แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนลเผยแพร่หลักการ 30 ข้อ เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองของตำรวจ

24 สิงหาคม 2564

Amnesty International Thailand

ทั่วโลก ตั้งแต่บนท้องถนนในประเทศไทยจนถึงรัฐฟิลลาเดเฟีย (ประเทศสหรัฐฯ) จากกรีซจนถึงชิลี ตำรวจยังคงใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกโดยไม่จำเป็นและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บสาหัสและอาจถึงขั้นเสียชีวิต 

ในหลายกรณี ตำรวจมีการใช้กำลังเพื่อเร่งสลายการชุมนุมอย่างสงบ แทนที่จะเลือกใช้ทางเลือกอื่นอย่างสันติในการยุติความขัดแย้ง แต่เจ้าหน้าที่กลับใช้แก๊สน้ำตา สเปรย์พริก และเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง ในลักษณะที่เป็นการกระทำโดยพลการ ปฏิบัติโดยมิชอบ หรือเกินกว่าเหตุ บ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่แทบไม่ต้องรับผิดชอบหรือไม่ต้องรับผิดใด ๆ จากการกระทำของตน

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนล ได้ตอบสนองต่อการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐที่มีความบกพร่องอย่างร้ายแรงโดยการเผยแพร่รายงานฉบับใหม่ที่มีข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อประกันว่าตำรวจจะใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกอย่างชอบด้วยกฎหมาย ทางองค์กรเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขเนื้อหาของกฎหมายและการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับหลักการ 30 ข้อ ในการบังคับใช้กฎหมายสำหรับการใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคือง

“บ่อยครั้งที่ประชาชนในหลายประเทศทั่วโลกได้รับบาดเจ็บสาหัสและบางครั้งถึงขั้นเสียชีวิตจากการใช้แก๊สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในลักษณะที่ละเมิดมาตรฐานระหว่างประเทศหรือกฎหมายภายในประเทศ” 

ดร.อันญา ไบเนิร์ท โครงการตำรวจและสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนล เนเธอร์แลนด์กล่าวว่า

“ไม่มีใครปฏิเสธว่าตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่มีความท้าทายและเสี่ยงอันตราย แต่ทางการก็มักไม่ได้กำหนดกรอบกฎหมายเพื่อประกันว่าการใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองของตำรวจต้องเกิดขึ้นอย่างสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ”

รายงานเรื่อง กรุงคาลี: ศูนย์กลางแห่งการปราบปราม ซึ่งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนล ได้ทำการเผยแพร่ในวันที่ 28 เมษายน 2564 กล่าวถึงการควบคุมการชุมนุมที่กรุงคาลี (ประเทศโคลอมเบีย) สะท้อนให้เห็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เมื่อหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเลือกใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองในบริบทของการชุมนุมประท้วง โดยเจ้าหน้าที่มีการใช้แก๊สน้ำตาต่อผู้ชุมนุมอย่างสงบ มีการใช้แก๊สน้ำตาแบบขว้างใส่ผู้ชุมนุมในระยะใกล้ รวมทั้งการเล็งไปยังศีรษะของผู้ชุมนุม มีการใช้อาวุธในสถานการณ์ที่ประชาชนไม่สามารถสลายตัวได้ ทั้งยังมีการยิงในช่วงกลางคืน และเป็นการยิงจากด้านบน รวมทั้งการยิงแก๊สน้ำตาโดยใช้ระบบ Venom แบบหลายลำกล้อง และยิงกระสุนในจำนวนมากเกินกว่าหตุ 

การใช้กำลังของตำรวจเพื่อปฏิบัติหน้าที่อาจเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ภายใต้หลักการพื้นฐานตามมาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดให้ตำรวจใช้กำลังได้เฉพาะเมื่อจำเป็นอย่างยิ่ง

  

A picture containing text, outdoor

Description automatically generated

© AFP via Getty Images

 

หลักการ 30 ข้อสำหรับเจ้าหน้าที่เพื่อลดการใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคือง

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนลเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ยุติการใช้สารเคมีสร้างความระคายเคืองโดยมิชอบ

