พลังจากปลายปากกา คนธรรมดาก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้ #WriteForRights

24 พฤศจิกายน 2563

Amnesty International Thailand

ในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมของทุกปี ผู้คนหลายแสนคนทั่วโลกร่วมกันเขียนจดหมายมากมายเพื่อผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จดหมายหลายฉบับถูกส่งถึงผู้ถูกละเมิดสิทธิโดยตรง ขณะที่จดหมายอีกจำนวนมากก็ถูกส่งไปยังรัฐบาลของประเทศที่เกี่ยวข้องนั้นๆ 

ในปี 2562 ผู้สนับสนุนแอมเนสตี้ ทั่วโลกได้ทำให้สถิติใหม่ให้กับกิจกรรม Write for Rights” สูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ โดยมีผู้สนับสนุนสิทธิมนุษยชนร่วมกันส่งข้อความไม่ว่าจะเป็นจดหมาย อีเมล ทวีต และผ่านช่องทางอื่นๆ อีกมากมาย สูงถึง 6,609,837 ข้อความโดยในแต่ละปีมีผู้สนับสนุนจาก ทั่วโลกร่วมกันส่งจดหมายเพื่อกดดัน รัฐบาลประเทศต่างๆ ให้ยุติการละเมิด สิทธิมนุษยชนและนำความยุติธรรมมาสู่ผู้ได้รับผลกระทบ และการเขียนจดหมายหรือข้อความเพื่อส่งไปให้กำลังใจผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและครอบครัวโดยตรง เพื่อให้พวกเขารับรู้ว่าไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง ซึ่งกิจกรรมนี้จัดต่อเนื่องมานานกว่า 18 ปีแล้ว 

เสียงของคุณช่วยพวกเขาได้อย่างไร?

ลำพังเสียงของคุณคนเดียวอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ไม่มากนัก แต่ Write for Rights พิสูจน์แล้วว่าเมื่อเสียงของคนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลกมารวมกัน รัฐบาล ประเทศต่างๆ จะไม่สามารถเพิกเฉยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อีกต่อไป ส่วนผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิเองก็จะมีความหวังในการต่อสู้มาก ขึ้นจนได้รับความยุติธรรมในที่สุด ข้อความต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จที่ผู้สนับสนุนแอมเนสตี้ ประเทศไทยมีส่วนในการรณรงค์ช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

 yombubpa.jpg

ขอบคุณผู้บรรดาผู้สนับสนุนแอมเนสตี้ทุกคน การรณรงค์ของพวกคุณประสบความสำเร็จจนทำให้ฉันได้รับการปล่อยตัวเรามาถึงจุดนี้ได้ เมื่อทุกคนร่วมมือกัน

-ยอม บุปผา นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่อยู่อาศัยชาวกัมพูชา

ได้รับการปล่อยตัวปลายปี 2556 เธอถูกจับกุมหลังเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านการบังคับไล่รื้อชุมชนแล้วถูกยัดข้อหาเท็จ  ถึงแม้ข้อหานั้นจะยังคงอยู่แต่ตอนนี้เธอได้รับการปล่อยตัว้กลับบ้าน

 

 jereme.jpg

"จดหมายจากคุณทำให้ผมและภรรยาเข้มแข็งขึ้น ทำให้เรารู้ว่าการต่อสู้ครั้งนี้เราไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากเรียกร้องความยุติธรรมให้เรา”

-เจเรมี คอร์ คนขัยรถบรรทุกชาวฟิลิปปินส์

ได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 2559 หลังติดคุกนานกว่า 4 ปี จากการถูกตำรวจทรมานให้รับสารภาพในคดีฆาตกรรมที่เขาไม่ได้ก่อ หลังถูกกดดันจากทั่วโลก ทางการฟิลิปปินส์สืบสวนคดีอีกครั้ง สุดท้ายตำรวจที่ทรมานเขาถูกตัดสินจำคุก 

 

yenesia.jpg 

เมื่อฉันได้รับจดหมายมีข้อความว่า  ฉันไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง มันทำให้ฉันรู้สึกดีมากๆ  น่าตื่นเต้นที่รู้ว่ามีคนสนใจในสิทธิของคนอื่นอยู่ แม้พวกเขาจะไม่ได้รู้จักฉันเลยด้วยซ้ำ”

