วิทิต มันตาภรณ์: จะทำอย่างไรกับร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน (พ.ร.บ.เอ็นจีโอ)

23 ธันวาคม 2564

Amnesty International 

ข้อมูลจากเครือข่ายคัดค้านร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน ระบุว่า สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 ได้มีมติเห็นชอบหลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้รับร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. …. ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวมทั้งความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปประกอบการยกร่างกฎหมายก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้วันที่ 12 มีนาคม 2564 ได้มีการเผยแพร่ร่าง  พ.ร.บ. ที่จัดทำขึ้นมาตามมติ ครม.ดังกล่าว 

ต่อมาในวันที่ 13 ธันวาคม 2564 คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้มีการจัดทำร่าง พ.ร.บ. การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ....ขึ้นมา เป็นการคัดลอกเนื้อหาบางส่วนของร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ.... มากำหนดไว้ในหมวด 1 การส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร ซึ่งยังไม่ได้มีการหารือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มาก่อนแต่อย่างใด

ส่วนในหมวด 2 การดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไร เป็นการปรับปรุงจากร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ. ....ที่ยังคงเน้นเรื่องการจำกัดสิทธิ การควบคุม การลงโทษผู้ฝ่าฝืน มีมาตรการควบคุมในลักษณะเดียวกับกฎหมายป้องกันการฟอกเงินที่ใช้บังคับกับองค์กรที่ให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้าย ทั้งในปัจจุบันก็มีกฎหมายอื่นสามารถเอาผิดองค์กรที่ทำไม่ถูกต้องได้อยู่แล้ว ถือเป็นการไม่ยอมรับบทบาทการเป็นภาคีหุ้นส่วนในการพัฒนาประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตย  

 

 

วันนี้ชวนฟังทัศนะในประเด็นร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน (พ.ร.บ.เอ็นจีโอ) ดังกล่าวข้างต้น จากศาสตราจารย์กิตติคุณ วิทิต มันตาภรณ์ จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ และผู้คร่ำวอดและทำงานร่วมกับองค์การสหประชาชาติมากว่า 30 ปี

ซึ่งกล่าวในงานเสวนาเรื่อง “การทบทวนสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยโดยกระบวนการ Universal Periodic Review: บทเรียน ความหวัง และความคาดหวัง” เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนสากล ประจำปี 2564 ที่ร่วมจัดโดย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์กร Fortify Rights คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล องค์กร Internews มูลนิธิมานุษยะ องค์กร Protection International องค์กร Solidarity Center และศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

 

5 ประเด็น: จะทำอย่างไรกับร่างกฎหมายควบคุมภาคประชาชน (พ.ร.บ.เอ็นจีโอ)

ประเด็นที่ 1  

1.1) ขอเน้นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสิทธิพื้นฐานในการสมาคมและในการรวมกลุ่มกันโดยสันติเขามีสิทธิร่วมกัน เป็นกลุ่มถ้าจะมีข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดก็จะฟังขึ้นในระดับประเทศไทยและสากล ต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นตามอำเภอใจ มีกฎหมายที่ดีที่ตรงกับหลังนิติธรรมสากล ตามกติกาและการที่เป็นภาคีทั้งหลายเป็นตัววัด1.2) ถ้าจะกระทบสิทธิ ก็ต้องพิสูจน์ว่าจำเป็น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีกฎหมายแบบนี้ 

1.3) ต้องพิสูจน์หลักฐานว่าสมสัดส่วน

3 หลัก นี้เป็นตัววัดว่าจะมีกฎหมายอย่างนี้หรือไม่ ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นฎหมายที่จำกัดสิทธิในการสมาคม และคำตอบในตอนนี้คือ ไม่สมดุล ไม่ตอบโจทย์กับ 3 หลักข้างต้น ตามสิทธิพื้นฐานในการรวมกลุ่มสมาคมไม่ว่าจะเป็น NGO หรือกลุ่มอื่น

ประเด็นที่ 2

2.1) ปฏิญญาสหประชาชาติเรื่อง Human Rights Defenders ใน Declaration ของ UN ประเทศไทยก็รับพอสมควร ปฏิญญาดังกล่าวมีมาตราที่ชี้ไว้ในเรื่องความสัมพันธ์กับการรับเงินจากต่างประเทศ มาตรานั้นซึ่งประเทศไทยก็น่าจะคล้องไปด้วยได้ระบุว่า ให้เคารพสิทธิของ Human Rights Defenders รววมถึง NGO ที่จะรับเงินต่างประเทศ เคารพสิทธินั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสมาคม เหมือนกับรัฐบาลที่รับเงินจากต่างประเทศ ซึ่งในบางครั้งรัฐบาลไม่ได้มาจากประชาชนด้วยซ้ำ ดังนั้นความชอบธรรมเห็นชัดมากในเรื่องสิทธิของประชาชนที่จะรวมกลุ่มและรับเงินจากต่างประเทศเหมือนกับในประเทศ 

ประเด็นที่ 3 

3.1) ขอให้แยกเรื่องการสมาคมและการรวมกลุ่ม NGO จากการฟอกเงินอย่านำไปผสมกัน เพราะกฎหมายการฟอกเงินก็มีอยู่แล้วย่อมคลุมถึงทุกท่านอยู่แล่วรวมทั้งการสมาคมด้วยไม่จำเป็นจะต้องปะปนกันซึ่งจะก่อให้เกิดความยุ่งยากและลำบาก

ประเด็นที่ 4

กฎหมาย NGO ปรากฏร่างเสนอต่อคณะกรรมการฤษฎีกาคณะที่ 2 จากวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม โดยเฉพาะมาตราที่ 17 ไปเรื่อยๆ ถึงมาตรา 20 ไปกระทบนิดหน่อยสังคมก็ผิดแล้วจริง ๆ แล้วการพูดคุยกันซึ่งอาจจะเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยถือเป็นเรื่องธรรมดาในการรวมกลุ่มและการแสดงออกในสังคมประชาธิปไตย ร่างล่าสุด 

4.1) หลายมาตราในร่างล่าสุดไม่สมเหตุสมผล ขัดสิทธิมนุษยชนอย่างยิ่งรวมทั้งมาตราสุดท้ายที่มีการลงโทษเกินเหตุ เช่น มีการเริ่มปรับตั้งแต่ 5 หมื่นบาท หรือปรับเป็น 2 เท่าของเงินที่รับจากต่างประเทศไม่    และเพียงแต่ปรับองค์กรเท่านั้นแต่ปรับถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย

ประเด็นที่ 5

5.1) ยับยั้งก็ดีหรือยกเลิกเลยก็ดีแต่ทางเราก็แฟร์เหมือนกัน อาจจะประนีประนอมได้ขั้นต้นคือการขอ ชะลอไว้ก่อน

5.2) วิธีการชะลอและ spirit ในการพูดคุยกันเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก คือการตัดหมวดที่ 2 ออกไปทั้งหมด คงไว้แต่หมวดแรกก็คือให้มีกรรมการที่ช่วยเหลือ NGO ซึ่งช่วยลดภาษีให้ จบเลยไม่ต้องมีหมวด 2 ซึ่งหมวดนี้ เกี่ยวข้องกับประเด็นที่พูดไปเกี่ยวกับมาตรา เช่น 17 18 19 20 กระทบสังคมไม่ได้ มีการถูกปรับทีละลำดับ    ไม่จำเป็นต้องมีหมวด 2 เริ่มจากตรงนี้ก่อน ซึ่งถ้าท่านจะยังคงดำเนินต่อไปขอให้ชะลอไว้ก่อนตาม spirit ของ ความยุติธรรมที่เราแสดงหา  

 

 

10 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน 

หรือ UPR รอบที่สามของประเทศไทย

1.) เสนอให้รับข้อเสนอจากทั่วโลกให้ได้มากที่สุด เสนอให้มีการ accept และ support ให้ได้มากที่สุดซึ่งตอนนี้ที่เข้าใจว่ายากคือ บางอย่างก็ใหม่ ข้อเสนอจากทั่วโลกที่ใหม่สำหรับยุคนี้ ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยครองอยู่  ถึง 84 ข้อ ที่กำลังพิจารณาว่าจะรับหรือไม่ มี 3-4 อย่างที่ใหม่ คือข้อเสนอดังต่อไปนี้ 

  1. ข้อเสนอเกี่ยวกับ NGO law ขอให้รับมากที่สุดเพื่อเป็นพลังกันไม่ให้มีร่างที่ไม่เป็นคนออกมา

  2. ข้อเสนอเกี่ยวกับ LGBTQ+ ขอให้รับให้ได้มากที่สุดแต่ในส่วนนี้มีความเข้าใจว่าข้อเสนอบางอย่างที่ให้มีกฎหมายภายในปีหน้า เช่น การแต่งงาน อาจจะเร็วไปแต่อาจจะมีข้อเสนออื่น ที่สามารถยืดหยุ่นได้

  3. ข้อเสนออื่น ๆ ที่ใหม่แต่รับได้ง่ายมากเลย คือการที่ขอให้ประเทศไทยเป็นภาคีของอนุสัญญาเพื่อต่อต้านการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide Convention) ประเทศอื่นในอาเซียนก็เป็นอยู่แล้ว พม่าเองก็ยังเป็นภาคีในอนุสัญญานี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยไม่ได้เป็นแต่อาจจะเป็นไปได้เช่นกัน

  4. มีการข้อเสนอให้ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาเพื่อขจัดการเหยียดผิวแนว Apartheid 

  5. มีการเสนอให้เข้าร่วมภาคีอนุสัญญาไม่ให้มีการอายุความสั้นเกินไปเกี่ยวภัยที่เกิดขึ้นต่อสังคมในเรื่องอาชญากรรมต่อประชาชน

 

2.) ช่วงหลังของการเจรจากับ UPR รัฐไทยในช่วงแรกคือไม่ support ในตอนหลังรัฐใช้คำว่า take note (จะคำนึงถึงเท่านั้น) ซึ่งในเนื้อหาคือไม่รับนั้นเองซึ่งคราวก่อนประเทศไทยมีการ take note ถึง 62 ข้อ โดยการปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวของประเทศไทยในยุค 2 นี้ คือ การใช้ศาลทหารเพื่อนำประชาชนทั่วไปขึ้นศาลทหารซึ่งในปัจจุบันนี้เขายกเลิกไปแล้ว ในช่วงที่ไม่รับข้อเสนอนั้นพยายามไม่ใช้ บทเรียนจากยุค 2 นี้ ที่ take noteคืออย่าไปแตะศาลทหารที่เกี่ยวพลเรือน แต่ตอนหลังเราก็ไม่นำพลเรือนขึ้นศาลทหารและข้อเสนออื่นที่ละเอียดอ่อน เช่น ปฏิรูปพ.ร.ก.ฉุกเฉิน บางมาตราของกฎหมายอาญาอย่างเช่น 112 

2.1) ข้อเสนออื่น ๆ ที่เราปฏิเสธคือเกี่ยวกับสนธิสัญญาผู้ลี้ภัย การลงโทษประหารชีวิต การเข้าเป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศ ประเทศไทยปฏิเสธไปในยุค 2 แต่ยังมีปรากฏอีกใน 84 ข้อที่กำลังพิจาราณาอยู่นปัจจุบัน ขอให้มีการพิจารณาอย่างดีอย่ามีการ take note เยอะนักและ accept ดีกว่าเพื่อเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลง แต่หากจะมีการ take note ขอให้มีเหตุผลที่ดี และในความคิดเห็นส่วนตัวของอ.วิทิต คิดว่าในครั้งนี้ประเทศไทยไม่น่าจะมีการ take note เกิน 10 ข้อ จะทำให้สถิติขึ้นไปมาก

