ร่วมเฉลิมฉลอง 33 ชัยชนะด้านสิทธิมนุษยชนในปี 2564

20 ธันวาคม 2564

Amnesty International 

ภาพถ่ายโดย: Benjamin Girette / Hans Lucas

ปีนี้เป็นอีกหนึ่งปีที่แอมเนสตี้ทำงานอย่างหนักและสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมากมายรอบโลก กฎหมายได้ถูกแก้ไข รางวัลได้ถูกส่งมอบ นักโทษทางความคิดได้เป็นอิสระ และผู้สนับสนุนมากมายของเรายังคงรณรงค์อย่างแข็งขันเพื่อให้มนุษย์ทุกคนได้มีชีวิตที่ปราศจากการทรมาน ข่มขี่คุกคามหรือถูกคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม และนี่คือรายงานแห่งชัยชนะสิทธิด้านมนุษยชนเพื่อฉลองส่งท้ายปีนี้

 

มกราคม

ระดับโลก: รายงานเขย่าโลกที่แอมเนสตี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเปิดโปงการคุกคาม โจมตี และปิดปากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกที่พยายามควบคุมสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลให้นายแพทย์อิบราฮิม บาดาวี และทันตแพทย์อาหมัด อัล เดโดมี ได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขังในอียิปต์ โดยนายแพทย์ทั้งสองเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวนมากที่ถูกทางการอียิปต์ควบคุมตัวในปี 2563 ในข้อกล่าวหาที่คลุมเครือและกว้างเกินไปเกี่ยวกับ “การเผยแพร่ข่าวปลอม” หรือ “เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย” โดยในรายงานของแอมเนสตี้ได้มีการระบุถึงเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ด้วย

 

กุมภาพันธ์

AFP via Getty Images
Campaigners in Sri Lanka call for an end to forced cremation. Photo: AFP via Getty Images.

 

ศรีลังกา: เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ในศรีลังกา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตชาวมุสลิมจำนวนหนึ่งถูกทางการฌาปนกิจตามคำสั่งทางการโดยไม่ฟังคำคัดค้านของครอบครัวผู้เสียชีวิต แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลจึงทำการร้องขอให้รัฐบาลศรีลังกาเคารพในสิทธิของศาสนิกชนส่วนน้อยในการทำพิธีศพตามความเชื่อของตนเว้นแต่จะมีความเสี่ยงของการแพร่ระบาดสูงขึ้นจริง โดยแอมเนสตี้ได้ร่วมมือกับองค์กรเพื่อความร่วมมือของชาวมุสลิมเพื่อสร้างความตระหนักต่อทางการศรีลังกาถึงผลกระทบจากนโยบายที่กีดกันทางความเชื่อ รวมทั้งนำผู้แทนปากีสถานและบังกลาเทศเข้ามาหารือถึงประเด็นดังกล่าวก่อนการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ผลจากความพยายามดังกล่าวนำไปสู่การยกเลิกการบังคับฌาปนกิจในศรีลังกาในเดือนกุมภาพันธ์

 

มีนาคม

บาห์เรน: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลช่วยให้นักโทษบางส่วนได้รับการปล่อยตัวในปีนี้ ซึ่งรวมถึงเยาวชนสี่คนที่ถูกตัดสินคดีในฐานะผู้ใหญ่ด้วย ในเดือนมีนาคม ศาลบาห์เรนได้สั่งพักโทษจำคุกหกเดือนของเยาวชนกลุ่มดังกล่าวและย้ายพวกเขาไปศูนย์พักฟื้นแทน หลังจากหนึ่งสัปดาห์ที่แอมเนสตี้ได้ออกมาตรการเร่งด่วน ต่อมาในเดือนเมษายน ข่าวดีได้มาเยือนอีกครั้งกับการปล่อยตัวนักโทษทางความคิด โมฮัมหมัด ฮัซซาน จาวาด ที่ถูกตัดสินจำคุกสิบห้าปีจากการมีส่วนร่วมในการชุมนุมใหญ่ปี 2554 ทางแอมเนสตี้เองได้รณรงค์ให้ปล่อยตัวเขามาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ในวันที่ 11 มีนาคมสหภาพยุโรปรับรองมติต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของบาห์เรน ตามด้วยการลงมติอีกครั้งในเดือนกันยายนต่อการปฏิบัติต่อนักโทษทางความคิดชาวเอมิเรตส์ อาห์เมด แมนซอร์ ในลักษณะเดียวกับข้อเสนอแนะของแอมเนสตี้

Getty Images/Alessandro Di Ciommo/NurPhoto
Tokyo Rainbow Parade. Photo: Getty Images/Alessandro Di Ciommo/NurPhoto.

