สิทธิมนุษยชนรอบโลกประจำสัปดาห์ 9- 15 กรกฎาคม 2565

16 กรกฎาคม 2565

Amnesty International

 

ศรีลังกา : ทางการต้องยุติการใช้กองกำลังทหารควบคุมการประท้วง

วันที่ 14 กรกฎาคม 2565

หลังจากทางการศรีลังกาได้ประกาศคำสั่งใหม่ที่เพิ่มอำนาจให้กองกำลังทหารในการรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยในกรุงโคลอมโบ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้รัฐบาลศรีลังการไม่ประกาศคำสั่งที่ครอบคลุมไปถึงการใช้กำลังระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งได้ประกาศไปเมื่อเร็วๆ นี้ รวมทั้งต้องระงับการใช้กองกำลังติดอาวุธเพื่อควบคุมการประท้วงของประชาชน 

“ทางการศรีลังการได้ยกระดับการตอบโต้ต่อกลุ่มผู้ชุมนุมโดยเรียกร้องให้กองทัพยิงใส่ผู้ประท้วง รวมทั้งมีการใช้แก๊สน้ำตามากเกินไปจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายเมื่อวานนี้ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่ากังวลอย่างมาก” ยามินี มิชรา ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคเอเชียใต้กล่าว

ในช่วงเช้าของวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ผู้ประท้วงนับพันคนได้เริ่มเดินมุ่งหน้าไปยังทำเนียบนายกรัฐมนตรีและรัฐสภาในกรุงโคลอมโบ หลังจากเผชิญหน้ากับความโกรธแค้น กลุ่มผู้ประท้วงก็ได้พังประตูและเข้ายึดทำเนียบนายกรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลที่อยู่ในเหตุการณ์ได้ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชน รวมทั้งเด็กและนักข่าวอีกด้วย บางรายต้องรีบวิ่งหนีออกมาพร้อมกับอาการสำลัก ผู้ประท้วงนับสิบคนได้รับบาดเจ็บ และมีรายงานผู้เสียชีวิตหนึ่งราย ขณะเดียวกันก็มีเฮลิคอปเตอร์บินในระดับต่ำที่บริเวณแกลเล เฟซ ซึ่งเป็นสถานที่ที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ปักหลักประท้วงอย่างสงบเมื่อสามเดือนที่ผ่านมาท่านกลางวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าผู้ประท้วงอีกกลุ่มที่อยู่ใกล้กับรัฐสภาได้รับบาดเจ็บกว่า 80 รายและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล

ในช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. นายรานิล วิกรมสิงเห นายกรัฐมนตรีศรีลังกาได้แถลงการณ์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์โดยระบุว่า ตนได้สั่งให้กองทัพดำเนินการตามที่จำเป็นในการนำความสงบเรียบร้อยกลับคืนมา ต่อมาวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 กองทัพได้ออกข่าวประกาศเตือนว่าทางกองทัพจะใช้กองกำลังเพื่อรักษากฎหมายและความสงบเรียบร้อยของประเทศ

ทั้งนี้การออกคำสั่งที่ครอบคลุมเพื่อให้อำนาจกองทัพในการใช้กองกำลังเป็นปัญหาในช่วงเวลาสถานการณ์ฉุกเฉิน กองทัพไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการควบคุมการชุมนุมสาธารณะ ทั้งนี้พวกเขาถูกฝึกมาให้ต่อสู้กับศัตรู ไม่ใช่กับกลุ่มผู้ชุมนุมหรือควบคุมพลเรือน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายดำเนินการด้วยความยับยั้งชั่งใจเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บสาหัสและการสูญเสียชีวิต ทางการควรใช้กำลังขั้นต่ำและเท่าที่จำเป็นเพื่อนำสถานการณ์ให้อยู่ภายใต้การควบคุม แม้ในกรณีที่บางส่วนของการประท้วงมีความรุนแรง การบังคับใช้กฎหมายต้องประเมินสถานการณ์เป็นกรณีๆ ไปในการใช้กำลังโดยเฉพาะกรณีที่จำเป็นอย่างยิ่งและกับผู้ที่ก่อความรุนแรงเท่านั้น

