แนวทางสังเกตการณ์ชุมนุมตามมาตรฐานสากล 

11 สิงหาคม 2563

Amnesty International Thailand

การสังเกตการณ์การชุมนุมคืออะไร?

  • เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่เป็นอิสระ ปราศจากการแทรงแซง เกี่ยวกับการจัดการของผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมาย
  • เพื่อป้องกันการแสดงตัวตนของผู้ชุมนุม
  • เก็บรวบรวมหลักฐาน เพื่อนำไปสู่การแสดงความรับผิดชอบ
  • เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ และสนับสนุนให้รับผิดชอบต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

การชุมนุมโดยสันติ” ภายใต้มาตรา 21 ของ ICCPR

  • การชุมนุม หมายถึง การรวมตัวกันมากกว่า 1 คน รวมถึงการชุมนุมในพื้นที่ออนไลน์ด้วย 
  • การชุมนุมโดยสันติ หมายถึง การชุมนุมโดยปราศจากการใช้ความรุนแรง ทั้งนี้การมีอาวุธไม่ได้แปลว่าไม่สันติ โดยพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง เช่น วัฒนธรรม ความจงใจ และการประกาศวัตถุประสงค์ชัดเจน
  • “ความรุนแรง” ในบริบทนี้ โดยทั่วไปหมายถึง การที่ผู้เข้าร่วมใช้กำลังทางกายภาพซึ่งน่าจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ล้มตายหรือทรัพย์สินเสียหายรุนแรง ส่วนแค่การขวางการเดินรถหรือการเดินเท้าหรือกิจกรรมตามกิจวัตร ไม่ถือเป็นความรุนแรง
  • อารยะขัดขืนต่อกฎหมายถือว่าเป็นการกระทำโดยสันติ
  • ต้องมีการแยกพิจารณาผู้เข้าร่วมที่ใช้ความรุนแรงกับคนที่ไม่ใช้ความรุนแรงออกจากกัน และจะเหมารวมทั้งหมดไม่ได้ ทั้งนี้การชุมนุมที่รุนแรงให้สรุปจากฝ่ายที่เริ่มใช้ความรุนแรงก่อน
  • การชุมนุมที่เกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องไปสู่การเข่นฆ่า (มีการใช้วาทะอันตราย hate speech) ให้ถูกจำกัดได้โดยรัฐ

 

ขั้นตอนสังเกตการณ์การชุมนุม

 

1. รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น

  • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ชุมนุม:         ใครจัด (กลุ่ม,พรรค,องค์กร)/ ใครเป็นแกนนำ/ ใครประสานงาน/ โครงสร้างและช่องทางแจ้งข่าวสารการชุมนุม
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุม:      วัน เวลา สถานที่/ วัตถุประสงค์การชุมนุม/ ประเภท (ประท้วง,นั่งเฉย,เดิน,ปิดล้อม)/ เส้นทางการเดิน/ การเตรียมการเรื่องความปลอดภัย/ การประสานงานกับเจ้าหน้าที่
  • ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่:           ถูกกฎหมายหรือไม่/ แผนการรักษาความปลอดภัย/ รายชื่อเจ้าหน้าที่บัญชาการสถานการณ์/ อารมณ์เจ้าหน้าที่/ ใช้การสกัดกั้นวิธีใดบ้าง
  • ข้อมูลจากกลุ่มอื่นๆ:            แผนของกลุ่มอื่นๆ (กลุ่มฝ่ายตรงข้าม)ในการสนับสนุนหรือยับยั้งการชุมนุมนี้

 

2. วางแผนก่อนลงพื้นที่

  • แผนสังเกตการณ์: แบ่งทีม (มีกี่ทีม,ทีมละกี่คน,มีใครบ้าง,แต่ละทีมสังเกตการณ์ที่ไหนบ้าง)/ แบ่งหน้าที่ในทีม/ ยานพาหนะ/ สรุปข้อมูลและแผนออกจากที่ชุมนุมกับทีม/ การติดต่อประสานงานกับทีมอื่น/ การประเมินความเสี่ยง
  • แผนการสื่อสารและการรายงาน:         รายงานใคร/ อย่างไร/ ข้อมูลรายงานจะถูกเอาไปใช้อย่างไร (รายงานสาธารณะ,ใบแจ้งข่าว,แหล่งอ้างอิง)
  • สามารถประสานงานกับกลุ่มสังเกตการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ และสหประชาชาติเกี่ยวกับแผนการสังเกตการณ์
  • ลองไปสถานที่ชุมนุมก่อนการชุมนุมจริงเพื่อทำความคุ้นเคยและศึกษาทางหนีทีไล่

