เสวนาออนไลน์ “Refugees: Time to End Distancing”

ช่วงเวลาการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเว้นระยะห่าง หรือ social-distancing เพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น แม้ว่าความห่างทางกายจะสำคัญ แต่ความห่างทางความรู้สึกและการดูแลซึ่งกันและกันยังคงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับผู้คนที่อยู่ในภาวะอ่อนไหวและเปราะบาง เช่นเดียวกับ “ผู้ลี้ภัย” ที่ต้องการความเข้าใจอันจะนำไปสู่การปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสม วันที่ 20 มิถุนายน วันผู้ลี้ภัยโลก วันสำคัญในการระลึกถึงและทำความเข้าใจต่อผู้ลี้ภัย เป็นโอกาสที่จะสะกิดให้เราทบทวนทัศคติ หรือกระทั่งอคติต่อผู้ลี้ภัยอีกครั้ง ปีนี้ ภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านผู้ลี้ภัยจึงอยากเชิญชวนให้ท่านเข้าใกล้ผู้ลี้ภัยอีกสักนิด ด้วยการร่วมรับฟังวงเสวนาออนไลน์ 5 วง ที่ได้รวบรวมประเด็นหลัก ๆ ของผู้ลี้ภัยไทยและผู้ลี้ภัยชาติอื่น ๆ ในประเทศไทย ภายใต้งาน “Refugees: Time to End Distancing”

ในแต่ละวงเสวนา ท่านจะได้รับฟังมุมมองจากผู้ลี้ภัย และผู้ที่คร่ำหวอดกับงานผู้ลี้ภัย ทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม หน่วยงานสหประชาชาติ รวมทั้งยังได้มีโอกาสชมภาพถ่าย วีดีโอที่เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย และยังได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากผู้ลี้ภัยโดยตรง

กิจกรรมวงเสวนาออนไลน์ “Refugees: Time to End Distancing” จะจัดขึ้นทุกวันพุธของเดือนกรกฎาคม 2563 เวลา 14:00-15:30 น. โดยมีการเผยแพร่ในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามือ รายละเอียดงานเสวนาดังนี้



เสวนาวงที่ 1 – ไทยกับผู้ลี้ภัย: คนไทยเข้าใจหรือยัง - วันพุธที่ 1 กรกฎาคม 2563

การทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่าผู้ลี้ภัย สถานการณ์ทั่วไปของผู้ลี้ภัยทั่วโลก ในประเทศไทยใครคือผู้ลี้ภัย การคุ้มครองดูแล ข้อท้าทาย ทัศนคติ และอะไรควรเป็นทางออกที่ยั่งยืน

กล่าวเปิดงาน: ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

ผู้ร่วมเสวนา:

1. ผู้แทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)*
2. ผู้แทนจากกลุ่มผู้ลี้ภัยในเมือง
3. คุณเราะห์หมัด เรืองปราชญ์ ผู้ก่อตั้งและรองประธาน คณะกรรมการบริหาร มูลนิธิศรัทธาชนเพื่อการศึกษาและเด็กกำพร้า
4. คุณเสกสรร รวยภิรมย์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสติ

ดำเนินรายการ: คุณนัยนา ธนวัฑโฒ ผู้อำนวยการ Asylum Access Thailand (AAT)

ลงทะเบียน


**********************


เสวนาวงที่ 2 – พร้อมไหม? ผู้ลี้ภัยในเมืองกับกฎหมายฉบับแรก - วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563

ประเทศไทยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะให้ความคุ้มครองคนต่างชาติที่อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการขอลี้ภัยและไม่อาจเดินทางกลับประเทศต้นทางได้ซึ่งมีผลบังคับใช้เดือนมิถุนายน 2563 เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลไทยจะให้สถานะและการคุ้มครองผู้ลี้ภัยโดยตรง ประเทศไทยพร้อมหรือไม่ มีอะไรบ้างที่ต้องพิจารณาและเตรียมความพร้อม

ผู้ร่วมเสวนา:

1. ผู้แทนจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง*
2. อ.ดร.ภาณุภัทร จิตเที่ยง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
3. คุณชาติชาย อมรเลิศวัฒนา ทนายความ โครงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ลี้ภัย (RRLP)
4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายใต้ระเบียบฯ*