การใช้กำลังจะต้องเป็นไปตามสัดส่วนอย่างเคร่งครัดกับสถานการณ์ที่ต้องบังคับใช้กฎหมาย เจ้าหน้าที่จะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าที่พวกเขาพยายามหลักเลี่ยง

“ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจอันน่ากลัวและการประท้วงที่กำลังเติบโตอย่างมาก ทางการต้องมีความพยายามอย่างครอบคลุมเพื่อลดสถานการณ์และมุ่งเน้นทรัพยากรเพื่อให้มั่นใจว่าผู้คนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็นตามมาตรฐานและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ” ยามินี มิชรา กล่าว

 

อ่านต่อ : https://bit.ly/3cg1Agb



 

อัฟกานิสถาน : แอมเนสตี้เรียกร้องอังกฤษสอบสวนข้อกล่าวหากองกำลังพิเศษก่ออาชญากรรมสงครามในอัฟกานิสถานอย่างเร่งด่วน

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565

จากรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนของสำนักข่าวบีบีซีเกี่ยวกับการสังหารกลุ่มคนที่ไม่มีอาวุธซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเหตุการณ์อันน่าสงสัยในอัฟกานิสถานในระหว่างปี 2553 - 2554 โดยกองกำลังพิเศษแห่งสหราชอาณาจักร ซามาน สุลตานิ นักวิจัยด้านเอเชียใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพในข้อกล่าวหาต่อกองกำลังพิเศษแห่งสหราชอาณาจักรในอัฟกานิสถานซึ่งจะนำความยุติธรรมมาสู่เหยื่อทั้งหลายและนำผู้กระทำความผิดมารับผิดชอบ

ข้อค้นพบของสำนักข่าวบีบีซีนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวและสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการไม่ต้องรับโทษและการขาดความรับผิดชอบที่อยู่ในระดับอันน่าตกใจของกองทหารอังกฤษที่ปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน 

การรายงานของสำนักข่าวบีบีซีระบุถึงการสังหารที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งการฆ่าโดยเจตนา หลังจากที่พวกเขาถูกควบคุมตัว กำหนดเป้าหมายเป็นพลเรือนและสร้างหลักฐานเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการสังหารกลุ่มคนที่ไม่มีอาวุธ รวมทั้งการชี้เป้าไปที่การก่ออาชญากรรมสงครามที่อาจเกิดขึ้น รายงานนี้ยังระบุว่ามีการปกปิดระดับสูงที่ทำให้เกิดความขุ่นเคืองทางศีลธรรมอันรุนแรงและชี้ให้เห็นถึงความไม่เต็มใจของสหราชอาณาจักรที่จะดำเนินการสอบสวนในข้อกล่าวหานี้อย่างมีอิสระและประสิทธิภาพ 

สหราชอาณาจักรมีหน้าที่ต้องเริ่มการสอบสวนอย่างเร่งด่วนในข้อกล่าวหาอาชญากรรมสงครามที่เกี่ยวข้องกับกองกำลังพิเศษของตนและพลเมืองของสหราชอาณาจักรที่ต้องสงสัยว่ามีความรับผิดทางอาญาต้องถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาลของสหราชอาณาจักร หากสหราชอาณาจักรไม่เต็มใจที่จะดำเนินคดีกับกองทัพของตนเองตามที่ได้ดำเนินการอย่างน่าอับอายในอาชญากรรมสงครามที่กระทำโดยกองกำลังของตนเองในอิรัก ศาลอาญาระหว่างประเทศก็ควรดำเนินการเช่นเดียวกัน แม้ว่าได้เริ่มกระบวนการสอบสวนสืบสวนไปแล้วในอัฟกานิสถาน แต่อัยการต้องสอบสวนในกรณีนี้อย่างเร่งด่วน โดยปราศจากความกลัว หรือผลประโยชน์ในข้อกล่าวอาชญากรรมสงครามที่ทุกฝ่ายได้ก่อขึ้นในความขัดแย้งโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามแม้มีรายงานที่ไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่ก่อขึ้นในอัฟกานิสถานโดยกองทัพตะวันตก รวมทั้งสหรัฐอเมริกา แต่ศาลอาญาระหว่างประเทศก็ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการสอบสวนใด ๆ นอกเหนือจากกลุ่มตอลิบานซึ่งนำไปสู่ข้อกล่าวหาว่าดำเนินการสองมาตรฐาน  

รายงานข่าวชิ้นนี้ยังได้เน้นย้ำถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับความเคลื่อนไหวในการยกเลิกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบจากกองทัพทหารที่ปฏิบัติการในต่างประเทศ ขณะที่รัฐบาลของอังกฤษต้องก้าวออกจากข้อเสนอเพื่อแทนที่พระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชนก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น

 

อ่านต่อ : https://bit.ly/3nZvlnR



 

โคลอมเบียและเปรู :  ผู้ลี้ภัยหญิงชาวเวเนซุเอลาต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเพศที่เพิ่มขึ้นหลังถูกทอดทิ้งในประเทศเจ้าบ้าน

วันที่ 12 กรกฎาคม 2565

รายงานล่าสุดของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล “Unprotected : Gender-Based Violence Against Venezuelan Refugee Woman in Colombia and Peru” เปิดเผยว่าทางการโคลอมเบียและเปรูมีความบกพร่องอย่างมากในการรับประกัน ปกป้องและเคารพสิทธิของผู้ลี้ภัยหญิงชาวเวเนซุเอลาที่จะใช้ชีวิตโดยปราศจากความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติ โดยพวกเธอยังคงเผชิญกับความรุนแรงทางเพศในชีวิต

“ การปกป้องความรุนแรงทางเพศเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ ของทุกรัฐในทวีปอเมริกา รวมทั้งการปกป้องผู้คนที่หนีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนักมาจากประเทศต้นทางของพวกเขา แทนที่ผู้ลี้ภัยหญิงชาวเวเนซุเอลาต้องมาเผชิญกับความล้มเหลวสองเท่าในการปกป้องพวกเขาตามที่รายงานของเราเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวได้เปิดเผย” เอริกา กัววารา โรซาส ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคอเมริกากล่าวว่า 

ในไม่กี่ปีที่ผ่านมีชาวเวเนซุเอลามากกว่า 6 ล้านคนต้องหนีออกนอกประเทศเพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก ประเทศโคลอมเบียและเปรูเองเป็นประเทศที่รับผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลาไว้จำนวนมากถึง 1.84 ล้านคนและ 1.29 ล้านตามลำดับ เมื่อรวมจำนวนผู้ลี้ภัยในสองประเทศมีมากเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลาทั้งหมด

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่าชาวเวเนซุเอลาต้องการความคุ้มครองจากนานาชาติและสิทธิที่จะเรียกร้องการรับรองสถานะผู้ลี้ภัย

รายงานฉบับล่าสุดนี้ได้เน้นย้ำถึงสิ่งที่ผู้ลี้ภัยหญิงชาวเวเนซุเอลาต้องเผชิญกับความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบในชีวิตของพวกเธอเพียงเพราะเพศสภาพและสัญชาติ โดยพวกเธอเป็นตัวแทนประชากรชาวเวเนซุเอลาที่อยู่ในโคลอมเบียและเปรูมากถึงร้อยละ 50 และร้อยละ 58 ตามลำดับ

ในสถานที่สาธารณะ พวกเขาต้องเผชิญกับการโจมตีทั้งตามเส้นทางการอพยพและในพื้นที่ที่พวกเขาอยู่อาศัย ในครอบครัวเอง พวกเขาก็ต้องเผชิญกับความรุนแรงทางเศรษฐกิจ ทางมรดก ทางร่างกายและทางเพศโดยส่วนใหญ่มาจากคู่ครองหรืออดีตคู่ครอง แม้กระทั่งสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน พวกเขาก็ยังต้องประสบกับความรุนแรงและการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานในหลายรูปแบบ รวมทั้งการได้รับเลือกให้ทำงานเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศ

จากการเผชิญหน้ากับความรุนแรงที่แพร่หลายเหล่านี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้มีข้อสรุปว่ารัฐบาลโคลอมเบียและเปรูต่างไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองในการรับประกันชีวิตที่ปราศจากความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติของผู้ลี้ภัยหญิงชาวเวเนซุเอลาหรือรับประกันว่าผู้ที่รอดจากความรุนแรงทางเพศเหล่านี้จะได้เข้าถึงความยุติธรรม

 

อ่านต่อ : https://bit.ly/3O2TJQd

 

 

ตุรกี : แอมเนสตี้เรียกร้องทางการตุรกีปล่อยตัวนักโทษทางความคิดหลังฝ่าฝืนคำสั่งศาล

วันที่ 11 กรกฎาคม 2565

หลังจากศาลสิทธิมนุษยชนสหภาพยุโรปได้ประณามทางการตุรกีที่ล้มเหลวในการดำเนินการตามคำตัดสินของศาลในปี 2019 ที่มีคำสั่งให้ปล่อยตัวนายออสมาน คาวาลา (Osman Kavala) ทันที ซึ่งศาลได้พิจารณาว่ามาตรการที่ระบุโดยทางการตุรกีไม่อนุญาตให้สรุปว่ารัฐภาคีได้กระทำโดยสุจริตในลักษณะที่สอดคล้องกับข้อสรุปและความมุ่งมั่นของคาวาลา

จูเลีย ฮอลล์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคยุโรปกล่าวว่า การพิจารณาคดีนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ของตรุกีอับอาย เป็นเวลาเกือบสามปีแล้วที่พวกเขาปฏิเสธที่จะดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปในปี 2019 และปล่อยตัวออสมาน คาวาลา การพิจารณาคดีในวันนี้ทำให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาลในการปฏิบัติตามภาระผูกพันทางกฎหมายอีกครั้ง การเพิกเฉยอย่างต่อเนื่องของทางการตุรกีทำให้ออสมาน คาวาลาและครอบครัวต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส

กรณีของคาวาลาเป็นสัญลักษณ์ของการปราบปรามภาคประชาสังคมและการถอยหลังของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในตุรกี หากตุรียังคงปฏิเสธที่จะปล่อยตัวออสมาน คาวาลา ตุรกีจะต้องลดสถานะตัวเองให้เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสภายุโรป ขณะที่สภายุโรป ประเทศสมาชิกและสหภาพยุโรปต้องเรียกร้องให้ตุรกีปล่อยตัวออสมาน คาวาลาและคนอื่นๆ อีกจำนวนมากที่ถูกคุมขังเช่นเดียวกัน

 

อ่านต่อ : https://bit.ly/3yAnWR0



รัสเซีย - ทางการต้องยุติการดำเนินคดีกับฝ่ายค้านที่วิพากษ์วิจารณ์สงคราม 

จากกรณีที่ทางการรัสเซียได้ดำเนินการสอบสวนนายอิลยา ยาซิน (Ilya Yashin) หนึ่งในผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญที่วิพากษ์วิจารณ์การรุกรานยูเครน โดยนักวิจารณ์บางรายยังอยู่ในประเทศ ขณะที่บางรายถูกจองจำตั้งแต่สิ้นเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา 

มารี สตรูเธอร์ส ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางกล่าวว่า การปราบปรามสิทธิมนุษยชนอันน่ารังเกียจในรัสเซียยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การรุกรานยูเครน ทางการรัสเซียก็ยิ่งพยายามปิดปากนักกิจกรรม นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งผู้เห็นต่างกับรัฐบาลอย่างไร้ยางอาย

อิลยา ยาซิน เป็นหนึ่งในผู้ต่อต้านไม่กี่คนที่ยังคงอยู่ในประเทศและไม่ได้ถูกกักขัง ตอนนี้เขาถูกทางการควบคุมตัวตามอำเภอใจและต้องติดคุกในข้อหาวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติการของกองทัพรัซเซียในยูเครน เขาควรได้รับการปล่อยตัวทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขและต้องยุติการดำเนินคดีอาชญากรรมต่อการใช้สิทธิเสรีภาพ