3.) ต้องการให้มีการประยุกต์ใช้และตรวจตรา และสำคัญมากในยุคต่อไปคือการ monitor อย่า monitor เรื่อง follow up ของข้อเสนอที่เรารับเท่านั้นต้องมีการ monitor เกี่ยวกับข้อเสนอที่เราไม่รับหรือข้อที่เรา take note ของที่ละเอียด (sensitive) ที่สำคัญที่สุดในเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นคือข้อเสนอที่เรา take note ไม่ใช่ข้อเสนอที่เรารับ ดังนั้นจุดบอดคือการที่เราปฏิเสธข้อเสนอหรือ take note เราต้องให้ความโปร่งใสและตรวจสอบ

4.) ข้อเสนอที่ประเทศไทยไม่รับนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้น่าภูมิใจในสิ่งที่ไม่รับเพราะไม่สวยและไม่สมดุลกับสังคมอย่างที่พูดไป 

5.) เรื่อง pair of action เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องมีความกระจ่างขึ้นอีก

6.) midterm reviews คงเป็นเรื่องที่มีได้แบบที่มีอยู่แล้ว ได้โปรดทำให้ดีต่อไป

7.) เรื่องคำมั่นสัญญา Plex ส่วนนึงเป็นเรื่องเก่า คือ การเปิดโอกาสให้แก่ผู้ตรวจสอบสรรพชาติเข้าประเทศไทยถึงแม้เปิดโอกาสในนามแต่ในการปฏิบัติไม่เปิดเลยจนปัจจุบันกลุ่มเดียวที่ได้เข้ามาล่าสุด กลุ่มเดียวเลย คือ เกี่ยวกับ Human Rights ขอความกรุณาให้เปิดเกี่ยวกับผุ้ตรวจสอบอื่น ๆ เข้ามาไม่ใช่เรื่องเสียหายเพราะเขามีส่วนช่วยทำให้เกิดไอเดียและสร้างแนวที่ดีขึ้นในเรื่องสิทธิมนุษยชนในทางปฏิบัติ

8.) อย่าลืมว่าเรื่องทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ติดขัดเป็นเรื่องประชาธิปไตย สิทธิในการรวมกลุ่ม สิทธิในการสมาคม สิทธิในการแสดงออก เป็นสิทธิทางการเมืองทั้งนั้น ซึ่งเป็นฐานของประชาธิปไตย สิ่งที่เรา ขอร้อง คือ แนวทางที่จะสว่างขึ้นในเรื่องสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย สันติภาพสำหรับชายแดนภาคใต้ของไทย และเกณฑ์การพัฒนาที่ยั่งยืน เกี่ยวข้องกับ STG

9.) เรื่องการเก็บข้อมูลในเรื่อง gender sensitiveการคำนึงถึงเรื่องเพศ เพศสภาพมากยิ่งขึ้นทั้งชายและหญิง ตอนนี้เรียกร้องให้หลากหลายมากกว่านั้นซึ่งสำคัญมากกฎหมายบางกฎหมายที่รออยู่ต้องเอื้อต่อเพื่อนมนุษย์อื่น ๆ ในส่วนที่เป็นไพรเวทของ LGBTQ+ เพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น

10.) อย่าลืมว่า UPR คือการตรวจตราและเสนอแนะอย่างอ่อน ดังนั้น ช่วยกันใช้กระบวนการทั้งปวงที่มีในลำดับโลก สนธิสัญญาที่เป็นภาคี 7 ฉบับ เข่น กติกาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งวางหลักเกณฑ์เรื่องการรวมกลุ่ม และผู้ตรวจสอบของสหประชาชาติ 58 ประเภทในปัจจุบัน 2-3 ปีที่ผ่านมามีแต่ working group และ business human rights จริง ๆ ในการปฏิบัติขอให้เข้าประเทศไทยปีละ 2 หน่วย เพื่อช่วยพัฒนา special protern เรื่องการขายเด็ก เรื่องทรมาน วิสามัญฆาตรกรรมะ working group เกี่ยวกับการอุ้มหาย โปรดใช้ระบบสหประชาชาติทั้งสนธิสัญญา และระบบอื่น ๆ ของสหประชาชาติ UPR