 

ญี่ปุ่น: ในเดือนมีนาคม ศาลสูงของญี่ปุ่นตัดสินว่า การไม่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสกันนั้น “ขัดต่อรัฐธรรมนูญ”

ซึ่งถือเป็นการตัดสินคดีความว่าด้วยความเท่าเทียมทางการสมรสเป็นครั้งแรกของประเทศ คำตัดสินดังกล่าวเป็นก้าวแรกที่สำคัญอย่างมากต่อการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมของคู่รักเพศเดียวกัน และเป็นแนวทางการตัดสินคดีอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันที่ยังรอคำตัดสิน โดยคำตัดสินนี้เป็นผลจากการรณรงค์และยื่นข้อเรียกร้องโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ร่วมกับองค์กรอื่นๆ

Cesare Davolio / Amnesty International
Amnesty International's Yezidi report revealed the physical and mental health crisis endured by Yezidi children separated from their families.
Illustration: Cesare Davolio / Amnesty International.

 

อิรัก: รัฐสภาอิรักได้ผ่านกฎหมายผู้รอดชีวิตเยซีดิ(Yezidi Survivors Law) ซึ่งจะเป็นโครงสร้างในการชดเชยความเสียหายให้กับผู้รอดชีวิตจากความโหดร้ายของกลุ่มไอซิสในตอนเหนือของอิรัก อันรวมถึงผู้หญิงทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกลักพาตัวไปก่อนอายุ 18 ปี นี่เป็นหนึ่งในข้อเสนอแนะสำคัญในรายงานเรื่องอันตรายทางสุขภาพและสภาพจิตใจในเยาวชนชาวเยซีดิที่พรากจากครอบครัว โดยรายงานได้ถูกอ้างอิงโดยแองเจลีนา โจลีที่ขึ้นกล่าวต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในหัวข้อความรุนแรงทางเพศในพื้นที่ไม่สงบ ข้อกำหนดเพิ่มเติมของกฎหมายนี้ก็ได้รับการรับรองโดยรัฐสภาภายในเดือนกันยายนเช่นกัน

Noel Celis/AFP/Getty Images
Activists protest the Philippine government's deadly 'war on drugs'. Photo: Noel Celis/AFP/Getty Images.

 

ระดับโลก: ในเดือนมีนาคม ตุลาคมและพฤศจิกายน ศาลอาญาระหว่างประเทศได้ประกาศเริ่มการสอบสวนคดีอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับสถานการณ์ในดินแดนของปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง สงครามยาเสพติดในฟิลิปปินส์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติในเวเนซุเอลา โดยทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลได้เก็บรวบรวมหลักฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในพื้นที่ดังกล่าวมานานหลายปี และรายงานเหล่านั้นก็ถูกอ้างอิงหลายครั้งในการยื่นฟ้องของอัยการ

AFP via Getty Images
Patients in Madgascar are treated for Covid-19. Photo: AFP via Getty Images.

 

มาดากัสการ์: หลังจากปฎิเสธการมีอยู่ของไวรัสโควิด-19 มานานหลายเดือน ในที่สุดทางการมาดากัสการ์ก็ยอมถอนคำสั่งห้ามจัดซื้อวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ในที่สุด หลังจากที่ทางแอมเนสตี้และหน่วยงานอื่นๆ ร่วมกันกดดันให้ทางการถอนคำสั่งดังกล่าว ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น

Amnesty International
Police committed to investigating the murders of best friends Popi Qwabe and Bongeka Phungula, after receiving a petition signed by more than 341,000 Amnesty International supporters. Photo: Amnesty International.