ในโคลอมเบีย เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงได้ใช้แก๊สน้ำตาแบบขว้างเพื่อยิงใส่ผู้ชุมนุมในระยะประชิด มีการเล็งไปยังศีรษะของผู้ชุมนุม  และมีการใช้แก๊สน้ำตาในสถานการณ์ที่ประชาชนไม่สามารถสลายตัวได้ ทั้งยังมีการยิงในช่วงกลางคืน และเป็นการยิงจากด้านบน รวมทั้งการยิงแก็สน้ำตาโดยใช้ระบบ Venom แบบหลายลำกล้อง  และยิงกระสุนในจำนวนมากเกินกว่าหตุ

 

A picture containing text, person, road, outdoor

Description automatically generated

© Panayotis Tzamaros/NurPhoto

 

การใช้แก๊สน้ำตา

ต้องไม่ยิงใส่ผู้ชุมนุมอย่างสงบ

ในประเทศกรีซ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาโดยไม่จำเป็นและเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมอย่างสงบ

 

A picture containing text, person, several

Description automatically generated

© Anadolu Agency via Getty Images 

 

การใช้สเปรย์พริกไทย

ต้องไม่ใช้ต่อผู้ชุมนุมที่อยู่ภายใต้การควบคุมแล้ว

ในเมืองพอร์ตแลนด์ (รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐฯ) ตำรวจได้ฉีดสเปรย์พริกใส่ใบหน้าของผู้ชายที่ถูกจับกุม การฉีดสเปรย์พริกใส่บุคคลที่ถูกพันธนาการแล้ว หรืออยู่ภายใต้การควบคุมแล้ว ย่อมถือเป็นการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้าย

 

A picture containing text, person, indoor

Description automatically generated

© Getty Images 

 

กระป๋องระเบิดแก๊สน้ำตาอาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บที่ร้ายแรง

กระป๋องแก๊สน้ำตาที่กระแทกใส่ผู้คนโดยตรง ทำให้เกิดบาดแผลฉีกขาด เลือดคั่งในสมอง อาการบาดเจ็บทางศีรษะอื่น ๆ และในกรณีที่เกิดเหตุรุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้ ที่กาซา เด็กผู้ชายอายุ 12 ปีถูกทหารอิสราเอลยิงด้วยกระป๋องแก๊สน้ำตาเข้าที่ดวงตา ในระหว่างการชุมนุมประท้วง "Great March of Return"

 

A picture containing text, ground, outdoor, tear gas

Description automatically generated

© 2021 SOPA Images

 

ต้องไม่ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้คนโดยตรง

เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะต้องไม่ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้คนโดยตรง ที่เมียนมา เจ้าหน้าที่ติดอาวุธได้ยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนใส่ประชาชนโดยตรงบนท้องถนน

 

A large crowd of people outside

Description automatically generated with low confidence

© Mark Makela Getty 

 

การใช้แก๊สน้ำตา?

ผู้ชุมนุมต้องสามารถสลายตัวได้

ต้องไม่นำสารเคมีที่สร้างความระคายเคืองมาใช้ในสถานการณ์ที่ผู้คนไม่สามารถสลายตัวได้ และไม่ควรใช้เพื่อทำให้ประชาชนจนมุม 

ทั่วสหรัฐฯ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหลายแห่งได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่กลุ่มแบล็คไลฟ์แม็ทเทอร์ (Black Lives Matter) ซึ่งเป็นผู้ชุมนุมอย่างสงบ รวมถึงผู้ชุมนุมที่ฟิลลาเดเฟียที่ถูกทำให้ติดอยู่บริเวณเป็นกำแพงกั้นของทางหลวง จากนั้น็มีการยิงแก๊สน้ำตาใส่พวกเขา 

 

A group of people in costume

Description automatically generated with low confidence

© Alamy 

 

การใช้แก๊สน้ำตา? 

ต้องไม่ใช้ภายในอาคาร

ตำรวจในฮ่องกงได้ยิงแก๊สน้ำตาภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในช่วงที่ประชาชนไม่สามารถสลายตัวได้

 

A picture containing text

Description automatically generated

© AFP via Getty Images 

 

ต้องไม่ผสมสารเคมีที่สร้างความระคายเคืองลงไปในเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง

ระหว่างการชุมนุมในประเทศไทย ตำรวจได้ใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองกับประชาชนจนเกินกว่าเหตุ รวมทั้งการใช้แก๊สน้ำตาและเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง มีการรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งแผลไหม้อย่างรุนแรงและเลือดไหลทางจมูก  

การใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองร่วมกับอุปกรณ์อื่นที่จะทำให้เกิดอันตรายจนเกินกว่าเหตุ และไม่ตรงกับเป้าประสงค์ของอุปกรณ์นั้น ถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม

 

A picture containing text

Description automatically generated

© AFP via Getty Images 

 

การยิงแก๊สน้ำตาจากที่สูง: เป็นการกระทำที่เกิดว่ากว่าเหตุและอันตราย!