 

อ่านต่อ : https://bit.ly/3yDprOi



ตะวันออกกลาง : ประธานาธิบดีไบเดนต้องประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในระหว่างการเยือนตะวันออกกลางและอเมริกาเหนือ

วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเรียกร้องประธานาธิบดีโจ ไบเดนต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จะยกประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์กลางของการเยือนตะวันออกกลางและอเมริกาเหนือตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ารับตำแหน่งและทำทุกอย่างในอำนาจของเขาที่จะกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 

ประธานาธิบดีไบเดนมีกำหนดการเยือนตะวันออกกลางและอเมริกาเหนือในระหว่างวันที่ 13 - 16 กรกฎาคม 2565 นี้ โดยจะเยือนอิสราเอล ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองและซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเขาคาดว่าจะได้พบกับผู้นำหลายคน รวมถึงกษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลลาซิซ เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ประธานาธิบดีอียิปต์อับเดล ฟัตตาห์ เอล-ซิซี นายกรัฐมนตรีอิสราเอลยาอีร์ ลาพิตและผู้นำฝ่ายค้านเบนจามิน เนทันยาฮู

พอล โอ ไบรเอน (Paul O’Brien) กรรมการบริหาร แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำสหรัฐอเมริกากล่าวว่า รัฐบาลของไบเดนต้องยุติการสนับสนุนอาชญากรรมอันน่าตกใจภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศและการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรงอื่นๆ ที่กระทำโดยพันธมิตรของตนเอง โดยรับรู้ถึงการอำนวยความสะดวกให้แก่การลอยนวลที่ไม่ต้องรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ไบรเอน กล่าวอีกว่า ประธานาธิบดีไบเดนต้องใช้โอกาสน้ีในการจัดลำดับความสำคัญของความก้าวหน้าทางด้านสิทธิมนุษยชนมากกว่าผลประโยชน์ระยะสั้นและทำให้ชัดเจนว่าไม่มีสองมาตรฐานในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 

 

อ่านต่อ : https://bit.ly/3uKAyDK

 

เบรารุส : เรียกร้องปล่อยตัวนักข่าวทันทีที่ถูกตัดสินจำคุกแปดปีในข้อหา “กบฏต่อรัฐ” ซึ่งเป็นข้อหาปลอม

วันที่ 13 กรกฎาคม 2565

จากรายงานข่าวที่ระบุว่าศาลในเบรารุสได้ตัดสินลงโทษคัทส์ยารินา แอนดรีวา (Katsyaryna Andreeva) ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์เป็นระยะเวลา 8 ปีด้วยข้อหาอันเป็นเท็จที่กล่าวหาเธอว่าเป็นกบฏต่อรัฐ

มารี สตรูเธอร์ส ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางระบุว่า เครื่องมือปราบปรามของประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโกยังคงบดขยี้นักข่าวและนักเคลื่อนไหวที่กล้าหาญให้กลายเป็นผุยผงอย่างต่อเนื่อง ทุกๆ วันมักมีคำตัดสินใหม่ๆ ในคดีอาญาที่เลวร้ายและไม่ยุติธรรมเสมอ”

ก่อนหน้านี้ คัทส์ยารินา แอนดรีวา ได้รับโทษจำคุกสองปีอยู่แล้วได้และวันนี้เธอได้รับโทษจำคุกเพิ่มอีก 8 ปีในการพิจารณาคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง โดยเธอกำลังถูกตั้งข้อหากบฏที่ไร้เหตุผลเพียงเพราะการทำงานอันกล้าหาญของเธอในฐานะนักข่าว

คัทส์ยารินา แอนดรีวา และนักวิจารณ์คนอื่นๆ ทั้งหมดที่ถูกทางการทางควบคุมตัวเพียงเพราะใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสันติต้องได้รับการปล่อยตัวทันทีและไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมด 

 

อ่านต่อ : https://bit.ly/3RBIDVs