 

แอฟริกาใต้: ในเดือนมีนาคม ตำรวจได้รื้อคดีฆาตกรรมเมื่อปี 2560 ของสองเพื่อนรักโพพี ควาเบ และบอนเกกา ฟุนกูลา ขึ้นมาสืบสวนใหม่อีกครั้งหลังได้รับข้อเรียกร้องที่ลงชื่อโดยผู้สนับสนุนแอมเนสตี้กว่า 340,000 รายชื่อจากทั่วโลกที่เรียกร้องให้นำฆาตกรตัวจริงเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ได้ โดยทางตำรวจได้สืบสวนคดีเสร็จสิ้นและส่งต่อคดีไปยังสำนักงานอัยการแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว หลังจากต้องทนทุกข์ทรมานจากความล่าช้าและความผิดปกติของการสืบสวนคดีมานานหลายปี ครอบครัวและเพื่อนฝูงของโพพีและบอนเกกาก็ได้รับรู้ถึงความหวังว่าความยุติธรรมจะมาถึง โดยพี่สาวของโพพีได้กล่าวกับแอมเนสตี้ว่า “ฉันรู้สึกมีความหวัง ฉันรู้สึกเหมือนว่าในที่สุด อะไรบางอย่างกำลังจะเปลี่ยนไป”

 

เมษายน

ระดับโลก: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี 2563/64 ในรายงานได้กล่าวถึงสถานการณ์สิทธิมนุษย์ชนใน 149 ประเทศทั่วโลก โดยมีรายงานใน 38 ภาษา นอกจากนี้ยังมีข้อเรียกร้องถึงรัฐบาลต่างๆ ในการสนับสนุนประเด็นสิทธิมนุษยชนต่างๆ ของแต่ละประเทศด้วย

 

พฤษภาคม

AFP via Getty Images
Palestinian protesters run for cover after Israeli forces launched tear gas canisters. Photo: AFP via Getty Images.

 

ระดับโลก: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลได้รับรางวัลเว็บบี้ อวอร์ด (Webby Award) จากการทำเว็บไซต์นำเสนอเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิด้วยแก๊สน้ำตาโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจทั่วโลก ซึ่งรางวัลดังกล่าวจะถูกมอบให้กับการนำเสนอข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตที่โดดเด่น ซึ่งมอบโดยวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์ด้านดิจิตอลนานาชาติ โดยเว็บไซต์ที่ได้รางวัลนี้ถูกสร้างขึ้นกลางปี 2563 และมีการอัพเดทข้อมูลหลักฐานใหม่อยู่ตลอด โดยข้อมูลดังกล่าวยังคงถูกอ้างอิงในการอภิปรายมากมาย รวมถึงการอภิปรายที่ยังไม่จบในวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการควบคุมหรือสั่งห้ามการใช้แก๊สน้ำตา

 

มิถุนายน

Alexandra Bertels
Germain Rukuki. Photo: Alexandra Bertels.

 

บุรุนดี: เอ็นจีโอและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เจอร์เมน รูกุกี ได้รับการปล่อยตัวหลังถูกคุมขังนานกว่าสี่ปีหลังจากต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน จากคำตัดสินให้จำคุก 34 ปีในข้อกล่าวหาที่เลื่อนลอย เจอร์เมนถูกพรากจากโอกาสที่จะได้อุ้มลูกคนสุดท้องที่ได้คลอดออกมาไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่เขาถูกควบคุมตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 หลังจากมีคำร้องเรียนกว่า 400,000 ฉบับเรียกร้องให้ปล่อยตัวเขา ในที่สุดเจอร์เมนก็มีความหวังจะได้พบครอบครัวอีกครั้ง แม้ครอบครัวของเขาจะลี้ภัยออกนอกประเทศไปแล้วก็ตาม

Amnesty International
The 'Free Xinjiang Detainees' petition is handed over in Helsinki, Finland. Photo: Amnesty International.

 

จีน: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลเผยแพร่รายงานที่ระบุหลักฐานว่าการกดขี่ชาวมุสลิมอุยกูร์ในเขตปกครองพิเศษซินเจียงมีความร้ายแรงเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ รายงานดังกล่าวได้ถูกกล่าวถึงโดยสื่อมวลชนหลายสำนัก และนำไปสู่การรณรงค์เรียกร้องให้ปิดค่ายกักกันชาวอุยกูร์ โดยในตอนนี้การรณรงค์ดังกล่าวมีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 323,000 รายชื่อจากทั่วโลก และทีมงานแอมเนสตี้ในกว่า 10 ประเทศได้ตั้งโต๊ะรับคำร้องในกรณีดังกล่าว


ปากีสถาน: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลได้ประสบความสำเร็จในการเรียกร้องการปล่อยตัวและยกฟ้องคดีนอกรีตกว่าเจ็ดปี

Eliana Rodgers
Decode Surveillance NYC. Illustration: Eliana Rodgers.

 

สหรัฐอเมริกา: โครงการถอดรหัสการสอดแนมได้รับความร่วมมือจากผู้สนับสนุนแอมเนสตี้กว่า 7,000 คนจาก 144 ประเทศ ในการเข้ามาชี้ตำแหน่งกล้องสอดแนมกว่า 15,000 ตัวในนครนิวยอร์กที่กรมตำรวจนิวยอร์กสามารถใช้โปรแกรมจดจำใบหน้าเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของประชาชนเฉพาะกลุ่ม โดยผลของโครงการดังกล่าวช่วยให้นักกิจกรรมสามารถกดดันให้หน่วยงานท้องถิ่นออกคำสั่งห้ามใช้เทคโนโลยีเพื่อการเลือกปฏิบัติดังกล่าวได้

Anadolu Agency via Getty Images
People from Nepal finally received a boost in vaccinations following campaigning and advoacy initiatives. Photo: Anadolu Agency via Getty Images.

 

เนปาล: หลังจากที่รายงานสถานการณ์ของโรคโควิด-19 รอบที่สองในประเทศเนปาลที่แอมเนสตี้จัดทำขึ้นได้ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ ซึ่งตามมาด้วยการรณรงค์ในหลายแห่ง ทำให้ประเทศเนปาลได้รับบริจาควัคซีนต้านโรคโควิด-19 โดยทางการญี่ปุ่นส่งมอบวัคซีนกว่า 1.3 ล้านโดส ตามมาด้วยจากภูฏาน 230,000 โดส และจากสหราชอาณาจักร 130,000 โดส

 

ไนจีเรีย: ศาลยุติธรรมของประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตกออกคำสั่งห้ามไม่ให้ทางการไนจีเรียดำเนินคดีกับผู้ใช้ทวิตเตอร์ในประเทศ โดยชัยชนะของเสรีภาพครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลได้ช่วยให้องค์กรพัฒนาเอกชน ในโครงการสิทธิและความรับผิดชอบด้านสังคมและเศรษฐกิจฟ้องร้องทางการไนจีเรียหลังจากที่รัฐบาลข่มขู่ที่จะดำเนินคดีกับประชาชนที่ใช้ทวิตเตอร์หลังออกนโยบายห้ามใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กทั้งหมดในเดือนมิถุนายน

 

กรกฎาคม

The National Immigrant Justice Center
Maura Martínez. Photo: The National Immigrant Justice Center.

 

นิการากัว: หลังจากถูกควบคุมตัวอยู่ในด่านตรวจคนเข้าเมืองแคลิฟอร์เนียนานกว่า 2 ปี ทั้งถูกทำร้ายและไม่อนุญาตให้พบแพทย์ มัวร่า มาร์ติเนส ผู้หญิงข้ามเพศจากนิการากัวได้รับการปล่อยตัวในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มาร์ติเนสอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามานานกว่าครึ่งชีวิตหลังจากที่เธออพยพหนีความรุนแรงเพราะเพศสภาพของเธอมาจากเม็กซิโก ทว่า หลังจากมีประเด็นทางกฎหมายขึ้น เธอถูกทางการสหรัฐจับกุมและข่มขู่ที่จะส่งเธอออกนอกประเทศ แต่เพราะการรณรงค์ของแอมเนสตี้และองค์กรเครือข่าย ทำให้มาร์ติเนสได้ถูกปล่อยตัวและอนุญาตให้อยู่ในสหรัฐได้ในระหว่างที่คำร้องขอสถานะผู้ลี้ภัยของเธอกำลังดำเนินการอยู่

Amnesty International / Camila Villota B.
Human rights defender, Berta Caceres. Photo: Amnesty International / Camila Villota B.

 

ฮอนดูรัส: เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ศาลของฮอนดูรัสตัดสินให้เดวิด คาสทิลโล อดีตผู้จัดการบริษัทดิซาร์โรลลอส เอเนอร์เจติคอส และเป็นผู้รับผิดชอบโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำอกวา ซาร์กา ว่ามีความผิดฐานมีส่วนร่วมในคดีฆาตกรรมนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เบอร์ตา คาร์เซเรส เมื่อปี 2559 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลเรียกร้องความยุติธรรมให้เบอร์ตามานานหลายปี และจะยังคงเรียกร้องต่อไปจนกว่าผู้มีส่วนร่วมในการสังหารเบอร์ตาจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด

 

เดนมาร์ก: ต้นปี 2564 รัฐบาลเดนมาร์กเสนอร่างกฎหมายต่อรัฐสภาเพื่อมอบอำนาจให้ตำรวจสามารถสั่งห้ามชุมนุมเพื่อความปลอดภัยได้ หากบุคคลที่มารวมกันมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง แอมเนสตี้ เดนมาร์กและพันธมิตรสามารถเรียกร้องให้ร่างกฎหมายนั้นตกไปในที่สุด ซึ่งเป็นการปกป้องสิทธิการแสดงออกจากข้อจำกัดที่ไม่เป็นธรรม การเรียกร้องดังกล่าวทำให้แอมเนสตี้ เดนมาร์กได้รับรางวัลCivic Pride Award โดยอีกหนึ่งผู้ได้รับรางวัลคือแอมเนสตี้ ฮังการีที่รณรงค์ต่อต้านกฎหมายกีดกั้นการทำงานขององค์กรภาคประชาสังคมหรือ LexNGO ของรัฐบาลฮังการี โดยทำงานประสานความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรอื่นๆ ซึ่งแนวร่วมดังกล่าวได้ต่อสู้กับกฎหมายนี้มานานกว่าสามปี จนในที่สุดศาลยุติธรรมสหภาพยุโรปตัดสินให้ยุติการใช้กฎหมายดังกล่าว


เซียร์ราลีโอน: หลังจากการรณรงค์มาหลายปีโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลและองค์กรอื่นๆ รัฐสภาเซียร์ราลีโอนได้มีญัตติให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทุกกรณี โดยร่างกฎหมายนี้ได้รับการเห็นชอบตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และอยู่ในระหว่างการตรวจสอบความเรียบร้อยก่อนส่งมอบให้ประธานาธิบดีจูเลียส มาดา ไบโอ ลงนามเพื่อบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายนเป็นต้นมา มี 21 ประเทศในเขตแอฟริกาใต้สะฮาราที่ยกเลิกการประหารชีวิตในทุกกรณี

Amnesty International
Young activists from Latin America discuss sexual and reproductive rights as part of the human rights education programme, It's My Body!. Photo: Amnesty International.

 

ละตินอเมริกา: แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลฉลองครบรอบ 5 ปีของโครงการ “นี่คือร่างกายของฉัน!” (It’s My Body!)  ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิทางเพศและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ให้กับคนรุ่นใหม่ในอาร์เจนตินา ชิลีและเปรู เพื่อให้พวกเขาไปสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชุมชนของตน มีเยาวชนหลายร้อยคนที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อให้การสนับสนุนผู้อื่นและผลที่เกิดขึ้นก็มีผลดีอย่างมาก ในอาร์เจนตินามีโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปหลักสูตรเพศศึกษาให้ครอบคลุมมากขึ้น ในขณะที่ผู้ได้รับการอบรมในเปรูได้ออกไปฝึกสอนสมาชิกในครอบครัวและครูทั่วประเทศ

 

สหรัฐอเมริกา: หลังจากที่รัฐบาลกลางสหรัฐสมัยที่แล้วทำการประหารชีวิต 13 ครั้งภายใน 6 เดือน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 อัยการสูงสุดของสหรัฐ เมอร์ริก การ์แลนด์ ประกาศให้พักการใช้โทษประหารชีวิตเพื่อรอการทบทวนนโยบายและข้อปฏิบัติของกระทรวงยุติธรรม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลเป็นหนึ่งในองค์กรที่รณรงค์ให้มีคำตัดสินลักษณะดังกล่าวและจะยังรณรงค์ต่อไปจนกว่าคำตัดสินนี้จะกลายเป็นนโยบายส่วนกลางเพื่อยกเลิกโทษประหารอย่างถาวร

 

สิงหาคม

AFP via Getty Images
Members and supporters of New York's Afghan community raise awareness of Afghanistan's refugee crisis following the Taliban takeover.
Photo: ED JONES/AFP via Getty Images.

