

“เราขอย้ำถึงการเรียกร้องให้ทางการเมียนมาเคารพและรับรองการมีส่วนร่วมของชาวโรฮิงญาในการตัดสินใจที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขา เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของพวกเขา” มิงยู ฮาห์ กล่าว

 

 

ข้อมูลพื้นฐาน 

ชาวโรฮิงญามากกว่า 740,000 คน ที่รวมไปถึงเหล่า ผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กหลบหนีไปจากทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ไปยังบังกลาเทศ เมื่อเดือนสิงหาคม 2017 กองกำลังความมั่นคงของเมียนมาได้โจมตีหมู่บ้านโรฮิงญาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ที่รวมถึงการวิสามัญฆาตกรรม การทำลายทรัพย์สิน และการล่วงละเมิดทางเพศ การจู่โจมดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากการที่ทหารอ้างว่าเป็นการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในด่านตำรวจ

เมื่อพิจารณาถึงความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญาในทศวรรษที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาประมาณหนึ่งล้านคนในปัจจุบันอาศัยอยู่ในบังกลาเทศ ในขณะที่บ้านเรือนของพวกเขาในรัฐยะไข่ต่างถูกทำลายอย่างไร้ร่องรอย

 เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติในพม่า (UN Independent International Fact-Finding Mission on Myanmar) ก่อนหน้านี้ได้เรียกร้องให้นายพลอาวุโส พล.อ.มิน อ่อง หล่าย (Min Aung Hlaing)และเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงคนอื่น ๆ ถูกสอบสวนและดำเนินคดีในอาชญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมนุษยธรรม และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ มิน อ่อง หล่าย รับตำแหน่งประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council) ไปหลังรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

 

ในรายงานที่ตีพิมพ์เมื่อต้นเดือนนี้เนื่องจากการรัฐประหาร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกการปราบปรามและคุมขังโดยพลการของเหล่าผู้ที่ใช้สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออก 

การชุมนุมและการสมาคมโดยสงบ ตลอดจนการบังคับบุคคลให้สูญหาย การทรมาน และการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรมอื่นๆ ในการคุมขัง

มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 คนนับตั้งแต่การทำรัฐประหาร และเมียนมาได้ประหารชีวิตคน 4 คนโดยพลการ หลังจากการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนั้นยังถือเป็นการใช้โทษประหารชีวิตครั้งแรกของประเทศในรอบหลายทศวรรษ

รายงานโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนกรกฎาคม แสดงให้เห็นว่ากองทัพเมียนมาได้มีการก่ออาชญากรรมสงคราม โดยการวางทุ่นระเบิดที่ถูกสั่งห้ามใช้รอบๆ หมู่บ้านในรัฐกะเหรี่ยง ในขณะที่รายงานในเดือนพฤษภาคมเผยว่าทหารใช้การโจมตีทางอากาศและปลอกกระสุนก็เป็นรูปแบบของการลงโทษแบบเหมารวมต่อเหล่าพลเรือน