-เยซีเนีย อาร์เมนตา ผู้หญิงธรรมดาและคุณแม่ลูกสองชาวเม็กซิกัน

ได้รับการยกฟ้องและปล่อยตัวเมื่อปี 2559 หลังถูกตำรวจนอกเครื่องแบบลักพาตัว ทรมานและข่มขืนรวมกว่า 15 ชั่วโมง เพื่อบังคับให้เธอสารภาพว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมสามี 

pyopyo.jpg

“จดหมายของพวกคุณไม่ใช่เพียงแค่จดหมาย แต่เป็นของขวัญและพลังใจอันยิ่งใหญ่สำหรับทั้งนักศึกษาและอนาคตของเมียนมา...ฉันเริ่มตระหนักแล้วว่า โลกกำลังเฝ้ามองและให้กำลังใจพวกเรา นั่นทำให้พวกเราไม่ได้โดดเดี่ยว”

-เพียว เพียว อ่อง หนึ่งในผู้นำสหภาพนักศึกษาเมียนมา

ได้รับการยกฟ้องและปล่อยตัวเมื่อปี 2559 หลังถูกจับพร้อมเพื่อนนักศึกษาอีกกว่า 100 คน จากการออกมาประท้วงต่อต้านพ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ที่มีเนื้อหากดขี่เสรีภาพทางวิชาการ

 

chelsea.jpg 

ฉันอยากจะมีเวลาที่จะขอบคุณแต่ละคนที่ส่งข้อความถึงฉัน จดหมายและโปสการ์ดแต่ละฉบับทำให้ฉันมีความสุข

-เชลซี แมนนิง ฮีโร่ผู้เปิดโปงข้อมูลหลักฐานการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกองทัพสหรัฐฯ 

ได้รับอิสรภาพเมื่อปี 2560 หลังติดคุกมานานเจ็ดปีจากโทษทั้งหมด 35 ปีในข้อหาเปิดเผยความลับทางราชการหนึ่งในนั้นคือวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ที่ทหารสหรัฐฯกำลังกราดยิงพลเรือนที่ไม่มีอาวุธในตะวันออกกลาง

 todora.jpg 

“การสนับสนุนของผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกคือพลังอันยิ่งใหญ่่มากสำหรับผู้หญิงอย่างฉัน  ทุกๆ ลายเซ็นจากการเรียกร้องให้ปล่อยตัวฉัน ทำให้ชีวิตของฉันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ตอนนี้ฉันเป็นอิสระแล้ว มันไม่ใช่แค่ฝันแต่มันเป็นความจริง”

-ทีโอโดร่า วาสเกต หญิงชาวเอลซัลวาดอร์

ได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี  2561 หลังถูกศาลสั่งจำคุก 30 ปี ในข้อหาทำแท้งผิดกฎหมาย ทั้งที่จริงแล้วเธอแค่มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงและเลือดออกแค่นั้น โดยมีผู้คนมากมายจากทั่วโลกร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องและขอให้ปล่อยตัวเธอ

mahadeen.jpg 

“ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในการรณรงค์ Write for Rights และเป็นเกียรติที่ได้รู้จักคนอย่างพวกคุณ คนที่ไม่เห็นด้วยกับความอยุติธรรมจากผู้มีอำนาจ คุณได้นำความสุขมาสู่ใจของผม ขอบคุณครับ”

-มาฮาดีน นักกิจกรรมออนไลน์ชาวชาด

ได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 2561 หลังถูกจำคุกนานกว่า 18 เดือน ในข้อหาทำลายความมั่นคงและแบ่งแยกดินแดน เดิมศาลตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิตจากการที่เขาโพสต์วิดีโอวิจารณ์รัฐบาลช่วงปลายปี 2559 เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณที่ผิดพลาดและอาจนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจ 

 

 edil.jpg

“ฉันอยากขอขอบคุณทุกท่านในนามของกลุ่มอีสตันบูล 10 สำหรับความพยายามในการเรียกร้องให้ปล่อยตัวพวกเรา ฉันรู้สึกขอบคุณและซาบซึ้งจากใจจริง ถ้าหากไม่ใช่เพราะความพยายามของพวกคุณ พวกเราก็คงไม่ได้มายืนอยู่ในวันนี้

อีดิล เอสเซอร์ ผู้อำนวยการของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศตุรกี

ได้รับการปล่อยตัวเมื่อปี 2561 หลังถูกคุมขังนาน 6 เดือนพร้อมกับนักกิจกรรมอีก 9 คน ที่รู้จักกันในนาม “อีสตันบูล 10” โดยไม่มีการระบุข้อหา และไม่มีการระบุสาเหตุที่ชัดเจนว่าทำไมพวกเขาถึงถูกจับ ซึ่งได้มีผู้คนมากมายทำการเรียกร้องให้ปล่อยตัวพวกเขา 

zoona.jpg

"ผมเป็นนักวาดการ์ตูน ผมจึงวาดการ์ตูน แต่หากคุณสามารถเขียน พูดในที่สาธารณะ วาดภาพ ร้องเพลง คุณก็แสดงออกทางความคิดได้อย่างเสรีเช่นกัน เราแค่ต้องพยายามทำสิ่งที่เราทำได้ต่อไป"

-ซูนาร์ นักวาดการ์ตูนชาวมาเลเซีย

ปี 2561 ทางการมาเลเซียได้ยกเลิกข้อกล่าวหา "ซูนาร์" นักวาดการ์ตูนชื่อดังในทุกกรณี จากการที่เขาทวีตวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล โดยทางการตั้งข้อหาโดยใช้ "กฎหมายการยุยงปลุกปั่น" (the Sedition Act of 1948) ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นกฎหมายที่ถูกใช้เพื่อจำกัดเสรีภาพการแสดงออกบนโลกออนไลน์

 shawkan.jpg

“ผมขอขอบคุณสำหรับทุกสิ่งที่ทำให้ผม ผมรู้สึกโชคดีมากที่มีคนแบบพวกคุณอยู่บนโลกนี้ และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่มีพวกคุณเป็นเสมือนเพื่อนของผม”

-มาเมาด์ อาบู ซิด หรือชอว์คาน ช่างภาพข่าวชาวอียิปต์

ได้รับการปล่อยตัวเมื่อ 2562 หลังถูกจำคุกนานกว่า 5 ปีครึ่งด้วยข้อหาที่ถูกกุขึ้น เขาถูกจับในขณะกำลังทำข่าวการประท้วงเมื่อกองกำลังอียิปต์บุกเข้ามาสังหารผู้ชุมนุมราว 800 ถึง 1,000 คนอย่างเลือดเย็น ที่เรียกว่า “การสังหารหมู่ที่ราบา”

 hakeem.jpg

“ผมมีความสุขมากที่ได้สิทธิความเป็นพลเมืองในวันนี้ ผมรู้สึกปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครในโลกที่จะติดตามตัวผมอย่างที่บาห์เรนทำได้อีกแล้ว ตอนนี้ผมคือชาวออสเตรเลีย และอยู่ในประเทศที่ปลอดภัย”

-ฮาคีม อัล อาไรบี ผู้ลี้ภัยของออสเตรเลียและนักฟุตบอลเชื้อสายบาห์เรน

ได้รับการปล่อยตัวหลังถูกทางการไทยควบคุมตัวนานกว่า 2 เดือนตาม “หมายแดง” ของตำรวจสากล ที่รัฐบาลบาร์เรนร้องขอในคดีทำลายทรัพย์สินสถานีตำรวจช่วงอาหรับสปริง เมื่อได้รับการปล่อยตัวเขาเดินทางถึงออสเตรเลียในวันถัดมา หลังจากนั้นหนึ่งเดือนเขาก็ได้รับสัญชาติออสเตรเลีย

gulza.jpg

เมื่อสิบปีก่อนฉันไม่มีความฝันเลย และตอนนี้ฉันก็ได้สูญเสียเป้าหมายไปจำนวนนับไม่ถ้วนแล้ว ฉันอยากให้ชาวคีร์กิซสถานทุกคน ไม่เว้นแม้แต่คนเดียว ได้ใช้ชีวิตที่มีสีสันและได้ฝันถึงอนาคตของตัวเอง

-กัลซาร์ ดูเชโนวา นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงชาวคีร์กีซสถานผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิของคนพิการ 

เมื่อปี 2561 ผู้สนับสนุนแอมเนสตี้ได้ร่วมส่งกันเรียกร้องไปยังรัฐบาลคีร์กีซสถาน ในปี 2562 รัฐสภาได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติ และสนับสนุนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การเข้าถึงอาคาร การมีงานทำ และการเดินทางแล้ว 

 

-หลิวเซีย กวีและศิลปินชาวจีน 

เมื่อปี 2561 ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันแล้ว หลังถูกควบคุมตัวที่บ้านอย่างผิดกฎหมาย ตั้งแต่หลิวเสี่ยวโปสามีผู้ล่วงลับของเธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2553 เธอถูกจับตามองโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคง และติดต่อกับโลกภายนอกได้เฉพาะกับเพื่อนสนิททางโทรศัพท์เท่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ควบคุมเข้มงวด