 

อัฟกานิสถาน: หลังจากที่กลุ่มตาลีบันเข้ายึดอำนาจรัฐบาลอัฟกานิสถานกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลยังคงเก็บข้อมูลอาชญากรรมอันโหดเหี้ยมที่กระทำโดยกลุ่มดังกล่าว รวมถึงหลักฐานการสังหารหมู่ชาวฮาซาราถึงสองครั้งในจังหวัดกาห์สนีและเดย์คุนดิที่กระทำโดยพวกตาลีบัน รายงานเหล่านี้เป็นหลักฐานชิ้นแรกๆ ว่ากลุ่มตาลีบันยังคงคุกคามชนกลุ่มน้อยในอัฟกานิสถาน นอกจากนี้แอมเนสตี้ยังเผยแพร่คำให้การจากเหล่าเด็กผู้หญิงที่ถูกห้ามไม่ให้ไปโรงเรียน ท่ามกลางการข่มขู่และความรุนแรงจากกลุ่มตาลีบัน

 

กันยายน

กินี: หลังจากการรณรงค์นานหลายเดือนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลและผู้สนับสนุนอีกมากมาย นักเรียกร้องประชาธิปไตย โอมาร์ ซิลลา ก็ได้รับการปล่อยตัวอย่างไม่มีเงื่อนไขเมื่อวันที่ 6 กันยายน เพียงหนึ่งวันหลังจากที่กองทัพกระทำรัฐประหารต่อประธานาธิบดีอัลฟา คอนเด หลังการปล่อยตัวของเขา นักกิจกรรมทางการเมืองหลายสิบคนก็ได้รับการปล่อยตัวและยกฟ้องในคดีทางการเมืองทุกคดี


ตูนิเซีย: รายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ช่วยหยุดนโยบายการห้ามชาวตูนิเซียข้ามแดนทุกกรณีภายหลังการยึดอำนาจของประธานาธิบดีคาอิส ไซเอ็ด หลังจากที่แอมเนสตี้เผยแพร่รายงานสถานการณ์ดังกล่าว ประธานาธิบดีจึงได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 17 กันยายนสั่งให้ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง “อนุญาตให้ประชาชนเข้าออกด่านได้ตามปกติเว้นแต่กรณีมีคำสั่งศาล“

Hindustan Times via Getty Images
People from Mumbai, India, take part in a climate strike. Photo: Hindustan Times via Getty Images.

 

ระดับโลก: หลังจากการรณรงค์และกดดันมานานหลายปีของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนประกาศให้สิทธิการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยและยั่งยืนเป็นสิทธิมนุษยชน และแต่งตั้งผู้ตรวจการพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนและภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นการแสดงท่าทีที่สำคัญก่อนการประชุมสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ COP26 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน 

 

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง: สองผู้ต้องสงสัยคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มาฮาหมัด ซาอิด อับเดล คานิ และยูจีน บาร์เร็ต ไงคอสเซ็ท ถูกจับกุมในที่สุด โดยไงคอสเซ็ทถูกควบคุมตัวโดยศาลอาญาพิเศษ โดยนี่เป็นครั้งแรกที่ศาลประกาศรายชื่อผู้ต้องสงสัยต่อสาธารณะ หลังจากการเรียกร้องของแอมเนสตี้ให้ศาลอาญาพิเศษออกแถลงต่อความไม่โปร่งใสในการทำคดีดังกล่าว แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ได้เรียกร้องความยุติธรรมต่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติในรัฐแอฟริกากลางมานานหลายปี และผลงานของเราที่ทำร่วมกับองค์กรอื่นๆ ได้นำไปสู่การจับกุมผู้ต้องสงสัยดังกล่าว

 

ตุลาคม

Forbidden Stories
The Pegasus Project. Photo: Forbidden Stories.

 

ระดับโลก: สหภาพยุโรปได้มอบรางวัลวารสารศาสตร์แดฟนี คารัวน่า (The European Parliament’s Daphne Caruana Prize for Journalism) ให้แก่เพกาซัส โปรเจ็ค ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างแอมเนสตี้และองค์กรสื่อมวลชนหลายเจ้าเพื่อเปิดโปงการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลผ่านโปรแกรมสอดแนมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง การเปิดโปงครั้งนี้ได้ถูกพาดหัวข่าวโดยสื่อหลายสำนัก และทำให้บริษัทผลิตโปรแกรมสอดแนม NSO ถูกขึ้นบัญชีดำโดยสหรัฐอเมริกา และมีการเปิดคดีสืบสวนเรื่องดังกล่าวในหลายประเทศ รวมไปถึงความตื่นตัวกับความจำเป็นในการออกกฎหมายควบคุมเทคโนโลยีสอดแนม