เมื่อมีการยิงแก๊สน้ำตาจากด้านบนจะทำให้เกิดความโกลาหลและประชาชนไม่รู้ว่าควรจะหลบหนีไปทางไหน ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดความวุ่นวาย เกิดความสับสน ตื่นตระหนกและอาจถึงขั้นมีการเหยียบกันตาย นอกจากนั้น กระแสลมยังทำให้แก๊สน้ำตาแพร่กระจายไปอย่างไร้ทิศทาง เสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อคนที่ไม่เกี่ยวข้อง กองทัพอิสราเอลใช้โดรนเพื่อยิงระเบิดแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมชาวปาเลสไตน์ที่ฉนวนกาซ่า

 

A picture containing text, weapon

Description automatically generated

 

ต้องไม่ใช้แก๊สน้ำตา 

  • เมื่อผู้คนไม่สามารถสลายตัวได้

  • เพื่อสลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นอย่างสงบ

  • โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า

  • โดยการยิงใส้ผู้คนโดยตรง

  • เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว

  • ยิงผ่านโดรน

 

การใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกอย่างไม่ถูกต้อง: ปัญหาระดับโลก 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนลได้บันทึกข้อมูลการใช้แก๊สน้ำตาอย่างมิชอบของตำรวจในหลายกรณี รวมทั้ง 

  • การยิงเข้าไปในพื้นที่ที่มีทางเข้า-ออกจำกัด ตัวอย่างเช่น ใน แซมเบีย นักศึกษาปีสุดท้ายเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ หลังจากตำรวจโยนกระป๋องแก๊สน้ำตาเข้าไปในหอพักระหว่างที่เธอกำลังหลับ ในทำนองเดียวกันเมื่อเดือนมิถุนายน 2564 เจ้าหน้าที่ของ ตูนีเซีย ได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่ โดยเป็นการยิงเข้าไปในบ้าน ซึ่งเกือบจะทำให้เด็กอายุสองขวบเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ ในเดือนมีนาคม 2564 เจ้าหน้าที่อิสราเอล ได้ทำการยิงแก๊สน้ำตาเข้าไปภายในมัสยิดอัล-อัคซาและยิงจากบนหลังคา ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า เจ้าหน้าที่ได้ทุบหน้าต่างและโยนแก๊สน้ำตาเข้ามา ส่งผลให้คนจำนวนมากที่อยู่ภายในหายใจไม่ออก เดือนมีนาคม 2564 เจ้าหน้าที่อิหร่าน ได้ยิงกระสุนจริงและแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นในหลายเรือนจำ 

  • การยิงใส่ผู้คนโดยตรง ตัวอย่างเช่น ในเลบานอน เจ้าหน้าที่ได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้คนจำนวนมากเพื่อสลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นอย่างสงบ โดยเป็นการยิงกระป๋องแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมโดยตรงในขณะที่เจ้าหน้าที่อยู่บนรถที่วิ่งอยู่ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการใช้อาวุธได้ ส่งผลให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บสาหัสบริเวณศีรษะและร่างกายส่วนบน ในเมียนมา เจ้าหน้าที่ติดอาวุธยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนใส่ประชาชนโดยตรงที่อยู่บนท้องถนน 

  • การใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าเหตุ ระหว่างการชุมนุมใน ประเทศไทย ตำรวจได้ใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองกับประชาชนจนเกินกว่าเหตุ รวมทั้งการใช้แก๊สน้ำตาและเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง มีรายงานว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งแผลไหม้อย่างรุนแรงและเลือดไหลทางจมูก  

  • การยิงใส่การชุมนุมอย่างสงบ ในหลายสิบเมืองทั่ว สหรัฐฯ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหลายแห่งได้ยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมกลุ่มแบล็คไลฟ์แม็ทเทอร์ ซึ่งเป็นการชุมนุมอย่างสงบ และมีการใช้สารเคมีอื่นๆ เพื่อควบคุมฝูงชน ที่กรีซ ตำรวจยังใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงและแก๊สน้ำตาโดยไม่จำเป็นและเกินกว่าเหตุต่อผู้ชุมนุมอย่างสงบ 