 

3. ช่วงสังเกตการณ์

  • อยู่ประจำที่ซึ่งสามารถสังเกตการณ์สะดวกและปลอดภัย
  • ถ่ายรูปหรือวาดรูป การยืน การจัดกำลังของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุม หากเป็นไปได้
  • สภาพแวดล้อม:     ตำแหน่งทีมและจำนวนเจ้าหน้าที่/ จำนวนผู้ชุมนุม/ จำนวนฝ่ายรักษาความปลอดภัย/ มาตรการพิเศษที่ผู้ชุมนุมป้องกันความรุนแรง/ พฤติกรรมและอารมณ์ของเจ้าหน้าที่และผู้ชุมนุม
  • เด็กในพื้นที่ชุมนุม (*การชุมนุมของเด็กถือว่าถูกหลักการสากล):  จำนวนและบทบาทของเด็ก/ สัมภาษณ์หรือสอบถามเด็กว่ามาร่วมชุมนุมโดยสมัครใจหรือไม่
  • สังเกตว่ามีนักปกป้องสิทธิ นักข่าว บุคคลกรทางการแพทย์ กลุ่มชุมนุมต้าน ไทยมุง หรือไม่
  • สังเกตการแสดงสัญลักษณ์ และกิจกรรม

 

ตัวอย่าง Checklist ตัวชี้วัดเรื่องเสรีภาพการชุมนุม

  • กลไกที่รับแจ้งการชุมนุมมีทัศนคติ ท่าทีสนับสนุนการชุมนุม และไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมาย หรือในทางปฏิบัติให้ผู้ชุมนุมขออนุญาตล่วงหน้า
  • ช่วงเวลาในการแจ้งชุมนุมไม่วางไว้นานเกินไป ตามหลักการสากลคือ ไม่ควรเกิน 48 ชั่วโมง โดยกลไกการรับแจ้งชุมนุมไม่ยุ่งยากเกินไป เช่น แบบฟอร์มหาง่าย มีช่องทางแจ้งด้วยตนเองและออนไลน์
  • การวางข้อจำกัดการชุมนุม ต้องวางจากการตกลงร่วมกันตามมาตรฐานสากลด้วย ข้อจำกัดที่วางต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร มีเหตุผลรองรับ ต้องอธิบายให้ผู้จัดทราบ และมีช่องทางทางปกครองให้ผู้จัดยื่นเรื่องขอรับการชดเชย

 

ตัวอย่าง Checklist บทบาทเจ้าหน้าที่ระหว่างชุมนุม

  • การควบคุมการชุมนุมต้องอยู่บนพื้นฐานของการเจรจา การประสานกับผู้ชุมนุม
  • ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมกับนักข่าวและนักสังเกตการณ์
  • เจ้าหน้าที่ต้องรับและตอบรายงานการสังเกตการณ์
  • การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ถ่ายรูปบัตรประชาชนหรือบันทึกภาพ ต้องทำโดยไม่ก่อให้เกิดการแทรกแซงความเป็นส่วนตัว
  • รัฐต้องปกป้องสิทธิการชุมนุมโดยอ้างอิงหลักการเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และเอกชนซึ่งครอบครองพื้นที่ส่วนที่ถือว่าเป็นที่สาธารณะ ต้องถือว่าพื้นที่นั้นเป็นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมด้วย

 

อ้างอิง

OHCHR Nepal Guidelines for Monitoring Demonstrations and Rallies 1-3 (June 2009) 

10 Principles for the proper management of assemblies, 2016

Human Rights Committee, General Comment No. 34 Article 19: Freedoms of opinion and expression of ICCPR (2011)

Human Rights Committee, General Comment No. 37 Article 21: Right of peaceful assembly of ICCPR (2020)

OHCHR Monitoring Guidelines: Children in Demonstration/ in Political Rallies (2010)

“Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials, 1990. (BPUFF)