 

มอลโดวา: รัฐสภามอลโดวาให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาอิสตันบูล ซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามความรุนแรงต่อผู้หญิงและความรุนแรงในครอบครัว อันเป็นการเปิดประตูไปสู่มาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวและต่อผู้หญิง รัฐบาลมอลโดวาแถลงว่าตอนนี้ได้มีการบังคับใช้กฎหมายมากกว่า 20 ฉบับเพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาดังกล่าว โดยปัจจุบันนี้นอกจากมอลโดวาแล้ว มีอีกเพียงประเทศเดียวเท่านั้นในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางที่ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าว นั่นคือประเทศจอร์เจีย ทางแอมเนสตี้เองก็ได้รณรงค์สิทธิสตรีและต่อต้านความรุนแรงในครอบครัวมาตลอดหลายปี


คอซอวอ: หลังจากการแทรกแซงโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ทางบริษัทเคลลอส เอเนอร์จี สัญชาติออสเตรีย ได้ถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทที่ไม่มีมูลเหตุต่อ ชเปรียซ่า โลชาจ และเอเดรียติก กาคาเฟรี นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ที่แสดงความกังวลต่อสาธารณะเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดยบริษัทเคลลอส เอเนอร์จีมีความพยายามใช้กฎหมายเพื่อปิดปากนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ให้พูดถึงความเสียหายจากโครงการดังกล่าวกับทรัพยากรธรรมชาติของประเทศคอซอวอ

ODTU LGBTI+
The case of the METU students was part of Amnesty International’s flagship Write for Rights campaign in 2020. Photo: ODTU LGBTI+.

 

ตุรกี: ศาลอาญามีคำสั่งยกฟ้อง นักเรียน 18 คนและนักวิชาการหนึ่งคน ที่ถูกจับกุมหลังเข้าร่วมเดินขบวนโดยสงบงานไพรด์พาเหรดในพื้นที่ของวิทยาลัย โดยถูกตำรวจสลายการชุมนุมด้วยการใช้สเปรย์พริกไทย แก๊สน้ำตาและกระสุนยาง การยกฟ้องถือเป็นชัยชนะของความยุติธรรมที่เกิดขึ้นหลังจากการต่อสู้ทางกฎหมายอย่างยาวนาน โดยการให้ความช่วยเหลือนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออกกลางครั้งนี้ เป็นผลมาจากโครงการเขียน เปลี่ยน โลก หรือ Write for Rights ประจำปี 2563 ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนล ซึ่งมีผู้ลงชื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวพวกเขามากกว่า 445,000 รายชื่อจาก 43 ประเทศทั่วโลก

 

ระดับโลก: หลังจากที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นเนลและองค์กรอื่นๆ ร่วมกันกดดันอย่างยาวนาน ในที่สุดสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ ประกาศแผนการยกสิทธิเด็กขึ้นเป็นเป้าหมายสำคัญในระบบการทำงานของสหประชาชาติ คำประกาศดังกล่าวเป็นผลมาจากความสำเร็จของงานอีเวนท์ที่จัดขึ้นร่วมกันระหว่างแอมเนสตี้และองค์กรอื่นๆ ซึ่งรวมถึงคำกล่าวสุนทรพจน์ของแอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการแอมเนสตี้ด้วย

 

พฤศจิกายน

กินี-บิสเซาและไนเจอร์: สาธารณรัฐกินี-บิสเซา และสาธารณรัฐไนเจอร์ประกาศอนุญาตให้บุคคลธรรมดาและองค์กรพัฒนาเอกชนยื่นคำร้องต่อศาลแอฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชน ทำให้จำนวนประเทศที่ลงนามในปฏิญญาดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นแปดประเทศ แคมเปญรณรงค์ของแอมเนสตี้ถือเป็นหนึ่งในเป็นหัวใจสำคัญ ตั้งแต่วิดีโอเพื่อการศึกษาที่แอมเนสตี้จัดทำขึ้น ไปจนถึงการรณรงค์ทางโซเชียลมีเดีย และการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องของผู้ที่มีบทบาทในสหภาพแอฟริกาและกลุ่มภาคประชาสังคมอื่นๆ ด้วย