ในเดือนพฤษภาคม 2564 โครงการสื่อมัลติมีเดียออนไลน์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ในชื่อ แก๊สน้ำตา: การสอบสวน  ได้รับรางวัล  Webby Award  ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติในฐานะเป็นเว็บไซต์เพื่อการเคลื่อนไหวที่ดีสุดระดับโลก เว็บไซต์ดังกล่าวนำเสนอแผนที่แบบอินเตอร์แอกทีฟ รวมทั้งวีดิโอจากกว่า 100 เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการใช้แก๊สน้ำตาอย่างไม่ถูกต้องจาก 31 ประเทศและดินแดน 

 

หลักการ 30 ข้อ

เอกสารที่แสดงจุดยืนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนล อธิบายว่า ตำรวจสามารถใช้แก๊สน้ำตาได้เฉพาะกรณีที่เกิดความรุนแรงอย่างกว้างขวางเท่านั้น กรณีที่ไม่สามารถจัดการกับผู้ใช้ความรุนแรงคนใดคนหนึ่งได้ ทั้งนี้ไม่ควรนำแก๊สน้ำตามาใช้เพื่อสลายการชุมนุมอย่างสงบ แก๊สน้ำตาแบบขว้างไม่ควรถูกขว้างใส่ตัวบุคคลโดยตรง ควรใช้แก๊สน้ำตาเฉพาะเพื่อให้ผู้ชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงสลายตัวไป และไม่ควรนำมาใช้ในพื้นที่ที่มีทางเข้า-ออกจำกัด หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่ผู้คนไม่สามารถหลบหนีออกไปได้ สเปรย์พริกแบบถืออาจนำมาใช้ได้เฉพาะเพื่อรับมือกับการขัดขืนที่มีการใช้ความรุนแรง แต่ต้องไม่ใช้กับบุคคลที่เพียงแต่แสดงอาการขัดขืนแบบไม่รุนแรง การนำสเปรย์พริกมาใช้กับบุคคลที่ถูกควบคุมตัวอยู่แล้ว ย่อมถือเป็นการทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้าย 

เอกสารแสดงจุดยืนฉบับนี้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถประเมินการใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกของตำรวจ และรณรงค์ให้มีความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนมากขึ้น  

“เอกสารชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่ออธิบายถึงมาตรการทางกฎหมายและแนวทางการปฏิบัติงาน ซึ่งรัฐต้องนำมาใช้เพื่อประกันว่าตำรวจต้องไม่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ งดเว้นจากการปฏิบัติมิชอบ ไม่ปฏิบัติโดยพลการ หรือไม่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์เช่นนี้ ตำรวจจะต้องถูกตรวจสอบอย่างเต็มที่จากการใช้กำลังใด ๆ ของตน” ดร. ไบเนิร์ทกล่าว 

การใช้แก๊สน้ำตาท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มเติมเพราะอาจทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัสมีอาการรุนแรงมากขึ้น ทั้งยังเสี่ยงจะทำให้บุคคลอื่นติดเชื้อด้วย 

 

มาตรการควบคุมระหว่างประเทศที่จำเป็น 

แม้จะมีการใช้ที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการระหว่างประเทศสำหรับควบคุมการซื้อ-ขายแก๊สน้ำตาและสารเคมีที่สร้างความระคายเคืองอื่น ๆ

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่ลแนลเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ต้องไม่อนุญาตให้ส่งออกสารเคมีที่สร้างความระคายเคือง รวมทั้งแก๊สน้ำตาหรือสเปรย์พริก เครื่องยิงแก๊สน้ำตา และความช่วยเหลือทางเทคนิคอื่น ๆ กรณีที่มีเหตุผลอันควรเชื่อได้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้อาจถูกนำไปใช้เพื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

ทางองค์กรยังเรียกร้องให้กำหนดข้อห้ามในการใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งระบบการยิงและเครื่องยิงระเบิดแบบหลายลำกล้อง 

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือการนัดสัมภาษณ์ โปรดติดต่อโครงการตำรวจและสิทธิมนุษยชน: phrp@amnesty.nl

 

อ่านเพิ่มเติมที่ 

สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองในการบังคับใช้กฎหมาย (งานวิจัย, 30 กรกฎาคม 2564)

หลักการ 30 ข้อ สำหรับการใช้สารเคมีที่สร้างความระคายเคืองในการบังคับใช้กฎหมาย (งานวิจัย, 30 กรกฎาคม 2564)