ดำเนินรายการ: คุณธนานุช สงวนศักดิ์

ลงทะเบียน

**********************



เสวนาวงที่ 3 – 30 ปีที่ไม่รู้จัก ผู้ลี้ภัยแนวชายแดน – วันพุธที่ 15 กรกฎาคม 2563

รัฐบาลไทยและ UNHCR ได้สร้างที่พักพิงชั่วคราวให้แก่ผู้หนีภัยจากการสู้รบจากพม่า 9 แห่ง ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ยังไม่มีทางออกที่ชัดเจนให้กับผู้หนีภัยกว่า 90,000 คน ที่พักอยู่ในที่พักพิงชั่วคราวนี้มากว่า 30 ปี วันนี้พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง มีความหวังและทางออกอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนา:

1. คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ผู้ทำสารคดี “เถื่อน” Chanel
2. ตัวแทนผู้ลี้ภัยจากพื้นที่พักพิงชั่วคราวชายแดนไทย-พม่า
3. Fr. Joseph Gerald Hampson, Education and Pastoral Project Director, Mae Hong Son, Jesuis Refugees Service (JRS)
4. Mr. Themba Addison Lewis, Secretary General, Asia Pacific Refugee Rights Network (PRRN)
5. คุณคมสัน พยนต์ศักดาภาส ผู้ประสานงานภาคสนาม Save the Children
6. ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทย*

ดำเนินรายการ: คุณพัชรินทร์ ณ วิชัย Asia Pacific Refugee Rights Network (APRRN)

ลงทะเบียน

**********************



เสวนาวงที่ 4 – ทางตันของโรฮีนจา – วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2563

ชาวโรฮีนจาเป็นหนึ่งในสามชาติพันธุ์ที่ต้องลี้ภัยมากที่สุดในโลก สำหรับประเทศไทย โรฮีนจาเป็นผู้ที่ถูกกล่าวถึงภายใต้ความรำคาญและไม่ไว้วางใจ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น มีโรฮีนจาในประเทศไทยหรือไม่ อยู่ในสถานะใด และทำไมพวกเขาต้องลงเรือและเดินเท้ามายังไทยและมาเลเซีย

ผู้ร่วมเสวนา:

1. คุณมาเรียม ชาวโรฮีนจาในประเทศไทย
2. คุณศิววงศ์ สุขทวี นักวิจัยอิสระและที่ปรึกษาสมาคมโรฮิงญาแห่งประเทศไทย
3. คุณพุทธณี กางกั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน องค์กร Fortify Rights
4. คุณอิสมาแอ หมัดอะดั้ม ประธานฝ่ายในประเทศ สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี

ดำเนินรายการ: คุณฐปนีย์ เอียดศรีไชย จาก The Reporters

ลงทะเบียน

**********************



เสวนาวงที่ 5 – สิทธิผู้ลี้ภัย ภายใต้เลนส์ “ความเป็นอื่น” – วันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2563

ผู้ลี้ภัยถูกจับกุมแล้วไปไหน ผู้ลี้ภัยได้รับการปกป้องคุ้มครองภายใต้หลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยหลักการใด ทำไมผู้ลี้ภัยถึงหายตัวไปและถูกทำให้เป็นคนอื่น

ผู้ร่วมเสวนา:

1. คุณศักดา แก้วบัวดี นักแสดง
2. คุณรวิสรา เปียขุนทด ผู้จัดการรายกรณีอาวุโส มูลนิธิประชาชนเพื่อประชาชน
3. คุณยูฮานนี เจ๊ะกา ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย Asylum Access Thailand
4. คุณปิยะนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ Amnesty International Thailand
5. ผู้แทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (OHCHR)

ดำเนินรายการ: คุณณัฐฐา โกมลวาทิน

ลงทะเบียน

**********************

(*วิทยากรอยู่ระหว่างการประสานงาน)

ลงทะเบียนเข้ารับฟังการเสวนาผ่านโปรแกรม Zoom ได้ที่ xxx (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

เข้ารับชมทาง Facebook

 

ทุกวันพุธของเดือนกรกฎาคม 2563

เวลา 14:00-15:30 น.

โดยมีการเผยแพร่ในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษามือ